เซมากลูไทด์
ข้อมูลทางคลินิก | |
---|---|
การอ่านออกเสียง | /sɛmˈæɡlʊtaɪd/ sem-AG-luu-tyde หรือ /ˌsɛməˈɡluːtaɪd/ sem-ə-gloo-tyde |
ชื่อทางการค้า | Ozempic, Rybelsus, Wegovy, อื่น ๆ |
AHFS/Drugs.com | โมโนกราฟ |
MedlinePlus | a618008 |
ข้อมูลทะเบียนยา |
|
ระดับความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์ | |
ช่องทางการรับยา | ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง, รับประทาน |
รหัส ATC | |
กฏหมาย | |
สถานะตามกฏหมาย | |
ข้อมูลเภสัชจลนศาสตร์ | |
ชีวประสิทธิผล | 89% |
การเปลี่ยนแปลงยา | การสลายโปรตีน |
ครึ่งชีวิตทางชีวภาพ | 7 วัน |
ระยะเวลาออกฤทธิ์ | 63.6 ชั่วโมง |
การขับออก | ปัสสาวะและอุจจาระ |
ตัวบ่งชี้ | |
เลขทะเบียน CAS | |
PubChem CID | |
DrugBank | |
ChemSpider | |
UNII | |
KEGG | |
ChEBI | |
ECHA InfoCard | 100.219.541 |
ข้อมูลทางกายภาพและเคมี | |
สูตร | C187H291N45O59 |
มวลต่อโมล | 4113.641 g·mol−1 |
แบบจำลอง 3D (JSmol) | |
| |
| |
เซมากลูไทด์ (semaglutide) หรือชื่อทางการค้า Ozempic, Wegovy และ Rybelsus เป็นยาต้านเบาหวานที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และยาลดความอ้วนที่ใช้ควบคุมน้ำหนักในระยะยาว พัฒนาโดยบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ (Novo Nordisk A/S) ใน พ.ศ. 2555[17][18][19] เป็นเปปไทด์ที่มีลักษณะคล้ายกับฮอร์โมนเปปไทด์คล้ายกลูคากอนชนิดที่ 1 (glucagon-like peptide-1, GLP-1) ซึ่งดัดแปลงสายโซ่ด้านข้าง[20][21] สามารถให้ยาโดยการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง (subcutaneous) หรือรับประทานทางปาก[22][14][15][16]
เซมากลูไทด์ เป็นตัวกระตุ้นตัวรับเปปไทด์คล้ายกลูคากอนชนิดที่ 1 (glucagon-like peptide-1 receptor agonist)[14][15][16] ผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ อาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ปวดท้อง และท้องผูก[14][9][10][11]
ใน พ.ศ. 2563 เซมากลูไทด์เป็นยาที่ต้องสั่งโดยแพทย์ที่มีใบสั่งยามากกว่า 4 ล้านใบ ซึ่งมากเป็นอันดับที่ 129 ในสหรัฐ[23][24]
การใช้ทางการแพทย์
[แก้]เซมากลูไทด์ ใช้เป็นส่วนเสริมของการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย เพื่อปรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2[14][15]
สูตรการใช้เซมากลูไทด์ในขนาดสูงระบุว่าเป็นส่วนเสริมของอาหารและการออกกำลังกายเพื่อควบคุมน้ำหนักในระยะยาวในผู้ใหญ่ที่เป็นโรคอ้วน (เริ่มจากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ≥ 30 กก./ตารางเมตร) หรือผู้ที่มีน้ำหนักเกิน (เริ่มจากค่าดัชนีมวลกาย ≥ 27 กก./ตารางเมตร) และผู้มีโรคร่วมที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักอย่างน้อยหนึ่งรายการ[16][11][25]
ผลไม่พึงประสงค์
[แก้]ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ อาการคลื่นไส้ ท้องเสีย อาเจียน ท้องผูก ปวดท้อง ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า อาหารไม่ย่อย/แสบร้อนกลางอก เวียนศีรษะ แน่นท้อง เรอ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (hypoglycemia) ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองอาจมีอาการท้องอืด กระเพาะและลำไส้อักเสบ และโรคกรดไหลย้อน (gastroesophageal reflux disease, GERD)[26]
