ข้ามไปเนื้อหา

โรคออทิซึม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรคออทิซึม
ภาพเด็กวางของซ้อนกัน
อาการชอบซ้อนของหรือเรียงของซ้ำไปซ้ำมามีความสัมพันธ์กับโรคออทิซึม
สาขาวิชาจิตเวช (จิตเวชเด็ก)
อาการความบกพร่องในการสื่อสารกับบุคคล ความสามารถทางการพูด อวัจนภาษา มีพฤติกรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ
การตั้งต้น2 ขวบ[1]
ระยะดำเนินโรคระยะยาว
สาเหตุพันธุกรรมและสังคม
วิธีวินิจฉัยBased on behavior and developmental history[1]
โรคอื่นที่คล้ายกันReactive attachment disorder, intellectual disability, schizophrenia[2]
การรักษาEarly speech and behavioral interventions[3]
ความชุก24.8 ล้าน (2015)[4]

โรคออทิซึม (อังกฤษ: Autism) เป็นความผิดปกติในการเจริญของระบบประสาท โดยมีลักษณะเด่นคือความบกพร่องด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการสื่อสาร และมีพฤติกรรมทำกิจกรรมบางอย่างซ้ำ ๆ ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักเรียกกันว่าผู้ป่วยออทิสติก อาการแสดงดังกล่าวมักปรากฏในวัยเด็กก่อนอายุ 3 ปี[5] นอกจากนี้ยังมีความบกพร่องด้านสังคมและการสื่อสารที่จัดในกลุ่มใกล้เคียงโรคออทิซึม เรียกว่า Autism spectrum disorder (ASD) อาทิกลุ่มอาการแอสเพอร์เกอร์ (Asperger syndrome) ที่มีอาการและอาการแสดงน้อยกว่า[3]

โรคออทิซึมมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมอย่างมาก แม้ว่าการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจะมีความซับซ้อนและยังไม่สามารถอธิบายกลุ่มอาการ ASD ได้จากปฏิสัมพันธ์หลายยีนหรือการกลายพันธุ์[6] ผู้ป่วยจำนวนน้อยพบว่ามีความเกี่ยวข้องกับสารก่อวิรูป (สารที่ก่อให้เกิดความผิดปกติแต่กำเนิด) [7] บางแหล่งข้อมูลเสนอสาเหตุของโรคออทิซึมไว้หลากหลาย เช่น การให้วัคซีนในวัยเด็ก ซึ่งเป็นที่ถกเถียงกันในปัจจุบัน และสมมติฐานดังกล่าวยังขาดหลักฐานที่เชื่อถือได้ทางวิทยาศาสตร์[8] ความชุกของกลุ่มอาการ ASD เกิดราว 6 ใน 1,000 คน และเป็นในเด็กชายเป็น 4 เท่าของเด็กหญิง จำนวนผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคออทิซึมพบว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 ทั้งนี้บางส่วนเนื่องจากการเปลี่ยนวิธีการวินิจฉัย แต่ความชุกแท้จริงเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่ทราบ[9]

ผู้ป่วยโรคออทิซึมมีความผิดปกติที่หลายส่วนของสมองซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุ ผู้ปกครองมักสังเกตอาการผู้ป่วยได้ในช่วงอายุ 2 ขวบปีแรก แม้ว่าการบำบัดด้วยพฤติกรรมและการรับรู้โดยนักกายภาพบำบัดและนักจิตวิทยาคลินิกตั้งแต่เยาว์วัยจะช่วยพัฒนาให้ผู้ป่วยดูแลตนเอง มีทักษะด้านสังคมและการสื่อสารได้ แต่การรักษาที่แท้จริงยังไม่เป็นที่ทราบ[3] เด็กที่ป่วยด้วยโรคนี้น้อยรายที่สามารถใช้ชีวิตได้อย่างอิสระหลังเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ แต่ก็มีบางส่วนที่ประสบความสำเร็จ[10]อย่างไรก็ตามพบว่าคนที่เป็นโรคออทิซึมได้รับการปฏิเสธจากสังคมอย่างมากจนเป็นสาเหตุของการใช้ความรุนแรงในการใช้อาวุธปืนฆ่าคนอื่น[11]

สาเหตุ

[แก้]

เป็นที่เชื่อกันมานานว่ามีสาเหตุแรกเริ่มมาจากสาเหตุหนึ่งของอาการสำคัญทั้งสามอย่างของโรคออทิซึม โดยสาเหตุอาจเป็นในระดับพันธุกรรม ระดับสติปัญญา หรือระดับเซลล์ประสาท อย่างไรก็ดี ในภายหลังเริ่มเป็นที่สงสัยว่าโรคออทิซึมเป็นโรคที่สาเหตุซับซ้อน โดยอาการแต่ละด้านมีสาเหตุที่แตกต่างกันแต่เกิดและพบร่วมกันบ่อย เป็นต้น

โรคออทิซึมมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมเป็นอย่างมาก ถึงแม้พันธุศาสตร์ของโรคออทิซึมจะมีความซับซ้อน และยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าโรคเหล่านี้เกิดจากการกลายพันธุ์ตำแหน่งเดียวที่พบได้น้อย แล้วการกลายพันธุ์ตำแหน่งเดียวนี้ทำให้เกิดผลหลาย ๆ อย่างตามมา หรือ เกิดจากการกลายพันธุ์หลาย ๆ ที่ ที่แต่ละตัวมีโอกาสพบได้บ้าง แต่การเกิดพร้อม ๆ กันนั้นพบได้น้อย แล้วปฏิสัมพันธ์ระหว่างยีนหลาย ๆ ยีนนี้ทำให้เกิดอาการของโรค ความซับซ้อนนี้เกิดจากการที่ยีนแต่ละยีน ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และการถ่ายทอดแบบอีพิเจเนติกส์ (ผลที่เกิดกับลักษณะแสดงออก ที่ถ่ายทอดได้ ที่ไม่ได้มาจากรหัสพันธุกรรม แต่มาจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ควบคุมการแสดงออกของพันธุกรรม) ต่างมีปฏิสัมพันธ์กันอย่างซับซ้อน การวิจัยด้วยการหาลำดับพันธุกรรมทั้งหมดของผู้ป่วยและญาติ ทำให้มีการค้นพบยีนหลาย ๆ ยีน ที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคออทิซึม แต่เพียงเท่านี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ายีนเหล่านี้เป็นสาเหตุของการเกิดโรค

การวิจัยกับฝาแฝดได้ผลว่าโรคออทิซึมมีค่าดัชนีการถ่ายทอดอยู่ที่ 0.7 และสำหรับโรคอื่น ๆ ในกลุ่มโรคออทิซึมสเปกตรัมมีค่าดัชนีการถ่ายทอดสูงถึง 0.9 คนที่มีพี่น้องเป็นโรคออทิซึมมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไป 25 เท่า อย่างไรก็ดี ลักษณะการถ่ายทอดของพันธุกรรมโรคออทิซึมนี้ยังไม่เข้ากับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมแบบยีนเดี่ยว (แบบเมนเดล) หรือเกิดจากความผิดปกติที่ตรวจได้ในระดับโครโมโซม แม้แต่โรคทางพันธุกรรมที่พบว่ามีความสัมพันธ์กับการเกิดออทิซึมสเปกตรัม ก็ยังไม่พบว่ามีโรคใดที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้ได้โดยจำเพาะ

โรคออทิซึมในประเทศไทย

[แก้]

ในประเทศไทย โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ได้ร่วมมือ กับมหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการศึกษาแบบเรียนร่วมกับคนพิการหูหนวกในชั้นอนุบาลทีโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ต่อมา โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้จัดการศึกษาแบบเรียนร่วมกับบุคคลที่ไม่ได้เป็นโรค ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2533 โดยรับนักเรียนที่จบชั้นอนุบาลมาจากโรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ ภายหลังที่มีบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมเรียนจบ ได้เข้าศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางส่วน เรียน หลักสูตรบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เมื่อเรียนจบ ปรากฏว่าบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมนั้น ตกงาน ส่งผลให้ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ และ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ต้องจ้างเข้าทำงาน ปัจจุบันมีประมาณ 170 คนที่เรียนจบจากโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และกำลังศึกษาอยู่กำลังศึกษาที่สาธิตเกษตร อาทิบุตรี ทนง พิทยะ บุตร อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บุตรี แพทย์หญิง นลินี ไพบูลย์[12]

โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ยังจัดให้มีโครงการฝึกอาชีพเป็นระยะเวลา 1 ปี เพื่อให้บุคคลออทิสติกได้มีโอากาสในการทำงานกับบริษัทต่าง ๆ[13] แต่อัตราจ้างงานต่ำทั้งนี้ยังไม่มีผลสำรวจถึงการไล่ออกจากงานในกลุ่มคนที่เป็นออทิสติก หรือนายจ้างไม่พอใจผลการทำงานในคนกลุ่มนี้

