Example

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 37

หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑

กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑

ผู้เรียบเรียง นางเพ็ญศรี จันทร์ดวง


ผศ.สุวคนธ์ จงตระกูล

ผู้ตรวจ รศ.ธิดา โมสิกรัตน์


รศ.นภาลัย สุวรรณธาดา
ดร.ภาสพงศ์ ผิวพอใช้

บรรณาธิการ ดร.ชลธิชา สุดมุข


หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน

ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑
ข้อมูลทางบรรณานุกรมของสำ�นักหอสมุดแห่งชาติ
เพ็ญศรี จันทร์ดวง.
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
ภาคเรียนที่ ๑--กรุงเทพฯ : แม็คเอ็ดดูเคชั่น, ๒๕๕๙.
๒๒๔ หน้า.
๑. ภาษาไทย--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา).
I. สุวคนธ์ จงตระกูล, ผู้แต่งร่วม. II. ชื่อเรื่อง.
495.9107
ISBN 978-616-274-735-9

สงวนลิขสิทธิ์ : พฤษภาคม ๒๕๕๙


สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ห้ามลอกเลียน ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของหนังสือเล่มนี้
นอกจากจะได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

จัดพิมพ์และจัดจำ�หน่ายโดย

ส่งธนาณัติสั่งจ่าย ไปรษณีย์ลาดพร้าว ในนาม บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด


เลขที่ 9/99 อาคารแม็ค ซอยลาดพร้าว 38 ถนนลาดพร้าว แขวงจันทรเกษม เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
☎ 0-2938-2022-7 โทรสาร 0-2938-2028
E-mail : [email protected] www.MACeducation.com
พิมพ์ที่ : หจก. ซี แอนด์เอ็น บุ๊ค
คำ�นำ�
เจตนารมณ์ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ ต้องการสร้างคนไทยให้
เป็นคนดี มีปัญญา และมีความสุข มีศักยภาพพร้อมที่จะแข่งขันและร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในเวทีโลก และให้ทัน กับ
ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาการด้านต่างๆ ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ การจัดการศึกษาตามเจตนารมณ์ดังกล่าว
ต้องเน้นความสำ�คัญทางด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม กระบวนการเรียนรู้ และ
ความรับผิดชอบต่อสังคม โดยยึดผู้เรียนเป็นสำ�คัญ ดังนั้น การจัดกระบวนการเรียนรู้ต้องมุ่งเน้นทักษะกระบวนการ
คิดฝึกปฏิบัติให้ทำ�ได้ คิดเป็น ทำ�เป็น รักการอ่าน และใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง ผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน
ดังนั้น เพื่อทิศทางการพัฒนาผู้เรียนเป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด
จึงมอบหมายให้คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยร่วมกันจัดทำ�หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน
ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ เล่มนี้ ใช้เป็นสื่อการเรียนรู้สำ�หรับผู้เรียน โดยมีเนื้อหาครบถ้วน
ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยทั้ง ๕ สาระ ได้แก่ สาระที่ ๑ การอ่าน สาระที่ ๒ การเขียน สาระที่ ๓ การฟัง
การดู และการพูด สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย และสาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ เล่มนี้ แบ่งเนื้อหาสาระ
เป็นหน่วยการเรียนรู้ ซึ่งจะใช้วรรณคดีและวรรณกรรมเป็นหลัก สอดแทรกความรู้หลักการใช้ภาษาไทยไว้ทุกหน่วย
การเรี ย นรู้ ฝึ ก ทั ก ษะการคิ ด การอ่ า น การเขี ย น การฟั ง การดู และการพู ด แบบบู ร ณาการ เนื้ อ หาสาระ
ทุกหน่วยการเรียนรู้เน้นให้เกิดความรู้คู่คุณธรรมและเรียนรู้อย่างรื่นรมย์ สร้างค่านิยมที่ดีงาม รักความเป็นไทย
ฝึกความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ กิจกรรมในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ มุ่งเน้นกระบวนการคิด ฝึกปฏิบัติให้ทำ�ได้ คิดเป็น
ทำ�เป็น รักการอ่าน รักการเขียน รักการศึกษาค้นคว้า
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ เล่มนี้ จึงเป็นสื่อการเรียน
ที่ทันสมัยครบถ้วนสมบูรณ์ เหมาะสำ�หรับนำ�ไปใช้ในการเรียนการสอน
ผู้เขียนขอขอบพระคุณทุกท่านที่มีส่วนทำ�ให้หนังสือเรียนเล่มนี้สำ�เร็จลุล่วงด้วยดีและหวังอย่างยิ่งว่า
หนังสือเรียนภาษาไทยเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อครู นักเรียน และผู้สนใจใฝ่เรียนรู้ทั่วไป หากมีข้อผิดพลาด
ประการใด ขออภัยมา ณ โอกาสนี้

นางเพ็ญศรี จันทร์ดวง
ผศ.สุวคนธ์ จงตระกูล
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑
ตรงตามสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ดังนี้

สาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้
สาระที่ ๑ การอ่าน ท ๑.๑ ใช้กระบวนการอ่านสร้างความรู้และความคิดเพื่อนำ�ไปใช้
ตัดสินใจ แก้ปัญหาในการดำ�เนินชีวิต และมีนิสัยรักการอ่าน
สาระที่ ๒ การเขียน ท ๒.๑ ใช้กระบวนการเขียนเขียนสื่อสาร เขียนเรียงความ ย่อความ
และเขียนเรื่องราวในรูปแบบต่างๆ เขียนรายงานข้อมูลสารสนเทศ
และรายงานการศึกษาค้นคว้าอย่างมีประสิทธิภาพ
สาระที่ ๓ การฟัง การดู และการพูด ท ๓.๑ สามารถเลือกฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณและพูดแสดงความรู้
ความคิด และความรู้สึกในโอกาสต่างๆ อย่างมีวิจารณญาณและ
สร้างสรรค์

สาระที่ ๔ หลักการใช้ภาษาไทย ท ๔.๑ เข้าใจธรรมชาติของภาษาและหลักภาษาไทย การเปลี่ยนแปลง


ของภาษาและพลังของภาษา ภูมปิ ญ
ั ญาทางภาษา และรักษาภาษาไทย
ไว้เป็นสมบัติของชาติ

สาระที่ ๕ วรรณคดีและวรรณกรรม ท ๕.๑ เข้าใจและแสดงความคิดเห็น วิจารณ์วรรณคดีและวรรณกรรมไทย


อย่างเห็นคุณค่าและนำ�มาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
คำ�ชี้แจง
หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ภาคเรียนที่ ๑ เล่มนี้
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด จัดทำ�และพัฒนาขึ้นใหม่ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช ๒๕๕๑ โดยปรับปรุงและพัฒนาจากการติดตามผลการนำ�ไปใช้ในระยะเวลา ๕ ปีที่ผ่านมา
เพื่อให้เนื้อหาและกิจกรรมทันสมัย เหมาะสมกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐและสภาพสังคมที่
เปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมอุดมปัญญา ซึ่งมีเครื่องมือสื่อสารทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง ทำ�ให้มนุษย์
สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ได้สะดวกและรวดเร็ว ดังนั้นรูปแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียน
การสอนจึงได้ปรับปรุงและพัฒนาหนังสือเรียนเล่มนีใ้ หม่ โดยยึดแนวของหลักสูตรแกนกลางการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑ เพิ่มแนวคิดสำ�คัญและทักษะการเรียนรู้สำ�หรับศตวรรษที่ ๒๑
ให้เด่นชัดและเข้มข้นมากขึ้น ดังนี้
๑. จัดทำ�สาระการเรียนรู้ให้ตรงตามตัวชี้วัดชั้นปีและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ของ
หลักสูตรทุกมาตรฐานที่หลักสูตรแกนกลางกำ�หนดให้เรียนในแต่ละปี
๒. จัดทำ�ตัวชี้วัดชั้นปีเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่ ๔ ด้านผู้เรียนของสำ�นักงาน
รับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และสะท้อนให้เห็นถึงความตระหนักและ
ความพยายามของสถานศึกษา ที่จะจัดการเรียนการสอนให้ได้ตามมาตรฐานที่กำ�หนด
๓. จัดทำ�กิจกรรมเพื่อฝึกกระบวนการเรียนรู้ที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จนบรรลุตาม
มาตรฐานการเรียนรู ้ ตัวชีว้ ดั ช่วงชัน้ ของหลักสูตร และมีทกั ษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทัง้ นีผ้ สู้ อนควรชีแ้ จง
และให้คำ�แนะนำ�เพิ่มเติมเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนปฏิบัติได้จริง
๔. เพิ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบภาระงาน มุ่งให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ
ค่านิยมหลัก ๑๒ ประการ และนำ�หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ เพือ่ ตอบสนองนโยบาย
พัฒนาเยาวชนให้มีค่านิยมหลักที่ดีงาม ๑๒ ประการ
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ไว้วางใจเลือกใช้สื่อการเรียนรู้ของ
บริษัท และขอตั้งปณิธานว่าจะสร้างสรรค์สื่อการเรียนรู้ท่ีมีคุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อวงการ
การศึกษาตลอดไป

บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำ�กัด


สารบัญ

หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย ๑
ภาษาไทยเป็นภาษาคำ�โดด ๒
ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์ ๔
ภาษาไทยมีระดับภาษา ๑๔
ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง ๒๔
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ ภาษากับการสื่อสาร ๓๐
การสื่อสาร ๓๑
ภาษากับการสื่อสาร ๓๒
อุปสรรคของการสื่อสาร ๓๕
วิธีแก้ไขอุปสรรคของการสื่อสาร ๓๗
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๓ การใช้คำ�และกลุ่มคำ� ๔๐
การใช้คำ�ให้ตรงตามความหมาย ๔๑
การใช้คำ�ให้ถูกต้องตามลักษณะภาษาไทย ๔๔
การใช้คำ�ให้กะทัดรัด ชัดเจน และสละสลวย ๔๘
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๔ การย่อความ ๕๔
ความหมายของการย่อความ ๕๕
ความสำ�คัญของการย่อความ ๕๕
ส่วนประกอบของย่อความ ๕๕
รูปแบบการเขียนคำ�นำ�ย่อความ ๕๖
หลักการย่อความ ๕๗
ตัวอย่างการย่อความ ๕๘
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๕ การเขียนเรียงความ ๖๕
ความหมายของเรียงความ ๖๖
องค์ประกอบของเรียงความ ๖๖
คุณลักษณะของเรียงความ ๖๘
หลักการเขียนเรียงความ ๖๘
ขั้นตอนการเขียนเรียงความ ๖๙
ตัวอย่างเรียงความ ๗๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๖ จดหมายธุรกิจ ๗๙
ความหมายของจดหมายธุรกิจ ๘๐
ความสำ�คัญของจดหมายธุรกิจ ๘๐
ประเภทของจดหมายธุรกิจ ๘๑
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๗ การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพ ๘๗
องค์ประกอบของการอ่าน ๘๘
การอ่านตีความ ๘๙
การอ่านแปลความ ๙๒
การอ่านขยายความ ๙๕
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๘ คุณค่างานประพันธ์ ๑๐๑
ความหมายของงานประพันธ์ ๑๐๒
ความหมายของวรรณคดีและวรรณกรรม ๑๐๒
องค์ประกอบของงานประพันธ์ ๑๐๓
การพิจารณางานประพันธ์ ๑๐๓
การวิจารณ์วรรณกรรม ๑๐๖
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๙ บทนมัสการมาตาปิตุคุณและบทนมัสการอาจริยคุณ ๑๑๙
ที่มาของเรื่อง ๑๒๐
ประวัติผู้แต่ง ๑๒๑
บทนมัสการมาตาปิตุคุณ ๑๒๒
บทนมัสการอาจริยคุณ ๑๒๔
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๐ บทละครเรื่องอิเหนา ตอน ศึกกะหมังกุหนิง ๑๒๗
ที่มาของเรื่อง ๑๒๙
ประวัติผู้แต่ง ๑๓๐
ลักษณะคำ�ประพันธ์ ๑๓๑
ความรู้เกี่ยวกับละคร ๑๓๓
เรื่องย่อบทละครเรื่อง อิเหนา ๑๓๔
บทประพันธ์ ๑๓๗
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๑ นิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐ ๑๘๔
ความรู้เกี่ยวกับนิทานเวตาล ๑๘๕
ประวัติผู้แต่ง ๑๘๖
เรื่องย่อนิทานเวตาล ๑๘๘
เนื้อเรื่องนิทานเวตาลเรื่องที่ ๑๐ ๑๘๙
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑๒ นิราศนรินทร์คำ�โคลง ๑๙๖
ความรู้เกี่ยวกับนิราศนรินทร์ ๑๙๘
ประวัติผู้แต่ง ๑๙๘
ความรู้เรื่องโคลงสี่สุภาพ ๑๙๘
คำ�ประพันธ์เรื่องนิราศนรินทร์ ๒๐๒

