การทดสอบแรงดึง PDF
การทดสอบแรงดึง PDF
การทดสอบแรงดึง PDF
การทดสอบแรงดึง
(Tensile Testing)
1. บทนํา (introduction)
การทดสอบแรงดึงเปนการทดสอบพื้นฐานที่สุดอยางหนึ่งที่ใชทดสอบสมบัติของ
วัสดุตางๆ ปกติการทดสอบแรงดึงจะใชชิ้นทดสอบตามแบบมาตรฐาน แตขณะเดียวกันก็
สามารถใชชิ้นทดสอบแบบอื่นที่ทราบคาพื้นที่หนาตัดและความยาวเริ่มตน โดยการทดสอบ
แรงดึงใชในการตรวจวัดพฤติกรรมเชิงกลของวัสดุภายใตแรงดึงหรือการยืดในแนวแกน
ขอมูลและการคํานวณในการทดสอบแรงดึงโดยทั่วไปไดแก ขีดจํากัดการยืดหยุน (elastic
limit) รอยละการยืด (percent elongation) โมดูลัสความยืดหยุน (modulus of elasticity)
ขีดจํากัดแบบสัดสวน (proportional limit) รอยละการลดลงของพื้นที่หนาตัด (percent
reduction in area) ความแข็งแรงดึง (tensile strength) จุดจํานน (yield point) และความ
แข็งแรงจํานน (yield strength) เปนตน นอกจากนั้นยังมีการทดสอบแรงดึงแบบพิเศษคือการ
ทดสอบการคราก (creep test) ซึ่งจะไดกลาวในบทถัดไป กระบวนการทดสอบแรงดึงตาม
มาตรฐาน ASTM มีดังนี้ E8 สําหรับวัสดุโลหะ D638 สําหรับวัสดุพลาสติก D2343 สําหรับ
วัสดุไฟเบอร D897 สําหรับวัสดุกาว D987 สําหรับวัสดุกระดาษ และ D412 สําหรับวัสดุยาง
2. ทฤษฎี (principles)
การทดสอบแรงดึงเปนการดึงชิ้นทดสอบซึ่งทําใหชิ้นทดสอบตกอยูใตสภาวะการยืด
และเปนกระบวนที่ทําใหชิ้นทดสอบเกิดการเสียรูป โดยการเสียรูปเปนการเปลี่ยนแปลง
รูปทรงของชิ้นทดสอบจากแรงที่กระทํา การตรวจวัดการเสียรูปจะวัดจากการเปลี่ยนแปลง
ขนาดชิ้นทดสอบเทียบกับขนาดเริ่มตน นั้นคือการเสียรูปจะวัดจากความยาวของระยะทดสอบ
(gauge length) ที่เปลี่ยนแปลงไปในการทดสอบเทียบกับระยะทดสอบเริ่มตน ระยะทดสอบ
เปนชวงความยาวมาตรฐานที่ใชในการวัดระดับการยืดหรือการเสียรูปที่เกิดขึ้นในระหวางการ
ทดสอบ โดยความยาวระยะทดสอบมาตรฐานที่ใชในการทดสอบแรงดึงปกติเทากับ 2 นิ้ว
MY 318 165
2.1 การเสียรูปแบบยืดหยุนและแบบถาวร
เมื่ อ ชิ้ น ทดสอบโลหะได รั บ แรงดึ ง ในแกนเดี ย วจะเกิ ด การเสี ย รู ป ขึ้ น และถ า ชิ้ น
ทดสอบโลหะสามารถคืนตัวกลับไปสูขนาดเริ่มตนเมื่อนําแรงที่กระทําออกไป นั้นคือโลหะมี
การเสียรูปแบบคืนตัว (elastic deformation) ขนาดของการเสียรูปแบบคืนตัวของโลหะจะ
เกิดขึ้นเพียงเล็กนอย เนื่องจากในระหวางที่เกิดการเสียรูปแบบคืนตัว อะตอมของโลหะจะ