ด้านชีวิตครอบครัวบุคคลที่เป็นโรคออทิซึมที่จบการศึกษาจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา นั้น ไม่มีใครแต่งงานหรือสมรสแม้แต่รายเดียว บุคคลจากโครงการดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับจากเพศตรงข้าม และ ประสบความล้มเหลวโดยสิ้นเชิงในการหาคู่สมรสแม้ตนเองมาจากครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย (ค่าเล่าเรียนตลอด 12 ปี ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อย่างต่ำหนึ่งล้านสี่แสนสี่หมื่นบาทถ้วน หรือปีละหนึ่งแสนสองหมื่นบาท) ไม่นับรวมค่าไฟฟ้าค่าน้ำค่าหนังสือเรียน หากรวมทั้งหมดใช้ต่อคนคนล่ะมากกว่า 1,500,000 บาทถ้วน

นอกจากนั้นบุคคลจาก โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่เป็นโรคเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงทางทรัพย์สินจากคนรักของตนเอง รวมทั้งเสี่ยงต่อการถูกหลอกลวงทางทรัพย์สินจากเพื่อนที่ตนเองไว้ใจ เพื่อเป็นการป้องกันการหลอกลวงดังกล่าวผู้ปกครองบางราย อาทิ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จึงเลือกวิธีทางกฎหมายโดยฟ้องร้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวให้บุตรเป็นบุคคลเสมือนไร้ความสามารถ ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้บุตรจ่ายเงินให้กับคนรัก เพื่อนหรือแม้แต่คนที่ตนเองไว้ใจ ในจำนวนที่ไม่เหมาะสม เนื่องจากกฎหมายได้ห้ามการให้โดยเสน่หา เว้นแต่การให้ตามฐานานุรูป

บุคคลที่ใช้วิธีนี้ นอกจาก อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ยังมีอีกหลายราย อาทิ ร้อยตำรวจโท (ยศขณะที่ฟ้องร้องลูกชาย) สมพงษ์ กัณหารี[14]และ พลตรี นายแพทย์ รังษี ธีระศิลป์[15] นอกจากนั้นยังสามารถฟ้องร้องเพื่อนหรือคนรักของลูกที่กระทำการหลอกลวงให้จำคุกได้มากถึง 5 ปี[16]หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทตามมาตรา 342 (2)ตามพระราชบัญญัตืประมวลกฎหมายอาญา

ด้านการหางานทำนั้นพบว่าส่วนใหญ่ประสบความล้มเหลวจนต้องให้สถานที่ที่บุคคลเหล่านั้นเคยได้รับการศึกษา หรือ ได้รับการรักษาพยาบาลเป็นคนจ้างเข้าทำงาน

ในประเทศไทยยังพบกรณีของการฆ่าลูกตัวเองที่ป่วยเป็นโรคออทิซึม[17] พบกรณีพี่สาวพาแฟนพี่สาวมาข่มขืน[18]รวมทั้งกรณีพ่อเลี้ยง น้าชายและเพื่อนบ้าน ข่มขืน[19][20] การกลั่นแกล้งด้วยข่าวลืออันเป็นเท็จเพื่อจงใจใส่ร้ายป้ายสีบุคคลที่เป็นโรคออทิซึม แม้แต่การทำร้ายร่างกายอย่างเปิดเผยภายในโรงเรียน[21]ต่อมา ในวันที่ 29 มกราคม 2567 ที่โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ ได้เกิดเหตุฆาตกรรมเพื่อนภายในโรงเรียนโดยใช้อาวุธมีดแทงเข้าที่ลำคอถึงแก่ความตาย[22]โดยตอนแรกข่าวอ้างถึงเด็กที่เป็นโรคออทิซึม ซึ่งคาดว่าผู้ปกครองประสงค์จะใช้กฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 65[23]ในการลดหย่อนโทษ

พ่อแม่ที่มีลูกเป็นโรคออทิซึม มักถูกหลอกเพื่อให้เสียทรัพย์โดยการอ้างว่าสามารถรักษาหรือช่วยเหลือลูกตัวเองได้ การรักษาบางอย่าง เช่นการรักษาด้วย ไฮเปอร์แบริค (HBO) รักษาด้วยออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% การฝังเข็ม ไม่เป็นที่พิสูจน์ ในขณะที่บุคคลที่เป็นโรคออทิซึม นั้นได้รับการกล่าวหาว่าเป็นอภิสิทธิ์ชนที่คนอื่นไม่สามารถว่าอะไรได้มากนักในกรณีทำผิดร้ายแรงเช่นขับรถชนคนเสียชีวิต เป็นบุคคลที่ไร้ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือเป็นภาระต่อสังคม บุคคลที่เป็นโรคดังกล่าวมักได้รับคำพูดที่รุนแรง อาทิ เด็กปัญญาอ่อน คนโรคจิต บุคคลที่ไม่ควรเกิดมาบนโลกนี้ หรือ บุคคลที่ไม่สามารถมีเรื่องมีราวกับเขาได้ เพราะเขาเป็นโรคออทิซึม การไม่ไว้ใจให้ทำงานร่วมกัน แม้แต่การเหยียดหยามถึงบุพการีว่าไม่ควรเลี้ยงให้บุคคลกลุ่มนี้โตขึ้นมาเป็นภาระสังคม

