ข้ามไปเนื้อหา

จ๊กก๊ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จ๊กก๊ก (สู่ฮั่น)

蜀漢
ค.ศ. 221–263
จีนในปี ค.ศ. 162 อาณาเขตของจ๊กก๊กคือสีชมพู
จีนในปี ค.ศ. 162 อาณาเขตของจ๊กก๊กคือสีชมพู
เมืองหลวงเซงโต๋ (เฉิงตู)
ภาษาทั่วไปภาษาจีนปา-ฉู่
ภาษาจีนฮั่นตะวันออก
ศาสนา
ลัทธิเต๋า, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาชาวบ้านจีน
การปกครองราชาธิปไตย
จักรพรรดิ 
• ค.ศ. 221–223
เล่าปี่
• ค.ศ. 223–263
เล่าเสี้ยน
ยุคประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก
• ก่อตั้ง
พฤษภาคม ค.ศ. 221
ป. ธันวาคม ค.ศ. 263
ประชากร
• ค.ศ. 221[1]
900,000
• ค.ศ. 263[1]
1,082,000
สกุลเงินเหรียญเงินจีน
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
วุยก๊ก
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
ประเทศพม่า
จ๊กก๊ก
อักษรจีนตัวเต็ม蜀漢
อักษรจีนตัวย่อ蜀汉
ฮั่นยฺหวี่พินอินShǔ Hàn

ฮั่น (; ค.ศ. 221–263) รู้จักกันในประวัติศาสตร์นิพนธ์ว่า จ๊กก๊ก หรือ ฉู่ฮั่น (蜀漢 [ʂù xân] ( ฟังเสียง); มักเขียนสั้น ๆ ว่า ฉู่ ; พินอิน: shŭ < จีนสมัยกลาง: *źjowk < จีนฮั่นตะวันออก: *dźok;[2]) หรือ จี้ฮั่น (季漢 "ฮั่นน้อย")[3] เพื่อแก้ความกำกวมจากราชวงศ์ฮั่นก่อนหน้า เป็นหนึ่งในสามรัฐหลักที่ต่อสู้รบแย่งชิงกันเพื่อครองอำนาจสูงสุดเหนือแผ่นดินจีนในยุคสามก๊ก (ค.ศ. 220 - ค.ศ. 280) รัฐแห่งนี้ตั้งอยู่ในพื้นที่บริเวณรอบ ๆ ของนครฮั่นจง มณฑลเสฉวน นครฉงชิ่ง มณฑลยูนนาน มณฑลกุ้ยโจว และทางตอนเหนือของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งเป็นพื้นที่ทางประวัติศาสตร์ที่เรียกกันว่า "ฉู่" ตามชื่อของรัฐฉู่ซึ่งเป็นรัฐอันเก่าแก่ในครั้งอดีตกาล ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทางภูมิศาสตร์โดยประมาณนี้ด้วย อาณาเขตหลักยังใกล้เคียงกับอาณาจักรฮั่นของเล่าปัง (หลิว ปัง) ซึ่งเป็นบรรพบุรุษของราชวงศ์ฮั่น

จ๊กก๊กถูกก่อตั้งขึ้นโดยเล่าปี่ จึงได้ตั้งชื่อรัฐมาจากเขาว่า "ฮั่น" ในขณะที่เขาได้ถือว่าตนเป็นผู้สืบทอดที่มีความชอบธรรมของราชวงศ์ฮั่น ในขณะที่คำนำหน้าว่า "ฉู่" ถูกใช้เป็นครั้งแรกโดยวุยก๊กที่เป็นรัฐอริเพื่อทำลายความชอบธรรมในอำนาจอธิปไตยขอจ๊กก๊ก ต่อมาเมื่อถูกเขียนไว้ในสามก๊กจี่ นักประวัติศาสตร์ตันซิ่วยังใช้คำนำหน้าว่า "ฉู่" เพื่ออธิบายถึงรัฐฮั่นของเล่าปี่ เป็นคำนำหน้าทางภูมิศาสตร์เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐอืน ๆ ที่มีชื่อ "ฮั่น" ตลอดช่วงประวัติศาสตร์ของจีน

