Part of Speech

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

Part of Speech

ประภัสสร เจียมวงษา (พี่ แอน)


Part of speech

Noun Pronoun Verb Adjective

Adverb Conjunction Preposition Interjection

1. Noun
คํานาม คือ คําที่ใช้เรียกคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือนามธรรม อาจกล่าวได้ว่า คํานามคือ “ชือ่ ”
ของสิ่งต่าง ๆ ทัง้ สิ่งที่มองเห็นและมองไม่เห็น
คํานามในภาษาอังกฤษทําหน้าที่ได้หลายอย่าง ทัง้ ทําหน้าที่เป็ นประธานของประโยค เป็ นกรรม
หรือเป็ นส่วนเติมเต็มของประโยคก็ได้
สิ่งสําคัญที่เราต้องทราบเกี่ยวกับคํานามในภาษาอังกฤษนั่นคือ 1) คํานามนัน้ นับได้หรือนับไม่ได้
และ 2) คํานามนัน้ เป็ นเอกพจน์หรือพหูพจน์

1.1 คํานามนับได้ และคํานามนับไม่ได้


คํานามนับได้ (countable noun) หมายถึง คําที่สามารถนับเป็ นจํานวนได้ว่ามีเท่าไหร่ ในขณะที่
คํา นามนับ ไม่ ไ ด้ (uncountable noun) หมายถึ ง คํา ที่ ไ ม่ ส ามารถนับ เป็ น ชิ ้น เป็ น อัน ได้ (เช่ น อาจเป็ น
ของเหลว หรือเป็ นวัตถุที่มีเนือ้ เดียวกันแบบไม่สามารถแยกออกจากกันได้) หรือหากเป็ นสิ่งที่สามารถนํา
เป็ นชิน้ ได้ ก็จะเป็ นสิ่งที่ตามปกติแล้วมีจาํ นวนเกินกว่าจะสามารถนับได้ (เช่น อาจเป็ นผลึกเล็กและมีจาํ นวน
มากเกินไป) เราสามารถคาดคะเนได้ว่าคํานามใดเป็ นคํานามนับได้และคํานามนับไม่ได้จากประสบการณ์
หรือไม่อย่างนัน้ เราก็สามารถตรวจสอบจากพจนานุกรมได้เช่นกัน
Example
hill __________ glass _________ coffee _________ month _________ sand __________

city __________ rose __________ hair __________ cake __________ paper _________
1.2 คํานามเอกพจน์และคํานามพหูพจน์
หากเราทราบว่าคํานามหนึ่ง ๆ เป็ นคํานามนับได้หรือคํานามนับไม่ได้ เราก็จะสามารถตัดสินต่อได้
ว่าคํานามที่เรากําลังจะใช้นั้นเป็ นคํานามเอกพจน์หรือคํานามพหูพจน์ แล้วเราจะต้องเขียนคํานามเหล่านั้น
อย่างไร
คํานามเอกพจน์ (singular noun) คือ คํานามนับได้ที่มีเพียงชิน้ เดียวหรือคนเดียวเท่านั้น คํานาม
เอกพจน์จะไม่เติมอะไรที่ทา้ ยคํา แต่จะต้องเขียนนําหน้าด้วย article หรือคํานําหน้าอื่น ๆ เสมอ เช่น A girl,
An umbrella, My father, That piano
คํานามนับไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มคํานามเอกพจน์เช่นกัน กล่าวคือ คํานามนับไม่ได้จะไม่มีการเติม
หรือไม่เปลี่ยนรูปคํานามใด ๆ ทัง้ สิน้ แต่คาํ นามนับไม่ได้จะไม่ใส่ a, an นําหน้าคํานาม เช่น water, coffee
คํา นามพหู พ จน์ (plural noun) คือ คํานามนับได้ที่มีมากกว่ า 1 ชิน้ หรือ 1 คนขึน้ ไป คํานาม
พหูพจน์จะต้องเขียนลงท้ายคํานามด้วย -s หรือ -es หรือใช้รูปพหูพจน์เฉพาะ คํานามพหูพจน์ไม่จาํ เป็ นต้อง
มีคาํ นําหน้า (แต่จะมีก็ได้ในบางกรณี) เช่น Hats, Cars, My houses, Those people
คํานามที่ลงท้ายด้วย -s, -ss, -sh, -ch, -x เมื่อเขียนในรูปพหูพจน์ จะเติม -es ต่อท้าย ส่วนคํานาม
คําอื่น ๆ ส่วนใหญ่จะเติม -s
ข้อยกเว้น
1. คํานามที่ลงท้ายด้วย -f หรือ -fe ให้เปลี่ยน -f หรือ -fe เป็ น -ves
2. คํานามที่ลงท้ายด้วย -y ถ้าตัวอักษรหน้า -y เป็ นสระ ให้เติม -s ได้เลย
แต่ถา้ ตัวอักษรหน้า -y เป็ นตัวอื่น ๆ ให้เปลี่ยน -y เป็ น -ies
3. คําที่ลงท้ายด้วย -o มีทงั้ คําที่เติม -s เติม -es และเติมได้ทงั้ คู่ เช่น
- oes : tomatoes, potatoes, heroes
- os : zoos, radios, studios, pianos, photos, videos
- both : zeroes/zero, volcanoes/volcanos, mosquitoes/mosquitos
4. คํายกเว้นที่ไม่เปลี่ยนรูปเลย เช่น deer, sheep, fish, salmon, offspring
5. คํายกเว้นที่เปลี่ยนรูปไปเลย นอกเหนือจากกฎ เช่น
person – people child – children man – men
foot – feet goose – geese tooth – teeth
mouse – mice ox – oxen datum – data
Exercise: Plural forms
1. potato ___________________ 2. thief ___________________
3. fish ___________________ 4. foot ___________________
5. sandwich ___________________ 6. leaf ___________________
7. wife ___________________ 8. library ___________________
9. goose ___________________ 10. person ___________________

