ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์
ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล–ไม่ทราบ | |||||||||||
เมืองหลวง | เมมฟิส | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | ภาษาอียิปต์ | ||||||||||
ศาสนา | ศาสนาอียิปต์โบราณ | ||||||||||
การปกครอง | สมบูรณาญาสิทธิราชย์ | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | ยุคทองแดง | ||||||||||
• ก่อตั้ง | ราว 2181 ปีก่อนคริสตกาล | ||||||||||
• สิ้นสุด | ไม่ทราบ | ||||||||||
|
สมัยและราชวงศ์ของอียิปต์โบราณ |
---|
ทั้งหมดก่อนคริสต์ศักราช |
ดูเพิ่ม: รายชื่อฟาโรห์ตามช่วงเวลาและราชวงศ์ |
ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ เป็นจุดเริ่มต้นของสมัยช่วงระหว่างกลางที่หนึ่งในช่วงต้นศตวรรษที่ 22 ก่อนคริสตกาล แต่การมีอยู่จริงของราชวงศ์นั้นยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ และ แอจิปเทียกา (Aegyptiaca) ของมาเนโท เป็นงานเขียนทางประวัติศาสตร์เพียงงานเดียวที่บันทึกเกี่ยวกับราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ ซึ่งเป็นงานเขียนประวัติศาสตร์ของอียิปต์ที่เขียนขึ้นในศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล โดยที่ราชวงศ์ที่เจ็ดปรากฏเป็นคำอุปมาสำหรับความโกลาหล เนื่องจากไม่มีหลักฐานอื่นเลยนอกจากงานเขียนของมาเนโท ส่งผลให้นักไอยคุปต์วิทยาอย่างเยอร์เกน ฟอน เบ็คเคอราท และโทบี วิลกินสัน เชื่อว่าราชวงศ์นี้เป็นราชวงศ์ที่ถูกสมมติขึ้นมา[1][2] แต่ในการพิจารณาใหม่เกี่ยวกับการล่มสลายของอาณาจักรเก่าอีกครั้งในปี ค.ศ. 2015 โดยฮราช์ต ปาปาเซียน นักไอยคุปต์วิทยาได้เสนอความเห็นว่า ราชวงศ์ที่เจ็ดนั้นมีอยู่จริงและประกอบด้วยฟาโรห์ที่มาจากราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
[แก้]โดยอ้างอิงจากงานเขียนของแอฟริกานัส (ค.ศ. 160–240) ที่สูญหายไปแล้วในปัจจุบันและยูเซเบียส (ค.ศ. 260–340) ซึ่งมีพื้นฐานมาจากงานเขียนที่สูญหายไปของมาเนโท นักบวชชาวอียิปต์ (ราวศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตกาล) จอร์จ ซินเซลลัส นักวิชาการชาวไบแซนไทน์ (ถึงแก่กรรมหลัง ค.ศ. 810) ได้กำหนดช่วงหลังจากราชวงศ์ที่หก – ราชวงศ์ที่เจ็ด – ว่ามีฟาโรห์เจ็ดสิบพระองค์ในระยะเวลาเจ็ดสิบวัน (โดยแอฟริกานัส) หรือมีฟาโรห์ห้าพระองค์ในระยะเวลาเจ็ดสิบห้าวัน (โดยยูเซเบียส)[3]: 395 ตามงานเขียนของมาเนโท ฟาโรห์เหล่านี้ได้ปกครองในบริเวณเมมฟิส[3]: 396 แทนที่จะเป็นความจริงทางประวัติศาสตร์ การขึ้นครองราชย์ของฟาโรห์อย่างรวดเร็วในเวลาสั้น ๆ นี้ถูกตีความมานานแล้วว่าแสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่เกิดความโกลาหลขึ้น[3]: 395
