ดิลก
ในศาสนาฮินดู ดิลก (สันสกฤต: तिलक; ติลัก) หรือ ติกะ เป็นรอยแต้มบนหน้าผาก ตรงจุดอาชญาจักรหรือตามที่สาม แต่ก็อาจป้ายตามส่วนอื่นของร่างกาย เช่น คอ มือ อก หรือแขนเช่นกัน[1] ดิลกอาจป้ายทุกวันเพื่อประดับ, ใช้เพื่อบ่งบอกนิกายหรือสำนัก หรือใช้ประกอบพิธีกรรมทางการศาสนาหรือป้ายตามโอกาส แตกต่างกันไปตามธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละที่[2][3] นอกจากนี้ยังอาจใช้เพื่อให้เกียรติอีกบุคคลหนึ่ง หรือเพื่อต้อนรับบุคคลอื่นเมื่อมาถึง[4]
ดิลกมีลักษณะที่หลากหลาย รวมถึงทำมาจากวัสดุที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่เถ้าธุลีจากไฟในยัญบูชา, ขี้วัว, ผงไม้จันทน์หอม, ขมิ้น, ดินเหนียว, ถ่าน ไปจนถึงผงโลหะสีแดง[5]
ในแต่ละสำนักและนิกายของศาสนาฮินดูใช้วัสดุและรูปแบบดิลกที่แตกต่างกันไป[6]
เช่น ในไวษณวนิกายตามธรรมเนียมแบบเคร่งครัดจะใช้การป้ายดิลกและสัญลักษณ์อื่นบนร่างกายสิบสองจุด ดิลกแบบไวษณวะมีชื่อเรียกว่าอุรธวปุนทระ ประกอบด้วยเส้นขีดแนวตั้งสองหรือสามเส้นจากใต้ไรผมจนเกือบถึงปลายจมูก เชื่อมกันตรงกลาง มีลักษณะคล้ายอักษร U กระนั้นยังมีลักษณะเฉพาะของอุรธวปุนทระที่แตกต่างกันไปในแต่ละสำนักของไวษณวนิกาย และมีการใช้วัสดุตั้งแต่ไม้จันทน์หอมไปจนถึงวัสดุอื่น ๆ[7] ส่วนในไศวนิกาย มีดิลกที่เรียกว่า ตริปุนทระ หรือรุทรดิลก นิยมเป็นพิเศษในผู้นับถือพระศิวะ[8][9] ประกอบด้วยเส้นแนวนอนสามแถบพาดผ่านหน้าผาก ละเส้นนวตั้งหนึ่งเส้นหรือวงกลมอยู่ตรงกลาง ตามธรรมเนียมล้วจะทำมาจากเถ้าธุลีจากยัญบูชา หรือที่เรียกว่า วิภูติ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการตัดขาดจากทางโลก[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Mittal, Sushil; Thursby, Gene (2006-04-18). Religions of South Asia: An Introduction (ภาษาอังกฤษ). Routledge. p. 73. ISBN 978-1-134-59322-4.
- ↑ Kanti Ghosh, Sumit (2023-05-18). "Body, Dress, and Symbolic Capital: Multifaceted Presentation of PUGREE in Colonial Governance of British India". Textile (ภาษาอังกฤษ). 22 (2): 334–365. doi:10.1080/14759756.2023.2208502. ISSN 1475-9756. S2CID 258804155.
- ↑ Lochtefeld, James G. (2002). The Illustrated Encyclopedia of Hinduism: N-Z (ภาษาอังกฤษ). Rosen. p. 709. ISBN 978-0-8239-3180-4.
- ↑ Axel Michaels (2015), Homo Ritualis: Hindu Ritual and Its Significance for Ritual Theory, Oxford University Press, ISBN 978-0190262631, pp. 100-112, 327
- ↑ "Tilak | Hindu symbolism". Britannica (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-07-04.
- ↑ Makhan Jha, Anthropology of ancient Hindu kingdoms: a study in civilizational perspective, p. 126
- ↑ Chatterjee, Gautam (2001). Sacred Hindu Symbols (ภาษาอังกฤษ). Abhinav Publications. p. 59. ISBN 978-81-7017-397-7.
- ↑ Deussen 1997, pp. 789–790.
- ↑ Klostermaier 1984, pp. 131, 371.
- ↑ Narayanan, Vasudha (29 May 2018). "Tilak and Other Forehead Marks". Brill’s Encyclopedia of Hinduism Online. สืบค้นเมื่อ November 24, 2023.