เมื่อเป็นวัยรุ่นเด็กผู้ชายส่วนมากมักถูกยั่วยุจากเพื่อนให้มีเพศสัมพันธ์เพื่อนชวนไปเที่ยวในแหล่งซื้อขายบริการทางเพศส่งผลให้วัยรุ่นออทิซึมชายเป็นโรคเอดส์และซิฟิลิสจำนวนมาก วัยรุ่นออทิซึมหญิงมักถูกจับหน้าอกและอวัยวะเพศ

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "NIMH » Autism Spectrum Disorder". nimh.nih.gov (ภาษาอังกฤษ). October 2016. สืบค้นเมื่อ 20 April 2017.
  2. Corcoran, Jacqueline; Walsh, Joseph (9 February 2006). Clinical Assessment and Diagnosis in Social Work Practice. Oxford University Press, USA. p. 72. ISBN 9780195168303 – โดยทาง Google Books.
  3. 3.0 3.1 3.2 Myers SM, Johnson CP, Council on Children with Disabilities (2007). "Management of children with autism spectrum disorders". Pediatrics. 120 (5): 1162–82. doi:10.1542/peds.2007-2362. PMID 17967921. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-12. สืบค้นเมื่อ 2009-04-06.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  4. "Global, regional, and national incidence, prevalence, and years lived with disability for 310 diseases and injuries, 1990-2015: a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2015". Lancet. 388 (10053): 1545–1602. 8 October 2016. doi:10.1016/S0140-6736(16)31678-6. PMC 5055577. PMID 27733282.
  5. American Psychiatric Association (2000). "Diagnostic criteria for 299.00 Autistic Disorder". Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders (4th, text revision (DSM-IV-TR) ed.). ISBN 0890420254. สืบค้นเมื่อ 2009-02-17.
  6. Abrahams BS, Geschwind DH (2008). "Advances in autism genetics: on the threshold of a new neurobiology". Nat Rev Genet. 9 (5): 341–55. doi:10.1038/nrg2346. PMID 18414403.
  7. Arndt TL, Stodgell CJ, Rodier PM (2005). "The teratology of autism". Int J Dev Neurosci. 23 (2–3): 189–99. doi:10.1016/j.ijdevneu.2004.11.001. PMID 15749245.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  8. Rutter M (2005). "Incidence of autism spectrum disorders: changes over time and their meaning". Acta Paediatr. 94 (1): 2–15. doi:10.1080/08035250410023124. PMID 15858952.
  9. Newschaffer CJ, Croen LA, Daniels J; และคณะ (2007). "The epidemiology of autism spectrum disorders". Annu Rev Public Health. 28: 235–58. doi:10.1146/annurev.publhealth.28.021406.144007. PMID 17367287.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Howlin P, Goode S, Hutton J, Rutter M (2004). "Adult outcome for children with autism". J Child Psychol Psychiatry. 45 (2): 212–29. doi:10.1111/j.1469-7610.2004.00215.x. PMID 14982237.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. สลดหนุ่มวัยทีนออทิสติกฆ่าคน
  12. หมอต้อยเจ้าแม่ "กิฟฟารีน" สอนหญิงแต่งงาน "ไม่ต้องตีตรา"
  13. จ้างงาน’ออทิสติก’ เปิดพื้นที่ใหม่ให้เด็ก(พิเศษ)
  14. ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัว
  15. ประกาศศาลเยาวชนและครอบครัว[ลิงก์เสีย]
  16. หลอกเงินจากผู้พิการทางสมอง
  17. แม่ฆ่าลูกออทิสติกกอดศพสองวัน
  18. จับได้แล้ว !! พี่สาว-แฟนหนุ่มข่มขืนน้องสาวออทิสติก
  19. รวบแล้วพ่อเลี้ยงข่มขืนลูกออทิสติก
  20. "รวบพ่อเลี้ยงเพื่อนบ้านข่มขืนออทิสติก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-12. สืบค้นเมื่อ 2019-11-11.
  21. แม่เด็ก ป.4 โร่แจ้งความ รุ่นพี่ ม.2 ถีบหน้า จักรทิพย์ สั่งจนท.ดำเนินคดีตรงไปตรงมา
  22. นักเรียน ม.2 ถูกเพื่อนแทงเสียชีวิต รร.ย่านพัฒนาการ
  23. ความรู้ทางกฎหมายหลากหลายและเข้าใจง่าย ชุดที่ 7 : “การจัดการผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ป่วยจิตเวช”

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก