เฮาเหลก
เฮาเหลก (หู เลี่ย) | |
---|---|
胡烈 | |
ข้าหลวงมณฑลฉินโจว (秦州刺史 ฉินโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 269 – 9 กรกฎาคม ค.ศ. 270 | |
กษัตริย์ | สุมาเอี๋ยน |
ข้าหลวงมณฑลเกงจิ๋ว (荊州刺史 จิงโจวชื่อฉื่อ) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 264 – ค.ศ. 269 | |
กษัตริย์ | โจฮวน สุมาเอี๋ยน |
ผู้พิทักษ์ทัพ (護軍 ฮู่จฺวิน) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 264 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
เจ้าเมืองลำอั๋น (南安太守 หนานอานไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. 264 | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
เจ้าเมืองซงหยง (襄陽太守 เซียงหยางไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. ? – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจฮวน |
เจ้าเมืองไทสัน (泰山太守 ไท่ชานไท่โฉ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 267 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | โจมอ |
ก่อนหน้า | ฉาง ฉือ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 220 อำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่ |
เสียชีวิต | 9 กรกฎาคม ค.ศ. 270[a] |
บุตร | เฮาเกียน |
บุพการี |
|
ญาติ | หู กว่าง (พี่ชาย) เฮาหุน (พี่ชาย) หู ฉี (น้องชาย) พี่ชายหรือน้องชายอีก 2 คน |
อาชีพ | ขุนพล, ขุนนาง |
ชื่อรอง | เสฺวียนอู่ (玄武) |
เฮาเหลก[2][3][4] (ค.ศ. 220 - 9 กรกฎาคม ค.ศ. 270[a]) มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า หู เลี่ย (จีน: 胡烈; พินอิน: Hú Liè) ชื่อรอง เสฺวียนอู่[b] (จีน: 玄武; พินอิน: Xuánwǔ) เป็นขุนพลและขุนนางของรัฐวุยก๊กในยุคสามก๊กของจีน ภายหลังเป็นขุนพลและขุนนางของราชวงศ์จิ้นตะวันตก
ประวัติช่วงต้น
[แก้]เฮาเหลกเป็นชาวอำเภอหลินจิง (臨涇縣 หลินจิงเซี่ยน) เมืองฮันเต๋ง (安定郡 อานติ้งจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคืออำเภอเจิ้น-ยฺเหวียน มณฑลกานซู่ เฮาเหลกเป็นบุตรชายของอ้าวจุ๋น (胡遵 หู จุน) ผู้เป็นขุนพลทหารม้าและรถรบ (車騎將軍 เชอฉีเจียงจฺวิน)[7] เฮาเหลกเป็นน้องชายของเฮาหุน (胡奮 หู เฟิ่น) และเป็นบิดาของเฮาเกียน (胡淵 หู เยฺวียน)
การรับราชการกับวุยก๊ก
[แก้]ในปี ค.ศ. 257 ในช่วงกบฏจูกัดเอี๋ยน เฮาเหลกได้รับแต่งตั้งให้มีตำแหน่งเป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉ่ว) ของเมืองไทสัน (泰山郡 ไท่ชานจฺวิ้น; อยู่บริเวณนครไท่อาน มณฑลชานตงในปัจจุบัน) และเข้าร่วมในการปราบปรามกบฏ เฮาเหลกนำทหาร 5,000 นายลอบเข้าโจมตีกองลำเลียงของจูอี้ขุนพลของรัฐง่อก๊กที่ยกมาสนับสนุนจูกัดเอี๋ยน และเผาเสบียงอาหารจนสิ้น จูอี้ที่ล่าถอยถูกซุนหลิมผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แห่งง่อก๊กสั่งประหารชีวิตในภายหลัง[8][9]
ในช่วงระหว่างวันที่ 17 เมษายนและ 16 พฤษภาคม ค.ศ. 261[c] เติ้ง โหยว (鄧由) และหลี่ กวาง (李光) นายทหารของง่อก๊กนำทหารมาแสร้งยอมจำนนต่อวุยก๊ก เฮาเหลกซึ่งเวลานั้นดำรงตำแหน่งเจ้าเมืองของเมืองซงหยง (襄陽 เซียงหยาง) รายงานอองกี๋ผู้เป็นขุนพลโจมตีภาคใต้ (征南將軍 เจิงหนานเจียงจฺวิน) เรื่องการสวามิภักดิ์ของทั้งคู่ แต่อองกี๋มองออกว่าการสวามิภักดิ์นี้เป็นอุบาย[10][11]