ข้อห้ามใช้
[แก้]ข้อมูลจากการศึกษาในสัตว์ทดลองของภาวะต่อมไทรอยด์โตชนิดเซลล์พาราฟอลลิคูลา (C-cell) ที่ใช้ GLP-1[27] บ่งชี้ว่าห้ามใช้ยาในผู้ที่มีประวัติส่วนตัวหรือประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันของต่อมไทรอยด์ (medullary thyroid carcinoma) หรือมีเนื้องอกของต่อมไร้ท่อหลายต่อมชนิดที่ 2 (multiple endocrine neoplasia type 2)[14][15]
กลไกการออกฤทธิ์
[แก้]เซมากลูไทด์เป็นตัวกระตุ้นตัวรับเปปไทด์คล้ายกลูคากอนชนิดที่ 1[14][15][16] ด้วยการเลียนแบบการทำงานที่เพิ่มขึ้นของ GLP-1 ซึ่งเป็นฮอร์โมนในกลุ่มอินเครทิน (incretin) ที่จะทำให้มีการผลิตอินซูลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น[28] นอกจากนี้ยังดูเหมือนว่าจะช่วยเพิ่มการเจริญของเซลล์เบตาในตับอ่อน ซึ่งมีหน้าที่ในการผลิตและปล่อยอินซูลิน[21][29] นอกจากนี้ยังยับยั้งการผลิตกลูคากอน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เพิ่มกระบวนการไกลโคจีโนไลซิส (glycogenolysis, การปลดปล่อยคาร์โบไฮเดรตที่เก็บไว้ออกจากตับ) และกระบวนการกลูโคโนเจเนซิส (gluconeogenesis, การสร้างกลูโคส) ช่วยลดการบริโภคอาหารโดยการลดความอยากอาหารและทำให้การย่อยอาหารในกระเพาะอาหารช้าลง[20] ช่วยลดไขมันในร่างกาย[30][31][32]
โครงสร้างและเภสัชวิทยา
[แก้]เซมากลูไทด์มีคุณสมบัติทางเคมีคล้ายคลึงกับ GLP-1 ของมนุษย์[33] โดยกรดอะมิโนหกตัวแรกของ GLP-1 หายไป[33] การแทนที่เกิดขึ้นที่ตำแหน่ง 8 และ 34 ของ GLP (ตำแหน่งเซมากลูไทด์ 2 และ 28) โดยที่อะลานีนและไลซีนถูกแทนที่ด้วยกรด 2-อะมิโนไอโซบิวทีริก (2-aminoisobutyric acid) และอาร์จินีน ตามลำดับ[33] การแทนที่อะลานีนเป็นการป้องกันการสลายทางเคมีโดยเอนไซม์ไดเพปติดิล เพปทิเดส-4 (dipeptidyl peptidase-4)[34] ไลซีนที่ตำแหน่ง GLP 26 (ตำแหน่งเซมากลูไทด์ 20) มีสายโซ่ยาวเชื่อมอยู่ซึ่งปิดท้ายด้วยสายอะตอมคาร์บอน 17 อะตอมและหมู่คาร์บอกซิลหนึ่งหมู่[34] ซึ่งจะเพิ่มการจับกันของยากับโปรตีนอัลบูมินในเลือด ช่วยให้สามารถอยู่ในระบบไหลเวียนโลหิตได้นานขึ้น[34]
ครึ่งชีวิตของเซมากลูไทด์ในเลือดคือประมาณเจ็ดวัน (165–184 ชั่วโมง)[21][35] สามารถให้ยาโดยการฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังหรือรับประทาน[14][15][16]
ประวัติ
[แก้]การวิจัยเซมากลูไทด์ได้ทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 2 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551[36]
ใน พ.ศ. 2555 ทีมนักวิจัยของบริษัทโนโว นอร์ดิสค์ ได้พัฒนาวิธีการรักษาโรคเบาหวานด้วยเซมากลูไทด์[37] โดยให้ยาสัปดาห์ละครั้ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่ออกฤทธิ์นานกว่าลิรากลูไทด์ (liraglutide)[38] และได้รับการตั้งชื่อทางการค้าว่า Ozempic การทดลองทางคลินิกเริ่มในเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 และสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2560[17][39]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2564 การทดลองระยะที่ 3 แบบสุ่ม มีกลุ่มควบคุม อำพรางสองฝ่าย ในผู้ใหญ่ 1,961 รายที่มีดัชนีมวลกาย 30 ขึ้นไป ได้มีการกำหนดการรักษาด้วยการฉีดเซมากลูไทด์ใต้ผิวหนังสัปดาห์ละครั้งหรือให้ยาหลอกในอัตราส่วน 2:1 ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิต การทดลองทำขึ้นในพื้นที่ 129 แห่งของ 16 ประเทศในเอเชีย ยุโรป อเมริกาเหนือ และอเมริกาใต้ ร้อยละของการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยของน้ำหนักตัวในสัปดาห์ที่ 68 ในกลุ่มเซมากลูไทด์อยู่ที่ −14.9% เทียบกับในกลุ่มยาหลอกอยู่ที่ −2.4% โดยประมาณความแตกต่างในการรักษาอยู๋ที่ −12.4 จุดร้อยละ (95% CI, −13.4 ถึง −11.5)[40][41][42][43]
