ข้ามไปเนื้อหา

เตียวเอี๋ยน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เตียวเอี๋ยน
張燕
General of the Household Who Pacifies Disorder
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. คริสต์ทศวรรษ 180/190 (คริสต์ทศวรรษ 180/190) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเลนเต้
ขุนพลที่สงบทางเหนือ (平北將軍)
(ภายใต้โจโฉ)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 204 (204) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
ฉู่เอี๋ยน (褚燕)

ไม่ทราบ
อำเภอเจิ้งติ้ง มณฑลหูเป่ย์
เสียชีวิตไม่ทราบ
บุตรZhang Fang
อาชีพหัวหน้าโจร, ขุนพล, ขุนนาง
ชื่ออื่นจาง เฟย์เยี่ยน (張飛燕)
บรรดาศักดิ์อานกั๋วถิงโหว
(安國亭侯)

เตียวเอี๋ยน มีชื่อในภาษาจีนกลางว่า จาง เยียน (ออกเสียง; ราว คริสต์ทศวรรษ 180–205) ชื่อเกิด ฉู่ เอี๋ยน มีอีกชื่อว่า จาง เฟย์เยี่ยน เป็นหัวหน้าโจรเขาเอ๊งสันในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกของจีน เขาไต่เต้าจากกบฏท้องถิ่นไปเป็นผู้ปกครองสมาพันธ์ที่สามารถต่อต้านราชสำนักฮั่นและสามารถรักษาอำนาจที่ฉางชานเอาไว้ได้ จนกระทั่งเขายอมจำนนต่อโจโฉ แล้วได้รับมอบอำนาจที่เหลืออยู่แก่ครอบครัวของตน[1][2]

ชีวิต

[แก้]

เดิมมีชื่อว่าฉู่เอี๋ยน มาจากอำเภอเจิ้งติ้ง ฉางชานจฺวิ้น ซึ่งอยู่รอบบริเวณอำเภอเจิ้งติ้ง มณฑลเหอเป่ย์ในปัจจุบัน[3] เขารวบรวมกองทัพในช่วงกบฏโผกผ้าเหลืองและเข้าปล้นสะดมที่ Shanze[4] จากนั้นจึงเข้าร่วมกับกองโจรของจาง หนิวจฺเหว (張牛角) โดยมีหนิวจฺเหวเป็นผู้บัญชาการระดับสูงกว่า[5][6] เมื่อกลุ่มโจรเข้ารุกรานจู้ลู่จฺวิ้นใน ค.ศ. 185 และโจมตี Yingtao จาง หนิวจฺเหวได้รีบบาดเจ็บอย่างหนักจากลูกธนู ก่อนที่เขาเสียชีวิต จางสั่งให้คนของเขาเชื่อฟังต่อฉู่เอี๋ยนในฐานะผู้นำคนใหม่ของพวกเขา[7] ดังนั้น ฉู่เอี๋ยนจึงเปลี่ยนชื่อสกุลจาก "ฉู่" เป็น "เตียว" (จาง) เพื่อให้เกียรติแด่จาง หนิวจฺเหว[8]

ฝ่ายสมาพันธ์ของเตียวเอี๋ยนแข็งแกร่งมากขึ้น จนกล่าวกันว่ามีผู้คนถึงหนึ่งล้านคน[9] ทำให้กลายเป็นที่รู้จักในนามโจรเขาเอ๊งสันและปฏิบัติการเป็นสมาพันธ์กองโจรในทิวเขาไท่หาง ซึ่งทำให้พวกเขาสามารถเข้าถึงเหอเน่ย์และมณฑลเป๊งจิ๋ว Ji และ Yan[10]

ใน ค.ศ. 199 ทางฝ่าย กองซุนจ้าน ได้ขอความช่วยเหลือจากเตียวเอี๋ยนซึ่งเตียวเอี๋ยนได้ตอบรับความช่วยเหลือและได้เคลื่อนทัพออกมาแต่ก่อนจะไปถึงกองซุนจ้านก็ถูกปราบเสียก่อน

ค.ศ. 204 เตียวเอี๋ยนได้ทำสัญญากับ โจโฉ เพื่อช่วยปราบ อ้วนถำ และ อ้วนซง บุตรชายทั้งสองของ อ้วนเสี้ยว โดยโจโฉได้แต่งตั้งให้เตียวเอี๋ยนเป็นแม่ทัพดูแลภาคเหนือ

ใน ค.ศ. 205 หลังจากที่กองทัพของอ้วนถำและอ้วนซงถูกปราบจนราบคาบเตียวเอี๋ยนจึงได้ยอมแพ้ต่อโจโฉอย่างเป็นทางการ

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

[แก้]

เตียวเอี๋ยนปรากฏตัวในโททัลวอร์: ทรีคิงดัมส์ โดยนำกลุ่มโจรเป็นของตนเอง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sanguozhi vol.8.
  2. De Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23–220 AD (ภาษาอังกฤษ) (978-90-04-15605-0 ed.). Leiden: Brill. p. 1083.
  3. 張燕,常山真定人也,本姓褚。Sanguozhi vol.8.
  4. 黃巾起,燕合聚少年為群盜,在山澤閒轉攻,還真定,眾萬餘人 Sanguozhi vol. 8
  5. de Crespigny (2007), p. 1083.
  6. 博陵張牛角亦起眾,自號將兵從事,與燕合。燕推牛角為帥 Sanguozhi vol.8.
  7. 俱攻廮陶。牛角為飛矢所中。被創且死,令眾奉燕,告曰:「必以燕為帥。」Sanguozhi vol.8.
  8. de Crespigny (2007), pp. 1070, 1083.
  9. 其後人眾寢廣,常山、趙郡、中山、上黨、河內諸山谷皆相通,其小帥孫輕、王當等,各以部眾從燕,眾至百萬,號曰黑山。靈帝不能征,河北諸郡被其害。燕遣人至京都乞降,拜燕平難中郎將 Sanguozhi vol.8.
  10. Crespigny, Rafe De (2010). Imperial Warlord: A Biography of Cao Cao 155-220 AD (ภาษาอังกฤษ). Brill. p. 42. ISBN 978-90-04-18522-7.

ผลงาน

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]