ในปี ค.ศ. 263 เฮาเหลกที่เวลานั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองของเมืองลำอั๋น (南安郡 หนานอานจฺวิ้น; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอหล่งซี มณฑลกานซู่ในปัจจุบัน)[12] และผู้พิทักษ์ทัพ (護軍 ฮู่จฺวิน) ได้ติดตามจงโฮยขุนพลวุยก๊กในยกเข้าโจมตีรัฐจ๊กก๊ก จงโฮยให้เฮาเหลกคุมทัพหน้ายกเข้าโจมตีด่านเองเปงก๋วน (陽平關 หยางผิงกวาน) หรือหยางอานกวาน (陽安關; อยู่ในอำเภอหนิงเฉียง มณฑลฉ่านซีในปัจจุบัน)[13] เจียวสีนายทหารใต้บังคับบัญชาของปอเฉียมขุนพลจ๊กก๊กผู้รักษาด่านเองเปงก๋วนตัดสินใจนำกำลังพลออกจากด่านเองเปงก๋วนไปยังอิมเป๋ง (陰平 อินผิง) เพื่อยอมจำนนต่อเฮาเหลก เฮาเหลกจึงใช้โอกาสนี้ที่การป้องกันของด่านเองเปงก๋วนอ่อนแอลงจากการแปรพักตร์ของเจียวสี ยกพบเจ้าโจมตีด่านและยึดได้สำเร็จ ปอเฉียมถูกสังหารที่รบ[14][15]
ภายหลังจากเตงงายขุนพลวุยก๊กพิชิตจ๊กก๊กได้สำเร็จ เฮาเหลกร่วมกับจงโฮย, สุเมา (師纂 ซือ จฺว่าน) และคนอื่น ๆ กล่าวโทษเตงงายในข้อหาที่ไม่เคารพอำนาจของราชสำนักวุยก๊ก และอ้างว่าเตงงายมีท่าทีจะเริ่มก่อกบฏ ทำให้ราชสำนักวุยก๊กออกพระราชโองการสั่งให้จับกุมเตงงายและคุมตัวกลับมาลกเอี๋ยง (洛陽 ลั่วหยาง) นครหลวงของวุยก๊ก[16]
ในปี ค.ศ. 264 จงโฮยเริ่มก่อกบฏต่อวุยก๊กที่เซงโต๋ (成都 เฉิงตู) อดีตนครหลวงของจ๊กก๊ก เฮาเหลกและคนอื่น ๆ เข้าร่วมกับอุยก๋วนในการก่อการกำเริบต่อต้านจงโฮยและปราบจงโฮยได้สำเร็จ[17] จากความดีความชอบนี้เฮาเหลกจึงได้เลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงมณฑล (刺史 ชื่อฉื่อ) ของมณฑลเกงจิ๋ว ต่อมาเฮาเหลกได้รับคำสั่งให้นำพลไปช่วยเหลือหลัว เซี่ยน (羅憲) ที่กำลังรักษาอำเภอเองอั๋น (永安 หย่งอาน; ปัจจุบันคืออำเภอเฟิ่งเจี๋ย นครฉงชิ่ง)[18]
การรับราชการกับราชวงศ์จิ้น
[แก้]ในปี ค.ศ. 268 ในรัชสมัยของสุมาเอี๋ยนจักรพรรดิแห่งราชวงศ์จิ้น เฮาเหลกทำศึกตีทัพง่อก๊กที่นำโดยขุนพลชือ จี (施績) และบั้นเฮ็ก (萬彧 ว่าน ยฺวี่) แตกพ่ายที่เมืองซงหยง[19][20]
ในปี ค.ศ. 269 เฮาเหลกได้รับการแต่งตั้งเป็นข้าหลวงมณฑลของมณฑลฉินโจว (秦州) ประจำการอยู่ที่เกาผิงชฺวาน (高平川; ปัจจุบันคือแม่น้ำชิงฉุ่ย นครกู้-ยฺเหวียน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย) เพื่อเฝ้าระวังชนเผ่าเซียนเปย์ (鮮卑) หลายหมื่นคนที่ก่อนหน้านี้ถูกเตงงายเกลี้ยกล่อมให้ยอมสวามิภักดิ์และอาศัยกระจัดกระจายในมณฑลยงจิ๋วและเลียงจิ๋ว (อยู่ช่วงตอนกลางทางตะวันตกของมณฑลกานซู่ไปจนถึงทางตะวันตกของเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน)[21]
เสียชีวิต
[แก้]ในช่วงเวลานั้นมณฑลเลียงจิ๋วเกิดภัยแล้งรุนแรง ชนเผ่าเซียนเปย์ได้ก่อกบฏขึ้น ในวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 270[a] เฮาเหลกถูกสังหารโดยผู้นำชนเผ่าเซียนเปย์ชื่อทูฟ่า ชู่จีเหนิง (禿髮樹機能) ที่เนินว่านหู (萬斛堆 ว่านหูตุย; ตั้งอยู่บริเวณเขตแดนระหว่างอำเภอจิ้ง-ยฺเหวี่ยน มณฑลกานซู่และนครจงเว่ย์ เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุยในปัจจุบัน)[22][23]
ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 จือจื้อทงเจี้ยน (資治通鑑) เล่มที่ 79 ระบุว่าเฮาเหลกถูกสังหารในวันอู้อู่ (戊午) ของเดือน 6 ในศักราชไท่ฉื่อ (泰始) ปีที่ 6 ในรัชสมัยของจักรพรรดิสุมาเอี๋ยน[1] เทียบได้กับวันที่ 9 กรกฎาคม ค.ศ. 270 ในปฏิทินจูเลียน
- ↑ บทชีวประวัติเฮาหุนในจิ้นชูระบุว่าเฮาเหลกมีชื่อรองว่าอู่เสฺวียน (จีน: 武玄; พินอิน: Wǔxuán)[5] ในขณะที่อรรถาธิบายจากจิ้นจูกงจ้าน (晉諸公贊) ที่เผย์ ซงจือ (裴松之) แทรกในบทชีวประวัติจงโฮยในสามก๊กจี่ระบุว่าเฮาเหลกมีชื่อรองว่าเสฺวียนอู่ (จีน: 玄武; พินอิน: Xuánwǔ)[6]
- ↑ จ้านเลฺว่ (戰畧) ของซือหม่า เปียว (司馬彪) บันทึกว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเดือน 3 ของศักราชจิ่ง-ยฺเหวียน (景元) ปีที่ 2 ในรัชสมัยของโจฮวน[10] เดือนนี้เทียบได้กับช่วงเวลาระหว่างวันที่ 17 เมษายนถึง 16 พฤษภาคม ค.ศ. 261 ในปฏิทินกริกอเรียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ([泰始六年]六月,戊午,胡烈讨鲜卑秃发树机能于万斛堆,兵败被杀。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 79.
- ↑ ("ขณะนั้นคูเกี๋ยนซึ่งเปนทหารของเฮาเหลกนั้นมาอยู่ด้วยจงโฮย ๆ ใช้สอยเปนคนสนิธ ได้ยินดังนั้นจึงเอาเนื้อความไปบอกแก่เฮาเหลกทุกประการ เฮาเหลกก็ร้องไห้จึงว่า ตัวข้ามิได้รู้ว่าจงโฮยคิดการขบถถึงเพียงนี้เลย สงสารแต่เฮาเกียนบุตรของเราอยู่ภายนอกมิได้รู้เหตุผลประการใด แม้ท่านคิดถึงคุณแต่หนหลังจงช่วยบอกแก่บุตรเราด้วยเถิด ถึงมาทว่าตัวเราจะตายก็ตามบุญ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ ("ฝ่ายเฮาเหลกจึงตัดนิ้วมือสูบเอาโลหิตเขียนเปนหนังสือลับซ่อนให้แก่คูเกี๋ยน") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ ("เฮาเกียนจึงว่า ถ้าดังนั้นท่านทั้งปวงจงตระเตรียมทหารให้พร้อมทุกหมวดทุกกองเถิด เราจะรับยกเข้าไปทำการให้ทันท่วงทีอย่าให้รู้ตัว แล้วก็เร่งคนถือหนังสือกลับเข้าไปบอกแก่เฮาเหลกผู้บิดาแลขุนนางทั้งปวงซึ่งยังอยู่นั้น ว่าบัดนี้เราตระเตรียมกองทัพไว้พร้อมอยู่แล้ว จะยกเข้ามาทำการช่วยชีวิตท่านทั้งปวง แม้เรายกทหารเข้ามาถึงแล้วเมื่อใด ก็ให้จุดเพลิงขึ้นในเมืองเปนสำคัญ") "สามก๊ก ตอนที่ ๘๖". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ November 27, 2024.
- ↑ (烈字武玄,為將伐蜀。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
- ↑ (次烈,字玄武,秦州刺史。) อรรถาธิบายจากจิ้นจูกงจ้าน (晉諸公贊) ในสามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ (胡奮,字玄威,安定臨涇人也,魏車騎將軍陰密侯遵之子也。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
- ↑ (八月,吳將朱異帥兵萬餘人,留輜重於都陸,輕兵至黎漿。監軍石苞、兗州刺史州泰禦之,異退。泰山太守胡烈以奇兵襲都陸,焚其糧運。苞、泰復進擊異,大破之。異之餘卒餒甚,食葛葉而遁,吳人殺異。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (秋,七月,吳大將軍綝大發兵出屯鑊里,復遣朱異帥將軍丁奉、黎斐等五人前解壽春之圍……太山太守胡烈以奇兵五千襲都陸,盡焚異資糧,異將餘兵食葛葉,走歸孫綝……) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
- ↑ 10.0 10.1 (司馬彪戰畧載基此事,詳於本傳。曰:「景元二年春三月,襄陽太守胡烈表上『吳賊鄧由、李光等,同謀十八屯,欲來歸化,遣將張吳、鄧生,并送質任。克期欲令郡軍臨江迎拔』。) อรรถาธิบายจากจ้านเลฺว่ของซือหม่า เปียวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 27.