การทบทวนการรักษาโรคอ้วนใน พ.ศ. 2565 พบว่าเซมากลูไทด์และเทอร์เซพาไทด์ (ซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ทับซ้อนกัน) มีแนวโน้มที่ดีกว่ายาลดความอ้วนชนิดก่อน ๆ แม้ว่าจะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าการผ่าตัดลดความอ้วนก็ตาม[44]
สังคมและวัฒนธรรม
[แก้]สถานะทางกฎหมาย
[แก้]มีการยื่นคำร้องจดทะเบียนยาใหม่ (NDA) กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2559 และในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 คณะกรรมการที่ปรึกษา FDA ได้ให้การอนุมัติ[45]
ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2560 ยาฉีดที่มีตราสินค้า Ozempic ได้รับการอนุมัติให้ใช้กับผู้ป่วยโรคเบาหวานในสหรัฐ[46][47] และในเดือนมกราคม พ.ศ. 2561ได้รับการอนุมัติในแคนาดา[48]
มีการอนุมัติให้ใช้ในสหภาพยุโรปในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561[9][49] ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2561 ได้รับการอนุมัติในญี่ปุ่น[50] และในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2562 มีการอนุมัติในออสเตรเลีย[1][3]
ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2562 ยาในแบบรับประทานที่มีตราสินค้า Rybelsus ได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหรัฐ[51][52] และในสหภาพยุโรปในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563[10]
ยาฉีดในขนาดสูงที่จำหน่ายภายใต้ตราสินค้า Wegovy ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ให้เป็นยาลดความอ้วนโดยการควบคุมน้ำหนักระยะยาวในผู้ใหญ่[16] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 คณะกรรมการด้านผลิตภัณฑ์ยาสําหรับใช้ในมนุษย์ (Committee for Medicinal Products for Human Use, CHMP) ขององค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency, EMA) อนุญาตในการวางจำหน่ายยา Wegovy[53] แก่บริษัทโนโว นอร์ดิสค์[53] ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 Wegovy ได้รับการอนุมัติให้ใช้ทางการแพทย์ในสหภาพยุโรป[11][54]
ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2566 ฉลากของ Rybelsus ได้รับการปรับปรุงเพื่อแสดงว่าสามารถใช้เป็นการรักษาทางเลือกแรกสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ได้[55]
เศรษฐกิจ
[แก้]ใน พ.ศ. 2565 ยาฉีด Wegovy มีราคาขายปลีกในสหรัฐอเมริกาอยู่ที่ 1,349.02 ดอลลาร์ต่อเดือน ตามรายงานของหนังสือพิมพ์ เดอะนิวยอร์กไทม์ ได้วิจารณ์ว่าเนื่องจากค่าใช้จ่ายที่สูงสำหรับผู้คนส่วนใหญ่ "ผู้ที่ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการลดน้ำหนักอาจไม่สามารถซื้อยาราคาแพงเช่นนั้นได้"[56]
ในสหราชอาณาจักร เซมากลูไทด์มีจำหน่ายตามใบสั่งยาของบริการสาธารณสุขแห่งชาติ (NHS) สำหรับโรคเบาหวานและโรคอ้วน โดยมีค่าใช้จ่ายเล็กน้อยหรือไม่มีค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ป่วย[57] แต่จำกัดการรักษาเป็นเวลาเพียงสองปีเท่านั้น[58]
