เอมี ไวน์เฮาส์
เนื้อหาในบทความนี้ล้าสมัย โปรดปรับปรุงข้อมูลให้เป็นไปตามเหตุการณ์ปัจจุบันหรือล่าสุด ดูหน้าอภิปรายประกอบ |
เอมี ไวน์เฮาส์ | |
---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อเกิด | เอมี เจด ไวน์เฮาส์ |
เกิด | 14 กันยายน ค.ศ. 1983 |
ที่เกิด | ลอนดอน ประเทศอังกฤษ |
เสียชีวิต | 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 (อายุ 27 ปี) |
แนวเพลง | อาร์แอนด์บี,บลู-อายด์ โซล,แจ๊ส |
อาชีพ | นักร้อง,นักแต่งเพลง |
เครื่องดนตรี | เสียงร้อง |
ช่วงปี | 2003-2011 |
ค่ายเพลง | Island Universal Republic Records Universal Records / Universal Republic Group |
คู่สมรส | เบลค ฟิดเลอร์ (สมรส 2007; หย่า 2009) |
เว็บไซต์ | amywinehouse.co.uk |
เอมี เจด ไวน์เฮาส์ (อังกฤษ: Amy Jade Winehouse, เกิดเมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1983 - เสียชีวิต 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011) นักร้องแนวโซลชาวอังกฤษ และนักแต่งเพลงแจ๊ส
อัลบั้มชุดแรกของเธอออกในปี 2003 ชื่อชุด Frank ได้ถูกเสนอชื่อรางวัลเมอร์คิวรีไพรซ์ และเธอได้รับรางวัลไอวอร์ โนเวลโล[1] ในปี 2004 สำหรับซิงเกิลเปิดตัวของเธอ "Stronger than Me" และอีกครั้งหนึ่งในเดือน พฤษภาคม 2007 กับซิงเกิลแรกจากอัลบั้มในปี 2006 Back to Black ในเพลง "Rehab" และต่อมาในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ยังได้รับรางวัลบริทอวอร์ด สาขาศิลปินหญิงที่ดีที่สุดของเกาะอังกฤษ นอกจากนั้นยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอ็มทีวี วิดีโอ มิวสิก อวอร์ดส ปี 2007 อีกด้วย[2]
ในปี 2007 เธอชนะได้รับรางวัลแกรมมี สาขาเพลงแห่งปี ในเพลง rehab สาขาบันทึกเสียงแห่งปี [3]
ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอได้เข้าพิธีแต่งงานกับแฟนหนุ่ม เบลค ฟิดเลอร์ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2007 เกี่ยวกับสุขภาพเธอเป็นโรคซึมเศร้า มีปัญหาติดยาและติดเหล้า เธอเคยถูกจับกุมข้อหาครอบครองยาเสพติด พร้อมกับเบลก ฟิล์ดเดอร์-ซิวิล สามีของเธอ และในช่วงปลายปี 2007 โดนจับอีกครั้งเนื่องจากข้อหาทำร้ายร่างกายสามี แต่ทั้งสองคดีจบไปตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์[4] ทั้งคู่ได้แยกทางกันในเวลาต่อมา
ก่อนไวน์เฮาส์จะเสียชีวิต ที่รายงานว่าเธอคบหาอยู่กับเรก แทรวิสส์ ผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอังกฤษ [5] แต่เพิ่งเลิกรากันก่อนหน้านั้นประมาณหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เธอเศร้าเสียใจ ดื่มสุราและเสพยาอย่างหนักจนเสียชีวิต [6]
ประวัติ
