ข้ามไปเนื้อหา

ยึดเซ็นทรัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยึดเซ็นทรัลด้วยรักและสันติภาพ
讓愛與和平佔領中環
ชื่อย่อOCLP (和平佔中)
สถาปนา27 มีนาคม ค.ศ.2013
วัตถุประสงค์The election of the Chief Executive of Hong Kong beginning in 2017 by universal suffrage consistent with accepted international standards.[1]
ที่ตั้ง
บุคลากรหลัก
เว็บไซต์oclp.hk
ยึดเซ็นทรัล
อักษรจีนตัวเต็ม讓愛與和平佔領中環
อักษรจีนตัวย่อ让爱与和平占领中环
อักษรจีนตัวเต็ม和平佔中
อักษรจีนตัวย่อ和平占中

ยึดเซ็นทรัลด้วยรักและสันติภาพ (อังกฤษ: Occupy Central with Love and Peace, OCLP) มักย่อเป็น ยึดเซ็นทรัล (Occupy Central) เป็นการประท้วงยึดครองที่ปราศจากความรุนแรงเพื่อสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปในเซ็นทรัล ฮ่องกง ซึ่งเริ่มเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2557[3] เดิมมีกำหนดเริ่มในครึ่งหลังของปี 2557

เบนนี ไถ่ รองศาสตราจารย์กฎหมายแห่งวิทยาลัยฮ่องกง ริเริ่มการรณรงค์ดังกล่าวในเดือนมกราคม 2556 เขาทำนายว่าพลเมืองอย่างน้อย 10,000 คนจะเข้าร่วมการประท้วงเพื่อยึดเซ็นทรัลในเดือนกรกฎาคม 2557 หากสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปสำหรับการเลือกตั้งประธานบริหารปี 2560 และการเลือกตั้งสภานิติบัญญัติปี 2563 ไม่ดำเนินไปตาม "มาตรฐานระหว่างประเทศ"

ผู้สังเกตการณ์สังเกตว่า การรณรงค์ขบวนการยึดครองมีแนวโน้มเกิดหลังเฉียว เซียวหยาง ประธานคณะกรรมาธิการกฎหมายสภาประชาชนแห่งชาติจีน แถลงว่า กำหนดให้ผู้สมัครประธานบริหารรักทั้งประเทศ (จีน) และฮ่องกง และไม่เผชิญหน้ารัฐบาลกลาง ซึ่งตัดผู้สมัครจากค่ายนิยมประชาธิปไตยฝ่ายค้านอย่างชะงัด[4] มีการยืนยันเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2557 เมื่อสภาประชาชนแห่งชาติแถลงว่า การเลือกตั้งประธานบริหารฮ่องกงอันเป็นดินแดนของจีน จะถูกจำกัดเฉพาะผู้สมัครที่สนับสนุนรัฐบาลกลางของจีน[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "OCLP Basic Tenets". Occupy Central with Love and Peace. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-09-30. สืบค้นเมื่อ 30 September 2014.
  2. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2015.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) Association for Conversation of Hong Kong Indigenous Languages Online Dictionary for Hong Kong Hakka and Hong Kong Punti (Weitou dialect)
  3. "The Associated Press on Twitter: "BREAKING: Hong Kong pro-democracy leaders kick off `Occupy Central' protest in big challenge to Beijing."". สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.
  4. Lee, Colleen; But, Joshua (25 March 2013). "Opponents of Beijing ineligible to be CE: top Chinese official". South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 27 March 2013.
  5. "Hong Kong braces for protests as China rules out full democracy". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.