ข้ามไปเนื้อหา

ฟาโรห์เมริคาเร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เมริคาเร (หรือ เมริคารา) เป็นฟาโรห์แห่งอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบ พระองค์มีพระชนม์ชีพอยู่ในปลายช่วงระหว่างกลางที่ 1

พระองค์เริ่มใช้พระราโชบายในการอยู่ร่วมกันแบบกึ่งสันติกับผู้ปกครองทางใต้จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ โดยมุ่งเน้นที่การทำนุบำรุงความเจริญรุ่งเรืองในพระราชอาณาเขตของพระองค์ ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองเฮราคลีโอโพลิส แทนที่จะทำสงครามพุ่งกับฝ่ายธีบส์ แต่พระราโชบายของพระองค์กลับไม่ได้ผล และไม่นานหลังจากที่พระองค์เสด็จสวรรคต แคว้นเฮราคลีโอโพลิสก็ถูกยึดครองโดยฟาโรห์แห่งธีบส์พระนามว่า เมนทูโฮเทปที่ 2 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงราชอาณาจักรกลาง พีระมิดของพระองค์นั้นได้รับการยืนยันทางประวัติศาสตร์ว่ามีอยู่จริงแล้ว ถึงแม้ว่าจะยังไม่ถูกค้นพบก็ตาม

รัชสมัย

[แก้]

พระราชประวัติ

[แก้]

ตามที่นักวิชาการหลายคนกล่าวไว้ พระองค์ทรงขึ้นปกครองในช่วงปลายราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์ในวัยกลางคน[2][4][5][6][7][8] ตามการครองราชย์อันยาวนานของพระราชบิดา การมีตัวตนของผู้ปกครองก่อนหน้า (ที่มีพระนามว่า "เคติที่ 3" ซึ่งทรงนิพนธ์ตำราคำสอนแด่เมริคาเร) ยังคงเป็นข้อสงสัยที่มีการถกเถียงกันในหมู่นักไอยคุปต์วิทยา นักวิชาการบางคนมักให้ฟาโรห์วาคาเร เคติ เป็นผู้ปกครองก่อนหน้าพระองค์[7][8][9] โดยตำราคำสอน (sebayt) เหล่านี้ ซึ่งอาจจะเขียนขึ้นในรัชสมัยของฟาโรห์เมริคาเร และอ้างว่าเป็นพระราชบิดาโดยสมมติขึ้นเป็นสร้างการตั้งอยู่ในธรรมาภิบาล ข้อความดังกล่าวยังกล่าวถึงพรมแดนด้านตะวันออกที่เพิ่งสงบลง แต่ให้ยังอยู่ในความสนใจของฟาโรห์[10] ในข้อความพระราชบิดาที่ไม่มีพระนามของพระองค์กล่าวถึงการบุกยึดไทนิส แต่พระองค์แนะนำให้ฟาโรห์เมริคาเรจัดการกับอียิปต์บนที่กำลังลำบากมากขึ้น[9]

เมื่อขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ราวปี 2075 ปีก่อนคริสตศักราช[11] ฟาโรห์เมริคาเรยอมอย่างชาญฉลาด เพื่อดำรงอยู่ของสองแคว้นที่แยกจากกัน (เฮราคลีโอโพลิสและธีบส์) และพยายามรักษาพระราโชบายในการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ซึ่งบรรลุผลสำเร็จโดยพระราชบิดาของพระองค์[9] ดูเหมือนว่าช่วงเวลาแห่งความสงบสุขจะนำความเจริญรุ่งเรืองจำนวนหนึ่งมาสู่แคว้นของพระองค์[8] ต่อมาไม่นาน ฟาโรห์ถูกบังคับให้แล่นเรือไปตามแม่น้ำไนล์พร้อมกับราชสำนักด้วยกองเรือขนาดใหญ่ เมื่อพระองค์เสด็จไปถึงเมืองอัสยุต พระองค์ได้แต่งตั้งเคติที่ 2 ผู้ภักดี เป็นผู้ปกครองท้องถิ่นต่อจากเทฟิบิ ผู้ซึ่งเป็นบิดาผู้ล่วงลับของเขา[9] พระองค์ยังทำการบูรณะที่วิหารแห่งเวฟวาเวตในท้องถิ่น หลังจากนั้นฟาโรห์เมริคาเรได้ขึ้นไปยังเมืองซาสโฮเทป ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะปราบปรามการจลาจล และในขณะเดียวกันก็เป็นการแสดงพระราชอำนาจไปยังพื้นที่ชายแดนทางใต้ที่กำลังวุ่นวาย[12]