[แก้]เอมี ไวน์เฮาส์เกิดที่เขตเซาธ์เกท เมืองเอนฟีลด์ ลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอเกิดในครอบครัวเชื้อสายยิวที่รักดนตรีแจ๊ส[7] ครอบครัวของเธอมีสมาชิก 4 คน พ่อของเธอชื่อ มิทเชลล์ ทำงานอาชีพเป็นคนขับรถแท็กซี่ แม่ของเธอชื่อ เจนิส ทำงานอาชีพเป็นเภสัชกร และพี่ชายของเธอชื่อ อเล็กซ์[8] ในตอนที่เอมี่ยังเป็นเด็กพ่อของเธอมักจะร้องเพลงของแฟรงก์ ซินาตรา ซึ่งทำให้เอมีร้องเพลงแบบนั้นมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ตอนที่เธอเป็นนักเรียน ครูมักจะดุเธอเรื่องร้องเพลงในห้องเรียนเสมอ[9]
เมื่อเอมีอายุได้ 9 ขวบ คุณยายของเธอชื่อซินเธีย แนะนำให้เธอเข้าโรงเรียนสอนการแสดง ซูซิ เอิร์นชอร์ (Susi Earnshaw Theatre School)[10] เมื่อเธออายุ 10 ขวบ เธอได้ตั้งวงเพลงแร็ปชื่อ สวีท แอนด์ เซาเออร์ (Sweet 'n' Sour) กับเพื่อนชื่อ จูเลียท แอชบี (Juliette Ashby)[11] เอมีเรียนอยู่ที่โรงเรียนซูซิ เอิร์นชอร์ได้ 4 ปี จึงย้ายไปเรียนต่อที่โรงเรียนสอนการแสดง ซิลเวียร์ ยัง (Sylvia Young Theatre School) เธอได้ร่วมแสดงในละครเรื่อง เดอะ แฟสท์ โชว์ (The Fast Show) กับเพื่อนนักเรียนคนอื่นๆ ในปีค.ศ. 1997[12] แต่พอเธออายุได้ 14 ปี เธอก็ถูกไล่ออกเนื่องจากไม่ตั้งใจเรียนและไปเจาะจมูกมา[13][8] หลังจากนั้นเธอจึงไปเข้าโรงเรียนบริท (BRIT School) ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนศิลปะการแสดงและเทคโนโลยี ในเซลเฮิร์สท ชานเมืองครอยดอน[14]
เส้นทางอาชีพนักร้อง
[แก้]การเข้าสู่วงการ
[แก้]เอมีได้กีต้าร์เป็นของตัวเองครั้งแรกเมื่ออายุ 13 ปี เธอได้เริ่มแต่งเพลง และทำงานต่างๆ เช่น เป็นนักหนังสือพิมพ์ให้กับ เวิร์ด เอ็นเตอร์เทนเมนท์ นิวส์ เน็ตเวิร์ค (World Entertainment News Network) และร้องเพลงในวงดนตรีแจ๊ส เป็นต้น[8] แฟนหนุ่มในขณะนั้นของเธอ ชื่อ ไทเลอร์ เจมส์ ซึ่งเป็นนักร้องเพลงโซลได้ส่งเทปเพลงตัวอย่างของเอมีไปให้ A&R[7] ทำให้เธอได้เซ็นต์สัญญากับ ไอซ์แลนด์ เรคคอร์ด ยูนิเวอร์แซล (Island Records/Universal) ซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท 19 แมนเนจเมนท์ (19 Management) ของ ไซมอน ฟูลเลอร์ (Simon Fuller) [15] และกับ EMI เอมีได้ร่วมร้องเพลงและออกทัวร์กับ ชาร์รอน โจนส์ กับวงแดป-คิงส์ [16]
ความสำเร็จก้าวแรก
[แก้]อัลบั้มชุดแรกของเธอคือ Frank วางจำหน่ายครั้งแรกวันที่ 20 ตุลาคม ค.ศ. 2003 อัลบั้มชุดนี้ควบคุมดูแลโดย ซะลาม เรมิ เพลงส่วนใหญ่จะออกแนวแจ๊ส นอกจากนี้ยังมีเพลงที่เธอนำมาร้องใหม่ 2 เพลง เอมีมีส่วนร่วมในการแต่งเพลงทุกเพลงในอัลบั้มนี้ เธอได้รับบทวิจารณ์ในแง่ดีอย่างล้นหลาม [17][18] พร้อมทั้งได้รับคำชมเชยมากมายว่า เนื้อเพลงเยี่ยมและน่าจับตามอง [19] และได้มีการเทียบเคียงเสียงร้องของเธอกับ ซาราห์ วอห์น[20] มาซี เกรย์ และนักร้องชื่อดังคนอื่นๆอีกด้วย[19]