เคลื่อนไปจากตําแหนงเดิมในปริมาณที่ไมมาก ดังนั้นเมื่อเอาแรงที่กระทําออกไปโลหะที่เกิด
การเสียรูปแบบคืนตัว อะตอมของโลหะจะเคลื่อนกลับไปสูตําแหนงเดิม ทําใหโลหะกลับ
ไปสูรูปทรงเดิม ถาโลหะเกิดการเสียรูปเปนจํานวนมากจนมันไมสามารถกลับไปสูรูปทรงเดิม
ไดอยางสมบูรณ แสดงวาโลหะเกิดการเสียรูปแบบถาวร (plastic deformation) ในระหวางที่
เกิดการเสียรูปแบบถาวรอะตอมของโลหะเกิดการเคลื่อนออกไปอยางถาวรจากตําแหนงเดิม
และจะคงอยูที่ตําแหนงใหมนี้แมวาจะนําแรงที่กระทําออกไปก็ตาม บางโลหะสามารถเกิดการ
เสียรูปแบบถาวรไดมากโดยปราศจากการแตกราว ซึ่งถือเปนสมบัติหนึ่งทางวิศวกรรมของ
โลหะที่นําไปใชประโยชนมากที่สุด ยกตัวอยาง ความสามารถของการเกิดการเสียรูปแบบ
ถาวรอยางมากของเหล็ก ทําใหสามารถนําไปผลิตเปนชิ้นสวนของรถยนตได เชน หลังคา ฝา
กระโปรง และประตู ดวยการขึ้นรูปแบบการอัดดวยแมพิมพทางกลโดยไมเกิดการแตกหัก
2.2 แรงเคนและความเครียด
- แรงเคน (stress) ในการทดสอบแรงดึง น้ําหนักดึงจะแทนดวยสัญลักษณ F ใน
หนวยของปอนด กิโลกรัม หรือ นิวตัน ความแข็งแรงดึงคิดเปนน้ําหนักที่ชิ้นทดสอบสามารถ
ทนไดตอหนวยพื้นที่หนาตัด น้ําหนักเทียบกับพื้นที่หนาตัดหนึ่งตารางหนวยเรียกวา แรงเคน
(stress, σ) โดยแรงเคนจะมีหนวยเปนปอนดตอตารางนิ้ว (lb/in.2) หรือพาสคาล (Pa) ใน
หนวยเมทริกน้ําหนักจะบันทึกเปนกิโลกรัมแลวแปลงเปนนิวตัน สวนพื้นหนาตัดจะคิดเปน
ตารางเมตรซึ่งจะไดหนวยของแรงเคนเปนนิวตันตอตารางเมตรหรือพาสคาล (Pa) โดย 1 MPa
เทากับ 145 lb/in.2 และ 1000 lb/in.2 เทากับ 6.985 MPa เมื่อพิจารณาแทงทรงกระบอกที่มี
ความยาวเปน lo และมีพื้นที่หนาตัดเปน Ao ไดรับแรงดึงในทางเดียว F ดังแสดงไวในรูปที่ 6.1
จะไดแรงเคน σ ที่กระทํากับแทงโลหะดังสมการ
166 MY318
F (แรงการดึงในทางเดียวเฉลี่ย)
แรงเคน σ =
Ao (พื้นทีห่ นาตัดเริ่มตน)
โดยแรงเคนในหนวยของ U.S เปนปอนดตอตารางนิ้ว (Ib/in2 หรือ psi) และในหนวย
ของ SI เปนนิวตันตอตารางเมตร (N/m2) หรือ ปาสคาล (Pa) เมื่อ 1N/m2 = 1 Pa
สวนการเปลี่ยนหนวยจากปอนดตอตารางนิ้วเปนปาสคาลทําไดดังนี้
1 psi = 6.89 x 103 Pa
106 Pa = 1 megapascal = 1 MPa
103 psi = 1ksi = 6.89 Mpa
ถาชิ้นทดสอบแรงดึงมีหนาตัดเปนสี่เหลี่ยมสูตรคํานวณแรงเคนจะไดเปน
σ =
F
WD
เมื่อ σ = แรงเคน
F = แรงกระทํา
W = ความกวางของหนาตัดสี่เหลี่ยมของชิ้นทดสอบ
D = ความยาวของหนาตัดสี่เหลี่ยมของชิ้นทดสอบ
MY 318 167
และถาชิ้นทดสอบมีหนาตัดเปนวงกลมจะไดสูตรคํานวณเปน
σ =
F
(πd2 / 4)
เมื่อ d = เสนผานศูนยกลางของชิ้นทดสอบ
168 MY318
- ความเครียด (strain) เมื่อแทงโลหะไดรับแรงดึงในทางเดียวดังแสดงในรูปที่ 6.1
เปนเหตุใหแทงโลหะเกิดการยืดออกในทิศทางของแรงนั้น การเคลื่อนนี้เรียกวาความเครียด
(strain) โดยนิยามความเครียดเปนการยืดอันเนื่องจากแรงดึงทางเดียวที่กระทํากับชิ้นทดสอบ
ซึ่งเปนอัตราการเปลี่ยนแปลงความยาวของชิ้นทดสอบในทิศทางของแรงนั้นเทียบกับความ
ยาวเริ่มตนของชิ้นทดสอบ ดังนั้นกอนทําการทดสอบตองวัดพื้นที่หนาตัดและระยะทดสอบ
เริ่มตนของชิ้นทดสอบ โดยระยะทดสอบเริ่มตนจะทําเปนเครื่องหมายสองจุดบนชิ้นทดสอบ
อุปกรณวัดการยืดหรือความเครียดจะใชในการวัดระยะยืดของชิ้นทดสอบในระหวางการ
ทดสอบ หรืออาจวัดจากผลตางของระยะหางของสองจุดขางตน ผลตางระหวางระยะทดสอบ
เริ่มตนกับสุดทายเรียกวาระยะยืด (elongation) หนวยของระยะยืดใชเปนนิ้วหรือมิลลิเมตร
และถานําคาระยะยืดหารดวยระยะทดสอบเริ่มตนเรียกวาความเครียด ดังนั้นความเครียดของ
แทงโลหะดังแสดงในรูปที่ 6.1 สามารถหาไดดังสมการ
l - lo Δl (ผลตางความยาวของชิ้นทดสอบ)
ความเครียด ε = =
lo lo (ความยาวเริ่มตนของชิ้นทดสอบ)
เมื่อ lo คือความยาวเริ่มตนของชิ้นทดสอบ
l คือความยาวชิ้นทดสอบหลังการดึง
MY 318 169
หนวยของความเครียดในระบบ U.S. เปนนิ้วตอนิ้ว (in/in) และในระบบ SI เปนเมตร
ตอเมตร (m/m) ดังนั้นความเครียดจึงเปนคาที่ไมมีหนวย ในทางอุตสาหกรรมจะเปลี่ยนหนวย
ไปอยูในรูปของรอยละความเครียด (percent strain) หรือ รอยละการยืด (percent elongation)
strain x 100% = % elongation
ตัวอยาง 6.4 ชิ้นทดสอบอะลูมีเนียมบริสุทธิ์กวาง 0.5 นิ้ว หนา 0.04 นิ้ว และยาว 8 นิ้ว โดยมี
ระยะการทดสอบ 2 นิ้ว และหลังทดสอบ 2.65 นิ้ว ดังรูปที่ 6.2 ใหคํานวณหา
ความเครียดและรอยละการยืดของชิ้นทดสอบ
l - lo 2.65 in. – 2.00 in. 0.65 in.
วิธีทํา ความเครียด ε = = = = 0.325
lo 2.00 in. 2.00 in.
ดังนั้นรอยละการยืด = 0.325 x 100% = 32.5%
ตัวอยาง 6.5 ถาระยะทดสอบสุดทายของชิ้นทดสอบเทากับ 1.005 นิ้ว (25.53 มิลลิเมตร) โดยมี
ระยะทดสอบเริ่มตนเทากับ 1.000 นิ้ว (25.4 มิลลิเมตร) จงหาคาความเรียดที่เกิดขึ้น
l - lo 1.005 in. – 1.000 in.
วิธีทํา ε = = = 0.005 (in./in.)
lo 1.000 in.
25.53 mm. – 25.40 mm.
หรือ = = 0.005 (mm/mm)
25.53 mm.