บรรณานุกรม ๒๑๒
ดัชนี ๒๑๔
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑

ธรรมชาติของภาษาไทย

๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำาโดด

๒. ภาษาไทยมีเสียงสระ ๔. ภาษาไทย
ธรรมชาติของภาษาไทย
พยัญชนะ และวรรณยุกต์ มีการเปลี่ยนแปลง

๓. ภาษาไทยมีระดับภาษา

ตัวชี้วัด
๑. อธิบายธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และลักษณะของภาษา (มฐ. ท ๔.๑ ม. ๔-๖/๑)
๒. ใช้ภาษาไทยได้เหมาะสมแก่โอกาส กาลเทศะ และบุคคล รวมทั้งคำาราชาศัพท์อย่างเหมาะสม
(มฐ. ท ๔.๑ ม. ๔-๖/๓)
2
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

ภาษาเป็นเครื่องมือที่เราใช้สื่อสารร่วมกัน ไม่ว่าจะทำ�กิจการงานใด เราต้องใช้ภาษาเป็น


ส่วนประกอบที่สำ�คัญทั้งสิ้น ผู้ที่ได้เรียนรู้ภาษาจึงได้เรียนรู้สิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
เราใช้ภาษาในการคิด การแสดงความต้องการ การโน้มน้าวชักจูงใจ การบรรยายเหตุการณ์
การอธิบายเรื่องราว ทั้งยังใช้ภาษาบอกเล่าและบันทึกความรู้ต่างๆ ส่งผ่านไปยังผู้อื่น มนุษย์ที่อยู่
ร่วมกันเป็นสังคมจำ�เป็นต้องมีภาษา
ภาษาไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมทีบ่ รรพบุรษุ ได้สร้างและถ่ายทอดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบนั
ภาษาประกอบด้วยระบบเสียง ระบบไวยากรณ์ และความหมาย

๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำ�โดด
ภาษาไทยจัดอยู่ในตระกูลภาษาคำ�โดด คือภาษาที่ใช้คำ�ที่มีลักษณะเป็นพยางค์เดียวโดดๆ
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำ�ไปตามหน้าที่หรือความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่องกับคำ�อื่น
คำ�ที่เป็นภาษาคำ�โดดในภาษาไทยมักเป็นคำ�เกี่ยวกับธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ� ลม ไฟ หิน ฟ้า
หรือเป็นคำ�เกี่ยวกับญาติ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก หลาน หรือเกี่ยวกับกิริยาอาการ เช่น กิน นั่ง นอน
ยืน พูด
สรุปได้ว่า คำ�ในภาษาไทยไม่เปลี่ยนรูปคำ�ตามเพศ พจน์ กาล ถ้าต้องการบอกเพศ พจน์ กาล
จะใช้คำ�อื่นประกอบเพิ่มเติม ดังนี้
๑. คำ�บอกพจน์ คำ�ในภาษาไทยเมื่อต้องการแสดงความหมายที่มากกว่าหนึ่งมักจะเพิ่ม
คำ�อื่นมาประกอบ เช่น มาก มากมาย หลาย ทั้งปวง หรือการใช้คำ�ซ้ำ� เช่น
ยุงบินมาเป็นฝูง เธอซื้ออะไรมามากมาย
มีคำ�ในประโยคที่ไม่ได้ใช้คำ�บอกพจน์ แต่คำ�ที่ใช้มีความหมายบอกพหูพจน์ ดังตัวอย่าง
ระยะนี้ฝนตกทุกวัน บ้านของเขาทั้งหลายอยู่ไกล
หนุ่มๆ สาวๆ พากันแต่งชุดไทย
๒. คำ�บอกกาล คำ�ภาษาไทยบางคำ�บอกกาล เป็นอดีตกาล ปัจจุบันกาล หรืออนาคตกาล
ดังนี้
๒.๑ คำ�ที่บอกอดีตกาลหรือเหตุการณ์ที่ผ่านมาแล้ว เช่น ได้ เคย มา ไป เมื่อวาน
ปีกลาย เดือนก่อน เมื่อกี้ ดังตัวอย่าง
น้องกินข้าวแล้ว ฉันเคยไปเที่ยวประเทศอินโดนีเซีย
3
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

๒.๒ คำ�ที่บอกปัจจุบันกาลหรือเหตุการณ์ที่กำ�ลังดำ�เนินอยู่ เช่น ขณะนี้ อยู่ กำ�ลัง


วันนี้ ตอนนี้ ดังตัวอย่าง
ฝนกำ�ลังตกหนัก เธอทำ�อะไรอยู่
๒.๓ คำ�ที่บอกอนาคตกาลหรือเหตุการณ์ที่กำ�ลังจะเกิดขึ้น เช่น จะ กำ�ลังจะ พรุ่งนี้
ปีหน้า ดังตัวอย่าง
ปีหน้าผมจะเรียนชั้น ม.๕ พรุ่งนี้เขาจะมาหาฉัน
๓. คำ�บอกเพศ คำ�ในภาษาไทยส่วนมากไม่ระบุเพศ ถ้าจะบอกเพศชายก็จะใช้คำ�ว่า
ตัวผู้ เช่น พ่อ ชาย ถึก หนุ่ม นาย บ่าว แมวตัวผู้ พ่อบ้าน น้องชาย โคถึก ฯลฯ ถ้าจะบอกเพศหญิง
ก็จะใช้คำ�ว่า ตัวเมีย เช่น แม่ หญิง สาว นาง นางสาว สุนัขตัวเมีย แม่นม คุณหญิง นางเอก
สาวใช้
คำ�บางชนิดบอกเพศได้ เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ พ่อ แม่ ผัว เมีย ตา ยาย ปู่ ย่า ช้างพัง
ช้างพลาย
นอกจากนี้ มีคำ�บางคำ�ที่ใช้คำ�บอกเพศนำ�มาประกอบกับคำ�อื่นเป็นคำ�ใหม่ แต่ก็ไม่ใช่
คำ�ที่บอกเพศชายหรือเพศหญิงอย่างชัดเจน เช่น นายทุน นายหน้า

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๑
พิจารณาการใช้คำ�ในประโยคต่อไปนี้ว่า คำ�ใดแสดงเพศหรือพจน์ของนาม สรรพนาม และแสดงกาล
ของกริยาหรือไม่ พร้อมทั้งบอกด้วยว่าคำ�นั้นแสดงเพศ พจน์ หรือกาลใดบ้าง
๑. วันนี้อากาศร้อนมากนะครับ
๒. เด็กๆ เก็บไข่ไก่ได้หลายฟอง
๓. แอ๋วซื้อรองเท้าคู่ใหม่มาเมื่อวานนี้
๔. เมื่อตอนเย็นมีใครมาหาคุณหรือคะ
๕. เขาไม่ได้ไปเที่ยวมาเดือนหนึ่งแล้ว
๖. ลูกรัก พ่อจะพาลูกไปทำ�บุญในวันขึ้นปีใหม่
๗. ยายแป๊ดมีแหวนหลายวงที่มีราคาแพงมาก
๘. นาฬิกาตายตั้งแต่เวลา ๐๒.๐๐ น.
๙. ศรีปราชญ์แต่งกำ�สรวลศรีปราชญ์มานานแล้ว
๑๐. ไปไหนมา ทำ�ไมกลับมาดึกดื่นป่านนี้
4
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๒. ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์


ภาษาประกอบด้วยเสียงและความหมาย โดยธรรมชาติมนุษย์สามารถทำ�เสียงได้มากมาย
แต่เสียงทุกเสียงก็มิใช่เป็นภาษาทั้งหมด เช่น เสียงร้องไห้ หัวเราะ ผิวปาก กระแอมกระไอ
เป็นเสียงที่ไม่จัดเป็นภาษา เพราะไม่มีความหมายที่กำ�หนดไว้ให้เป็นที่เข้าใจตรงกัน ภาษาจึงต้อง
ประกอบด้วยเสียงและความหมายเสมอ
เสียงในภาษาไทยประกอบด้วยเสียงสระ เสียงพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ หรือที่เรียกว่า
เสียงแท้ เสียงแปร เสียงดนตรี ดังนี้
๑. เสียงแท้ คือ เสียงที่เปล่งออกมาจากลำ�คอโดยตรง ไม่ถูกสกัดกั้นจากอวัยวะส่วนใด
ในปาก เช่น อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ
๒. เสียงแปร คือ เสียงที่เกิดจากการดัดแปลงเสียงแท้ให้มีสำ�เนียงต่างๆ ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น
โดยอาศัยลิ้นกระทบเพดาน ปุ่มเหงือก ฟัน และอาศัยริมฝีปากหรือจมูกเป็นเครื่องช่วย ได้แก่ เสียง
พยัญชนะทั้งสิ้น เช่น ก ข จ ฉ ฎ ฏ ด ต บ ป ย ว ส ห ฯลฯ
๓. เสียงดนตรี คือ เสียงที่มีจังหวะ น้ำ�หนัก และทำ�นองสูงๆ ต่ำ�ๆ เป็นทำ�นองเสียงที่ผัน
ขึ้นลงให้มีสำ�เนียงเสนาะ และจำ�แนกเสียงให้แตกต่างออกไป เช่น เสียงวรรณยุกต์  

เสียงสระ
เสียงสระ คือ เสียงทีเ่ ปล่งออกมาโดยตรงจากปอด ไม่ถกู อวัยวะส่วนใดส่วนหนึง่ กักไว้ภายใน
ช่องปาก
สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๒๑ เสียง ดังนี้
สระมี ๒๑ รูป คือ
๑. ะ เรียก วิสรรชนีย์ ๒. ั เรียก ไม้ผัด หรือไม้หันอากาศ
๓. า เรียก ลากข้าง ๔. ิ เรียก พินทุอิ
๕. 9 เรียก ฝนทอง ๖. ํ เรียก นิคหิต หรือหยาดน้ำ�ค้าง
๖.  เรียก ฟันหนู ๘. ุ เรียก ตีนเหยียด
๙. ู เรียก ตีนคู้ ๑๐. ็ เรียก ไม้ไต่คู้
๑๑. เเ เรียก ไม้หน้า ๑๒. ใ เรียก ไม้ม้วน
๑๓. ไ เรียก ไม้มลาย ๑๔. โ เรียก ไม้โอ
๑๕. อ เรียก ตัวออ ๑๖. ย เรียก ตัวยอ
๑๗. ว เรียก ตัววอ ๑๘. ฤ เรียก ตัวรึ
๑๙. ฤๅ เรียก ตัวรือ ๒๐. ฦ เรียก ตัวลึ
๒๑. ฦๅ เรียก ตัวลือ
5
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