ประวัติ

[แก้]

จุดเริ่มต้นและสถาปนา

[แก้]

ในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เล่าปี่ขุนศึกและเป็นเชื้อพระวงศ์ที่เป็นพระญาติห่าง ๆ ของราชวงศ์ฮั่น ได้รวบรวมการสนับสนุนจากผู้ติดตามที่มีความสามารถจำนวนมากมาย หลังจากเล่าเปียวเสียชีวิต ตามคำแนะนำของที่ปรึกษาของเขาอย่างจูกัดเหลียง และแผนหลงจงของจูเก่อ เล่าปี่ได้พิชิตบางส่วนของเกงจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลหูเป่ย์และหูหนานในยุคปัจจุบัน) ใน ค.ศ. 208 และ 209 ได้เข้ายึดครองเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมมณฑลเสฉวนและฉงชิ่งในยุคปัจจุบัน) จากขุนศึกนามว่า เล่าเจี้ยง ระหว่างปี ค.ศ. 212 และ ค.ศ. 214 และแย่งชิงการควบคุมพื้นที่ฮันต๋ง จากโจโฉที่เป็นข้าศึก ใน ค.ศ. 219 ภายหลังจากนั้น เล่าปี่ได้สถาปนาตนเองเป็นอ๋องแห่งฮันต๋ง

จากดินแดนที่เขาได้รับมา เล่าปี่ได้สร้างฐานะให้กับตัวเองในจีนในช่วงปีสุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 219 การเป็นพันธมิตรกันระหว่างเล่าปี่และซุนกวนได้พังทลายลง เมื่อซุนกวนได้ส่งแม่ทัพของเขานามว่าลิบองเพื่อบุกครองเกงจิ๋ว เล่าปี่ได้สูญเสียดินแดนของเขาในเกงจิ๋วให้กับซุนกวน กวนอูผู้คอยดูแลรักษาทรัพย์สินของเล่าปี่ในเกงจิ๋ว ถูกจับกุมและประหารชีวิตโดยกองทัพซุนกวนในเวลาต่อมา

โจโฉได้ถึงแก่กรรมใน ค.ศ. 220 และถูกสืบทอดโดยโจผีบุตรชายคนโตของเขา ซึ่งได้บีบบังคีบให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ซึ่งเป็นจักรพรรดิองค์สุดท้ายของราชวงศ์ฮั่น สละราชบัลลังก์ตามความพอใจของเขา โจผีสถาปนารัฐวุยก๊ก และประกาศแต่งตั้งตนเองขึ้นเป็นจักรพรรดิ เล่าปี่โต้แย้งการอ้างสิทธิ์ราชบัลลังก์ของโจผีและประกาศสถาปนาตนเองเป็น "จักรพรรดิแห่งฮั่น"ใน ค.ศ. 221 แม้ว่าเล่าปี่จะถูกมองอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้ก่อตั้งรัฐจ๊กก๊ก แต่พระองค์ไม่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นผู้ก่อตั้งราชวงศ์ใหม่ มากกว่านั้น เขาได้มองว่าจ๊กก๊กเป็นความต่อเนื่องของราชวงศ์ฮั่น

เพื่อแบ่งแยกความแตกต่างจากรัฐออกจากรัฐอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเดียวกัน นักประวัติศาสตร์ๆได้เพิ่มตัวอักษรที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเดิมของรัฐ: รัฐที่เรียกตัวเองว่า ฮั่น (漢) ยังคงเป็นที่รู้จักกันคือ "ฉู่ฮั่น"(蜀漢) หรือเพียงแค่ "ฉู่"(蜀)

รัชสมัยของเล่าปี่

[แก้]