2. Verb
คํากริยามี 2 ประเภท ประเภทแรกเรียกว่า “คํากริยาแท้” หมายถึง คําที่มีความหมายบอกอาการ
การกระทํา หรือความรูส้ ึก (เช่น eat, sleep, walk, love, wait) ส่วนประเภทที่ 2 เรียกว่า “คํากริยาช่วย” คือ
คําที่ทาํ หน้าที่ทางไวยากรณ์บางอย่าง อาจจะใช้ประกอบในการแสดง tense แสดง voice ใช้ในประโยค
คําถาม ประโยคปฏิเสธ หรือใช้เพื่อช่วยเสริมความหมายให้กบั กริยาแท้ (เช่น be, do, have, can, might)
คํา กริ ย าทํา หน้า ที่ เ ป็ น ส่ ว นสํา คัญ ในประโยคที่ จ ะบอกการกระทํา ของประธาน หรื อ ใช้บ อก
เหตุการณ์ที่ตอ้ งการเล่าถึง คํากริยาจะเป็ นตําแหน่งที่แสดง tense และ voice ของประโยคด้วย
2.1 คํากริยาแท้
คํากริยาแท้ คือ คําที่มีความหมายเป็ นเนือ้ ความตามรู ปคํา ใช้บอกความหมายแสดงอาการ การ
กระทํา หรือความรูส้ ึกของประธาน การผัน tense หรือ voice จะกระทําที่คาํ กริยาแท้ของประโยคเท่านัน้
2.2 คํากริยาช่วย
คํากริยาช่วยแบ่งเป็ น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) primary auxiliary และ 2) modal verbs
Primary auxiliary ในภาษาอังกฤษมีอ ยู่ 3 คํา ได้แก่ verb to be, verb to do และ verb to have
คํากริยากลุ่มนีส้ ามารถผันได้เป็ นรูปปัจจุบันและรูปอดีตเท่านั้น ได้แก่ is/am/are/was/were, do/does/did
และ have/has/had คํากริยา 3 ตัวนีม้ ีความสําคัญอย่างมากในการเป็ นส่วนประกอบของ tense ใช้บอก
passive voice ใช้ทาํ ประโยคคําถามและประโยคปฏิเสธ
คํากริยา หน้าที่ ตัวอย่าง
- She is running.
เป็ นส่วนประกอบของ continuous tense
- I was sleeping when you called.
Verb to be
- The report was written neatly.
เป็ นส่วนประกอบของ passive voice
- Black dress is worn in funeral.
ใช้ทาํ ประโยคคําถามและประโยคปฏิเสธ - Do you hear the people sing?
Verb to do
ใน simple tense - She did not go to school yesterday.
- I have been to Paris 3 times.
Verb to have เป็ นส่วนประกอบของ perfect tense - She had woken up before her mother
came in.