พระองค์เสด็จสวรรคตในช่วง 2040 ปีก่อนคริสตกาล เพียงไม่กี่เดือนก่อนการล่มสลายของเฮราคลีโอโพลิส ดังนั้น การสู้รบครั้งสุดท้ายโดยฝ่ายธีบส์ ซึ่งนำโดยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 จากราชวงศ์ที่สิบเอ็ดแห่งอียิปต์ จึงมีความเป็นไปได้ว่าจะเกิดในรัชสมัยสั้น ๆ ของฟาโรห์ไม่ทราบพระนามที่ขึ้นมาปกครองต่อจากพระองค์[2]

การฝังพระศพ

[แก้]
จารึกของอันพูเอมฮัต ซึ่งได้ยินยันเกี่ยวกับพิธีบูชาพระศพฟาโรห์เมริคาเรในช่วงสมัยราชวงศ์ที่สิบสอง

หลายแหล่งข้อมูลระบุว่า ฟาโรห์ถูกฝังอยู่ในพีระมิดที่ยังไม่ถูกค้นพบในซัคคาราที่มีชื่อว่า ความรุ่งเรืองเป็นที่พำนักแห่งเมริคาเร (Flourishing are the Abodes of Merikare) ซึ่งควรต้องตั้งอยู่ใกล้กับพีระมิดแห่งเตติ ซึ่งเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่หก[2] ชื่อของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการก่อสร้างได้รับการบันทึกไว้ เนื่องจากการบูชาพระศพของพระองค์จะอยู่ถึงช่วงราชวงศ์ที่สิบสองแห่งอียิปต์; อันที่จริงคาร์ทูธของฟาโรห์เมริคาเรปรากฏอยู่บนจารึกของนักบวชอย่างน้อยสี่คนที่รับผิดชอบการบูชาพระศพของฟาโรห์เตติและฟาโรห์เมริคาเรในช่วงสมัยราชอาณาจักรกลาง[13] พวกเขารวมถึงเกมนิเอมฮัต ผู้ซึ่งที่ยังดำรงตำแหน่งสำคัญอื่นๆ

หลักฐานรับรอง

[แก้]

แม้ว่าพระนามของฟาโรห์เมริคาเรจะไม่เป็นที่รู้ทราบในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งตูริน แต่พระองค์ก็เป็นฟาโรห์ที่มีหลักฐานรับรองมากที่สุดในบรรดาฟาโรห์แห่งเฮราคลีโอโพลิส พระนามของพระองค์ปรากฏบน:

  • ตำราคำสอนแด่เมริคารา;
  • จานสีไม้อาลักษณ์ที่เป็นของอัครเสนาบดีนามว่า ออร์คาอูเคติ ซึ่งพบในหลุมฝังศพใกล้อัสยุต (พร้อมกับภาชนะใส่ถ่านที่อุทิศแด่ฟาโรห์เมริอิบเร เคติ) และตอนนี้อยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์;[5]
  • บันทึกจากหลุมฝังศพของผู้ปกครองท้องถิ่นนามว่า เคติที่ 2, ในอัสยุต;[5]
  • จารึกทั้งเก้าชิ้นที่ยันยันการมีอยู่จริงของพีระมิดแห่งเมริคาเรและพิธีบูชาพระศพของพระองค์ในซัคคารา[4]