จากความต้องการที่สูงทำให้เกิดการขาดแคลนอุปทานของยาฉีด Wegovy ใน พ.ศ. 2566[59] ค่าใช้จ่ายที่สูงของยา Ozempic ทำให้บริษัทประกันสุขภาพบางแห่งทำการสอบสวนและปฏิเสธที่จะคุ้มครองคนไข้จากการที่บริษัทพิจารณาว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการวินิจฉัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (โดยกล่าวหาว่าเป็นการใช้ยานอกข้อบ่งใช้เพื่อการลดน้ำหนัก)[59]
การวิจัย
[แก้]รายงานใน พ.ศ. 2564 พบว่าเซมากลูไทด์ด้อยกว่าเทอร์เซพาไทด์ (tirzepatide ในชื่อทางการค้า Mounjaro) เมื่อใช้สัปดาห์ละครั้ง โดยเป็นการรักษาเสริมกับการใช้เมตฟอร์มินในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 (SURPASS-2) ในทั้งจุดสิ้นสุดของการลดลงของไกลโคไซเลตฮีโมโกลบิน (HbA1c) และการลดลงของน้ำหนักตัว โดยมีข้อมูลความปลอดภัยโดยรวมใกล้เคียงกัน[60]
การวิเคราะห์อภิมานใน พ.ศ. 2557 พบว่าเซมากลูไทด์อาจมีประสิทธิภาพในการลดภาวะเอนไซม์ทรานซามิเนสสูง (transaminitis) และปรับปรุงลักษณะที่สังเกตได้ทางรังสีวิทยาบางประการของโรคไขมันพอกตับที่เกี่ยวข้องกับการเผาผลาญผิดปกติ (MAFLD)[61] ฐานข้อมูลของระบบประกันสุขภาพแห่งชาติฝรั่งเศสเคยแนะนำการใช้ตัวกระตุ้นตัวรับเปปไทด์คล้ายกลูคากอนชนิดที่ 1 เป็นเวลา 1–3 ปี เช่น อีเซนาไทด์ (exenatide), ลิรากลูไทด์ (liraglutide) และดูลากลูไทด์ (dulaglutide) อาจเชื่อมโยงกับการเกิดมะเร็งต่อมไทรอยด์ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเซมากลูไทด์อยู่ในกลุ่มยาประเภทเดียวกัน ในการวิเคราะห์อภิมานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจากการทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม 37 รายการและการศึกษาในสถานการณ์จริง 19 รายการ (ผู้ป่วย 46,719 ราย) นายแพทย์ทีป ทัตตา (दीप दत्ता) และคณะผู้เขียนรายงาน ยืนยันด้วยหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าการใช้เซมากลูไทด์นานกว่า 18 เดือนไม่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคมะเร็งชนิดใด ๆ[62]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 องค์การยาแห่งไอซ์แลนด์รายงานกรณีผู้ป่วยที่มีความคิดฆ่าตัวตาย 2 กรณี และกรณีการทำร้ายตัวเองของผู้ใช้ยาฉีด 1 กรณี การประเมินความปลอดภัยจะพิจารณาจากยา Ozempic,[63] Wegovy, Saxenda และยาที่คล้ายกัน[64]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "AusPAR: Semaglutide". Therapeutic Goods Administration (TGA). 2 ธันวาคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ 2.0 2.1 "Rybelsus APMDS". Therapeutic Goods Administration (TGA). 22 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022.[ลิงก์เสีย]
- ↑ 3.0 3.1 "Summary for ARTG Entry:315107 Ozempic 1 mg semaglutide (rys) 1.34 mg/mL solution for injection pre-filled pen". Therapeutic Goods Administration (TGA). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Summary for ARTG Entry: 346198 Rybelsus semaglutide 3 mg tablet blister pack". Therapeutic Goods Administration (TGA). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2022. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2022.