สระมี ๒๑ เสียง แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ สระเดี่ยว (สระแท้) และสระประสม (สระเลื่อน)


๑. สระเดี่ยว (สระแท้) มี ๑๘ เสียง ดังนี้

สระเสียงสั้น (รัสสระ) สระเสียงยาว (ทีฆสระ)


อะ อา
อิ อี
อึ อื
อุ อู
เอะ เอ
แอะ แอ
โอะ โอ
เอาะ ออ
เออะ เออ

๒. สระประสม (สระเลื่อน) คือ สระที่มีการเลื่อนเสียงจากสระหนึ่งไปยังอีกสระหนึ่ง


โดยการนำ�สระเดี่ยว ๒ สระประสมกัน มี ๓ เสียง ดังนี้ คือ เอีย เอือ อัว

เอีย (อี-อา)
เอือ (อือ-อา)
อัว (อู-อา)

หมายเหตุ
๑. คำ�ที่ประสมด้วยสระประสมเสียงสั้น คือ เอียะ เอือะ อัวะ มีน้อยมาก ส่วนใหญ่เป็นคำ�
ที่มาจากภาษาอื่น หรือไม่ก็นำ�มาเทียบเคียง นักภาษาศาสตร์จึงถือว่าสระประสมมีเพียง ๓ เสียง
ดังกล่าว
๒. อำ� ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ ตำ�ราหลักภาษาแต่เดิมจัดเป็นสระเกิน แต่ในปัจจุบันถือเป็น
พยางค์ คือ
อำ� (อ-อะ-ม) ฤ ฤๅ (ร-อึ, ร-อือ)
ไอ ใอ (อ-อะ-ย) ฦ ฦๅ (ล-อึ, ล-อือ)
เอา (อ-อะ-ว)
6
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

ดังนั้น อำ� ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ จึงประกอบด้วยเสียงสระ คือ อะ และมีเสียงพยัญชนะสะกด


อยู่กึ่งหนึ่ง คือ ม ย ว
วิธีการใช้สระ
สระแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ สระคงรูป สระลดรูป และสระเปลี่ยนรูป ดังนี้
๑. สระคงรูป คือ สระที่ออกเสียงใดก็ใช้รูปสระนั้น เช่น ปราม (ปร-อา-ม) กิน (ก-อิ-น)
และ (ล-แอะ) โขน (ข-โอ-น)
๒. สระลดรูป คือ สระที่ไม่ปรากฏรูป ได้แก่
๒.๑ สระอะลดรูป คือ ไม่ประวิสรรชนีย์ (ะ) ในพยางค์ที่ออกเสียง อะ แต่ยังคงต้อง
ออกเสียง อะ เช่น ธ ณ ฉลาด ขโมย สไบ ตลก สบู่ ธนู สเปน อคติ
๒.๒ สระโอะลดรูป คือ การตัดรูปสระโอะออก แต่คงพยัญชนะและตัวสะกดไว้ เช่น
พบ (พ-โอะ-บ) กด (ก-โอะ-ด)
๓. สระเปลี่ยนรูป คือ สระที่เปลี่ยนรูปไปเป็นอย่างอื่น ได้แก่
สระอะ เปลี่ยนวิสรรชนีย์เป็นไม้หันอากาศ เมื่อมีตัวสะกด เช่น
ก-อะ-น → กัน ว-อะ-ย → วัย
จ-อะ-ด → จัด ร-อะ-ก → รัก

เสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ คือ เสียงที่เปล่งออกมาซึ่งถูกปิดกั้นทางลมโดยอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่ง
ของปาก ทำ�ให้เกิดเสียงแปรเป็นเสียงต่างๆ กัน
อวัยวะที่เป็นตำ�แหน่งทำ�ให้เกิดเสียงต่างๆ มีดังนี้
๑. ริมฝีปาก ได้แก่ เสียง /บ/ /ป/ /พ/ /ม/
๒. ฟันกับริมฝีปาก ได้แก่ เสียง /ฟ/
๓. ฟันกับปุ่มเหงือก ได้แก่ เสียง /ต/ /ท/ /ด/ /น/ /ล/ /ร/ /ส/
๔. ลิ้นส่วนหน้ากับเพดานแข็ง ได้แก่ เสียง /จ/ /ช/ /ย/
๕. ลิ้นส่วนหน้ากับเพดานอ่อน ได้แก่ เสียง /ก/ /ข/ /ง/
๖. ช่องระหว่างเส้นเสียง ได้แก่ เสียง /อ/
เสียงพยัญชนะในภาษาไทยมี ๒๑ เสียง มีรูปหรือตัวอักษร ๔๔ รูป เสียงพยัญชนะบางเสียง
มีรูปหรือตัวอักษรเพียงรูปเดียว บางเสียงมีรูปหรือตัวอักษรหลายรูป ดังนี้
7
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

เสียงพยัญชนะ รูปหรือตัวอักษร
/ก/ ก
/ค/ ข ฃ ค ฅ ฆ
/ง/ ง
/จ/ จ
/ช/ ชฉฌ
/ส/ ซศษส
/ด/ ดฎ
/ต/ ตฏ
/ท/ ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ
/น/ นณ
/บ/ บ
/ป/ ป
/พ/ ผพภ
/ฟ/ ฝฟ
/ม/ ม
/ย/ ญย
/ร/ ร
/ล/ ลฬ
/ว/ ว
/ห/ หฮ
/อ/ อ
ลักษณะของเสียงพยัญชนะในภาษาไทย แบ่งตามวิธีการออกเสียงพยัญชนะไทยมีดังต่อไปนี้
๑. เสียงระเบิดหรือเสียงกัก คือ เสียงพยัญชนะซึ่งเกิดจากลมที่เปล่งออกมาแล้วถูกกัก
ณ ที่ใดที่หนึ่งในช่องปากแล้วเปิดช่องที่กักนั้นให้ลมพุ่งออกมาโดยแรง ได้แก่
เสียงระเบิดไม่มีลม /ป/ /ต/ /ก/ /ด/
เสียงระเบิดมีลม /พ/ /ท/ /ค/
๒. เสียงนาสิก คือ เสียงพยัญชนะซึ่งเกิดจากลมส่วนหนึ่งเข้าไปสั่นสะเทือนในโพรงจมูก
ได้แก่ เสียง /ม/ /น/ /ง/
๓. เสียงข้างลิ้น คือ เสียงพยัญชนะซึ่งเกิดจากลมที่ถูกปล่อยออกมาทางข้างลิ้น ได้แก่ เสียง /ล/
๔. เสียงรัว คือ เสียงพยัญชนะที่เกิดจากการทำ�ปลายลิ้นให้มีลักษณะอ่อนตัว กระดกขึ้นไป
แตะหลังฟัน ได้แก่ เสียง /ร/
8
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๕. เสียงเสียดแทรก คือ เสียงพยัญชนะซึ่งเกิดจากลมที่บีบตัวผ่านช่องแคบ ณ ที่ใดที่หนึ่ง


ในช่องปาก ทำ�ให้เกิดเสียงเสียดแทรก ได้แก่ เสียง /ฟ/ /ส/ /ฮ/
๖. เสียงครึ่งสระ คือ เสียงเลื่อนที่เกิดขึ้นระหว่างเสียงสระ ๒ เสียง ได้แก่ เสียง /ย/ /ว/ /อ/
ตำ�แหน่งของเสียงพยัญชนะ
เสียงพยัญชนะปรากฏได้ ๒ ตำ�แหน่ง คือ
๑. ตำ�แหน่งต้นพยางค์ พยัญชนะทุกเสียงในภาษาไทยปรากฏในตำ�แหน่งต้นพยางค์
ได้ทุกเสียง โดยปรากฏเพียงตัวเดียว ดังนี้
ลำ�ดับที่ เสียงพยัญชนะ พยัญชนะต้น ตัวอย่างคำ�
๑ ก ก กา
๒ ค ข ฃ ค ฅ ฆ ไข่ (ฃ้า) คู่ (ฅอ) ฆ่า
๓ ง ง เงย
๔ จ จ จับ
๕ ช ช ฉ ฌ ช้าง ฉัน เฌอ
๖ ซ ซ ศ ษ ส ซบ ศก ฤๅษี ส่ง
๗ ด ด ฎ ดี ฎีกา
๘ ต ต ฏ ตาล กุฏิ
๙ ท ฐ ฑ ฒ ถ ท ธ ฐาน มณโฑ เฒ่า ถุง ทน ธง
๑๐ น น ณ นุ่ง เณร
๑๑ บ บ บิน
๑๒ ป ป ป้า
๑๓ พ ผ พ ภ ผ้า พ่อ ภู่
๑๔ ฟ ฝ ฟ ฝ่า ฟ้า
๑๕ ม ม มา
๑๖ ย ญ ย ญาติ ยุ่ง
๑๗ ร ร รู้ ร้อง
๑๘ ล ล ฬ ลา ฬา
๑๙ ว ว วัด
๒๐ ห ห ฮ หัด ฮา
๒๑ อ อ อาจ
9
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

นอกจากนี้พยัญชนะต้นยังปรากฏเสียงควบกล้ำ�ซึ่งออกเสียงควบกัน ๒ เสียงติดต่อกัน
โดยไม่มีเสียงสระคั่นกลางและปรากฏเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์
กร เช่น กราด กรอง เกรียงไกร
กล เช่น กลาย กลิ้ง กลับ ไกล
กว เช่น กวาง เกวียน กวัก กว่า
คร เช่น คร่า ครึ ครู เครื่อง
คล เช่น คลาด คลัก คลุม เคลื่อน
คว เช่น ควัก ควาย คว่ำ� ควาญ
ตร เช่น ตรัส ตรวจ ตริ เตรียม
ปร เช่น ปราบ เปรียบ ปรุง โปร่ง
ปล เช่น ปลาย ปลื้ม ปลอม ปลุก
พร เช่น พระ พราย พริก ไพร่
พล เช่น พลู พลับ พลิก พลอง
ปัจจุบนั มีค�ำ ยืมจากภาษาอังกฤษหลายคำ�ทำ�ให้มกี ารออกเสียงพยัญชนะต้นควบกล้�ำ เพิม่ ขึน้
อีกหลายคู่ เช่น เสียงพยัญชนะต้นควบกล้ำ� ดังต่อไปนี้
บร /br/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า เบรก เบรน เบรด
บล /bl/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า บล็อก บลัด บลู
ดร /dr/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า ไดร์ฟ ดรัม
ทร /thr/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า ทรานซิสเตอร์ แทรกเตอร์
ฟร /fr/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า ฟรี เฟรม
ฟล /fl/ เช่นเสียงพยัญชนะต้นในคำ�ว่า แฟลต ฟลูออรีน
๒. ตำ�แหน่งท้ายคำ� เสียงพยัญชนะไทยในตำ�แหน่งท้ายคำ� คือ ตัวสะกด มี ๘ เสียง ได้แก่
ก (แม่กก) เช่น มัก เลข โชค เมฆ
ง (แม่กง) เช่น รัง
ด (แม่กด) เช่น อาจ คช กรีซ กฎ ปรากฏ อิฐ พัฒนา มด เขต รถ บาท บพิธ ยศ
โทษ ทาส
น (แม่กน) เช่น วัน คุณ ผลาญ วาร ผล กาฬ
บ (แม่กบ) เช่น รบ บาป ภพ ยีราฟ โลภ
ม (แม่กม) เช่น คาม พราหมณ์
ย (แม่เกย) เช่น นาย เขย
ว (แม่เกอว) เช่น ดาว แพรว
รูปพยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกดมีอยู่ ๗ ตัว คือ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ
10
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