ข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับช่วงต้นรัชสมัย

[แก้]

ในปี ค.ศ. 2003 อาร์คาดี เอฟ. เดมิดชิก นักไอยคุปต์วิทยา ได้เสนอว่าควรพิจารณาใหม่เกี่ยวกับช่วงตำแหน่งรัชสมัยภายในราชวงศ์ของฟาโรห์เมริคาเร ตามที่เขากล่าว ถ้าหากพระองค์ครองราชย์ในระหว่างช่วงการดำเนินการทางทหารที่นำโดยฟาโรห์เมนทูโฮเทปที่ 2 พีระมิดและพิธีบูชาพระศพคงจะไม่สามารถอยู่รอดได้จากการเอาชนะของฝ่ายธีบส์ และฟาโรห์เมริคาเรคงจะไม่สามารถหาหินแกรนิตจากทางใต้ได้ตามที่กล่าวไว้ในตำราคำสอนที่กล่าวไว้ข้างต้น เดมิดชิกยังโต้แย้งอีกด้วยว่าการบุกไทนิสที่เทฟิติและพระองค์กล่าวถึงนั้นเหมือนกัน คงถูกโจมตีในแนวรบฝ่ายตรงข้ามโดยฟาโรห์วาอังค์ อินเตฟที่ 2 ผู้ปกครองแห่งธีบส์ เขาจึงแสดงความคิดเห็นว่าว่าการครองราชย์ของฟาโรห์เมริคาเร ควรจัดไว้เร็วกว่าที่เคยคิดไว้หลายสิบปี เมื่อราชวงศ์ที่สิบแห่งอียิปต์มีอำนาจอยู่ที่จุดสูงสุด[4]

อ้างอิง

[แก้]
  1. William C. Hayes, in The Cambridge Ancient History, vol 1, part 2, 1971 (2008), Cambridge University Press, ISBN 0-521-077915, pp. 467–78.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Jürgen von Beckerath, Handbuch der Ägyptischen Königsnamen, 2nd edition, Mainz, 1999, p. 74.
  3. Arkadi F. Demidchik (2003), "The reign of Merikare Khety", Göttinger Miszellen 192, pp. 25–36.
  4. 4.0 4.1 4.2 Flinders Petrie, A History of Egypt, from the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), pp. 115-16.
  5. 5.0 5.1 5.2 Flinders Petrie, A History of Egypt, from the Earliest Times to the XVIth Dynasty (1897), pp. 115-16.
  6. William C. Hayes, op. cit. p. 996.
  7. 7.0 7.1 Nicolas Grimal, A History of Ancient Egypt, Oxford, Blackwell Books, 1992, pp. 141–45.
  8. 8.0 8.1 8.2 Michael Rice, Who is who in Ancient Egypt, 1999 (2004), Routledge, London, ISBN 0-203-44328-4, p. 113.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 William C. Hayes, op. cit. p. 466–67.
  10. William C. Hayes, op. cit. p. 237.
  11. Miriam Lichtheim, Ancient Egyptian Literature, vol. 2. pp. 97-109. University of California Press 1980, ISBN 0-520-02899-6, p. 97.
  12. Alan Gardiner, Egypt of the Pharaohs. An introduction, Oxford University Press, 1961, p. 113.
  13. James Edward Quibell, Excavations at Saqqara (1905-1906), Le Caire, Impr. de l'Institut français d'archéologie orientale (1907), p. 20 ff; pl. XIII, XV.

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Wolfgang Kosack; Berliner Hefte zur ägyptischen Literatur 1 - 12: Teil I. 1 - 6/ Teil II. 7 - 12 (2 Bände). Paralleltexte in Hieroglyphen mit Einführungen und Übersetzung. Heft 8: Die Lehre für König Merikarê. Verlag Christoph Brunner, Basel 2015. ISBN 978-3-906206-11-0.