- ↑ "WEGOVY (Novo Nordisk Pharmaceuticals Pty Ltd)". Therapeutic Goods Administration (TGA). 7 ตุลาคม 2022. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 เมษายน 2023. สืบค้นเมื่อ 7 เมษายน 2023.
- ↑ Product Monograph Including Patient Medication Information – Ozempic semaglutide injection (PDF) (Report). Novo-Nordisk Canada. 21 สิงหาคม 2020 [Initial approval 4 January 2018]. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ Product Monograph Including Patient Medication Information – Rybelsus semaglutide tablets (PDF) (Report). Novo-Nordisk Canada. 30 มีนาคม 2020. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Regulatory Decision Summary – Rybelsus". Health Canada. 23 ตุลาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2022.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 "Ozempic EPAR". European Medicines Agency (EMA). 17 กันยายน 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 ตุลาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Rybelsus EPAR". European Medicines Agency (EMA). 29 มกราคม 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 สิงหาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ 11.0 11.1 11.2 11.3 "Wegovy EPAR". European Medicines Agency. 11 พฤศจิกายน 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 กรกฎาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2022.
- ↑ "Ozempic 0.25 mg solution for injection in pre-filled pen – Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 9 เมษายน 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Rybelsus – Summary of Product Characteristics (SmPC)". (emc). 25 พฤศจิกายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 6 มิถุนายน 2021.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 14.7 "Ozempic- semaglutide injection, solution". DailyMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ 15.0 15.1 15.2 15.3 15.4 15.5 15.6 "Rybelsus- oral semaglutide tablet". DailyMed. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 16.3 16.4 16.5 16.6 "Wegovy- semaglutide injection, solution". DailyMed. 4 มิถุนายน 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 ธันวาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 11 มีนาคม 2022.
- ↑ 17.0 17.1 Singh G, Krauthamer M, Bjalme-Evans M (มกราคม 2022). "Wegovy (semaglutide): a new weight loss drug for chronic weight management". Journal of Investigative Medicine. 70 (1): 5–13. doi:10.1136/jim-2021-001952. PMC 8717485. PMID 34706925.
- ↑ Phillips A, Clements JN (กุมภาพันธ์ 2022). "Clinical review of subcutaneous semaglutide for obesity". Journal of Clinical Pharmacy and Therapeutics. 47 (2): 184–193. doi:10.1111/jcpt.13574. PMID 34964141. S2CID 245538758.
- ↑ Amaro A, Sugimoto D, Wharton S (มกราคม 2022). "Efficacy and safety of semaglutide for weight management: evidence from the STEP program". Postgraduate Medicine. 134 (sup1): 5–17. doi:10.1080/00325481.2022.2147326. PMID 36691309. S2CID 256192982.