มาตราตัวสะกด
มาตราตัวสะกดต่างๆ มีดังนี้
๑. แม่ ก กา คือ มีแต่รูปสระ ทั้งสระยาวและสระสั้น เช่น มา ดี มะลิ ใจ โค ไป
๒. ตัวสะกดในมาตราทั้ง ๘ แม่ มี กง กน กม เกย เกอว กก กด กบ
๓. ตัวสะกดในมาตราทั้ง ๘ แม่ แบ่งเป็น
๓.๑ มีตัวสะกดตรงตามมาตรา ดังนี้
๑) แม่กง มีตัวสะกดคือ ง เช่น ลิง บาง นั่ง จาง โจง ดึง ลง เพลง
๒) แม่กม มีตัวสะกดคือ ม เช่น คม ตรม ล้ม โคม สาม จาม ห้าม
๓) แม่เกย มีตัวสะกดคือ ย เช่น สาย โปรย โดย หาย สบาย เลย
๔) แม่เกอว มีตัวสะกดคือ ว เช่น แวว ดาว แพรวพราว หิว เร็ว เปลว
ข้อสังเกต
คำ�บางคำ� เช่น มัว ว ในคำ�นี้ไม่ใช่แม่เกอว เพราะ ว เป็นส่วนหนึ่งของสระอัว
๓.๒ มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา คือ มีตัวสะกดอื่นๆ ที่มีเสียงเดียวกับตัวสะกดของ
มาตรา ดังนี้
๑) แม่กก มีตัวสะกด ได้แก่ ก ข ค ฆ เช่น รัก สุข นาค เมฆ
๒) แม่กด มีตัวสะกด ได้แก่ ด จ ช ซ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ต ถ ท ธ ศ ษ ส เช่น มด กิจ
เดช ก๊าซ กฎ ปรากฏ รัฐ ครุฑ วุฒิ มรกต รถ ศรัทธา พุธ ทิศ กระดาษ โอกาส
๓) แม่กบ มีตัวสะกด ได้แก่ บ ป พ ฟ ภ เช่น พบ บาป เคารพ ยีราฟ ลาภ
๔) แม่กน มีตัวสะกด ได้แก่ น ญ ณ ร ล ฬ เช่น คน หาญ กัณฑ์ การ ผล
กาฬ
พยัญชนะไทยแบ่งออกตามระดับเสียงได้ ๓ พวก หรือ ๓ หมู่ เรียกว่า ไตรยางศ์ ได้แก่
อักษรสูง อักษรกลาง และอักษรต่ำ�
อักษรสูงมี ๑๑ ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรกลางมี ๙ ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรต่ำ�มี ๒๔ ตัว แบ่งออกเป็นอักษรต่ำ�เดี่ยวและอักษรต่ำ�คู่ ได้แก่
๑. อักษรต่ำ�เดี่ยว คือ อักษรต่ำ�ที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง เวลาผันต้องดึงเอา ห เข้ามาช่วย
จึงครบทั้ง ๕ เสียง มี ๑๐ ตัว ได้แก่ ง ญ ณ น ม ย ร ล ว ฬ
๒. อักษรต่ำ�คู่ คือ อักษรต่ำ�ที่มีเสียงคู่กับอักษรสูงมี ๑๔ ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ช ซ ฌ ฑ ฒ ท
ธพฟภฮ
11
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

จับคู่กับอักษรสูงได้ ๗ คู่ ดังนี้

อักษรคู่
อักษรต่ำ�คู่ อักษรสูง
คฅฆ ขฃ
ชฌ ฉ
ซ ศษส
ฑฒทธ ฐถ
พภ ผ
ฟ ฝ
ฮ ห

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๒

ก. ตอบคำ�ถามต่อไปนี้
๑. เสียงพยัญชนะมีกี่เสียง
๒. อวัยวะส่วนใดมีความสำ�คัญในการออกเสียงพยัญชนะ
๓. พยัญชนะเสียงระเบิดมีลมและไม่มีลมมีเสียงใดบ้าง ยกตัวอย่างชนิดละ ๓ เสียง
๔. เสียงนาสิกคืออะไร พยัญชนะนาสิกมีเสียงใดบ้าง
๕. เสียงเสียดแทรกคืออะไร พยัญชนะเสียงเสียดแทรกมีเสียงใดบ้าง
๖. ตำ�แหน่งของเสียงพยัญชนะปรากฏอยู่ส่วนใดของคำ�ได้บ้าง
๗. รูปพยัญชนะใดที่ไม่ใช้เป็นตัวสะกด
๘. อักษรคู่คืออะไร ยกตัวอย่าง ๓ คู่
ข. พิจารณาคำ�ต่อไปนีว้ า่ มีตวั สะกดอยูใ่ นมาตราใด (คำ�ทีม่ หี ลายพยางค์บอกเสียงตัวสะกดทุกพยางค์)
สวัสดี มุข ศาสตร์ เชย อาวุธ นิทรา
เมฆ ขบถ ครุฑ พล่าน สาป เลิศ
หาญ เที่ยว อาจ ปรู๊ฟ ผลาญ ขรัว
แกว่ง จิต กราบ ปราม
12
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

เสียงวรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ คือ เสียงทีเ่ ปล่งออกมาพร้อมกับเสียงสระ จะมีเสียงสูงต่�ำ ตามการสัน่ สะเทือน
ของสายเสียง จึงเรียกว่าเสียงดนตรี
วรรณยุกต์ไทย มี ๔ รูป ๕ เสียง คือ
รูป สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
เสียง
- กา กัด นาค นะ หนี
่ (ไม้เอก) - ป่า ล่า - -
้ (ไม้โท) - - ป้า ม้า -
๊ (ไม้ตรี) - - - เจ๊ -
๋ (ไม้จัตวา) - - - - จ๋า

ภาษาไทยมีเสียงวรรณยุกต์ ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา


แต่มีรูปแทนเสียงวรรณยุกต์เพียง ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา)
เครื่องหมายวรรณยุกต์เหล่านี้ไม่ได้ใช้แทนเสียงวรรณยุกต์นั้นๆ ตรงตัวเสมอไป แต่แปรเปลี่ยนตาม
ชนิดของพยัญชนะ ได้แก่ อักษรกลาง อักษรต่ำ� อักษรสูง และตามประเภทของคำ�เป็น คำ�ตาย
ดังตารางการผันเสียงวรรณยุกต์ต่อไปนี้

คำ�เป็น คำ�ตาย
หมู่อักษร
สามัญ เอก โท ตรี จัตวา สามัญ เอก โท ตรี จัตวา
อักษรกลาง กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า - กัก กั้ก กั๊ก กั๋ก
อักษรสูง - ข่า ข้า - ขา - ขัด ขั้ด - -
อักษรต่ำ� คา - ค่า ค้า - - - คั่ด คัด คั๋ด ← เสียงสั้น
- - คาด ค้าด ค๋าด ← เสียงยาว

คำ�เป็น คำ�ตาย
คำ�เป็น มีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำ�ที่ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา เช่น ปู มี ขา
๒. เป็นคำ�ที่มีตัวสะกดในแม่กง กน กม เกย เกอว เช่น จง ขน ลม เคย หิว
๓. เป็นคำ�ที่ประสมสระ อำ� ไอ ใอ เอา เช่น จำ� ใจ ไป เล่า
13
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

คำ�ตาย มีลักษณะดังนี้
๑. เป็นคำ�ที่ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา เช่น ดุ นะ ติ เละ
๒. เป็นคำ�ที่มีตัวสะกดในแม่ กก กด กบ เช่น รัก นิด จบ

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๓

ก. พิจารณาคำ�ต่อไปนีว้ า่ ประสมด้วยสระเสียงใดบ้าง (คำ�ทีม่ หี ลายพยางค์ให้ระบุเสียงสระทุกพยางค์)


ตัวอย่าง ปด ลดรูปสระโอะเมื่อมีตัวสะกด
โป๊ะ วัด ธรรม นวล หฤทัย บทจร ไพร อนุสรณ์ เทิด

ข. พิจารณาคำ�ต่อไปนี้ว่าออกเสียงวรรณยุกต์อะไร (คำ�ที่มีหลายพยางค์ให้ระบุเสียงวรรณยุกต์
ทุกพยางค์)
ฆ้อง พลบ ห้ำ�หั่น เที่ยง เหมือน จิต หลาย แผล็บ อสูร เสื่อ
สมัคร ห่วง ลาม ทาก เฝ้า เห็น ฝาก ขีด เสียง เพีย้ ง
ค. พิจารณาข้อความแต่ละข้อแล้วขีดเส้นใต้คำ�ตอบที่สะกดถูกต้องในวงเล็บ
๑. โรง (เตี้ยม, เตี๊ยม) ใหม่เอี่ยมดีจัง
๒. ใครมายก (อั๊งโล่, อั้งโล่) ของยายไป
๓. คุณมาคนเดียวหรือ (คะ, ค่ะ)
๔. ขอบคุณมาก (คะ, ค่ะ) ที่มาส่งถึงบ้าน
๕. หลานสาวชอบกินขนมปังไส้ (หมูหยอง, หมูหย็อง)
๖. คุณเก็บ (โน๊ต, โน้ต) เพลงไทยไว้ไหนครับ
๗. คุณยาย (คว้าน, คว๊าน) เงาะอยู่ริม (กว้าน, กว๊าน)
๘. ขวัญ (ขว้าง, กว้าง) ข้าว (ขว้าง, ฟ่าง) ให้นกในลาน (ฟ่าง, กว้าง)
๙. พี่นั่ง (ฟั่น, ควั่น) อ้อย น้อง (ฟั่น, ควั่น) เทียน
๑๐. พ่อเอา (ปุ๊งกี๋, ปุ้งกี๋) มาโกยถ่าน
ง. ศึกษาบทสนทนาจากเรื่องสั้นหรือนวนิยาย พิจารณาว่าผู้เขียนเขียนตามเสียงพูดหรือไม่
หากเขียนตามเสียงพูดให้แก้ไขรูปคำ�ให้ถูกต้องตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน
(อย่างน้อยจำ�นวน ๕ คำ�)
14
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๓. ภาษาไทยมีระดับภาษา
ระดับของภาษา คือ การแบ่งภาษาให้เหมาะสมกับระดับของบุคคล โอกาส กาลเทศะ
และชุมชน ภาษาแบ่งเป็น ๕ ระดับ คือ ภาษาระดับพิธีการ ระดับทางการ ระดับกึ่งทางการ ระดับ
ไม่เป็นทางการ และระดับกันเอง
ลักษณะสำ�คัญของภาษาทั้ง ๕ ระดับ มีดังนี้
๑. ภาษาระดับพิธีการ ใช้สื่อสารในโอกาสหรือสถานการณ์ที่จัดขึ้นอย่างเป็นงานพิธีการ
หรือในที่ประชุมชน เช่น การพูดในที่ประชุมอย่างเป็นทางการ การกล่าวอวยพร การกล่าวต้อนรับ
การกล่าวปราศรัย การกล่าวสดุดี การกล่าวรายงานในพิธีต่างๆ
ภาษาระดับพิธีการต้องมีความไพเราะสละสลวยและให้ความรู้สึกจรรโลงใจ ผู้พูดจึงเตรียม
บทพูดมาล่วงหน้าและนำ�เสนอด้วยการอ่าน
ตัวอย่าง

กราบเรียน ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ


ในนามของราชบัณฑิตยสถาน กระผมมีความปลาบปลื้มยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ท่าน
ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษได้กรุณามาเป็นประธานในพิธีเปิดงานฉลองวันสถาปนา
ราชบัณฑิตยสถานครบ ๗๐ ปี ในวันนี้ ทั้งได้กรุณารับแสดงปาฐกถาพิเศษในเรื่อง
“ความเป็นคนไทยด้วยจิตวิญญาณ” อีกด้วย นับตั้งแต่สภาผู้แทนราษฎรได้ลงมติผ่านร่าง
พระราชบัญญัติว่าด้วย ราชบัณฑิตยสถาน ฉบับแรกเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖
วันที่ ๓๑ มีนาคม จึงถือเป็นวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน นับแต่นั้นมาจวบจนวันนี้
ราชบัณฑิตยสถานยังคงยึดมัน่ ในหน้าทีใ่ ห้ความสนับสนุนเหล่านักปราชญ์ราชบัณฑิตให้มโี อกาส
สร้างองค์ความรู้เป็นสรรพวิชาให้เกิดคุณประโยชน์แก่แผ่นดิน แก่ประเทศชาติและประชาชน
มาโดยตลอด โดยเฉพาะการพัฒนาบทบาทในการให้ความเห็น คำ�ปรึกษา และปฏิบัติการ
เกี่ยวกับวิชาการตามความประสงค์ของรัฐบาล นับเป็นองค์กรแห่งความรู้ที่มีศักยภาพสูงสุด
องค์กรหนึ่ง ปัจจุบันราชบัณฑิตยสถานมีราชบัณฑิต ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง ๘๓ คน ภาคีสมาชิก ๗๕ คน กรรมการวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ
จากภาครัฐและภาคเอกชน ๖๘๕ คน เจ้าหน้าที่ของราชบัณฑิตยสถาน ๙๔ คน ร่วมกัน
ดำ�เนินงานสร้างสรรค์องค์ความรู้ในวิทยาการด้านธรรมศาสตร์และการเมือง วิทยาศาสตร์
15
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

และวรรณศิลป์ ทั้งในด้านงานค้นคว้าวิจัย งานบัญญัติศัพท์ งานพจนานุกรม งานสารานุกรม


งานอักขรานุกรม งานอนุกรมวิธาน และงานกำ�หนดมาตรฐานและหลักเกณฑ์ทางภาษา
มีคณะกรรมการวิชาการรวม ๔๔ คณะ และได้ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในการจัดการและ
พัฒนาฐานข้อมูลทางวิชาการสาขาต่างๆ ที่ได้สร้างสรรค์มาตลอดเวลา ๗๐ ปี และที่กำ�ลัง
จัดทำ�อยู่ในปัจจุบันให้เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บและสืบค้น
ข้อมูล ทั้งยังมีการให้บริการข้อมูลแก่หน่วยงานราชการและประชาชนผ่านทางเว็บไซต์ของ
ราชบัณฑิตยสถานโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ความเป็นปราชญ์แห่งแผ่นดินของสมาชิกแห่งราชบัณฑิตยสถาน มิได้มีเพียงงาน
ทีท่ �ำ ให้แก่ราชบัณฑิตยสถานดังกล่าวข้างต้น แต่บคุ คลเหล่านีย้ งั คงปฏิบตั งิ านให้แก่หน่วยงาน
ที่ตนสังกัด ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน งานส่วนตน และที่สำ�คัญยิ่ง คือ ราชบัณฑิตและ
ภาคีสมาชิกจำ�นวนหนึ่งได้มีโอกาสสนองงานตามรอยพระยุคลบาททั้งโดยตรงและทางอ้อม
เช่น งานในโครงการตามพระราชดำ�ริต่างๆ ในวิชาที่ตนเชี่ยวชาญ การจัดงานฉลอง
วันสถาปนาราชบัณฑิตยสถานครบ ๗๐ ปีครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นที่การเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการ
ในประเภทวิชาและสาขาวิชาต่างๆ รวมทั้งความรู้อันเป็นสหวิทยา เป็นโครงการต่อเนื่องตลอดปี
โดยได้รับความสนับสนุนจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่น ธนาคารกรุงไทย
จำ�กัด (มหาชน) กรุณาให้ความสนับสนุนงบประมาณค่าใช้จ่ายเป็นจำ�นวนสามล้านบาท
กระทรวงการต่างประเทศกรุณาให้ความอนุเคราะห์ให้ใช้สถานที่ในการจัดพิธีเปิดงานและ
จัดอภิปรายทางวิชาการเป็นปฐม
บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว กระผมขอกราบเรียนเชิญ ฯพณฯ ประธานองคมนตรี
และรัฐบุรุษ เปิดงานและแสดงปาฐกถาพิเศษ ณ บัดนี้

(คำ�กล่าวรายงานของศาสตราจารย์ นายแพทย์อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกราชบัณฑิตยสถาน
ในพิธีเปิดงานฉลองวันสถาปนาราชบัณฑิตยสถาน ครบ ๗๐ ปี เมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๗
จาก www.royin.go.th)


ปัจจุบัน “ราชบัณฑิตยสถาน” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “สำ�นักงานราชบัณฑิตยสภา” ตามพระราชบัญญัติสำ�นักงาน
ราชบัณฑิตยสภา พ.ศ.๒๕๕๘ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๘
16
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๒. ภาษาระดับทางการ ภาษาระดับนี้ใช้ในการบรรยายหรืออภิปรายอย่างเป็นทางการ
ในที่ประชุมที่เกี่ยวกับวิชาการหรือระดับหน่วยงาน เช่น การอภิปรายในที่ประชุม การปาฐกถา เช่น
หนังสือราชการหรือรายงานทางวิชาการ

ตัวอย่าง

การพัฒนาทรัพยากรพรรณพืชสมุนไพรที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์

ปัจจุบันนักวิจัยทั่วโลกกำ�ลังสนใจศึกษาค้นคว้าเพื่อหาวิธีใช้ประโยชน์จากสมุนไพร
จนเป็นทีพ่ สิ จู น์แล้วว่า สมุนไพรสามารถใช้เป็นยาป้องกันรักษาโรค ใช้ในเครือ่ งสำ�อาง ผลิตภัณฑ์
อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น น้ำ�ยาทำ�ความสะอาด สารฆ่าแมลง เป็นต้น โดยเฉพาะ
การนำ�มาใช้เป็นยารักษาโรคนั้น นอกจากใช้ตามตำ�รายาพื้นบ้านแล้ว ยังมีการสกัดสารสำ�คัญ
ในสมุนไพรมาศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นยารักษาโรคต่างๆ เช่น มะเร็ง เอดส์ เบาหวาน อัลไซเมอร์
มาลาเรีย และโรคติดเชือ้ อืน่ ๆ ซึง่ การรักษาด้วยยาแผนปัจจุบนั ยังได้ผลไม่ดนี กั หรือมีการดือ้ ยา
ยาเหล่านีม้ กี ารจดสิทธิบตั รเนือ่ งจากมีคา่ ใช้จา่ ยในการวิจยั และพัฒนา ทำ�ให้ผลิตภัณฑ์
ยาใหม่ๆ จากสมุนไพรมีราคาแพง และประเทศไทยต้องจ่ายค่าสิทธิบัตรสูงมากหากจะทำ�
การผลิตหรือวิจัยยาจากสมุนไพรดังกล่าว ทั้งที่หลายชนิดเป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำ�เนิดอยู่ใน
ประเทศไทย ดังนั้นจึงมีความจำ�เป็นต้องเร่งดำ�เนินการวิจัยและพัฒนา เพือ่ หาทางใช้ประโยชน์
จากสมุนไพรไทย และปกป้องสิทธิความเป็นเจ้าของทรัพยากรพรรณพืชสมุนไพร เพื่อนำ�ไปสู่
การอนุรักษ์สมุนไพรไทยอย่างยั่งยืนต่อไป

(“การพัฒนาทรัพยากรพรรณพืชสมุนไพรที่หายากและใกล้จะสูญพันธุ์” ของ บุปผาชาติ พตด้วง


วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒ เมษายน-มิถุนายน ๒๕๔๘)

๓. ภาษาระดับกึง่ ทางการ ภาษาระดับนีค้ ล้ายกับภาษาระดับทางการแต่ลดความเคร่งขรึม


ลงบ้าง เพื่อให้เกิดสัมพันธภาพอันใกล้ชิดระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นบุคคลกลุ่มเดียวกัน มีการติดต่อหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
กันเป็นระยะๆ เช่น ในการประชุมกลุ่มหรือการอภิปรายกลุ่ม การบรรยายในชั้นเรียน ข่าว หรือ
บทความบางประเภท เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป
17
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

ตัวอย่าง

เรื่องการกินหมากนั้นไม่ใช่ของไทยเรามาแต่เดิม ชาติที่กินหมากก็มีในแขกอินเดีย
แขกชวา แขกมลายู และชาติอื่นๆ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของเราตลอดไปจนถึงจีน ที่เห็นมี
การกินหมากกันมากก็มจี นี แต้จวิ๋ ถัดมาก็มจี นี ฮกเกีย้ นและจีนทีม่ อี าชีพทำ�นาทำ�สวน ชาติอนื่ ๆ
นอกนั้นไม่มีกิน อยากรู้ว่าใครเป็นต้นเหตุของการกินหมาก สาวไปสาวมา เรื่องไปตกอยู่กับ
อินเดีย เพราะสุศรุตที่เป็นผู้แต่งตามตำ�ราแพทย์อินเดียและเป็นผู้ที่กล่าวถึงการกินหมากว่าดี
เป็นผู้มีอายุอยู่ในรุ่นปลายศตวรรษที่ ๘ แห่งคริสต์ศักราช คือล่วงมาได้พันกว่าปี อินเดีย
เป็นต้นเหตุของการกินหมาก
(เสฐียรโกเศศ, “กินหมาก”)
(อนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ), พระยา. รวมเรื่องสั้น.
พระนคร : โรงพิมพ์ตำ�รวจ กรมตำ�รวจ, ๒๕๐๐.)

๔. ภาษาระดับไม่เป็นทางการ ภาษาระดับนีม้ กั ใช้ในการสนทนาโต้ตอบระหว่างบุคคลหรือ


กลุ่มบุคคล ในสถานที่และกาละที่ไม่ใช่ส่วนตัว
เนื้อหาของสารมักเป็นเรื่องทั่วๆ ไปในการดำ�เนินชีวิตประจำ�วัน

ตัวอย่าง

เคยกินปลากระบอกเมืองจีนตามเหลาไหมครับ ทีม่ าเย็นๆ แล้วกินกับน้�ำ จิม้ รสเปรีย้ วๆ


อร่อยมาก นี่เป็นของที่ทำ�เองก็ได้ ง่ายจัง
ผมถามเพื่ อ นหมอว่ า จะให้ ทำ � อะไร เพื่ อ นก็ บ อกว่ า นึ่ ง ก็ ข อดเกล็ ด ผ่ า ท้ อ ง
ทำ�ความสะอาดแล้วนึ่ง อันที่จริงเกล็ดนั้นไม่ต้องขอดก็ได้ นึ่งสุกดีก็ยกออกนำ�ไปแช่ช่องแข็ง
ตูเ้ ย็นเพือ่ ให้เย็น ทีค่ วรแล้วเมือ่ นึง่ สุกดีกแ็ ช่ตเู้ ย็นช่องธรรมดาไว้สกั คืนหนึง่ เนือ้ ปลาจะหวานมัน
เวลาจะกินก็เปิดหนังปลาออก การลอกหรือเปิดหนังปลานี้ทำ�ได้ง่ายๆ

(วาณิช จรุงกิจอนันต์, ตัดตอนจาก “เข้าครัว” ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน


ประจำ�วันอาทิตย์ที่ ๗ มีนาคม ๒๕๕๗)
18
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๕. ภาษาระดับกันเอง ภาษาระดับนี้มักใช้กันในครอบครัวหรือระหว่างเพื่อนสนิทที่มี
ความสัมพันธ์สนิทสนมกัน มักใช้ในสถานที่ที่เป็นส่วนตัว
ตัวอย่าง

ยายเดินขึ้นจากท่าน้ำ� ไม่ลืมที่จะตักน้ำ�มาด้วยขันบาตร รดน้ำ�มะลิลาที่หัวกระได ยายได้


ดอกของมันไปร้อยมาลัยรุ่งริ่งบูชาพระเสมอ มาลัยรุ่งริ่งนั้นเป็นคำ�ประชดประเทียดของ
อีส้มเช้ามัน มันว่ามาลัยที่ยายร้อยนั้นไม่เป็นมาลัย ดูรุ่งริ่งเหมือนอะไรก็ไม่รู้
“ก็กูไม่ใช่ชาววัง กูมันชาวบ้าน”
(วาณิช จรุงกิจอนันต์, ซอยเดียวกัน. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร : บูรพาสาส์น, ๒๕๕๖.)

การใช้ภาษาพูดระดับกันเองมักใช้ในภาษาพูดมากกว่าภาษาเขียน เช่น ภาษาถิ่น ภาษาที่ใช้


ซื้อขายกันในตลาดหรือร้านค้า ภาษาสแลงหรือภาษาคะนอง ภาษาที่ใช้ในการละเล่นบางอย่าง เช่น
จำ�อวด ภาษาที่ใช้ในการสนทนาระหว่างคนคุ้นเคยกัน ถ้าเขียนมักใช้ในบทล้อ จดหมายส่วนตัว หรือ
บทสนทนาของตัวละครในนวนิยาย เรื่องสั้น เป็นต้น

ข้อสังเกต
การใช้ภาษาให้เหมาะกับวัฒนธรรมการใช้ภาษาโดยใช้ระดับภาษาให้ถูกต้อง มีดังนี้
๑. เลือกใช้ถ้อยคำ�ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล การเลือกใช้ถ้อยคำ�ให้เหมาะสมกับ
ฐานะของบุคคล เป็นวัฒนธรรมการใช้ภาษาของไทยที่มีมานาน ดังคำ�อธิบายที่กล่าวไว้ว่า “ตามที่
เข้าใจกันทั่วไป ราชาศัพท์ หมายถึง ถ้อยคำ�จำ�พวกหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ เป็นคำ�ที่ใช้แก่พระมหา-
กษัตริย์และเจ้านาย เช่น คำ�ว่า พระเนตร พระกรรณ พระบาท พระหัตถ์ สรง เสวย ที่จริง
ราชาศัพท์มีความหมายกว้างกว่านี้ ตำ�ราของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) อธิบาย
คำ�นี้ไว้เป็นใจความว่า ราชภาษา อันสมมุติเรียกว่า ราชาศัพท์ เป็นถ้อยคำ�ภาษาที่ผู้ทำ�ราชการพึง
ศึกษาจดจำ�ไว้ใช้ให้ถูกในการกราบบังคมทูลพระกรุณา ในการเขียนหนังสือ และแต่งโคลง ฉันท์
กาพย์ กลอน จะกล่าวถึงผู้ใด สิ่งใด ก็ใช้ถ้อยคำ�ให้สมความ ไม่ให้พลาดจากแบบแผนเยี่ยงอย่างที่มี

มาแต่ก่อน”


สำ�นักงานสร้างเสริมเอกลักษณ์ของชาติ. ราชาศัพท์. พิมพ์ครัง้ ที่ ๔. กรุงเทพฯ : บริษทั ด่านสุทธาการพิมพ์ จำ�กัด,
๒๕๕๕.
19
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

กริยาสามัญ กริยาราชาศัพท์ ชั้นบุคคล


ตาย สวรรคต พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี พระราชินี
สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก
สมเด็จพระบรมราชชนก
สมเด็จพระบรมราชชนนี
สมเด็จพระยุพราช
ทิวงคต กรมพระราชวังบวรฯ
พระราชวงศ์ทดี่ �ำ รงพระอิสริยศักดิส์ งู ทรงพระเศวตฉัตร
๗ ชั้น
สิ้นพระชนม์ พระราชวงศ์ตงั้ แต่ชนั้ สมเด็จเจ้าฟ้าลงมาถึงพระองค์เจ้า
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า
สมเด็จพระสังฆราช
ถึงชีพิตักษัย หม่อมเจ้า
สิ้นชีพิตักษัย
สิ้นชีพตักษัย
(พูดสั้นๆ เป็นภาษา
พูดว่า “สิ้นชีพ”)
มรณภาพ พระสงฆ์, สามเณร
ถึงแก่พิราลัย เจ้าประเทศราช
สมเด็จเจ้าพระยา
ถึงแก่อสัญกรรม เจ้าพระยา (ควรใช้แก่ผู้เทียบเท่าด้วย) เช่น
เจ้าพระยาพระคลัง (หน) ถึงแก่อสัญกรรม พ.ศ. ๒๓๔๘
ถึงแก่อนิจกรรม พระยา (ควรใช้แก่ผู้เทียบเท่าด้วย) เช่น
พระยาธรรมปรีชา (แก้ว) ถึงแก่อนิจกรรมในสมัย
รัชกาลที่ ๒
ถึงแก่กรรม บุคคลทั่วไป
ล้ม สัตว์ใหญ่ (เช่น ช้างล้ม) อสูร (เช่น ทศกัณฐ์ล้ม)
ล้ม สัตว์เล็ก (สุนัข, ไก่, ปลา)
20
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

ตัวอย่าง การใช้ภาษาพูดระหว่างผู้ที่ไม่รู้จักหรือไม่คุ้นเคยกัน

ณ ที่ทำ�การไปรษณีย์แห่งหนึ่ง เมื่อเวลา ๑๒.๑๕ น.


เจ้าหน้าที่ : “สวัสดีครับ คุณต้องการอะไรครับ”
ผู้ติดต่อ : “ขอซื้อแสตมป์ราคา ๓ บาท ๑๐๐ ดวง ค่ะ”
เจ้าหน้าที่ : “นี่ครับแสตมป์”
ผู้ติดต่อ : “ขอบคุณค่ะ”

ณ ร้านขายผลไม้ ลูกค้าเป็นหญิงสูงอายุกำ�ลังเลือกผลไม้อย่างพิถีพิถัน
คนขาย : “ผลไม้ของผมสดและคัดมาแล้วครับ”
ลูกค้า : “ฉันเห็นสดน่ะสิจึงแวะเข้ามาดู”
คนขาย : “ผมช่วยหยิบใส่ถุงผ้าให้นะครับ ขอบคุณครับ แล้วอย่าลืมมาอุดหนุนผม
อีกนะครับ”
ลูกค้า : “บริการดีอย่างนี้ วันหน้าจะมาอุดหนุนใหม่นะคะ”

๒. เลือกใช้ถ้อยคำ�ให้เหมาะกับโอกาส สถานการณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล


ภาษาไทยมีวิธีใช้ถ้อยคำ�และข้อความที่แปรเปลี่ยนให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์ และ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น ถ้าจะพูดว่า “บอกให้รู้” เมื่อผู้พูดกับผู้ฟังอยู่ในสถานการณ์ต่างกัน
ก็จะมีวิธีพูดที่แตกต่างกัน ดังนี้
21
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

พ่อพูดกับลูกชาย “พ่อจะเล่าให้แกฟัง”
ข้าราชการผู้น้อยกับผู้บังคับบัญชา “กระผมจะมากราบเรียนให้ท่านทราบ”
พระภิกษุกับชาวบ้าน “อาตมาจะชี้แจงให้โยมฟัง”
นายอำ�เภอกับชาวบ้าน “ผมขอชี้แจงให้พี่น้องทั้งหลายทราบ”
นักเลงกับลูกน้อง “ข้าจะบอกให้เอ็งรู้ไว้”

เราจะเห็นได้ว่า การใช้ถ้อยคำ�ของบุคคลเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ โอกาส การใช้


สรรพนามระหว่างผูพ้ ดู กับผูฟ้ งั เปลีย่ นไปตามความสัมพันธ์ของบุคคล สะท้อนถึงวัฒนธรรมไทยทีด่ งี าม
ดังเช่นการใช้ถ้อยคำ�ในการทักทาย ขอบใจ ขอร้อง ออกคำ�สั่ง อวยพร ก็มีถ้อยคำ�เฉพาะ ซึ่งอาจ
เปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โอกาส และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ดังนี้

คำ�ทักทาย - สวัสดี เป็นไง สบายดีหรือ ไปไหนมา มาแต่เช้าเชียว อรุณสวัสดิ์


คำ�ขอบใจ - ขอบใจ ขอบคุณ เป็นพระคุณ เป็นพระเดชพระคุณ
เป็นพระมหากรุณาธิคุณ
คำ�ขอโทษ - ขอโทษ ขออภัย ขอประทานโทษ ขอประทานอภัย
คำ�ขอร้อง - ช่วยหน่อย ช่วยหน่อยเถอะ ช่วยหน่อยนะ ช่วยทำ�ให้หน่อย กรุณา
ช่วยด้วย ขอได้โปรดช่วย ขอได้โปรดกรุณาช่วย
คำ�สั่ง - จง...ด้วย ขอจง... จงอย่า... โปรด... ได้โปรด... ห้าม... กรุณาอย่า...
ขออย่าได้... กรุณา... นำ�หน้าคำ�กริยาที่ต้องการกล่าว
คำ�อวยพร - ขออวยพรให้... ขอให้... ขออำ�นาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ทั้งหลายในสากลโลก ดลบันดาลให้... นำ�หน้าคำ�อวยพรที่ต้องการกล่าว

ถ้อยคำ�บางคำ�แม้จะมีความหมายเหมือนกันแต่ให้ความรู้สึกแก่ผู้ฟังไม่เหมือนกัน คำ�บางคำ�
ทำ�ให้ผู้ฟังรู้สึกไม่สบายใจ และบางคำ�ทำ�ให้เกิดความรู้สึกในแง่ดี ดังนั้นเวลาพูดเราจะต้องคำ�นึงถึง
ความรู้สึกของผู้ฟังหรือผู้ถูกกล่าวถึงด้วย เช่น
22
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

คำ�ที่ให้ความรู้สึกในแง่บวก คำ�ที่ให้ความรู้สึกในแง่ลบ
เจริญอาหาร รับประทานจุ ตะกละ
สมบูรณ์ขึ้น อ้วน ตุ๊ต๊ะ หมูตอน
สูงสง่า สูงเหมือนเปรต
เชื้อสาย เหล่ากอ ตระกูล กำ�พืด
อนุรักษนิยม อนุรักษ์ของเก่า คร่ำ�ครึ ล้าสมัย หัวโบราณ ตกขอบ
ไปดีแล้ว พ้นทุกข์แล้ว ตาย

นอกจากนี้ หากเราต้องติดต่อประสานงานกับผู้อื่น เพื่อร่วมกันทำ�กิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง


ควรเลือกใช้ถ้อยคำ�ที่สื่อสารได้ชัดเจน ตรงจุดมุ่งหมาย แสดงถึงการให้เกียรติผู้ร่วมงาน ไม่ถือว่า
ตนเองเป็นใหญ่ หรือทำ�ให้ผู้ร่วมงานเกิดความรู้สึกว่าถูกบังคับหรือถูกเอาเปรียบ และควรให้โอกาส
แก่ผู้ร่วมงานได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๔