* ข้อควรระวัง verb to be, verb to do และ verb to have สามารถใช้เป็ นกริยาแท้ได้เหมือนกัน เช่น
She is a teacher. She is running.
I do my homework every evening. Do you hear the people sing?
I have 3 sisters. I have eaten salad.
Modal verbs คือคํากริยาที่ใช้เสริมความหมายให้กบั กริยาแท้ และสามารถใช้ทาํ ประโยคคําถามและ
ประโยคปฏิเสธได้เช่นกัน คํากริยากลุ่ม modal verbs มีหลายตัว เช่น will, can, may, should, might, must
เช่น She can swim.
My father will see the doctor at the end of this month.
It might rain tomorrow.

Exercise: verb
1. Emily and Mike work at the cafeteria.
2. She is working for the government.
3. That building was built in 1984.
4. Our teacher has assigned us homework during school break.
5. Jenny and I have four dogs.
3. Pronoun
คํา สรรพนาม คื อ คํา ที่ ใ ช้แ ทนคํานาม ซึ่ ง สามารถทําหน้าที่ ใ นประโยคได้เ ช่น เดี ย วกับคํานาม
คําสรรพนามที่เป็ นที่รูจ้ ักกันดี เรียกว่า บุรุษสรรพนาม (personal pronoun) ซึ่งก็คือ คําสรรพนามที่ใช้ใน
การสนทนา ใช้แทนผูพ้ ดู (สรรพนามบุรุษที่ 1) ผูฟ้ ั ง (สรรพนามบุรุษที่ 2) และผูท้ ี่ถกู กล่าวถึง (สรรพนามบุรุษ
ที่ 3)
บุรุษสรรพนามในภาษาอังกฤษมีทงั้ หมด 7 ตัว ได้แก่ I, You, We, They, He, She, It แต่ทงั้ 7 ตัวมี
รูปต่างกันเมื่ออยู่ในตําแหน่งประธานและกรรมของประโยค

บุรุษ พจน์ ตําแหน่งประธาน ตําแหน่งกรรม


เอกพจน์ I me
บุรุษที่ 1 (ผู้พูด)
พหูพจน์ We us
บุรุษที่ 2 (ผู้ฟัง) เอกพจน์, พหูพจน์ You you
เอกพจน์ (เพศชาย) He him
บุรุษที่ 3 เอกพจน์ (เพศหญิง) She her
(ผู้ท่ถี ูกกล่าวถึง) เอกพจน์ (ไม่ใช่คน) It it
พหูพจน์ They them

Exercise
1. Nick ate dinner with ____I/me____.
2. ____I/Me____ went to the mall.
3. Please take these food scraps and give ____they/them____ to the dog.
4. Ms Lee wrote a note on my paper. ____She/her____ wanted to talk to ____I/me____ after class.
5. Betty and ____I/me____ had lunch with our boss yesterday.
นอกจากบุรุษสรรพนามแล้ว คําอื่น ๆ ที่ทาํ หน้าที่แทนคํานาม ก็คือคําสรรพนามเช่นกัน
Example
1. John is my brother. He is working in the United States at the moment.
2. I forgot to bring my pencil. Can I borrow yours? (your pencil)
3. She cut her hair by herself.
4. Those are my apples. One is ripe, but the others are not.
4. Adjective
คําคุณศัพท์ คือ คําที่ใช้ขยายคํานาม คําคุณศัพท์ทาํ ให้เราทราบข้อมูลของคํานามได้มากขึน้
คําคุณศัพท์ในภาษาอังกฤษมีตาํ แหน่งอยู่ได้ 2 แห่ง ได้แก่
1) นําหน้าคํานาม
2) ตามหลัง verb to be หรือ linking verb
Example
1. A red car is parked on the other side of the wide road.
2. That woman is tall. She can reach a high shelf at ease.
3. These beautiful big bags are clean.

