ข้ามไปเนื้อหา

เมแทบอลิซึมของลิพิด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมแทบอลิซึม[1]ของลิพิด (อังกฤษ: Lipid metabolism) เป็นกระบวนการสังเคราะห์และสลายของลิพิดภายในเซลล์ ประกอบด้วย การสลายหรือกักเก็บไขมัน เพื่อใช้เป็นพลังงาน และใช้ในการสังเคราะห์ของลิพิดเชิงหน้าที่และโครงสร้าง เช่น ลิพิดในการสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ ในสัตว์นั้น ไขมันเหล่านี้ได้รับมาจากอาหารหรือจากการสังเคราะห์โดยตับ[2] กระบวนการสร้างไขมันนี้เรียกว่า Lipogenesis[3][4] ลิพิดส่วนใหญ่ที่พบในร่างกายมนุษย์ที่ได้มาจากการย่อยอาหารคือ ไตรกลีเซอไรด์ และ คลอเรสเตอรอล[5] ส่วนลิพิดอื่น ๆ ที่พบในร่างกายคือกรดไขมัน และ ลิพิดเยื่อหุ้ม เมแทบอลิซึมของลิพิดนั้นมักถือว่าเป็นการย่อยและการดูดซึมของไขมันที่รับประทานเข้ามา อย่างไรก็ตาม ในสิ่งมีชีวิตมีไขมันจากสองแหล่งที่สามารถนำไปใช้สร้างพลังงานได้คือจากการรับประทานอาหาร และจากไขมันที่เก็บสะสมไว้[6] สัตว์มีกระดูกสันหลัง (รวมทั้งมนุษย์) ใช้ไขมันจากทั้งสองแหล่งนี้ในการผลิตพลังงาน[7] เนื่องจากลิพิดเป็นโมเลกุลที่เป็นไฮโดรฟอบิก (hydrophobic) จึงต้องผ่านการทำเป็นสารละลาย (solubilised) ก่อนที่กระบวนการเมแทบอลิซึมจะเริ่มขึ้น เมแทบอลิซึมของลิพิดนั้นมักเริ่มต้นโดยการไฮโดรไลซิส[8] ซึ่งเกิดขึ้นโดยการช่วยเหลือของเอนไซม์หลายชนิดในระบบทางเดินอาหาร[3] กระบวนการเมแทบอลิซึมในลิพิดนั้นสามารถเกิดขึ้นในพืช ถึงแม้จะมีความแตกต่างกันในบางส่วนเมื่อเทียบกับในสัตว์[9] ขั้นตอนที่สองต่อจากไฮโดรไลซิสคือการดูดซึมกรดไขมันเข้าไปในเซลล์เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial cells) ของผนังลำไส้[7] ในเซลล์เนื้อเยื่อบุผิวนั้น กรดไขมันจะถูกบรรจุและขนส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายต่อไป[10]

ชนิดของลิพิด

[แก้]

ชนิดของลิพิดที่เกี่ยวข้องในกระบวนการเมแทบอลิซึมของลิพิด มีดังนี้

อ้างอิง

[แก้]
  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน สาขาพฤกษศาสตร์ ๑๘ ก.พ. ๒๕๔๕
  2. 2.0 2.1 "Overview of Lipid Metabolism". Merck Manuals Professional Edition. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  3. 3.0 3.1 "Hydrolysis – Chemistry Encyclopedia – structure, reaction, water, proteins, examples, salt, molecule". chemistryexplained.com. สืบค้นเมื่อ 2016-11-01.
  4. Freifelder D (1987). Molecular biology (2nd ed.). Boston: Jones and Bartlett. ISBN 978-0-86720-069-0.
  5. Baynes D (2014). Medical Biochemistry. Saunders, Elsevier Limited. pp. 121–122. ISBN 978-1-4557-4580-7.
  6. Arrese EL, Soulages JL (2010). "Insect fat body: energy, metabolism, and regulation". Annual Review of Entomology. 55: 207–25. doi:10.1146/annurev-ento-112408-085356. PMC 3075550. PMID 19725772.
  7. 7.0 7.1 7.2 Lehninger AL, Nelson DL, Cox MM (2000). Lehninger Principles of Biochemistry (3rd ed.). New York: Worth Publishers. ISBN 978-1-57259-931-4.
  8. Ophardt CE (2013). "Lipid Metabolism Summary". Virtual Chembook. Elmhurst College. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-02. สืบค้นเมื่อ 2020-06-22.
  9. Wedding RT (May 1972). "Reviewed Work: Plant Lipid Biochemistry". The New Phytologist. 71 (3): 547–548. JSTOR 2430826?.
  10. Jo Y, Okazaki H, Moon YA, Zhao T (2016). "Regulation of Lipid Metabolism and Beyond". International Journal of Endocrinology. 2016: 5415767. doi:10.1155/2016/5415767. PMC 4880713. PMID 27293434.
  11. 11.0 11.1 11.2 Alberts B, Johnson A, Lewis J, Raff M, Roberts K, Walter P (2002). "The Lipid Bilayer". Molecular Biology of the Cell (4th ed.). Garland Science. ISBN 978-0-8153-3218-3.
  12. Gault CR, Obeid LM, Hannun YA (2010). "An overview of sphingolipid metabolism: from synthesis to breakdown". Advances in Experimental Medicine and Biology. 688: 1–23. doi:10.1007/978-1-4419-6741-1_1. ISBN 978-1-4419-6740-4. PMC 3069696. PMID 20919643.
  13. 13.0 13.1 Incardona JP, Eaton S (April 2000). "Cholesterol in signal transduction". Current Opinion in Cell Biology. 12 (2): 193–203. doi:10.1016/s0955-0674(99)00076-9. PMID 10712926.
  14. Russell DW (2003). "The enzymes, regulation, and genetics of bile acid synthesis". Annual Review of Biochemistry. 72: 137–74. doi:10.1146/annurev.biochem.72.121801.161712. PMID 12543708.
  15. Williams KI, Higgs GA (October 1988). "Eicosanoids and Inflammation". The Journal of Pathology. 156 (2): 101–110. doi:10.1002/path.1711560204. PMID 3058912. S2CID 34803631.

Lipid metabolism ในหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติอเมริกัน สำหรับหัวข้อเนื้อหาทางการแพทย์ (MeSH)