การเสียรูปในการทดสอบแรงดึงจะเกิดขึ้นในสองทิศทางสัมพันธกันคือ ดานขาง
(แนวตั้งฉากกับแรงดึง) และตามแนวแกน (ตามแนวแรงดึง) อัตราสวนการเสียรูปดานขางตอ
การเสียรูปตามแนวแกนเรียกวา อัตราสวนพัวซอง (Poisson’s ratio)
ตัวอยาง 6.6 ถาความเครียดดานขางของชิ้นทดสอบเทา 0.005 และตามแนวแกนเทากับ
0.010 ถามวาอัตราสวนพัวซองของชิ้นทดสอบมีคาเทาไร
ความเครียดดานขาง 0.005
วิธีทํา P.R. = = = 0.5
ความเครียดตามแนวแกน 0.010
*สําหรับวัสดุวิศวกรรมคาพัวซองจะอยูในชวง 0.25 ถึง 0.7 *
170 MY318
- แรงเคนและความเครียดเฉือน
การเสียรูปแบบยืดหยุนและแบบถาวรของโลหะและโลหะผสมเปนการเสียรูปภายใต
แรงเคนดึงทางเดียว นอกจากนั้นยังมีวิธีการอื่นที่สําคัญในการทําใหโลหะเกิดการเสียรูป
ไดแกการกระทําภายใตแรงเคนเฉือน (shear stress) ซึ่งเปนการกระทําของคูแรงเคนเฉือน
ปกติตอรูปทรงลูกบาศกดังแสดงในรูปที่ 6.3 คือแรงเฉือน S จะกระทําเหนือพื้นที่ผิว A โดย
แรงเคนเฉือน τ มีความสัมพันธกับแรงเฉือน S ดังสมการ
S (แรงเฉือน)
τ (แรงเคนเฉือน) =
A (พื้นที่ดานบนที่ถูกแรงเฉือนกระทํา)
หนวยที่ใชสําหรับแรงเคนเฉือนจะเปนแบบเดียวกันกับแรงเคนดึงทางเดียวคือใน
หนวยของ U.S เปนปอนดตอตารางนิ้ว (Ib/in2 หรือ psi) และในหนวยของ SI เปนนิวตันตอ
ตารางเมตร (N/m2) หรือ ปาสคาล (Pa)
ความเครียดเฉือน γ นิยามในรูปของจํานวนของการเคลื่อนในทางเฉือน a ในรูปที่ 1.3
หารดวยระยะที่สูงขึ้นไป h จากการกระทําในแนวเฉือน หรือ
a
γ = = tan θ
h
172 MY318
ตัวอยางกราฟแรงเคนกับความเครียดของโลหะและโลหะผสมชนิดตางๆ พบวาการทํา
โลหะผสมโดยการผสมโลหะกับโลหะอื่นหรือกับวัสดุที่ไมใชโลหะและการบําบัดทางความ
รอน ซึ่งสามารถสงผลกระทบอยางมากตอความแข็งแรงดึงและความเหนียวของโลหะ กราฟ
แรงเคนกับความเครียดในรูปที่ 6.5 แสดงความแข็งแรงดึงสูงสุด (UTS) ที่แตกตางกันมาก เชน
ธาตุโลหะแมกนีเซียมมีคา UTS เทากับ 35 ksi (1 ksi เทากับ 1000 psi) ในขณะที่เหล็ก SAE 1340
ที่ผานการชุบแข็ง (quench) ในน้ํา และอบคืนตัวที่ 700oF (370oC) จะมีคา UTS เทากับ 240 ksi
MY 318 173
ตัวอยาง 6.7 จงคํานวณคาโมดูลลัสความยืดหยุนของวัสดุที่มีคาความเครียด 0.0025 ภายใต
แรงเคน 30000 ปอนด/ตารางนิ้ว
วิธีทํา E = แรงเคน/ความเครียด
= (30000 ปอนด/ตารางนิ้ว) /0.0025
= 12 x 106 ปอนด/ตารางนิ้ว
3. ชิ้นทดสอบแรงดึง (specimens)
ชิ้นทดสอบที่ใชสําหรับทดสอบแรงดึงมีอยูหลายประเภทที่สําคัญ สําหรับโลหะที่มี
หนาตัดที่หนาเชนโลหะทอนกลมปกติจะใชขนาดเสนผานศูนยกลางรอบชิ้นทดสอบ 0.5 นิ้ว
(รูปที่ 6.6a) และสําหรับโลหะที่มีหนาตัดบางกวาเชนโลหะแผน จะเตรียมชิ้นทดสอบใหมี
ลักษณะเปนแผนเรียบ (รูปที่ 6.6b) ในการทดสอบแรงดึงระยะทดสอบที่ใชมากที่สุดคือ 2 นิ้ว
นอกจากนั้นยังมีชิ้นทดสอบอีกหลายแบบโดยมีรูปทรงของหนาตัดชิ้นทดสอบที่
แตกตางกัน ไดแก หนาตัดรูปวงกลม สี่เหลี่ยมจัตุรัส และสี่เหลี่ยมผืนผา อยางไรก็ตามชิ้น
ทดสอบทั้งหมดควรจะมีรูปแบบของระยะทดสอบแบบเดียวกันตามมาตรฐาน โดยสวนปลาย
ของชิ้นทดสอบควรมีรูปแบบที่เหมาะสมกับหัวจับมาตรฐาน คือชิ้นทดสอบที่เปนรูป
ทรงกระบอกควรทําเปนแบบเรียบ รูปบา สลัก หรือรูยึด และสวนปลายของชิ้นทดสอบควร
ยาวพอที่จะยึดดวยหัวจับไดพอดี ดังตัวอยางชิ้นทดสอบแรงดึงมาตรฐานที่นิยมใชในรูปที่ 6.7
174 MY318
รูปที่ 6.7 ตัวอยางชิ้นทดสอบแรงดึงมาตรฐานแบบตางๆ
MY 318 175
4. เครื่องมือทดสอบ (equipment)
การทดสอบแรงดึงเพื่อ หาค า ความแข็งแรงของโลหะและโลหะผสมจะใชเ ครื่อ ง
ทดสอบที่เรียกวา เครื่องทดสอบอเนกประสงค (universal tester) ดังแสดงในรูปที่ 6.8 เปน
ภาพเครื่องมือทดสอบแรงดึง และรูปที่ 6.9 เปนภาพตัวอยางแสดงโครงรางการทดสอบแรงดึง
กับชิ้นทดสอบโลหะ
การทดสอบแรงดึงดวยเครื่องทดสอบอเนกประสงคจําเปนตองติดตั้งอุปกรณเสริม
ตางๆประกอบดวยหัวจับชิ้นทดสอบซึ่งมีหนาที่หลักในการจับยึดชิ้นทดสอบเขากับเครื่อง
ทดสอบ โดยตองสามารถรับและถายแรงจากเครื่องสูชิ้นทดสอบไดเปนอยางดี และประเด็น
สําคัญคือหัวจับตองสามารถใหแรงผานชิ้นทดสอบตามแนวแกน ซึ่งตองตั้งคาการทดสอบ
และเลือกหัวจับที่เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อชิ้นทดสอบอยูในแนวที่ถูกตองทั้งกอนและระหวาง
ดําเนินการทดสอบ สําหรับวัสดุเหนียวใหใชหัวจับปากกวางเพื่อเพิ่มพื้นที่สัมผัสแตไมจําเปน
สํ า หรั บ วั ส ดุ เ ปราะ ทั้ ง นี้ เ นื่ อ งจากหั ว จั บ จะบี บ วั ส ดุ แ ล ว ทํ า ให เ กิ ด การแตกหั ก ที่ ป ลายชิ้ น
ทดสอบแทนที่จะเกิดการแตกหักในชวงของระยะทดสอบ หัวจับสวนใหญจะมีชวงของการ
เคลื่อนเพื่อจัดระเบียบหัวจับและชิ้นทดสอบใหอยูในแนวเดียวกัน หัวจับอาจเปนแบบรู แบบชอง
176 MY318
รูปที่ 1.6 อุปกรณวัดระยะยืด (extensometer) ในการทดสอบแรงดึง
การเลือกอุปกรณวัดความเครียดที่เหมาะสมจําเปนตองเลือกน้ําหนักหรือแรงกระทําที่
เหมาะสม และจํานวนการอานขอมูลของอุปกรณวัดความเครียดที่จะใชอานคาอยางตอเนื่อง
ซึ่งจํานวนการอานนี้อาจขึ้นอยูกับเวลา การเปลี่ยนแปลงแรงกระทํา การเปลี่ยนแปลงของ
ความเครียด หรือการเปลี่ยนแปลงของคาคงที่อื่นๆ ที่เกี่ยวของกับสภาวะการทดสอบ การอาน
คาหลายครั้งจะทําใหไดผลการทดสอบที่ถูกตองแมนยํามากขึ้น เพราะถาจุดของขอมูลหางกัน
มากนัยสําคัญการทดสอบอาจผิดพลาดได แตอาจไมสะดวกหรือไมเหมาะสมในการบันทึก
ขอมูลจากการทดสอบที่มีขนาดใหญ อยางไรก็ตามการบันทึกจุดขอมูลมากขึ้นทําใหไดกราฟ
แรงเคนความเครียดที่ถูกตองแมนยํามากขึ้น
MY 318 177
เครื่องทดสอบแรงดึงโดยทั่วไปมีตั้งแตขนาดเล็ก ปานกลาง และแบบพกพา ซึ่งมีขนาด
2000- 5000 ปอนด (908 - 2270 กิโลกรัม) หรือใหญกวานั้น เชนเครื่องที่ใชในหองปฏิบัติการ
หรือในอุตสาหกรรมซึ่งมีขนาด 300000 ปอนด (136200 กิโลกรัม) หรือมากกวานั้น เครื่อง
ทดสอบแรงดึงที่เหมาะสมขึ้นอยูกับแตละวัตถุประสงคของการทดสอบ ควรเลือกตามชนิด
ของวัสดุที่จะทําการทดสอบ รูปที่ 6.11 แสดงภาพเครื่องมือทดสอบแรงดึงโดยทั่วไป
5. กระบวนการทดสอบ (procedure)
การทดสอบแรงดึงใชในการวัดสมบัติการทนแรงดึงรวมไปถึงความแข็งแรงดึงของ
วัสดุ โดยความแข็งแรงดึงหมายถึงคาแรงเคนดึงสูงสุดที่เกิดขึ้นในวัสดุ ในการทดสอบแรงดึง
ตองเตรียมชิ้นทดสอบใหไดขนาดและรูปทรงที่เหมาะสม และตองทราบคาพื้นที่หนาตัดกับ
178 MY318
ปริมาณการเสียรูปและระยะทดสอบเริ่มตนสามารถใชหาคาความเครียดได เมื่อชิ้น
ทดสอบเริ่มจํานน ซึ่งเปนชวงที่วัสดุเกิดความเสียหายใหนําอุปกรณวัดระยะยืด (Extensometer)
ออก จากนั้นใหแรงกับวัสดุตอเนื่องจนกระทั่งวัสดุเกิดการแตกหัก ความแข็งแรงสูงสุดและ
ความแข็งแรงการแตกหักสามารถหาไดในชวงบริเวณเหนือแรงเคนจํานน (yield stress) รูปที่
6.12 ภาพอุปกรณวัดระยะยืดพรอมอุปกรณเสริม
180 MY318
รูปที่ 6.13 แสดงหัวจับชิ้นทดสอบแบบตางๆ พรอมชิ้นทดสอบสําหรับวัสดุแบบตางๆ
เนื่องจากการทดสอบแรงดึงเปนการทดสอบแบบสถิต (static test) ดังนั้นความเร็ว
หรืออัตราการเพิ่มแรงกระทําในการทดสอบควรเปนแบบชาๆ ถึงปานกลาง โดยชิ้นทดสอบ
ตองไมไดรับผลกระทบจากความเร็วนั้น ซึ่งปกติจะใชความเร็วที่ประมาณ 0.01 ถึง 0.05 นิ้ว
ตอนาที ความเร็วในการทดสอบไมควรเกินความสามารถของเครื่อ งที่จะอานคาไดอยาง
ถูกตองและเชื่อถือได อยางไรก็ตามสามารถรับแรงกระทํากับวัสดุไดในชวงกวางตราบที่แรง
กระทําไมสงผลกระทบตอระบบการเลื่อนภายในวัสดุ ถามีปญหาเกี่ยวกับอัตราเร็วในการใส
แรงกระทําสามารถหาขอมูลเพิ่มเติมไดจากมาตรฐาน ASTM
อัตราการใสแรงกระทําสงผลกระทบมากที่สุดตอการเกิดจุดจํานนของวัสดุ สําหรับ
วัสดุเหนียวเหนือจุดจํานนอัตราการเพิ่มของแรงกระทําอาจเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากอัตราการใส
MY 318 181
ในการทดสอบใหเพิ่มแรงกระทําอยางสม่ําเสมอและอานคาทุกระยะขณะทําการ