- ↑ 20.0 20.1 Doggrell SA (มีนาคม 2018). "Semaglutide in type 2 diabetes - is it the best glucagon-like peptide 1 receptor agonist (GLP-1R agonist)?" (PDF). Expert Opinion on Drug Metabolism & Toxicology. 14 (3): 371–377. doi:10.1080/17425255.2018.1441286. PMID 29439603. S2CID 3421553. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2019.
- ↑ 21.0 21.1 21.2 Goldenberg RM, Steen O (มีนาคม 2019). "Semaglutide: Review and Place in Therapy for Adults With Type 2 Diabetes". Canadian Journal of Diabetes. 43 (2): 136–145. doi:10.1016/j.jcjd.2018.05.008. PMID 30195966.
- ↑ Hughes S, Neumiller JJ (มกราคม 2020). "Oral Semaglutide". Clinical Diabetes. 38 (1): 109–111. doi:10.2337/cd19-0079. PMC 6969659. PMID 31975761.
- ↑ "The Top 300 of 2020". ClinCalc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 มีนาคม 2020. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.
- ↑ "Semaglutide – Drug Usage Statistics". ClinCalc. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2022.
- ↑ "FDA Approves New Drug Treatment for Chronic Weight Management, First Since 2014". U.S. Food and Drug Administration (FDA) (Press release). 4 มิถุนายน 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ Cunha JP, บ.ก. (18 มกราคม 2023). "Side Effects of Wegovy (Semaglutide Injection), Warnings, Uses". RxList (part of the WebMD network). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2023.
- ↑ Bjerre Knudsen L, Madsen LW, Andersen S, Almholt K, de Boer AS, Drucker DJ, และคณะ (เมษายน 2010). "Glucagon-like Peptide-1 receptor agonists activate rodent thyroid C-cells causing calcitonin release and C-cell proliferation". Endocrinology. 151 (4): 1473–1486. doi:10.1210/en.2009-1272. PMID 20203154. S2CID 20934882.
- ↑ Marso SP, Bain SC, Consoli A, Eliaschewitz FG, Jódar E, Leiter LA, และคณะ (พฤศจิกายน 2016). "Semaglutide and Cardiovascular Outcomes in Patients with Type 2 Diabetes". The New England Journal of Medicine. 375 (19): 1834–1844. doi:10.1056/NEJMoa1607141. PMID 27633186.
- ↑ Li Y, Hansotia T, Yusta B, Ris F, Halban P, Drucker D (2003). "Glucagon-like Peptide-1 Receptor Signaling Modulates β Cell Apoptosis". The Journal of Biological Chemistry. 278 (1): 471–478. doi:10.1074/jbc.M209423200. PMID 12409292.
- ↑ Dhillon S (กุมภาพันธ์ 2018). "Semaglutide: First Global Approval". Drugs. 78 (2): 275–284. doi:10.1007/s40265-018-0871-0. PMID 29363040. S2CID 46851453.
- ↑ "Drug can dramatically reduce weight of people with obesity". ScienceDaily. 23 ตุลาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2017.
- ↑ Blundell J, Finlayson G, Axelsen M, Flint A, Gibbons C, Kvist T, และคณะ (กันยายน 2017). "Effects of once-weekly semaglutide on appetite, energy intake, control of eating, food preference and body weight in subjects with obesity". Diabetes, Obesity & Metabolism. 19 (9): 1242–1251. doi:10.1111/dom.12932. PMC 5573908. PMID 28266779.
- ↑ 33.0 33.1 33.2 Lau J, Bloch P, Schäffer L, Pettersson I, Spetzler J, Kofoed J, และคณะ (กันยายน 2015). "Discovery of the Once-Weekly Glucagon-Like Peptide-1 (GLP-1) Analogue Semaglutide". Journal of Medicinal Chemistry. 58 (18): 7370–80. doi:10.1021/acs.jmedchem.5b00726. PMID 26308095. S2CID 20228358.