อัลบั้ม Frank ติดอันดับต้นๆของ ยูเค อัลบั้มส์ ชาร์ท ในปี ค.ศ. 2004 เมื่ออัลบั้มนี้ได้ถูกเสนอชื่อขึ้นชิงบริทอวอร์ดส ในสาขา British Female Solo Artist และ British Urban Act นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำขาวอีกด้วย[21] ในปีเดียวกันนั้นเอง เธอได้รับ ไอวอร์ โนเวลโล อวอร์ด สาขาเพลงร่วมสมัยยอดเยี่ยม จากซิงเกิลเปิดตัว "Stronger Than Me" คู่กับโปรดิวเซอร์ของเธอ ซะลาม เรมิ[22] ยิ่งไปกว่านั้น อัลบั้ม Frank ยังถูกเสนอชื่อขึ้นชิง เมอร์คิวรี มิวสิก ไพรซ์ อีกด้วย เอมีได้ไปร้องเพลงในเทศกาลเพลงแกลสตันบูรี และ วี เฟสติวอล ด้วย
เอมีกล่าวว่า เธอพอใจกับอัลบั้ม Frank เพียง 80% เท่านั้น เนื่องจากเพลงบางส่วนไม่ใช่ตัวเธอ [7] ในช่วงระหว่างการทำอัลบั้มที่ 2 เธอกล่าวว่า เธอไม่สามารถฟังเพลงในอัลบั้ม Frank ได้อีกต่อไป จริงๆคือเธอไม่เคยฟังมันได้เลย ถึงแม้เธอจะชอบร้องมัน แต่สำหรับการฟังนั้น มันคนละเรื่องเลย [23] เอมียังกล่าวอีกว่า เธอฟังเพลงในอัลบั้ม Frank ได้ไม่เหมือนเดิมอีกแล้ว แต่อย่างไรก็ตามเธอก็ภูมิใจกับมัน เอมีคิดว่ามันเป็นอัลบั้มที่ยอดเยี่ยมของเธอ ไม่ใช่ว่าเธอไม่ชอบอัลบั้มนี้ แต่เธอต้องทำให้แตกต่างออกไป[24]
ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่
[แก้]ในอัลบั้มชุดที่ 2 เอมีเปลี่ยนจากแนวแจ๊สในอัลบั้ม Frank มาเป็นแนวของนักร้องวงผู้หญิงในยุค 50และ 60 เอมีกล่าวว่า หลังจากเสร็จสิ้นจากอัลบั้ม Frank เธอไม่สามารถแต่งเพลงได้เลยตลอดระยะเวลา 18 เดือน จนกระทั่งเอมีได้พบกับ มาร์ก รอนสัน ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอ เธอจึงแต่งเพลงได้ครบทั้งอัลบั้มภายใน 6 เดือน [23] หลังจากซิงเกิล "Fuck Me Pumps" ต้นปีค.ศ. 2006 เพลงจากอัลบั้มที่ 2 ของเอมี ได้แก่ เพลง "Wake Up Alone" และ เพลง "Rehab" ก็ได้กระจายเสียงผ่านทางคลื่นวิทยุ อีสต์ วิลเลจ เรดิโอ ในนิวยอร์ก ในรายการของมาร์ก รอนสัน ต่อมาเพลงทั้งสองนี้ได้ถูกรวมเข้าในอัลบั้มที่ 2 ของเธอด้วย และมีเพลงอื่นๆในอัลบั้มนี้เปิดในวิทยุเช่นเดียวกัน
อัลบั้มชุดที่ 2 ของเอมี มีชื่อว่า Back to Black มีจำนวนเพลงทั้งสิ้น 11 เพลง อัลบั้มนี้เริ่มโปรโมตในต้นเดือนตุลาคม ค.ศ. 2006 และวางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรวันที่ 30 เดือนเดียวกัน โปรดิวเซอร์อัลบั้มนี้คือ ซะลาม เรมิ และ มาร์ก รอนสัน อัลบั้ม Back to Black ติดอันดับ 1 ของ ยูเค อัลบั้มส์ ชาร์ท เป็นเวลาหลายครั้ง และติดอันดับ 7 ของบิลบอร์ด 200 ในสหรัฐอเมริกา อัลบั้ม Back to Black ขายได้ 5 รางวัลแผ่นเสียงทองคำขาว และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดในสหราชอาณาจักรและไอทูนส์ของสหราชอาณาจักร ประจำปีค.ศ. 2007 ด้วย[25][26]