ก. พิจารณาบทสนทนาต่อไปนี้ว่าใช้ภาษาระดับใด และแสดงเพศ วัย และความสัมพันธ์ของผู้พูด


อย่างไรบ้าง อธิบายให้เห็นจริง
มะม่วง : คุณแม่คะ วาจาเป็นสุภาษิตแปลว่าอะไรคะ
คุณแม่ : วาจา หมายถึง คำ�พูดที่เปล่งออกมาแล้วผู้อื่นเข้าใจจ้ะ ส่วนสุภาษิต หมายถึง ถ้อยคำ�
ที่กล่าวไว้ดีแล้ว “วาจาเป็นสุภาษิต” จึงหมายถึง คำ�พูดที่กลั่นกรองไว้ดีแล้ว คือ
คำ�พูดที่พอเหมาะพอดี เป็นคุณทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง
มะปราง : วาจาเป็นสุภาษิตที่คุณแม่ว่านี้คืออะไรคะ
คุณแม่ : ลักษณะของวาจาสุภาษิตคือ
หนึ่ง เป็นคำ�จริง คือคำ�พูดที่เป็นจริง ไม่เสริมความจนผิดความจริง
สอง เป็นคำ�งาม คือเป็นคำ�สุภาพ ไพเราะ ไม่เป็นคำ�หยาบ คำ�ด่า คำ�ประชดประชัน
หรือคำ�เสียดสี
23
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

สาม เป็นคำ�พูดที่พูดแล้วก่อให้เกิดประโยชน์ เกิดผลดีทั้งแก่ผู้พูดและผู้ฟัง


สี่ เป็นคำ�พูดที่พูดด้วยจิตเมตตา พูดด้วยความหวังดี อยากให้คนฟังมีความสุข
มีเจตนาบริสุทธิ์
ห้า เป็นคำ�พูดที่ถูกกาลเทศะ
มะขาม : แม่ครับ พูดถูกกาลเทศะเป็นอย่างไร
คุณแม่ : กาลคือเวลา ส่วนเทศะคือสถานที่จ้ะ พูดถูกกาลเทศะก็คือพูดถูกเวลา รู้ว่าเวลาไหน
ควรพูด เวลาไหนยังไม่ควรพูด และต้องพูดให้ถูกสถานที่ด้วย คือต้องรู้ว่าสถานที่
เช่นไร สภาพแวดล้อมอย่างไรจึงจะสมควรพูด เช่น ถ้าเราหวังดีอยากเตือนเพื่อน
แต่ไปเตือนต่อหน้าคนมากๆ เพื่อนอาจจะอายและโกรธเคืองเราได้
มะขาม : ครับ ผมเห็นด้วย คุณครูเคยสอนว่า คนฉลาดนั้นไม่ใช่เป็นแต่พูดเท่านั้น ต้องนิ่ง
เป็นด้วย และคนที่พูดเป็นนั้น ต้องรู้สิ่งที่ไม่ควรพูดให้มากกว่าสิ่งที่ควรพูด
คุณแม่ : ถูกต้องจ้ะ มะม่วง มะปราง มะขามด้วย อย่าลืมนำ�สิ่งที่คุยกันวันนี้ไปปฏิบัติด้วย
นะจ๊ะ

ข. พิจารณาการใช้ถ้อยคำ�ต่อไปนี้ว่าเหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคลในสถานการณ์ต่างๆ หรือไม่
อย่างไร แก้ไขการใช้ถ้อยคำ�เพื่อให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมไทย
๑. ธิดาและเพื่อนๆ ไปเยี่ยมสุนันท์ซึ่งป่วยพักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลหลังจากผ่าตัดไส้ติ่ง
ธิดา “แหม! นันท์ดูซีดเซียวจังนะ ฉันรู้ข่าวหลายวันแล้วแต่ไม่มีเวลามาเยี่ยม...”
๒. นุชไปงานสวดศพมารดาของนิ่มเพื่อนนักเรียน ม.๔ ห้องเดียวกัน เมื่อนิ่มออกมาต้อนรับเธอ
นุช “เสื้อดำ�ชุดนี้สวยจังเลย ใครตัดให้เธอล่ะ คงแพงมากซิ อือ! แขกมากดีนะ”
๓. สถานที่ทำ�งานแห่งหนึ่ง งานเลิกแล้ว ข้าราชการกลับบ้านกันเกือบหมดแล้ว
สุชาติ “ยังไม่กลับอีกหรือ ขยันจริง เจ้านายของคุณก็ยังไม่กลับเหมือนกัน”
๔. แดง “ยายวินี่แปลกจริงนะ เมื่อวานนี้ฉันพูดด้วยดีๆ กลับหันหลังให้ฉันซะอย่างนั้นแหละ
ฉันว่าจะตามไปถามดูว่าเขาอารมณ์เสียอะไรมา”
อ้อย “เธอไปทำ�อะไรให้เขาไม่พอใจล่ะ แม่วินี่แสนงอนออก”
๕. เมธ “ยศ หมู่นี้เป็นอะไรไป ทำ�ซึมเหมือนคนใกล้ตาย”

ค. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๔-๕ คน ทำ�กิจกรรมต่อไปนี้


๑. สังเกตการใช้ภาษาทุกระดับเท่าที่ปรากฏในชุมชน จดบันทึกข้อความที่ได้ฟังหรืออ่าน
มาทำ�รายงานส่งครูกลุ่มละ ๑ ฉบับ บอกด้วยว่าใช้ภาษาระดับใดบ้าง
24
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๒. แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้ภาษาของวัยรุ่นตามที่ได้จากการสังเกต นำ�มาอภิปราย
ภายในกลุ่ม สรุปเป็นความคิดเห็นของกลุ่ม ทำ�รายงานส่งครู และส่งตัวแทนนำ�เสนอ
หน้าชั้นเรียน นักเรียนอาจคิดหัวข้อขึ้นเอง หรือเลือกจากหัวข้อที่แนะนำ�ให้ ดังนี้
ก. การใช้ภาษาในการสื่อสารทางอินเทอร์เน็ต
ข. การใช้ภาษาในการติดต่อสื่อสารกับบุคคลทั่วไป
ค. การใช้ภาษาในการสื่อสารกับเพื่อน
ง. การใช้ภาษาในการสื่อสารกับบุคคลในครอบครัว
จ. การใช้ภาษาในการสื่อสารกับครู
ฉ. การใช้ภาษาไทยที่น่ายกย่องให้เป็นแบบอย่าง

๔. ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง
ภาษาที่ใช้กันอยู่ในสังคมก็เหมือนสิ่งมีชีวิต มีเกิด มีตาย ไปตามกาลเวลา ดังจะเห็น
จากถ้อยคำ�ภาษาในสมัยหนึ่ง อาจจะไม่นำ�มาใช้ในยุคสมัยต่อมา ในขณะเดียวกันก็มีคำ�ศัพท์สำ�นวน
ภาษาใหม่ๆ เกิดขึ้น เพื่อใช้เรียกวัสดุสิ่งของ หรือกิจกรรมที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น ของเล่นของเด็กปัจจุบัน
มีอุปกรณ์ที่นำ�เข้าจากต่างประเทศ ก็ต้องกำ�หนดชื่อเรียกให้ตรงกับชื่อเดิมและสื่อความหมาย
แก่เด็กไทย เช่น รถไฟฟ้า หุ่นยนต์ ฯลฯ จากตัวอย่างแสดงให้เห็นว่า ภาษามีการเปลี่ยนแปลงไป
จากสมัยก่อน และในอนาคตย่อมจะมีถ้อยคำ�ภาษาใหม่ๆ ที่ใช้ในการสื่อสารอีกมากมาย
สาเหตุที่ภาษามีการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ดังนี้
๑. การรับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ อิทธิพลของภาษาต่างประเทศที่เข้ามาปะปน
ในภาษาไทยเกิดจากสาเหตุหลายประการ ดังนี้
๑.๑ ความสัมพันธ์ดา้ นการเมือง การปกครอง การติดต่อสัมพันธ์กนั ทางการทูตทำ�ให้
ต้องเรียนรู้ภาษาของอีกชาติเพื่อให้ติดต่อสื่อสารกันเข้าใจ
๑.๒ การอพยพโยกย้ายถิน่ หรือการแต่งงานระหว่างคนต่างชาติ เช่น คนไทยแต่งงาน
กับคนญี่ปุ่น หรือแต่งงานกับคนอังกฤษ ทำ�ให้มีคำ�ในภาษาของชาตินั้นๆ มาปะปน
๑.๓ การติดต่อทางการค้า การเจรจาซื้อขายตกลงด้านธุรกิจ จะได้ภาษาทางธุรกิจ
จากชาติที่เราติดต่อด้วย เช่น การค้าขายกับชาวจีน ได้คำ�ว่า เซ้ง โชห่วย ชง ฮวงจุ้ย เป็นต้น
การค้าขายกับชาวยุโรป ได้คำ�ว่า เอสเอ็มอี เครดิต เป็นต้น
25
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

๑.๔ ศาสนาและปรัชญา มีอิทธิพลมากในการดำ�เนินชีวิต และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นควบคู่


กับมนุษย์เสมอ เมื่อคนในชาติหนึ่งรับศาสนาหรือปรัชญาของอีกชาติหนึ่งเข้ามา ภาษาก็ย่อม
ถ่ายทอดเข้ามาด้วย เช่น ไทยรับคติความเชื่อแบบพราหมณ์และพระพุทธศาสนาจากอินเดีย ศาสนา
ทัง้ สองใช้ภาษาสันสกฤตและบาลีในการเผยแผ่ศาสนา ภาษาทัง้ สองจึงเข้ามามีอทิ ธิพลในภาษาไทย
เช่น คำ�ว่า บาป สวรรค์ นิพพาน เบญจศีล ปรมัตถ์ ปริเวทนา ปริมณฑล มงคล ศึกษา สิกขา สงสาร
นอกจากนี้ยังมีคำ�ในศาสนาอื่นๆ ที่คนไทยบางกลุ่มเคารพนับถือก็รับเข้ามาด้วย เช่น คาทอลิก
ไบเบิล คริสเตียน มุสลิม อิสลาม อัลลาห์ ละหมาด
๑.๕ ความนิยม เรานิยมใช้ภาษาบาลีสันสกฤตและภาษาเขมรเป็นภาษาพิธีการ ผู้ที่ใช้
ภาษาบาลีสันสกฤตเป็นบุคคลชั้นสูง ได้รับการศึกษาดี ด้วยเหตุนี้คำ�ภาษาบาลีสันสกฤตจึงเข้ามา
ปะปนและใช้แทนคำ�ไทยมากขึ้น และนิยมใช้ตั้งชื่อและนามสกุล เช่น วนิดา ประภาส ธานินทร์
ชาญชัย อลงกรณ์ กมลชนก เพลินพิศ ทัศนีย์ ฯลฯ แม้แต่การเปลี่ยนชื่อสกุล มักใช้คำ�ที่มาจาก
ภาษาบาลีสันสกฤต เช่น
แซ่ภู่ เปลี่ยนเป็น ภูมินทร์ไพบูลย์ ภุมราเศวตสกุล
แซ่เบ้ เปลี่ยนเป็น อัศวเหม อัศวธำ�รงค์ อัศวรักษ์
แซ่แต้ เปลี่ยนเป็น เตชะไพบูลย์ เตชะกุล เตชะไพศาล
(จิตรา ก่อนันทเกียรติ, กำ�เนิดต้นแซ่และการตั้งนามสกุลจากแซ่ของลูกจีนในไทย เล่ม ๑.
กรุงเทพฯ : จิตรา, ๒๕๔๙.)
ปัจจุบันมีแนวโน้มว่าจะใช้ภาษาอังกฤษมากขึ้นโดยเฉพาะชื่อเล่น เช่น จอย โจ บอย แหม่ม
ดี้ บ๊อบบี้ แซม นอกจากนี้ชื่อห้างร้านต่างก็นิยมใช้ภาษาอังกฤษ เช่น เซ็นทรัล แม็คโคร โลตัส
แมคโดนัลด์ เปาโลเมโมเรียล แม้แต่สัตว์เลี้ยงก็นิยมตั้งชื่อเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ดิ๊ก บ๊อบ
พิซซ่า โดนัท
คำ�ภาษาต่างประเทศที่นำ�มาใช้ในภาษาไทยจะมีลักษณะของการเปลี่ยนรูป เปลี่ยนเสียง
หรือเปลี่ยนความหมาย บางครั้งก็คงรูป คงเสียง คงความหมายเดิม หรือนำ�วิธีสร้างคำ�มาใช้
นอกจากนี้ยังมีคำ�ภาษาเขมรที่ใช้ในภาษาไทยอยู่ด้วยเช่นกัน ดังตัวอย่างคำ�ที่ใช้โดยทั่วไป
เช่น ถนน ดำ�เนิน จมูก เผอิญ คำ�ที่ใช้ในคำ�ประพันธ์ เช่น โถง แข ทรวง คำ�ที่ใช้ในคำ�ราชาศัพท์ เช่น
บรรทม เสวย เสด็จ ฯลฯ
26
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

