โจสิด
โจสิด 曹植 | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ภาพโจสิดที่นำมาจาก Nymph of Luo River โดยกู้ ไข่จือ | |||||||||
เฉินอ๋อง (陳王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 232 – 27 ธันวาคม 232 | ||||||||
ตงเอออ๋อง (東阿王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 229–232 | ||||||||
ยงชิวอ๋อง (雍丘王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 228–229 223–227 | ||||||||
จุ้นอี๋อ๋อง (浚儀王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 227–228 | ||||||||
จ้วนเฉิงอ๋อง (鄄城王) | |||||||||
ดำรงตำแหน่ง | 12 พฤษภาคม 222 – 223 | ||||||||
ประสูติ | ค.ศ. 192[a] เทศมณฑล Juancheng มณฑลชานตง | ||||||||
สวรรคต | 27 ธันวาคม พ.ศ. 232 (40 ปี)[a] อำเภอหฺวายหยาง มณฑลเหอหนาน | ||||||||
คู่อภิเษก | พระนางชุย | ||||||||
พระราชบุตร |
| ||||||||
| |||||||||
ราชวงศ์ | ราชวงศ์โจ | ||||||||
พระราชบิดา | โจโฉ | ||||||||
พระราชมารดา | พระนางเปียนซี |
โจสิด | |||||||||||||||||||||||||||||
"โจสิด" ในอักษรจีน | |||||||||||||||||||||||||||||
ภาษาจีน | 曹植 | ||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
โจสิด มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า เฉา จื๋อ (จีน: 曹植; ค.ศ. 192 – 27 ธันวาคม ค.ศ. 232)[a] ชื่อรอง จื่อเจี้ยน (จีน: 子建) รู้จักกันหลังเสียชีวิตว่า เฉินซีหวัง (陈思王) เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ในยุคสามก๊ก เป็นบุตรชายคนที่ 3 ของโจโฉและนางเปียนซี ชื่อรอง จื่อเจี้ยน เป็นบุตรคนรองมาจากโจเจียง เป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเฉลียวฉลาดมาก อายุเพียง 10 ขวบ สามารถท่องจำโคลงกลอนได้ถึง 1 แสนบท จนกล่าวกันว่า ถ้าปัญญาของคนทั่วไปมี 1 ส่วน แต่ของโจสิดมีถึง 10 ส่วน
โจสิด เป็นบุตรชายที่โจโฉรักมากเพราะความปราดเปรื่องทางสติปัญญา และมักแต่งโคลงสดุดีโจโฉเสมอ ๆ แต่ติดอยู่ว่า โจสิดยังมีแต่ผลงานทางด้านโคลงกลอน ไม่เคยแสดงบทบาทอย่างอื่น ซ้ำยังเป็นคนมีอารมณ์กวีตลอดเวลา คือ ติดเหล้าและเที่ยวเสเพล ชอบที่จะคบหากับเอียวสิ้ว ที่ปรึกษาของโจโฉ ที่โจโฉไม่ค่อยไว้วางใจ
เมื่อถึงครั้งที่โจโฉคิดจะแต่งตั้งรัชทายาท โจโฉคิดไม่ตกว่าจะเลือกใครระหว่าง โจผี กับ โจสิด แต่มีแนวโน้มว่าจะเลือกโจสิดมากกว่า โจผีร้อนใจจึงรุดไปปรึกษากาเซี่ยง และด้วยอุบายของกาเซี่ยง ตำแหน่งนี้จึงตกเป็นของโจผีในที่สุด ท้ายสุดเมื่อ โจผีขึ้นครองราชย์ ทรงคิดที่จะกำจัดโจสิด พระอนุชาแท้ ๆ เพราะถือว่าเป็นศัตรูคนหนึ่งของพระองค์ จึงบีบบังคับให้โจสิดเดินได้ 7 ก้าว และแต่งกลอนที่ร้องขอชีวิตมาให้ได้ ไม่เช่นนั้นจะสั่งประหารชีวิต โจสิดคิดกลอนได้สด ๆ มีเนื้อหาว่า ต้นถั่วเผาต้นถั่ว ในกระทะถั่วร้องไห้ กำเนิดจากรากเดียวกัน เหตุไฉนคิดทำลาย มีเนื้อหาถึง พี่น้องกำเนิดจากจุดเดียวกัน เหตุไฉนจึงคิดฆ่าล้างกัน พระเจ้าโจผีจึงสำนึกได้และไม่สั่งประหารชีวิต แต่เนรเทศโจสิดออกไปนอกเมืองแทน และไม่นาน โจสิดก็ถึงแก่ความตายด้วยความตรอมใจ ในปี พ.ศ. 775
บางเรื่องเล่า กล่าวว่า เหตุที่พระเจ้าโจผีต้องประหารโจสิด ก็ด้วย โจสิดมีจิตพิศวาทต่อพระนางเอียนสี มเหสีเอกของพระองค์ ด้วยการลักลอบแต่งกลอนที่มีเนื้อหารักใคร่ถึงนาง
ในวรรณกรรมสามก๊ก
[แก้]ดูเพิ่ม
[แก้]หมายเหตุ
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 พระราชประวัติโจยอยใน จดหมายเหตุสามก๊ก บันทึกว่า โจสิดเสียชีวิตในวัน gengyin เดือน 11 ปีที่ 6 ของศักราช Taihe ในรัชสมัยโจยอย[1] ตรงกับวันที่ 27 ธันวาคม ค.ศ. 232 ในปฏิทินกริกอเรียน ชีวประวัติของโจสิดใน จดหมายเหตุสามก๊ก ก็บันทึกว่า ตอนเสียชีวิต เขามีอายุ 41 ปี (ตามการนับแบบเอเชียตะวันออก)[2] เมื่อคำนวณแล้ว โจสิดจึงเกิดใน ค.ศ. 192
อ้างอิง
[แก้]อ่านเพิ่ม
[แก้]- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- ล่อกวนตง (คริสต์ศตวรรษที่ 14). สามก๊ก (ซันกั๋วเหยียนอี้).
- Luo, Guanzhong (2007). Three Kingdoms: A Historical Novel: Volume IV. แปลโดย Roberts, Moss. Beijing: Foreign Languages Press. ISBN 978-7-119-00590-4.
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
- Ruthven, K.K. (1969). A Guide to Ezra Pound's Personae (1926). University of California Press.
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.