- ↑ 34.0 34.1 34.2 Gotfredsen CF, Mølck AM, Thorup I, Nyborg NC, Salanti Z, Knudsen LB, และคณะ (กรกฎาคม 2014). "The human GLP-1 analogs liraglutide and semaglutide: absence of histopathological effects on the pancreas in nonhuman primates". Diabetes. 63 (7): 2486–97. doi:10.2337/db13-1087. PMID 24608440. S2CID 35102048.
- ↑ Kapitza C, Nosek L, Jensen L, Hartvig H, Jensen CB, Flint A (พฤษภาคม 2015). "Semaglutide, a once-weekly human GLP-1 analog, does not reduce the bioavailability of the combined oral contraceptive, ethinylestradiol/levonorgestrel". Journal of Clinical Pharmacology. 55 (5): 497–504. doi:10.1002/jcph.443. PMC 4418331. PMID 25475122.
- ↑ Novo Nordisk A/S (13 มิถุนายน 2008). A Randomised Controlled Clinical Trial in Type 2 Diabetes Comparing Semaglutide to Placebo and Liraglutide (Report). NCT00696657. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2023.
- ↑ "Abstracts of the 48th EASD (European Association for the Study of Diabetes) Annual Meeting of the European Association for the Study of Diabetes. October 1–5, 2012. Berlin, Germany". Diabetologia. 55 (S1): S7–537. ตุลาคม 2012. doi:10.1007/s00125-012-2688-9. PMID 22918257.
- ↑ Kalra S, Gupta Y (กรกฎาคม 2015). "Once-weekly glucagon-like peptide 1 receptor agonists". The Journal of the Pakistan Medical Association. 65 (7): 796–8. PMID 26160096. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 กันยายน 2022. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2022.
- ↑ Novo Nordisk A/S (2 ตุลาคม 2019). "Efficacy and Safety of Semaglutide Versus Dulaglutide as add-on to Metformin in Subjects With Type 2 Diabetes". ClinicalTrials.gov. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 กรกฎาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2023.
- ↑ Wilding JP, Batterham RL, Calanna S, Davies M, Van Gaal LF, Lingvay I, และคณะ (มีนาคม 2021). "Once-Weekly Semaglutide in Adults with Overweight or Obesity". The New England Journal of Medicine. 384 (11): 989–1002. doi:10.1056/NEJMoa2032183. PMID 33567185. S2CID 231883214.
- ↑ Blum D (22 พฤศจิกายน 2022). "What Is Ozempic and Why Is It Getting So Much Attention?". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2023.
- ↑ Garvey WT, Batterham RL, Bhatta M, Buscemi S, Christensen LN, Frias JP, และคณะ (ตุลาคม 2022). "Two-year effects of semaglutide in adults with overweight or obesity: the STEP 5 trial". Nature Medicine. 28 (10): 2083–2091. doi:10.1038/s41591-022-02026-4. PMC 9556320. PMID 36216945.
- ↑ Dillinger K (29 มีนาคม 2023). "WHO advisers to consider whether obesity medication should be added to Essential Medicines List". CNN (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2023.
- ↑ Müller TD, Blüher M, Tschöp MH, DiMarchi RD (มีนาคม 2022). "Anti-obesity drug discovery: advances and challenges". Nature Reviews. Drug Discovery. 21 (3): 201–223. doi:10.1038/s41573-021-00337-8. PMC 8609996. PMID 34815532.
- ↑ "Development Status and FDA Approval Process for semaglutide". Drugs.com. 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 24 ตุลาคม 2017.
- ↑ "Drug Approval Package: Ozempic (semaglutide) Injection". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 16 มกราคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 มีนาคม 2021. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ "Ozempic (semaglutide) approved in the US". Novo Nordisk (Press release). 5 ธันวาคม 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 มิถุนายน 2021. สืบค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2021.
- ↑ "Regulatory Decision Summary – Ozempic". Health Canada. 23 ตุลาคม 2014. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 พฤษภาคม 2019. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2019.