๒. ความเจริญทางวิทยาการและการศึกษา
๒.๑ ความเจริญทางวิทยาการ มนุษย์คิดค้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ เพื่ออำ�นวย
ความสะดวกและความปลอดภัยในการดำ�รงชีวิต ทำ�ให้ศาสตร์ต่างๆ เจริญก้าวหน้าตามลำ�ดับ
มนุษย์จำ�เป็นต้องเรียนรู้วิทยาการ ตลอดจนใช้สอยวัสดุสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ จึงมีคำ�และภาษาเกิดใหม่
เพิ่มเติมอยู่เสมอ
๒.๒ ความเจริญทางการศึกษา มนุษย์ต้องศึกษาค้นคว้าอย่างกว้างขวาง เพื่อสร้าง
ความเจริญแก่สังคมและตนเอง มนุษย์มีความเจริญมาเป็นลำ�ดับ มีภาษาเกิดใหม่ หรือสร้างใหม่
มากมาย ในทำ�นองเดียวกันก็มีภาษาที่ไม่ใช้สื่อสารอีกจำ�นวนหนึ่งเช่นกัน นอกจากนี้กลุ่มบุคคล
ที่แตกต่างกันทางด้านการศึกษาและอาชีพทำ�ให้การใช้ภาษาเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปด้วย เช่น
นักการค้า นักวิชาการ นักปกครอง นักกฎหมาย กรรมกร จะมีศัพท์เฉพาะของตน ฯลฯ
๓. การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคม
๓.๑ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง ลักษณะการปกครองของไทย
เปลีย่ นไป ภาษาทีใ่ ช้กเ็ ปลีย่ นแปลงไป ประชาชนมีสทิ ธิเสรีภาพทีจ่ ะแสดงความคิดเห็นและใช้ภาษา
แตกต่างจากสมัยก่อน เช่น กระชับพื้นที่ นอนหลับทับสิทธิ์ ปรับทัศนคติ คืนความสุขให้ประชาชน
ฯลฯ
๓.๒ การเปลีย่ นแปลงทางด้านเศรษฐกิจหรือการค้า ปัจจุบนั ประเทศต่างๆ มุง่ แข่งขัน
กันทางเศรษฐกิจ ด้วยเหตุนี้การติดต่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันจึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้ภาษา
ต่างประเทศได้ เช่น เอเยนต์ เครดิต สต็อก สโตร์ โบนัส คอมมิชชัน แคชเชียร์ ฯลฯ นอกจากนี้
ชื่อสินค้านำ�เข้าหรือผลิตขึ้นใหม่ไม่มีคำ�ใช้เรียก จำ�เป็นต้องใช้ทับศัพท์ เช่น ก๊อก โกโก้ เชิ้ต เนกไท
ฟิล์ม วีซ่า แทรกเตอร์ เกม แท็กซี่ มอเตอร์ไซค์ โซน คอมพิวเตอร์ อีเมล

ตัวอย่าง คำ�จีนที่นำ�มาใช้ในภาษาไทย
อาหาร เกาเหลา ก๋วยเตี๋ยว เต้าหู้ เต้าส่วน กวยจั๊บ เฉาก๊วย บะช่อ เกี๊ยว
เครื่องใช้ อั้งโล่ ลังถึง ตะหลิว ปุ้งกี๋
ธุรกิจ ยี่ปั๊ว ยี่ห้อ โสหุ้ย กงสี แป๊ะเจี๊ยะ
๓.๓ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม ภาษาไทยเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพทางสังคม
อย่างชัดเจน คือ สังคมไทยเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม คำ�ที่เกี่ยวกับ
อาชีพก็เปลี่ยนไป
27
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

- สังคมเกษตรกรรม มีคำ�และสำ�นวนที่เกี่ยวกับน้ำ�อยู่มาก เพราะวิถีชีวิตคนไทย


ต้องอาศัยน้ำ�เป็นปัจจัยสำ�คัญ เช่น น้ำ�ท่า น้ำ�คำ� น้ำ�ใจ น้ำ�มือ น้ำ�เสียง น้ำ�ใสใจจริง น้ำ�ท่วมทุ่ง
ผักบุ้งโหรงเหรง น้ำ�กลิ้งบนใบบอน น้ำ�ขึ้นให้รีบตัก น้ำ�นิ่งไหลลึก น้ำ�พึ่งเรือเสือพึ่งป่า สำ�นวน
เกี่ยวกับอาชีพ เช่น ทำ�นาบนหลังคน ข้าวตั้งท้อง ทำ�ขวัญข้าว ตีปลาหน้าไซ ลงแขก อุ้มบุญ
ค้ามนุษย์
- สังคมอุตสาหกรรม สำ�นวนที่เกี่ยวข้อง เช่น แรงงาน คนงาน ผู้ใช้แรงงานทำ�งาน
เป็นผลัด เป็นกะ ทำ�โอที นายช่าง บอยคอต สไตรค์ แซงชั่น ขูดรีดแรงงาน แรงงานเถื่อน
แน่นเป็นปลากระป๋อง ฟิวส์ขาด นอตหลุด (ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนไว้ได้) เดินเครือ่ ง (เริม่
ทำ�งาน) เดดไลน์ (เวลาที่กำ�หนดไว้แน่นอนในการทำ�งานหนึ่งให้เสร็จ) เบรกติดเบรก (พูดดักคอ
คนอื่นให้หยุดพูด) เสียเครดิต (เดิมใช้เสียชื่อ)

กิจกรรมตรวจสอบความเข้าใจ

กิจกรรม ๕

ก. พิจารณาคำ�ในข้อความต่อไปนี้ คำ�ใดไม่ใช่คำ�ไทยแท้ คำ�ใดที่มาจากภาษาต่างประเทศ ระบุ


ด้วยว่ามาจากภาษาใด
๑. แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำ�เหลือกำ�หนด
๒. มัสลินมัศยาเจ้าปลาน้อย ตั้งใจคอยทศมาสรัศมี
๓. คริสต์มาสคริสเตียนเขียนโปสเตอร์ ไปรษณีย์นำ�เสนอศาสนา
๔. เดินชมสวนมวลไม้หลากหลายพรรณ ช่างสุขสันต์ชื่นจินต์ทั้งกลิ่นสี
๕. ยาจีนตุ๋นมะระ กินแป๊ะซะร่วมโต๊ะกัน
ข. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ คน ร่วมกันอภิปรายหัวข้อ คำ�ในภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง
ด้วยสาเหตุใดบ้าง ถ้าเราไม่รับคำ�ภาษาต่างประเทศเข้ามาใช้ จะเกิดผลดีหรือผลเสียอย่างไร
28
ภาษาไทย ม.๔ ภาคเรียนที่ ๑

ค. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม ๕ กลุ่ม แต่ละกลุ่มทำ�กิจกรรมตามที่กำ�หนดให้ต่อไปนี้


กลุ่มที่ ๑-๓ ค้นคว้ารวบรวมคำ�ภาษาต่างประเทศที่ปะปนอยู่ในภาษาไทยจากพจนานุกรม
ฉบับราชบัณฑิตยสถาน หรือพจนานุกรมฉบับอื่นๆ หรือจากหนังสือหลักภาษาหลายๆ เล่ม
(ไม่ใช้คำ�ซ้ำ�กับตัวอย่างในหนังสือ) อธิบายหรือยกตัวอย่างการใช้คำ�เหล่านั้นในชีวิตประจำ�วัน
กลุ่มที่ ๑ รวบรวมคำ�ภาษาเขมร ประมาณ ๓๐ คำ� พร้อมทั้งบอกความหมาย
กลุ่มที่ ๒ รวบรวมคำ�ภาษาบาลีสันสกฤต ประมาณ ๓๐ คำ� พร้อมทั้งบอกความหมาย
กลุ่มที่ ๓ รวบรวมคำ�ภาษาจีน ประมาณ ๓๐ คำ� พร้อมทั้งบอกความหมาย
กลุ่มที่ ๔ รวบรวมถ้อยคำ�โฆษณาจากหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ประมาณ ๑๐ ข้อความ
พิจารณาว่ามีภาษาอะไรปะปนอยู่บ้าง (ทุกคำ�ในข้อความนั้นๆ)
กลุ่มที่ ๕ รวบรวมชื่อสถานที่ ห้างร้าน บริษัท ฯลฯ บริเวณที่พักหรือสถานศึกษา หรือเส้นทาง
การเดินทางระหว่างบ้านกับโรงเรียนของนักเรียน ๑๐ ชื่อ พิจารณาว่าชื่อเหล่านั้น
มีภาษาอะไรปะปนอยู่บ้าง (ทุกคำ�ในชื่อนั้นๆ)

กิจกรรมเสนอแนะ

ก. นักเรียนศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมและเขียนสรุปส่งครูพร้อมทั้งนำ�เสนอหน้าชั้นเรียนในหัวข้อ
ต่อไปนี้
๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำ�โดด
๒. ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
๓. ภาษาไทยมีระดับภาษา
๔. ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง
ข. นักเรียนแบ่งกลุ่มอภิปรายหัวข้อ “ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง”
ค. นักเรียนแบ่งกลุ่มออกเป็น ๔ กลุ่ม ร่วมกันจัดนิทรรศการกลุ่มละ ๑ หัวข้อ โดยเลือกจากหัวข้อ
ต่อไปนี้
๑. ภาษาไทยเป็นภาษาคำ�โดด
๒. ภาษาไทยมีเสียงสระ พยัญชนะ และวรรณยุกต์
๓. ภาษาไทยมีระดับภาษา
๔. ภาษาไทยมีการเปลี่ยนแปลง
29
หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ธรรมชาติของภาษาไทย

หนังสืออ่านประกอบ
วิจิตร ยอดสุวรรณ และคณะ. รู้จักภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนบุ๊คสโตร์, ม.ป.ป.
สำ�นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กระทรวงศึกษาธิการ. บรรทัดฐานภาษาไทย
เล่ม ๒ : คำ� การสร้างคำ�และการยืมคำ�. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว,
๒๕๕๓.

You might also like