หมวดเรือ
หมวดเรือ[1] (อังกฤษ: flotilla หรือ naval flotilla มาจากภาษาสเปน หมายถึง small flota of ships กองเรือขนาดเล็ก) เป็นรูปขบวนของเรือรบขนาดเล็กที่อาจะเป็นส่วนหนึ่งของกองเรือนาวีขนาดใหญ่
องค์ประกอบ
[แก้]หมวดเรือมักจะประกอบด้วยกลุ่มเรือรบที่อยู่ในชั้นเรือเดียวกัน เช่น เรือฟริเกต เรือพิฆาต เรือตอร์ปิโด เรือดำน้ำ เรือปืน หรือเรือกวาดทุ่นระเบิด กลุ่มของเรือรบขนาดใหญ่มักเรียกว่ากองเรือ (squadrons) แต่หน่วยคล้ายกันที่ไม่มีเรือรบหลักอาจจะเรียกว่ากองเรือหรือหมวดเรือก็ได้ในบางกรณี รูปแบบของรูปขบวนที่ประกอบไปด้วยเรือรบหลักมากกว่าหนึ่งลำ เช่น เรือรบโปรตุเกส (Man-of-war), เรือประจัญบาน และเรือบรรทุกอากาศยาน โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วยเรือเล็กและเรือสนับสนุนด้วยซึ่งปกติจะถูกเรียกว่ากองเรือนาวี แต่ละส่วนจะบัญชาการโดยเรือรบหลักในรูปแบบของกองเรือหรือกองเรือเฉพาะกิจ (ดูข้อมูลอ้างอิงด้านล่าง
หมวดเรือนั้นอยู่ภายใต้การบัญชาการของพลเรือตรี, พลเรือจัตวา หรือนาวาเอก ขึ้นอยู่กับความสำคัญของการบังคับบัญชา (โดยปกติแล้วพลเรือโทจะเป็นผู้บังคับการกองเรือ) หมวดเรือมักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 หมู่เรือขึ้นไป ซึ่งแต่ละหมู่จะถูกบังคับการโดยนาวาโทที่อาวุโสที่สุด และอย่างน้อยที่สุดต้องเป็นเรือตรี โดยหมวดเรือมักจะจัดกำลังในรูปแบบประจำการ แต่บางครั้งก็ไม่เป็นเช่นนั้น
ในกองทัพเรือสมัยใหม่ หมวดเรือมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นหน่วยธุรการที่ประกอบไปด้วยหลายกองเรือ[2] เมื่อเรือรบมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น คำว่ากองเรือจึงค่อย ๆ เข้ามาแทนที่คำว่าหมวดเรือสำหรับรูปขบวนของเรือพิฆาต, เรือฟริเกต และเรือดำน้ำในหลายประเทศ
หมวดเรือนั้นไม่มีการเปรียบเทียบโดยตรงกับรูปขบวนทางบก แต่บางทีอาจจะมีลักษณะคร่าว ๆ ทางยุทธวิธีคล้ายคลึงกันกับกองพลน้อยหรือกรมทหาร
การใช้งานเฉพาะ
[แก้]ผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ
[แก้]ในหน่วยผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ ประกอบด้วยกำลังระดับหมวดเรือและสมาชิกในระดับท้องถิ่น หมวดเรือบัญชาการโดยผู้บังคับการที่ได้จากการเลือกตั้งโดยผู้ช่วยผู้บังคับการหมวดเรือ ซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่สัญญาบัตรที่ได้มาจากการแต่งตั้ง[3] ส่วนเเรือ (division) ผู้ช่วยยามฝั่งประกอบไปด้วยหลายหมวดเรือ แต่ละเขตเรือ (district) ประกอบไปด้วยหลายส่วนเรือ เขตเรือผู้ช่วยมีการจัดกำลังตามแบบเขตยามฝั่งและบริหารจัดการโดยเจ้าหน้าที่ยามฝั่งชั้นสัญญาบัตร (ปกติจะเป็นนาวาโท หรือนาวาเอก) ซึ่งเรียกว่า "ผู้อำนวยการผู้ช่วยยามฝั่งสหรัฐ"
กองทัพเรือรัสเซียและโซเวียต