5. Adverb
คํา วิ เ ศษณ์ คื อ คํา ที่ ใ ช้ข ยายคํา อื่ น ๆ นอกเหนื อ จากคํา นาม ไม่ ว่ า จะเป็ น ขยายกริ ย า ขยาย
คําคุณศัพท์ (adjective) หรือขยายคําวิเศษณ์ (adverb) ด้วยกัน
คําวิเศษณ์ส่วนมากมักอยู่ในรูป adjective + -ly เช่น slowly, easily, loudly แต่มีคาํ ยกเว้นบางคํา
ที่เปลี่ยนรูปไปเลย เช่น good – well
Example
1. I woke up early this morning.
2. A bird sings beautifully every morning.
3. She frankly denied his invitation.
4. My mother always cooks dinner at home.
5. He totally misunderstood the situation.
6. Conjunction
หลายคนอาจเข้าใจว่า conjunction หมายถึง คําเชื่อม อันที่จริงแล้ว คําแปลที่ตรงตัวที่สุดของคํา
ว่า conjunction ในภาษาไทย ตรงกับคําว่า “คําสันธาน” ซึ่งหมายถึง คําที่ใช้เชื่อมหน่วยทางไวยากรณ์ 2
หน่วยที่เท่ากันเข้าด้วยกัน เช่น เชื่อมคํากับคํา เชื่อมวลีกบั วลี เชื่อมอนุพากย์กบั อนุพากย์
การแบ่งประเภทของ conjunction แบ่งได้หลายเกณฑ์ เช่น แบ่งตามลักษณะความหมาย (คําเชื่อม
ที่ให้ความหมายคล้อยตามกัน, คําเชื่อมที่ให้ความหมายขัดแย้งกัน, คําเชื่อมที่ให้ความหมายเป็ นเหตุเป็ น
ผลกัน, คําเชื่อมที่ให้เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็ นต้น) หรือแบ่งตามความเท่ากันทางความหมายของสิ่งที่
นํามาเชื่อม (coordination, subordination เป็ นต้น)
Example
1. I like to have pizza and spaghetti as my lunch.
2. Peter always does exercise every morning, but never swims.
3. Jessica cannot decide whether she wants to go to concert or movie.
4. My colleagues arrived late this morning because there was a heavy rain.

7. Preposition
คําบุพบทไม่ได้เป็ นเพียงคําที่ใช้บอกเวลาและสถานที่เท่านั้น แต่เป็ นคําที่ใช้เชื่อมนามวลี (noun
phrase) เข้ากับประโยคทัง้ หมด ดังนั้นแล้ว คําบุพบทก็นับว่าเป็ นคําเชื่อมชนิดหนึ่งเช่นกัน แต่ไม่ได้เชื่อม
หน่วยที่เท่ากันเช่น conjunction
Example
1. He put his hat on the table.
2. She lost her bag at the shopping mall.
3. Nina went home at 9pm last night.
4. Students finished their project before class.
5. According to experts, early sleep boosts human body.
8. Interjection
คําอุทาน คือ คําที่ใช้แสดงอารมณ์หรือความรู ส้ ึก ณ ชั่วขณะ คําเหล่านีไ้ ม่ได้มีความหมายในเชิง
โครงสร้างประโยค เพียงแต่เป็ นคําที่เพิ่มขึน้ มาเท่านั้น และมักใช้ในภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เช่น
Oops! I didn’t mean to do that. Oh! It is a very good news. Ouch! You hit me too hard.

Phrase
Phrase หรือวลี เป็ นหน่วยทางไวยากรณ์ที่เป็ นส่วนประกอบของประโยค หากอธิบายอย่างง่าย วลี
หมายถึง การรวมคํามากกว่า 1 คําเข้าด้วยกัน แล้ววลีเหล่านัน้ จะไปเป็ นส่วนประกอบของประโยคต่อไป
ยกตัวอย่างส่วนประกอบของประโยค

Jimmy eat salmon.

ประโยคนีป้ ระกอบขึน้ จากคํา 3 คํา ได้แก่ Jimmy, eat และ salmon แต่ว่าประโยคที่มนุษย์ใช้สื่อ สารจริ ง
อาจซับซ้อนกว่านีม้ าก ประโยคอาจประกอบขึน้ จากวลีที่ยาวกว่าแค่คาํ เช่น

My little brother easily gets up in the early morning.

ส่วนประกอบของประโยคนีไ้ ม่ใช่แค่คาํ แต่เป็ นวลีที่ยาวขึน้ ได้แก่ my little brother, easily gets up, in the
early morning

Exercise: Part of speech


1. Yuri is wearing new shoes to the office today.
2. Those happy children laugh very loudly.
3. My sister and I usually walk the dogs at the edge of the bank.
4. The hungry man quickly put rice to his big mouth.
5. I cannot find my new suit. I do not know whether my mother put it away or not.

You might also like