ข้ามไปเนื้อหา

หนังสืออาโมส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

หนังสืออาโมส (อังกฤษ: Book of Amos) เป็นหนังสือเล่มที่ 3 ในหมวดผู้เผยพระวจนะน้อยในพันธสัญญาเดิม (ทานัค) และเป็นเล่มที่ 2 ตามธรรมเนียมของในฉบับเซปทัวจินต์ของกรีก[1] คัมภีร์ไบเบิลระบุว่าอาโมสเป็นคนร่วมสมัยกับโฮเชยาและอิสยาห์[2] และกระทำพันธกิจในช่วงประมาณ 750 ปีก่อนคริสตกาลในรัชสมัยของเยโรโบอัมที่ 2[2] (788–747 BC) แห่งสะมาเรีย (อิสราเอลเหนือ)[3] ในขณะที่อุสซียาห์เป็นกษัตริย์แห่งยูดาห์ กล่าวกันว่าอาโมสอาศัยในราชอาณาจักรยูดาห์ แต่เทศนาในราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ[2] โดยว่าด้วยประเด็นเกี่ยวกับความยุติธรรมในสังคม, พระอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระเจ้า และการพิพากษาของพระเจ้าที่กลายเป็นแก่นหลักของคำเผยพระวจนะ[2] ในยุคปัจจุบัน นักวิชาการสงสัยมากขึ้นถึงการนำเสนอชีวประวัติและภูมิหลังของอาโมส[4] หนังสืออาโมสเป็นที่รู้จักจาก "น้ำเสียงอันมุ่งร้ายและการบรรยายพระลักษณะอันรุนแรงของพระจ้า" อย่างชัดเจน[5]

โครงสร้าง

[แก้]
พระดำรัสของพระยาห์เวห์ในหนังสืออาโมสที่ปรากฏบนตราไปรษณียากรอิสราเอล: "เราจะปลูกเขาไว้ในแผ่นดินของเขา เขาจะไม่ถูกถอนออกไปจากแผ่นดินซึ่งเราได้มอบให้แก่เขาอีกเลย"
Papyrus Oxyrhynchus 846: อาโมส 2 (LXX)

ตามที่ไมเคิล ดี. คูแกน (Michael D. Coogan) ระบุ หนังสืออาโมสสามารถแบ่งโครงสร้างได้ดังต่อไปนี้:[6]

  • คำพยากรณ์ต่อบรรดาประชาชาติ (1:3–2:6)
  • คำพยากรณ์เกี่ยวกับคำเผยพระวจนะ (3:3–8)
  • กล่าวถึงกลุ่มคนในอิสราเอล
    • ผู้หญิงในสะมาเรีย (4:1–3)
    • คนรวยในสะมาเรีย (6:1–7)
    • คนรวยในะเยรูซาเล็ม (8:4–8)
  • ห้านิมิตที่มุ่งหมายถึงการพิพาษาของพระเจ้าเหนืออิสราเอล คั่นด้วยการเผชิญหน้าระหว่างอาโมสและผู้ฟังในเบธเอล (7:10–17):
    • ตั๊กแตน (7:1–3)
    • ไฟ (7:4–6)
    • สายดิ่ง (7:7–9)
    • กระจาดผลไม้ (8:1–3)
    • พระเจ้าข้างแท่นบูชา (9:1–8a)
  • บทส่งท้าย (9:8b–15)

อ้างอิง

[แก้]
  1. Sweeney 2000, p. unpaginated.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Harris, Stephen L., Understanding the Bible. Palo Alto: Mayfield. 1985.
  3. Finkelstein, Israel. The Forgotten Kingdom: The Archaeology and History of Ancient Israel. Atlanta: SBL, 2013. Ancient Near East Monographs, Number 5. p. 4.
  4. Couey, J. Blake. The Oxford Handbook of the Minor Prophets. p. 424–436. 2021. “In more recent scholarship, one finds greater skepticism about historical reconstructions of Amos’s prophetic career. The superscription and Amaziah narrative are increasingly viewed as late, which raises questions about their historical validity (Coggins 2000 72, 142–143; Eidevall 2017, 3–7). The vision reports may also belong to later stages of the book’s development (Becker 2001; Eidevall 2017, 191–193). Doubts about the existence of a united monarchy under King David undermine arguments that Amos advocated for a reunified Davidic kingdom (Davies 2009, 60; Radine 2010, 4). These questions reflect larger scholarly trends, in which prophetic books are increasingly viewed as products of elite scribes. Even if they reflect historical prophetic activity, one cannot uncritically equate the prophet with the author. There may in fact have been no “writing prophets,” in which case Amos loses one source of his/its traditional prestige as the first of this group. Further complicating the matter, the portrait of prophets like Amos as proclaimers of judgment contrasts starkly with surviving records of prophetic activity from other ancient Near Eastern cultures, in which prophets consistently support the state (Kratz 2003)”
  5. Noted in the conclusion of Couey, J. Blake. The Oxford Handbook of the Minor Prophets. p. 424–436. 2021.
  6. Coogan, Michael (2009). A Brief Introduction to the Old Testament. p. 256.

บรรณานุกรม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

คำแปลของหนังสืออาโมสออนไลน์:

ก่อนหน้า
โยเอล
หนังสืออาโมส
คัมภีร์ฮีบรูและ
พันธสัญญาเดิมของศาสนาคริสต์
(หมวดผู้เผยพระวจนะน้อย)
ถัดไป
โอบาดีห์