- ↑ (春,三月,襄陽太守胡烈表言:「吳將鄧由、李光等十八屯同謀歸化,遣使送質任,欲令郡兵臨江迎拔。」詔王基部分諸軍徑造沮水以迎之。「若由等如期到者,便當因此震蕩江表。」基馳驛遺司馬昭書,說由等可疑之狀,「且當清澄,未宜便舉重兵深入應之。」又曰:「夷陵東西皆險陿,竹木叢蔚,卒有要害,弩馬不陳。今者筋角濡弱,水潦方降,廢盛農之務,要難必之利,此事之危者也。姜維之趣上邽,文欽之據壽春,皆深入求利,以取覆沒,此近事之鑒戒也。嘉平已來,累有內難,當今之宜,當務鎮安社稷,撫寧上下,力農務本,懷柔百姓,未宜動衆以求外利也。」昭累得基書,意狐疑,敕諸軍已上道者,且權停住所在,須候節度。基復遺昭書曰:「昔漢祖納酈生之說,欲封六國,寤張良之謀而趣銷印。基謀慮淺短,誠不及留侯,亦懼襄陽有食其之謬。」昭於是罷兵,報基書曰:「凡處事者多曲相從順,鮮能確然共盡理實,誠感忠愛,每見規示,輒依來旨,已罷軍嚴。」旣而由等果不降。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
- ↑ (而南安太守胡烈等知其謀) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 7.
- ↑ (使護軍胡烈等行前,攻破關城,得庫藏積糓。會直指陽安,護軍胡烈攻陷關城。) จิ้นชู เล่มที่ 2.
- ↑ (漢晉春秋曰:蔣舒將出降,乃詭謂傅僉曰:「今賊至不擊而閉城自守,非良圖也。」僉曰:「受命保城,惟全為功,今違命出戰,若喪師負國,死無益矣。」舒曰:「子以保城獲全為功,我以出戰克敵為功,請各行其志。」遂率衆出。僉謂其戰也,至陰平,以降胡烈。烈乘虛襲城,僉格鬬而死,魏人義之。) อรรถาธิบายจากฮั่นจิ้นชุนชิวในสามก๊กจี่ เล่มที่ 44.
- ↑ (鍾會使護軍胡烈為前鋒,攻關口。舒詭謂僉曰:「今賊至不擊而閉城自守,非良圖也。」僉曰:「受命保城,惟全為功;今違命出戰,若喪師負國,死無益矣。」舒曰:「子以保城獲全為功,我以出戰克敵為功,請各行其志。」遂率其衆出;僉謂其戰也,不設備。舒率其衆迎降胡烈,烈乘虛襲城,僉格鬬而死。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 77.
- ↑ (鍾會、胡烈、師纂等皆白艾所作悖逆,變釁以結。詔書檻車徵艾。) สามก๊กจี่ เล่มที่ 28.
- ↑ จิ้นชู เล่มที่ 36.
- ↑ (會荊州刺史胡烈等救之,抗退。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
- ↑ (冬十月,吳將施績入江夏,萬郁寇襄陽。遣太尉義陽王望屯龍陂。荊州刺史胡烈擊敗郁。) จิ้นชู เล่มที่ 3.
- ↑ (吳主出東關;冬,十月,使其將施績入江夏,萬彧寇襄陽。詔義陽王望統中軍步騎二萬屯龍陂,為二方聲援。會荊州刺史胡烈拒績,破之,望引兵還) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 79.
- ↑ (二月,分雍、涼、梁州置秦州。以胡烈為刺史。先是,鄧艾納鮮卑降者數萬,置於雍、涼之間,與民雜居,朝廷恐其久而為患,以烈素著名於西方,故使鎮撫之。) จือจื้อทงเจี้ยน เล่มที่ 79.
- ↑ (烈為秦州刺史,及涼州叛,烈屯于萬斛堆,為虜所圍,無援,遇害。) จิ้นชู เล่มที่ 57.
- ↑ (一曰,昔歲及此年,藥蘭泥、白虎文秦涼殺刺史胡烈、牽弘,遣田璋討泥。) ซ่งชู เล่มที่ 33.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). สามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อ).
- ฉาง ฉฺวี (คริสต์ศตวรรษที่ 4). หฺวาหยางกั๋วจื้อ.
- เฉิ่น เยฺว (493 ). ซ่งชู.
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายสามก๊กจี่ (ซานกั๋วจื้อจู้).
- ฝาน เสฺวียนหลิง (648). จิ้นชู.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.