ปัจจุบันมีซิงเกิลหลายตัวจากอัลบั้ม Back to Black โดยซิงเกิลแรกของอัลบั้มนี้คือ "Rehab" โปรดิวซ์โดย มาร์ก รอนสัน และได้ออกอากาศในวันที่ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2006[23] ซิงเกิลนี้ติดอันดับสูงสุดอันดับ 7 ของ ยูเค ซิงเกิลส ท็อป 75[27][28] และได้รับไอวอร์ โนเวลโล อวอร์ด สาขาเพลงร่วมสมัยยอดเยี่ยมอีกด้วย[29] หลังจากที่เอมีได้ร้องเพลง "Rehab" ที่งานเอ็มทีวี มูวี่ อวอร์ดส ประจำปีค.ศ. 2007 ซิงเกิล "Rehab" ก็ติดอันดับสูงสุดอันดับ 9 ของ บิลบอร์ด ฮอท 100 ในสัปดาห์ที่ 26 ของปีค.ศ. 2007 (สัปดาห์ของวันที่ 21 มิถุนายน) อย่างรวดเร็ว นิตยสารไทม์ให้ "Rehab" เป็นอันดับ 1 ใน 1 ใน 10 เพลงยอดเยี่ยมประจำปีค.ศ. 2007 นักเขียนคอลัมน์ จอช ทีแรนจีล ได้ยกย่องเอมีเกี่ยวกับความมั่นใจในตัวเองของเธอและให้ความคิดเห็นว่า "จากลักษณะพูดพล่ามที่ติดตลกและยั่วยวน จนอาจถึงขั้นสติแตกนี่เองที่เป็นเสน่ห์ในแบบฉบับของหล่อนที่ยากเกินห้ามใจ และเมื่อได้ผสานกับฝีมือการสร้างชั้นยอดของ มาร์ก รอนสัน ที่ผลิตแต่ผลงานเพลงโซลขั้นเทพมาตลอดสี่ทศวรรษ เชื่อได้เลยว่าคุณจะไม่ผิดหวังที่ได้บทเพลงที่ดีที่สุดของปีค.ศ. 2007 จากเขาและเธอคนนี้"[30]
ซิงเกิลที่สองของอัลบั้ม Back to Black คือ "You Know I'm No Good" วางจำหน่ายในวันที่ 8 มกราคม ค.ศ. 2007 ในซิงเกิลนี้ประกอบด้วยรีมิกซ์ที่ให้เสียงร้องจังหวะแร็พโดย โกสต์เฟซ คิลลาห์ ซิงเกิล "You Know I'm No Good" ติดอันดับ 18 ของ ยูเค ซิงเกิล ชาร์ท ต่อมาซิงเกิล "Back to Black" ซึ่งมีชื่อเดียวกันกับอัลบั้มก็ได้วางจำหน่ายที่สหรัฐอเมริกาในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2007 และที่สหราชอาณาจักรในวันที่ 30 เมษายน ปีเดียวกัน ซิงเกิล "Back to Black" ติดอันดับสูงสุดอันดับที่ 25 และในวันที่ 5 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2007 อัลบั้ม Back to Black แบบพิเศษก็ได้วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักร ในอัลบั้มนี้จะมีแผ่นซีดีเพิ่มอีกหนึ่งแผ่นซึ่งประกอบไปด้วย บี-ซายด์ส (B-sides) เพลงที่หาฟังยาก เพลงที่ร้องสด และอื่นๆ เช่นเพลง "Valerie" ซึ่งดีวีดีการแสดงของเอมี I Told You I Was Trouble: Live in London ก็ได้วางจำหน่ายในสหราชอาณาจักรในวันเดียวกันนั้นด้วย ส่วนในสหรัฐอเมริกาวางจำหน่ายวันที่ 13 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ดีวีดีนี้ประกอบด้วยบันทึกการแสดงสดของเธอที่แชพเพิร์ดส บุช เอ็มไพร์ ณ กรุงลอนดอน และสารคดีความยาว 50 นาทีเกี่ยวกับการเข้าสู่วงการของเธอย้อนไป 4 ปี[31] ในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 2007 ซิงเกิล "Love Is a Losing Game" ซึ่งเป็นซิงเกิลตัวสุดท้ายของอัลบั้ม Back to Black ก็ได้วางจำหน่ายที่สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา
ด้วยกระแสความดังของอัลบั้ม Back to Black อัลบั้ม Frank จึงถูกนำกลับมาวางจำหน่ายอีกครั้งที่สหรัฐอเมริกาในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 ติดอันดับ 61 ของบิลบอร์ด 200 ชาร์ท[32] พร้อมได้รับบทวิจารณ์ในแง่ดีอีกเช่นเคย[33][34]
