กง ลู่
กง ลู่ | |
---|---|
龔祿 | |
เจ้าเมืองอวดจุ้น (越嶲太守 เยฺว่ซี/เยฺว่ฉุ่ยไท่โฉฺ่ว) | |
ดำรงตำแหน่ง 225 | |
กษัตริย์ | เล่าเสี้ยน |
หัวหน้ารัฐบาล | จูกัดเหลียง |
ขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง) (ภายใต้เล่าปี่) | |
ดำรงตำแหน่ง ค.ศ. 214 – ค.ศ. ? | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเล่าเสี้ยน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ค.ศ. 195[1] นครหนานชง มณฑลเสฉวน |
เสียชีวิต | ค.ศ. 225 (30 ปี)[1] ภาคใต้ของมณฑลเสฉวน |
บุพการี |
|
ญาติ | กง เหิง (น้องชาย) |
อาชีพ | ขุนนาง |
ชื่อรอง | เต๋อซฺวี่ (德緒) |
กง ลู่ (ค.ศ. 195–225; จีน: 龔祿; พินอิน: Gōng Lù) ชื่อรอง เต๋อซฺวี่ (จีน: 德緒; พินอิน: Déxù) เป็นขุนนางของรัฐจ๊กก๊กในยุคสามก๊กของจีน[2]
ประวัติ
[แก้]กง ลู่เป็นชาวอำเภออานฮ่าน (安漢縣 อานฮ่านเซี่ยน) เมืองปาเส (巴西郡 ปาซีจฺวิ้น) ซึ่งปัจจุบันคือนครหนานชง มณฑลเสฉวน[3] บิดาชื่อกง เฉิน (龔諶) รับราชการเป็นเจ้าหน้าที่ปกครอง (功曹 กงเฉา) ในเมืองปาเส ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 211 ถึง ค.ศ. 214[4] ขุนศึกเล่าปี่โจมตีมณฑลเอ๊กจิ๋ว (ครอบคลุมพื้นที่มณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่งในปัจจุบัน) เพื่อจะยึดครองมณฑลเอ๊กจิ๋วจากเล่าเจี้ยงผู้เป็นเจ้ามณฑล ในช่วงเวลานั้น กง เฉินยอมจำนนต่อเตียวหุยขุนศึกของเล่าปี่และช่วยเหลือเตียวหุยในการยึดเมืองปาเสให้กับเล่าปี่[5][6]
ในปี ค.ศ. 214[7] หลังจากเล่าปี่ยึดมณฑลเอ๊กจิ๋วได้สำเร็จและกลายเป็นเจ้ามณฑล ได้แต่งตั้งให้กง เฉินผู้บิดาของกง ลู่ให้เป็นเจ้าเมือง (太守 ไท่โฉฺ่ว) ของเมืองเฉียนเว่ย์ (犍為郡 เฉียนเว่ย์จฺวิ้น; ปัจจุบันอยู่บริเวณนครเหมย์ชาน มณฑลเสฉวน)[8] ในขณะเดียวกันก็แต่งตั้งให้กง ลู่เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ช่วย (從事 ฉงชื่อ) และขุนพลรักษาค่ายใหญ่ (牙門將 หยาเหมินเจี้ยง) ในเมืองปากุ๋น[9][6]
เมื่อกง ลู่ย้ายไปยังเมืองปากุ๋น กง ลู่พร้อมด้วยบัณฑิตอีกคนชื่อเหยา โจฺ้ว (姚伷) ก็ขึ้นมามีชื่อเสียงและเป็นที่นิยม ทั้งยังมีตำแหน่งและเบี้ยหวัดสูง แต่ทั้งคู่ก็ชื่นชมเตียวหงีซึ่งมีสถานะต่ำกว่าตนเพราะนับถือความสามารถของเตียวหงี และทั้งคู่ก็กลายมาเป็นเพื่อนสนิทของเตียวหงี[10]
ในปี ค.ศ. 225 กง ลู่ขึ้นเป็นเจ้าเมืองอวดจุ้น (越巂郡 เยฺว่ซีจฺวิ้น/เยฺว่ฉุ่ยจฺวิ้น; อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้นครซีชาง มณฑลเสฉวนในปัจจุบัน) ในปีเดียวกัน กง ลู่เข้าร่วมกับจูกัดเหลียงอัครมหาเสนาบดีแห่งจ๊กก๊กในการทัพปราบกบฏและชนเผ่าลำมัน (南蠻 หนานหมาน) ในภูมิภาคหนานจงทางใต้ของจ๊กก๊ก กง ลู่ถูกสังหารในที่รบขณะอายุ 31 ปี (โดยการนับอายุแบบเอเชียตะวันออก)[1][2]
น้องชายของกง ลู่ชื่อกง เหิง (龔衡) รับราชการเป็นนายทหารของจ๊กก๊ก[11]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 (建興三年,為越嶲太守,隨丞相亮南征,為蠻夷所害,時年三十一。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ 2.0 2.1 de Crespigny (2007), p. 264.
- ↑ ([龔]德緒名祿,巴西安漢人也。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ Sima (1084), vols. 66-67.
- ↑ (巴西功曹龔諆[諶?]迎[張]飛。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 5.
- ↑ 6.0 6.1 de Crespigny (2007), pp. 263–264.
- ↑ Sima (1084), vol. 66.
- ↑ (越嶲太守龔祿字徳緒,安漢人,父諶,犍為太守,見巴紀。) หฺวาหยางกั๋วจื้อ เล่มที่ 12.
- ↑ (先主定益州,為郡從事牙門將。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
- ↑ (時郡內士人龔祿、姚伷位二千石,當世有聲名,皆與嶷友善。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 43.
- ↑ (弟衡,景耀中為領軍。) จดหมายเหตุสามก๊ก เล่มที่ 45.
บรรณานุกรม
[แก้]- ตันซิ่ว (ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซานกั๋วจื้อ).
- ฉาง ฉฺวี (ศตวรรษที่ 4). พงศาวดารหฺวาหยาง (หฺวาหยางกั๋วจื้อ).
- เผย์ ซงจือ (ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.