- ↑ "Novo Nordisk A/S: Ozempic (semaglutide) approved in the EU for the treatment of type 2 diabetes" (Press release). Novo Nordisk A/S. 9 กุมภาพันธ์ 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 19 สิงหาคม 2018 – โดยทาง GlobeNewswire.
- ↑ "Ozempic approved in Japan for the treatment of type 2 diabetes" (Press release). Novo Nordisk A/S. 23 มีนาคม 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 เมษายน 2019. สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2019 – โดยทาง GlobeNewswire.
- ↑ "Drug Approval Package: Rybelsus". U.S. Food and Drug Administration (FDA). 10 มิถุนายน 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2020. สืบค้นเมื่อ 26 กันยายน 2020.
- ↑ "FDA approves first oral GLP-1 treatment for type 2 diabetes" (Press release). FDA. 20 กันยายน 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 กันยายน 2019. สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2019.
- ↑ 53.0 53.1 "Wegovy : Pending EC decision". European Medicines Agency. 11 พฤศจิกายน 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2021. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2021. Text was copied from this source which is copyright European Medicines Agency. Reproduction is authorized provided the source is acknowledged.
- ↑ "Wegovy Product information". Union Register of medicinal products. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 ตุลาคม 2022. สืบค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2023.
- ↑ "Novo Nordisk announces FDA approval of label update for Rybelsus (semaglutide) allowing use as a first-line option for adults with type 2 diabetes" (Press release). Novo Nordisk. 12 มกราคม 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 มกราคม 2023. สืบค้นเมื่อ 16 มกราคม 2023 – โดยทาง PR Newswire.
- ↑ Kolata G (28 เมษายน 2022). "Patients Taking Experimental Obesity Drug Lost More Than 50 Pounds, Maker Claims". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 มิถุนายน 2022. สืบค้นเมื่อ 13 พฤษภาคม 2022.
- ↑ "NICE recommended weight-loss drug to be made available in specialist NHS services". National Institute for Health and Care Excellence (NICE). 8 มีนาคม 2023. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 มีนาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2023.
- ↑ Marcus R (6 มิถุนายน 2023). "I lost 40 pounds on Ozempic. But I'm left with even more questions". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มิถุนายน 2023. สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน 2023.
- ↑ 59.0 59.1 Gilbert D (12 มิถุนายน 2023). "Insurers clamping down on doctors who prescribe Ozempic for weight loss". The Washington Post.
- ↑ Frías JP, Davies MJ, Rosenstock J, Pérez Manghi FC, Fernández Landó L, Bergman BK, และคณะ (SURPASS-2 Investigators) (สิงหาคม 2021). "Tirzepatide versus Semaglutide Once Weekly in Patients with Type 2 Diabetes". The New England Journal of Medicine. 385 (6): 503–515. doi:10.1056/NEJMoa2107519. PMID 34170647. S2CID 235635529.
- ↑ Dutta D, Kumar M, Shivaprasad KS, Kumar A, Sharma M (มิถุนายน 2022). "Impact of semaglutide on biochemical and radiologic measures of metabolic-dysfunction associated fatty liver disease across the spectrum of glycaemia: A meta-analysis". Diabetes & Metabolic Syndrome. 16 (6): 102539. doi:10.1016/j.dsx.2022.102539. PMID 35709586. S2CID 249584781.
- ↑ Nagendra L, Bg H, Sharma M, Dutta D (กรกฎาคม 2023). "Semaglutide and cancer: A systematic review and meta-analysis.". Diabetes Metab Syndr. 17 (9): 102834. doi:10.1016/j.dsx.2023.102834. PMID 37531876. S2CID 260261877.
- ↑ Blanchet, Brenton (27 กรกฎาคม 2023). "Ozempic, Drugs for Weight Loss Being Reviewed for Links to Suicide Risk". People. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.
- ↑ "Weight-loss jabs investigated for suicide risk". BBC News. 10 กรกฎาคม 2023.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ เซมากลูไทด์
- MedlinePlus. Semaglutide.