ในส่วนอัลบั้มของเอมีเอง เธอก็ได้ร่วมมือกับศิลปินอื่นๆ ด้วย หนึ่งในนั้นคือเพลง "Valarie" ของมาร์ก รอนสัน ในอัลบั้มเดี่ยวของเขาชื่อ Version ซึ่งเอมีเป็นผู้ขับร้อง เพลงนี้ออกอากาศในเดือนตุลาคม ค.ศ. 2007 ติดอันดับสูงสุดอันดับที่ 2 ในสหราชอาณาจักร "Valarie" ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลบริท สาขา "Best British Single" ประจำปีค.ศ. 2008[35][36][37] นอกจากนี้เอมียังได้ร่วมงานกับ มิวทยา บูนา อดีตสมาชิกวงชูการ์เบบ ในเพลง "B Boy Baby" ซึ่งเป็นเพลงในอัลบั้มที่สี่ของมิวทยาชื่อ Real Girl[38]
ทัวร์คอนเสิร์ต
[แก้]หลังจากที่อัลบั้ม Back to Black วางจำหน่าย เอมีก็เริ่มเดินสายทัวร์คอนเสิร์ต เธอเริ่มออกทัวร์ในเดือนกันยายนและพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 หนึ่งในนั้นเป็นคอนเสิร์ตกุศลชื่อ Little Noise Sessions ที่โบสถ์ยูเนียนชาเปล ในอีสลิงตัน ลอนดอน นอกจากนี้เอมียังได้ร่วมรายการเพลงประจำปีของจูลส์ ฮอลแลนด์ ในรายการฮูทเท็นแอนนี่ ช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 2007 เอมีได้ทัวร์คอนเสิร์ตเล็กๆ 14 แห่ง และระหว่างช่วงฤดูร้อนในปีค.ศ. 2007 เอมีได้ร่วมร้องเพลงในงานเทศกาลเพลงต่างๆ เช่น เทศกาลกลาสตันเบอร์รี่[39], เทศกาลลอลลาโปลูซา ในชิคาโก, ร็อก เวิร์ชเทอร์ และเวอร์จินมิวสิกเฟสติวอล ฯลฯ
อย่างไรก็ตามทัวร์คอนเสิร์ตของเอมีก็ไม่ได้ราบรื่นดีนัก เอมีได้ยกเลิกคอนเสิร์ตในฟินแลนด์ที่จะแสดงในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 2007 เนื่องจากเจ็บคอ[40] และในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน คืนวันแรกของทัวร์คอนเสิร์ต 17 วัน ณ National Indoor Arena ในเบิร์มมิงแฮม นักวิจารณ์เพลงกล่าวได้กล่าวในหนังสือพิมพ์เบิร์มมิ่งแฮมเมล์ว่า "คอนเสิร์ตนี้เป็นสิ่งที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่ฉันเกิดมา... ฉันเห็นศิลปินผู้มีพรสวรรค์ดูเหมือนร่างกายจะแตกเป็นชิ้นๆ เดินโซเซไปมาบนเวที และยังสบถใส่ผู้ชมอีกด้วย"[41] ซึ่งคอนเสิร์ตครั้งอื่นๆ ก็เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ตลอด[42] ในที่สุดวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2007 เอมีได้ประกาศยกเลิกทุกคอนเสิร์ตของปี 2007 โดยแพทย์แนะนำให้เอมีพักผ่อนระยะยาว Live Nation ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนคอนเสิร์ตของเอมีได้ออกมากล่าวถึงเหตุผลที่ต้องยกเลิกคอนเสิร์ตว่า "เอมีเคร่งเครียดจากการทัวร์คอนเสิร์ตมาตลอดหลายสัปดาห์ติดต่อกัน"[43]
เสียชีวิต
[แก้]เอมี ไวน์เฮาส์ ได้เสียชีวิตลงในอพาร์ทเมนต์ส่วนตัวที่ลอนดอน เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ตามเวลาท้องถิ่น ซึ่งสาเหตุเบื้องต้นได้สันนิษฐานว่าเกิดจากการติดสารเสพติดและสุราเป็นเวลายาวนาน โดยเธอได้สิ้นใจลงก่อนรถพยาบาลจะเข้ามาถึง[44]
ผลงานเพลง
[แก้]- 2003: Frank
- 2006: Back to Black