[แก้]ในกองทัพเรือจักรวรรดิรัสเซีย, กองทัพเรือโซเวียต และกองทัพเรือรัสเซีย คำว่าหมวดเรือเป็นคำที่ถูกใช้งานกับ "บราวน์-วอเตอร์เนวี" ซึ่งเป็นการปฏิบัติการในแม่น้ำและทะเลภายในประเทศเอง ไม่ใช่มหาสมุทรหรือทะเลเปิด ในอดีตประกอบไปด้วย หมวดเรือแคสเปียน (Caspian Flotilla), หมวดเรือซาตาคุนสกายา (Satakundskaya Flotilla) ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 หรือหมวดเรืออราล (Aral Flotilla) ในคริสต์ทศวรรษที่ 1850[4] ในช่วงหลังประกอบไปด้วย หมวดเรือทหารดอน (Don Military Flotilla) ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาหลายครั้งในช่วง 200 ปีที่ผ่านมา, หมวดเรือนีเปอร์ (Dnieper Flotilla) (ซึ่งยังคงเหลืออยู่ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 20) หมวดเรือโวลก้าแดง (Red Volga Flotilla) ซึ่งเข้าร่วมในปฏิบัตการคาซานระหว่างสงครามกลางเมืองรัสเซีย และหมวดเรือดานูบ (Danube Flotilla) ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 คำนี้ยังถูกใช้กับกองเรือนาวีขนาดเล็กที่ปฏิบัติการในทะเล ซึ่งรัสเซียยังไม่มีกองทัพเรือที่แข็งแกร่ง เช่น หมวดเรือโอคอตสค์ (Okhotsk Flotilla)
การใช้งานที่ไม่ใช่ทางทหาร
[แก้]คำว่าหมวดเรือ บางครั้งยังถูกนำมาใช้งานในการพูดถึงกองเรือขนาดเล็กของเรือพาณิชย์และเรืออื่น ๆ[5] นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่เรียก "หมวดเรือวันหยุด" ซึ่งเป็นกลุ่มของเรือยอต์ชเช่าเหมาลำที่เดินเรือในเส้นทางเดียวกัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- Chief Director of Auxiliary (2007-02-15). "USCG G-PCX Web Site – Flotilla Organizational Structure". USCG Auxiliary Office of the Chief Director (CG-3PCX). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-28. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
- ↑ บันทึก ที่ กห 0504/658 ลงวันที่ 2 มีนาคม 2558 เรื่อง ขออนุมัติกำหนดชื่อภาษาอังกฤษให้แก่หน่วยต่าง ๆ ของกองทัพเรือ (PDF). กรมข่าวทหารเรือ กองทัพเรือ. 2558.
- ↑ "military unit." Encyclopædia Britannica. 2010. Encyclopædia Britannica Online. 16 Oct. 2010 <http://www.britannica.com/EBchecked/topic/1346160/military-unit>: "Administratively, several ships of the same type (e.g., destroyers) are organized into a squadron. Several squadrons in turn form a flotilla, several of which in turn form a fleet. For operations, however, many navies organize their vessels into task units (3–5 ships), task or battle groups (4–10 ships), task forces (2–5 task groups), and fleets (several task forces)."
- ↑ As described at the Flotilla Organization เก็บถาวร 2007-03-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน page of the U.S. Coast Guard.
- ↑ Ram Rahul. "March of Central Asia". Published 2000. Indus Publishing. ISBN 81-7387-109-4. p.160. On Google Books
- ↑ "OCSC Sailing School". OCSC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 June 2017. สืบค้นเมื่อ 23 March 2018.