นักไอยคุปต์วิทยาบางคน เช่น ปาปาเซียน (2015)[3]: 395 เชื่อว่าการตีความนี้อาจให้น้ำหนักเกินควรแก่งานเขียนของมาเนโท และบิดเบือนความเข้าใจทางวิชาการโดยทั่วไปเกี่ยวกับการสิ้นสุดของสมัยราชอาณาจักรเก่า ตามคำกล่าวของปาปาเซียน (2015)[3]: 395 "การตรวจสอบอีกครั้ง ... ของมีอยู่ของราชวงศ์ที่เจ็ด ยังคงได้รับการพิสูจน์โดยสมบูรณ์" และฟาโรห์บางพระองค์ที่อยู่ในช่วงกลางสมัยราชวงศ์ที่แปด ควรจะเป็นฟาโรห์จากราชวงศ์ที่เจ็ดแทน เมื่อได้รับการสนับสนุนจากหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณเพิ่มเติมอีกสองชิ้นรวมถึงหลักฐานทางโบราณคดี ราชวงศ์ที่แปดจึงไม่ค่อยมีความคลุมเครือเท่ากับราชวงศ์ที่เจ็ด ด้วยเหตุนี้ นักไอยุปต์วิทยาบางคนจึงรวมราชวงศ์ที่เจ็ดและแปดเข้าเป็นราชวงศ์เดียวกันที่ขึ้นปกครองทันทีหลังจากราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์
รายพระนามฟาโรห์ในราชวงศ์
[แก้]ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์มมักถูกมองว่าเป็นราชวงศ์ที่ถูกสมมติขึ่น และยังถูกละเลยโดยนักวิชาการสมัยใหม่ หรือไม่ก็รวมเข้ากับราชวงศ์ที่แปด โดยฮราช์ต ปาปาเซียน นักอียิปต์วิทยา ได้เสนอความเห็นในปี 2015 ว่าฟาโรห์บางพระองค์ที่อยู่ในช่วงกลางสมัยราชวงศ์ที่แปด ซึ่งบันทึกอยู่ในบันทึกพระนามกษัตริย์แห่งอไบดอส ควรนำจัดแยกเป็นมาอยู่ในราชวงศ์ที่เจ็ดแทน:[3]: 416
พระนาม | หลักฐานที่ปรากฏนอกเหนือจากบันทึกพระนามแห่งอไบดอส[3]: 416 |
---|---|
ดเจดคาเร เซไม | — |
เนเฟอร์คาเร เคนดู | — |
เมอร์เอนฮอร์ | — |
เนเฟอร์คามิน | — |
ไนคาเร | อาจจะปรากฏบนตราประทับทรงกระบอก[4] |
เนเฟอร์คาเร เทเรรู | — |
เนเฟอร์คาฮอร์ | ปรากฏบนตราประทับทรงกระบอก |
เนเฟอร์คาเร เปปิเซเนบ | บันทึกพระนามแห่งตูรินระบุว่าครองราชย์เป็นระยะเวลาอย่างน้อยที่สุดเพียงหนึ่งปี[5] |
เนเฟอร์คามิน อานู | — |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wilkinson, Toby (2010). "Timeline". The Rise and Fall of Ancient Egypt. New York: Random House. p. xiii. ISBN 9781408810026.
The system of dynasties devised in the third century B.C. [by Manetho] is not without its problems—for example, the Seventh Dynasty is now recognized as being wholly spurious, while several dynasties are known to have ruled concurrently in different parts of Egypt...
- ↑ Jürgen von Beckerath, Handbuch der ägyptischen Königsnamen. Münchner ägyptologische Studien (in German). 49. Mainz: Philip von Zabern. ISBN 978-3-8053-2591-2.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 Hratch Papazian (2015). "The State of Egypt in the Eighth Dynasty". ใน Peter Der Manuelian; Thomas Schneider (บ.ก.). Towards a New History for the Egyptian Old Kingdom: Perspectives on the Pyramid Age. Harvard Egyptological Studies. BRILL.
- ↑ Peter Kaplony: Die Rollsiegel des Alten Reichs, vol. 2: Katalog der Rollsiegel (Monumenta Aegyptiaca Vol. 3), La Fondation Égyptologique Reine Élisabeth, Brüssel 1981, issue 144.
- ↑ Kim Ryholt: "The Late Old Kingdom in the Turin King-list and the Identity of Nitocris", Zeitschrift für Ägyptische Sprache und Altertumskunde, 127 (2000), p. 91
ก่อนหน้า | ราชวงศ์ที่เจ็ดแห่งอียิปต์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ราชวงศ์ที่หกแห่งอียิปต์ | ราชวงศ์แห่งอียิปต์ (ประมาณ 2613 - 2494 ปีก่อนคริสตกาล) |
ราชวงศ์ที่แปดแห่งอียิปต์ |