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ความสำเร็จที่น่าหวั่นวิตกของ เอมี่ ไวน์เฮาส์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-26. สืบค้นเมื่อ 2007-11-14.
- ↑ Amy Winehouse เก็บถาวร 2007-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน msninconcert.msn.com
- ↑ Amy Winehouse Wins Big at Grammy Awards The New York Time Feb. 11, 2008 Retrieved 27-11-2020
- ↑ เอมี่ ไวน์เฮาส์ ถูกจับเข้าคุกหลังตบหน้าผู้ชายในผับ เก็บถาวร 2008-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน mtvthailand.com
- ↑ Cable, Simon (2 June 2010). "Revealed, the clean cut new boyfriend who may tame Amy Winehouse". Daily Mail. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ Tragic Amy Winehouse 'heartbroken' over split from Reg Traviss as she dies aged 27 Daily Mail. Retrieved 24 July 2011
- ↑ 7.0 7.1 7.2 Mulholland, Garry. "Charmed and Dangerous." The Observer. 1 February 2004. Retrieved on 28 October 2006.
- ↑ 8.0 8.1 8.2 Eliscu, Jenny. (2007-06-14) , "The Diva and Her Demons." เก็บถาวร 2007-06-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Rolling Stone. (1028) :58–69. Retrieved 2007-12-14.
- ↑ SAnderson, Elizabeth. "Amy Winehouse's mother explains why she feels powerless to stop her troubled daughter’s descent into hell of addiction." Mail Online. 18 August 2007. Retrieved on 1 July 2008.
- ↑ Sandall, Robert. "Can Amy Winehouse be saved?" เก็บถาวร 2008-10-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Times. 27 July 2008.
- ↑ "Singer of the Week - Amy Winehouse". AskMen.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-17. สืบค้นเมื่อ 2007-11-03.
- ↑ The Fast Show Episode #3.2 ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- ↑ "Q - The Interview: Amy Winehouse". The Independent on Sunday. 2004-01-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-03-06. สืบค้นเมื่อ 2008-08-24.
{{cite news}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ Braddock, Kevin. "Fame Academy: The Brit School." The Independent 28 January 2007. Accessed: 17 May 2008.
- ↑ Rothstein, Simon. "A Frank Interview with Amy." The Sun. 5 April 2004. Retrieved on 23 November 2006.
- ↑ Sisario, Ben. "She’s Not Anybody’s Backup Act." New York Times. 29 September 2007. Retrieved on 2007-12-13
- ↑ "Amy Winehouse: Frank". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-11-09. สืบค้นเมื่อ 2008-08-30.. Google.com. Retrieved on 20 November 2006
- ↑ Lindon, Beccy. "Amy Winehouse, Frank." The Guardian. 17 October 2003. Retrieved on 4 November 2006.