เล่าปี่ปกครองในฐานะจักรพรรดิเป็นเวลาน้อยกว่าสามปี ใน ค.ศ. 222 พระองค์ริเริ่มการทัพปะทะกับซุนกวนเพื่อยึดเกงจิ๋วกลับคืนและล้างแค้นให้กับกวนอู จนมาถึงจุดสุดยอดในยุทธการที่อิเหลง อย่างไรก็ตาม เนื่องจากดำเนินทางยุทธวิธีที่ผิดพลาดอย่างร้ายแรง เล่าปี่ต้องประสบความปราชัยอย่างย่อยยับด้วยน้ำมือของแม่ทัพของซุนกวนนามว่าลกซุน และสูญเสียกองทัพส่วนใหญ่ไป พระองค์ทรงรอดชีวิตจากการสู้รบและล่าถอยไปยังเป๊กเต้เสียที่ซึ่งพระองค์ทรงสวรรคตด้วยอาการประชวรในอีกหนึ่งปีต่อมา

รัชสมัยของเล่าเสี้ยน

[แก้]

ก่อนที่เล่าปี่จะทรงสวรรคต พระองค์ได้แต่งตั้งให้อัครมหาเสนาบดี จูกัดเหลียงและแม่ทัพทหารนามว่า ลิเงียมให้เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ให้กับจักรพรรดิเล่าเสี้ยนราชโอรสองค์โตของพระองค์ เล่าเสี้ยนซึ่งอยู่ในวัยพระเยาว์ด้วยพระชนมายุเพียง 16 พรรษา ทำให้พระองค์กลายเป็นผู้ปกครองที่มีอายุน้อยที่สุดในอาณาจักรสามก๊ก และเล่าปี่ทรงคาดหวังกับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ทั้งสองคนคอยช่วยเหลือเล่าเสี้ยนในการบริหารดูแลกิจการของรัฐ จูกัดเหลียงเป็นหัวหน้าของรัฐบาลฉู่โดยพฤกตินัยในช่วงตลอดรัชสมัยของเล่าเสี้ยน และเป็นผู้รับผิดชอบในนโยบายส่วนใหญ่ของจ๊กก๊กในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง

เมื่อเล่าเสี้ยนได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากพระบิดาของพระองค์ จ๊กก๊กเป็นรัฐที่อ่อนแอมากที่สุดในสามก๊ก ภายหลังจากพระบิดาได้พบความปราชัยใน ค.ศ. 221 ส่วนหนึ่งของเกงจิ๋วที่ฉู่ได้ครอบครองไว้ก่อนหน้านี้ซึ่งได้อยู่ภายใต้การควบคุมของง่อก๊กอย่างมั่นคง ฉู่ได้รวบรวมเพียงแค่ดินแดนทางตะวันตกของเอ๊กจิ๋ว ในขณะที่วุยก๊กได้ครอบครองดินแดนทางเหนือไว้ทั้งหมด และง่อก๊กได้ควบคุมดินแดนทั้งหมดจากตะวันออกของเอ๊กจิ๋วไปจนถึงแนวชายฝั่งทางใต้และตะวันออก ในขณะเดียวกัน ประชากรของรัฐฉู่ก็มีไม่มากพอที่จะยืนหยัดต้านทานรัฐวุยก๊กที่เป็นศัตรู ด้วยการที่รัฐฉู่มีจำกัดในด้านทรัพยากรและกำลังคน แม้ว่ารัฐนั้นจะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ฉู่ก็ไม่สามารถเปิดฉากการทัพที่ประสบความสำเร็จได้อย่างง่ายดาย ด้วยเหตุนี้ จูกัดเหลียงได้ตกลงเจราจาเพื่อสันติภาพกับรัฐง่อก๊กแและรื้อฟื้นความเป็นพันธมิตรกันระหว่างซุนกวนและฉู่ โดยในอดีตยังได้รับรู้ถึงความชอบธรรมของซุนกวน เมื่อตอนหลังได้แตกหักกับวุยก๊ก และประกาศตั้งตนเป็น "จักรพรรดิแห่งง่อก๊ก" ใน ค.ศ. 229 เพื่อเสริมสร้างอำนาจของรัฐจ๊กก๊กในพื้นที่ทางใต้อันห่างไกลของลำเจี๋ยง จูกัดเหลียงยังได้เปิดฉากด้วยกองทัพรบนอกประเทศใน ค.ศ. 225 เพื่อปราบปรามการก่อกบฎในท้องถิ่นและอิทธิพลที่เพิ่มมากขึ้นของชนเผ่าลำมันในภูมิภาค

จูกัดเหลียงได้สนับสนุนนโยบายการต่างประเทศอย่างก้าวร้าวต่อรัฐวุยก๊ก เพราะเขามีความเชื่ออย่างยิ่งว่ามีความสำคัญต่อความอยู่รอดของรัฐฉู่และอำนาจอธิปไตย ระหว่างปี ค.ศ. 228 และ ค.ศ. 234 เขาได้เปิดฉากชุดของการทัพทางทหารห้าครั้งปะทะกับวุยก๊ก โดยมีเป้าหมายเพื่อพิชิตเตียงอั๋น เมืองทางยุทธศาสตร์ซึ่งตั้งอยู่บนถนนสู่เมืองหลวงของวุยก๊กคือลกเอี๋ยง การสู้รบส่วนใหญ่เกิดขึ้นในมณฑลกานซู่และฉ่านซีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม นอกจากนี้ยังได้เกียงอุยมาเป็นขุนพลฝ่ายตนใน ค.ศ. 228 รัฐฉู่ได้ล้มเหลวในการได้รับชัยชนะที่สำคัญหรือผลประโยชน์ที่ยั่งยืนในการทัพห้าครั้ง ในช่วงการทัพครั้งสุดท้ายของเขาซึ่งได้ต่อสู้รบกับแม่ทัพฝ่ายวุยก๊กนามว่าสุมาอี้ซึ่งมีความเก่งกาจเทียบเท่าและเป็นคู่ปรับตัวฉกาจ และจูกัดเหลียงต้องเสียชีวิตลงจากการล้มป่วยซึ่งเกิดขึ้นมาจากความตึงเครียดด้วยหนทางตันที่ยาวนานกับกองทัพวุยก๊กในยุทธการที่ทุ่งราบอู่จั้ง

ภายหลังการเสียชีวิตของจูกัดเหลียง รัฐบาลฉู่ได้อยู่ภายใต้การนำโดยเจียวอ้วน บิฮุย และคนอื่น ๆ และรัฐฉู่ได้ยุติความก้าวร้าวต่อวุยก๊กเป็นการชั่วคราว ใน ค.ศ. 244 ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กโจซองได้เปิดฉากการบุกครองฮั่นจง แม้ว่าจะมีจำนวนมากกว่า 2 ต่อ 1 แต่กองกำลังของฉู่สามารถเอาชนะผู้รุกรานในยุทธการที่ซิงชื่อ โดยกองทัพวุยก๊กต้องล่าถอยกลับไปอย่างอับอายขายหน้า ระหว่าง ค.ศ. 247 และ ค.ศ. 262 เกียงอุย ขุนพลฝ่ายฉู่ได้กลับมาสืบทอดมรดกตกทอดของจูกัดเหลียง โดยนำชุดของการทัพทางทหารปะทะกับวุยก๊ก แต่ก็ยังล้มเหลวในการได้รับอาณาเขตอย่างมีนัยสำคัญ

การล่มสลายของจ๊กก๊ก

[แก้]

