Potato dextrose agar
ในทางจุลชีววิทยา Potato dextrose agar (BAM Media M127[1]) และ Potato dextrose broth เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ทำจากมันฝรั่งและเดกซ์โตรส ซึ่ง Potato dextrose agar (ตัวย่อ "PDA") เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้กันอย่างแพร่หลายใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียที่ที่ก่อโรคพืชหรือย่อยสลายซากพืช[2]
ซึ่ง PDA นั้นมีความสามารถในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียและเชื้อราหลายชนิดที่พบได้ในดิน อาหารเลี้ยงเชื้อนี้สามารถใช้ร่วมกับยาปฏิชีวนะหรือกรดเพื่อทดสอบยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียหรือเชื้อรา และ PDA ยังนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อทดสอบเชื้อราที่อาจทำให้ผลิตภัณฑ์อาหารเน่าเสีย นอกจากนี้ยังใช้ในอุตสาหกรรมยาสำหรับคัดกรองสารต้านเชื้อราที่อาจมีอยู่ในยา[3]
Potato dextrose agar เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีความหลากหลายในการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียและเชื้อรา (ยีสต์และรา) อาหารเลี้ยงเชื้อนี้ถูกใช้กับเชื้อราหลายประเภท แต่มีอาหารเลี้ยงเชื้ออื่น ๆ ที่มีความเฉพาะมากกว่าในการเพาะเลี้ยงเชื้อราบางชนิด ซึ่งอาหารเลี้ยงเชื้อเหล่านี้รวมถึง malt extract agar และ sabouraud agar โดยที่ malt extract agar มีความเป็นกรดมากกว่า PDA และมักใช้ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราในกลุ่ม Penicillium[4] ซึ่ง Sabouraud agar มีความเป็นกรดเล็กน้อยเช่นกัน โดยมีค่า pH อยู่ระหว่าง 5.6-6.0 ซึ่งคล้ายกับ PDA มักใช้สำหรับแยกเชื้อราชนิดที่ก่อโรค เช่น Dermatophytes
ส่วนประกอบโดยทั่วไป
[แก้]ปริมาณ ส่วนผสมและสภาวะ 1000 มิลลิลิตร น้ำ (น้ำต้มที่กรองจากมันฝรั่ง 200 กรัมที่ต้มในน้ำ) มันฝรั่ง
(หั่น ล้าง ไม่ปอกเปลือก)20 g เดกซ์โตรส 20 g ผงวุ้น 5.6±0.2 ค่า pH สุดท้าย
การเตรียมน้ำมันฝรั่งสามารถทำได้โดยการต้มมันฝรั่งที่หั่นไว้ 200 กรัม (7.1 ออนซ์) ที่ล้างแล้วและไม่ปอกเปลือก ในน้ำกลั่นประมาณ 1 ลิตร (0.22 แกลลอนอังกฤษ; 0.26 แกลลอนสหรัฐฯ) เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นเทน้ำโดยกรองผ่านผ้าขาวบาง จากนั้นเติมน้ำกลั่นจนปริมาตรรวมของสารเป็น 1 ลิตร (0.22 แกลลอนอังกฤษ; 0.26 แกลลอนสหรัฐฯ) หลังจากนั้นเติมเดกซ์โตรส 20 กรัม (0.71 ออนซ์) และผงวุ้น 20 กรัม (0.71 ออนซ์) แล้วนำอาหารเลี้ยงเชื้อไปนึ่งฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งความดันไอน้ำที่ 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (100 กิโลปาสคาล) เป็นเวลา 15 นาที[1]
ส่วน Potato dextrose broth (ตัวย่อ "PDB") ทำเช่นเดียวกันแต่ไม่เติมวุ้น[5] ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นิยมเลี้ยงด้วยอาหารนี้ได้แก่ Candida albicans และ Saccharomyces cerevisiae และเชื้อรา เช่น Aspergillus niger[5]
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Atlas, R.M.: Handbook of Microbiological Media, second edition. Lawrence C. Parks (1997)
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 BAM Media M127: Potato Dextrose Agar from the U.S. Food and Drug Administration
- ↑ Harold Eddleman, Ph. D (February 1998). "Making Bacteria Media from Potato". Indiana Biolab. disknet.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-10. สืบค้นเมื่อ 2011-03-04.
- ↑ Pitt & Hocking (2009). Fungi and food spoilage. Springer Science & Business Media. Bibcode:2009ffs..book.....P.
- ↑ "Atlas of clinical fungi". Centraalbureau voor Schimmelcultures (2). 2009.
- ↑ 5.0 5.1 "Potato Dextrose Broth". Merck KGaA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-05-16. สืบค้นเมื่อ 2005-05-29.