- ↑ 19.0 19.1 Bush, John. Amy Winehouse Frank Review. allmusic.com. Retrieved on 4 November 2006.
- ↑ Boraman, Greg. Urban Review: Amy Winehouse, Frank. BBC.co.uk. 27 November 2003. Retrieved on 4 November 2006.
- ↑ Amy Winehouse (official site) . Retrieved on 28 October 2006.
- ↑ ASCAP Members Honored At The Ivors เก็บถาวร 2008-05-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. ASCAP.com. Retrieved on 28 October 2006.
- ↑ 23.0 23.1 23.2 Swift, Jacqui. "Wine, Woman and Song." The Sun 27 October 2006. Retrieved on 28 October 2006
- ↑ Cooke, Chris."Back for Good - Amy Winehouse" CMU Beats. December 2006. Retrieved on 2008-8-31
- ↑ Cleland, Gary. "Amy Winehouse tops year end iTunes chart." The Telegraph. 13 December 2007. Retrieved on 13 December 2007
- ↑ "Amy Winehouse - I Told You I Was Trouble - Documentary & Live Concert DVD." ilikemusic.com Retrieved 25 October 2007.
- ↑ "Profile: Amy Winehouse." BBC.com. 29 August 2007.
- ↑ Amy Winehouse - Rehab - Music Charts. acharts.us. 2007-12-18.
- ↑ "Winehouse wins best contemporary song." เก็บถาวร 2020-05-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ninemsn.com.au. 2007-05-27. Retrieved 2007-12-13.
- ↑ Tyrangiel, Josh. "Top 10 Songs - 50 Top 10 Lists of 2007." เก็บถาวร 2009-04-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Time.com.
- ↑ "Universal Republic Stars, Amy Winehouse and Mika, to Release Special Live DVDs in U.S. 13 November." Universal Republic Records Press release. 2007-12-02. Retrieved 2007-12-13.
- ↑ Harris, Chris. "'American Idol' Champ Jordin Sparks Fails To Ignite The Charts, Barely Cracking Billboard Top 10." เก็บถาวร 2010-08-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน MTV.com. 28 November 2007. Retrieved on 2007-12-13
- ↑ Friskics-Warren, Bill. "Amy Winehouse: A 'Frank' Assessment." Washington Post 20 November 2007. Retrieved 2007-12-13
- ↑ Toombs, Mikel. "Listen Up: Amy Winehouse's 'Frank'." Seattle Post-Intelligencer. 21 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
- ↑ Mark Ronson featuring Amy Winehouse - Valerie. ilikemusic.com Retrieved 2007-12-13.
- ↑ Colothan, Scott. Leona Lewis Does The Chart Double Again เก็บถาวร 2007-12-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Hi-HopElements.com. 26 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
- ↑ Amy Winehouse - I Told You I Was Trouble - Documentary & Live Concert DVD. ilikemusic.com. Retrieved on 2007-12-13.
- ↑ Brit Awards nominations go pop. egigs.co.uk. 14 January 2008.
- ↑ Wilkes, Neil. "Winehouse camps in style at Glastonbury." เก็บถาวร 2008-05-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน DigitalSpy 2007-06-24. Retrieved on 2007-06-25.
- ↑ Bruitzman, Dennis. "Headliner Amy Winehouse cancels Provinssirock." เก็บถาวร 2009-01-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Coleman, Andy. "Amy Winehouse Birmingham Show ends in chaos." Birmingham Mail. 2007-11-15. Accessed 2008-01-06.
- ↑ "Amy Winehouse fans revolt after shambolic gig." New Musical Express. 26 November 2007.
- ↑ "Amy Winehouse scraps all concerts." BBC News. 27 November 2007. Retrieved 2007-12-13.
- ↑ ""เอมี ไวน์เฮาส์"เสียชีวิต!ในบ้านพักลอนดอน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-08. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.