ใน ค.ศ. 263 กองทัพที่นำโดยขุนพลฝ่ายวุยก๊กนามว่า เตงงายและจงโฮยได้เข้าโจมตีรัฐฉู่ และพิชิตเซงโต๋ที่เป็นเมืองหลวง โดยปราศจากขัดขืนต่อต้านที่มีไม่มากนัก - รัฐได้ประสบความอ่อนล้าในการทัพที่โชคร้ายของเกียงอุย ในปีเดียวกัน เล่าเสี้ยนก็ได้ยอมจำนนต่อเตงงายที่นอกเมืองเซงโต๋ ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของรัฐฉู่ แต่เกียงอุยได้พยายามยุยงปลุกปั่นความขัดแย้งระหว่างเตงงายและจงโฮย โดยคาดหวังว่าจะใช้ประโยชน์จากสถานการณ์นี้เพื่อฟื้นฟูรัฐฉู่ขึ้นมาใหม่ จงโฮยได้จับกุมเตงงายและก่อกบฏต่อผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ของวุยก๊กคือสุมาเจียวอย่างเปิดเผย แต่การก่อกบฏได้ถูกปราบปรามโดยกองกำลังทหารวุยก๊ก เกียงอุย จงโฮย และเตงงายได้ถูกสังหารในการสู้รบ

ส่วนเล่าเสี้ยนได้ถูกนำพาตัวไปยังลกเอี๋ยง ซึ่งที่นั่นได้พบกับสุมาเจียวและได้รับตำแหน่งเป็น "อันเล่อซือกง" พระองค์ได้ใช้ชีวิตอย่างสุขสบายและสงบสุขในลกเอี๋ยงจวบจนถึงวาระสุดท้ายพระชนม์ชีพของพระองค์

เศรษฐกิจ

[แก้]

รายพระนามกษัตริย์

[แก้]
ผู้ปกครองจ๊กก๊ก
นามวัด สมัญญานาม ชื่อสกุล (ตัวหนา) และชื่อตัว ครองราชย์ (ค.ศ.) ชื่อรัชศกและช่วงเวลา (ค.ศ.) หมายเหตุ
เลี่ยจู่
烈祖
เจ้าเลียดห้องเต้
(เจาเลี่ยหฺวางตี้)
昭烈皇帝
เล่าปี่
(หลิว เป้ย์)
劉備
ค.ศ. 221–223 เล่าปี่ยังถูกเรียกในนาม "จักรพรรดิองค์ก่อน"(先帝 เซียนตี้)ในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม
- เซี่ยวหฺวายหฺวางตี้
孝懷皇帝
เล่าเสี้ยน
(หลิว ช่าน)
劉禪
ค.ศ. 223–263 เล่าเสี้ยนได้รับสมัญญานามเป็น "อานเล่อซือกง" (安樂思公) โดยราชวงศ์จิ้น ภายหลังได้รับการสถาปนาย้อนหลังเป็น "จักรพรรดิเซี่ยวหฺวาย" (孝懷皇帝 เซี่ยวหฺวายหฺวางตี้) โดยหลิว เยฺวียน (劉淵) ผู้ก่อตั้งรัฐฮั่น-เจ้าในยุคสิบหกรัฐ เล่าเสี้ยนยังถูกเรียกในนามว่า "เจ้านายองค์หลัง" (後主 โฮ่วจู่) ในตำราประวัติศาสตร์บางเล่ม

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Zou Jiwan (จีน: 鄒紀萬), Zhongguo Tongshi – Weijin Nanbeichao Shi 中國通史·魏晉南北朝史, (1992).
  2. Schuessler, Axel. (2009) Minimal Old Chinese and Later Han Chinese. Honolulu: University of Hawai'i. 157
  3. Chen Shou, Records of the Three Kingdoms, "Book of Shu: Accounts of Deng, Zhang, Zong, & Yang", section Yang Xi: quote: "戲以延熙四年著《季漢輔臣贊》"; translation: "[Yang] Xi, in the fourth year of Yanxi era [241 CE], composed 'Praises for the Supportive Ministers of Ji Han.'"