ทดสอบ เมื่ออานคาผานชวงของจุดจํานนใหนําอุปกรณวัดระยะยืดออกเพื่อปองกันไมให
เสียหาย โดยหลังจากชิ้นทดสอบเลยจุดจํานนใหใชไมบรรทัด คาลิเปอร หรือไมโครมิเตอรใน
การวัดระยะยืด จากนั้นเพิ่มแรงกระทําใหชิ้นทดสอบตอเนื่องจนกระทั่งแตกหักหรือถึงจุดที่
ไดขอมูลที่ตองการ ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวัตถุประสงคและขอมูลที่ตองการในการทดสอบ
หลังชิ้นทดสอบเสียหายหรือแตกหักใหนําชิ้นทดสอบออกจากเครื่องทดสอบและทํา
การตรวจสอบหาระยะยืด โดยใหนําชิ้นทดสอบทั้งสองสวนมาประกบกัน จากนั้นทําการวัด
ระยะทดสอบสุดทาย รวมทั้งพื้นที่หนาตัดสุดทายของชิ้นทดสอบเพื่อใชในการหาคารอยละ
การลดลงของพื้นที่หนาตัด จากนั้นแยกชิ้นทดสอบออกจากกันแลวทําการตรวจสอบลักษณะ
ของรอยแตกที่เกิดขึ้น โดยทั่วไปรอยแตกจากการดึงจะทําการตรวจในเรื่องของรูปแบบการ
แตก พื้นผิวการแตกและสีของผิวรอยแตก โดยประเภทของการแตกหักสามารถแบงออกได
เปนการแตกแบบผิวเรียบ (flat) แบบถวยกับกรวย (cup-cone) แบบไมแนนอน (irregular)
และแบบขรุขระ (ragged) และคําอธิบายประกอบลักษณะของรอยแตกไดแก ลักษณะผิวรอย
แตกเปนมันวาว ดาน เปนเสน ความหยาบความละเอียดของเกรน ลักษณะโครงผลึก หรือแตก
ออกเปนชิ้นสวนเล็กๆ เปนตน วัสดุบางอยางสามารถระบุชนิดไดจากลักษณะของรอยแตก
เชนเหล็กกลามักมีผิวรอยแตกในลักษณะเปนเสนและแตกแบบถวยกับกรวย สวนเหล็กปกติ
จะแตกแบบไมแนนอนและมีลักษณะรอยแตกเปนเสน สวนเหล็กหลอรอยแตกเปนแบบเรียบ
สีเทาและมีลักษณะเปนเกรนหยาบ เปนตน การประเมินรอยแตกอาจใชเปนเหตุผลประกอบ
ในการอธิบายสาเหตุของการแตกหัก โดยการรางและแยกประเภทของรอยแตกใหสอดคลอง
กับลักษณะรอยแตกในแบบทั่วไปดังที่ไดแสดงในรูปที่ 6.14
182 MY318
รูปที่ 6.14 รูปแบบพื้นผิวการแตกหักของชิ้นทดสอบจากการทดสอบแรงดึง
6. ผลการทดสอบ
6.1 กราฟแรงเคนความเครียด
ผลการทดสอบแรงดึงสามารถบันทึกเปนกราฟแรงเคนความเครียดได โดยการบันทึก
แรงเคนเปนแกนตั้งและความเครียดที่เกิดขึ้นเปนแกนนอน กราฟแรงเคนความเครียดของ
เหล็กกลาออนจะมีลักษณะดังแสดงในรูปที่ 6.15 การทดสอบในชวงแรกเมื่อใหแรงเคน
เพิ่มขึ้นวัสดุจะเกิดความเครียดนอยมาก และในชวงที่กราฟเปนเสนตรงความเครียดจะเพิ่มขึ้น
เปนสัดสวนกับแรงเคนที่กระทํา ชวงนี้ถือวาเปนชวงยืดหยุน (elastic region) ซึ่งเปนชวงที่
วั ส ดุ ส ามารถกลั บ คื น สู รู ป ทรงเดิ ม เมื่ อ นํ า แรงเค น ที่ ก ระทํ า ออก ภายใต ส ภาวะยื ด หยุ น
พฤติกรรมของวัสดุสามารถอธิบายไดดวยกฎของฮุค (Hook's low)
MY 318 183
หลังจากวัดความแข็งแรงสูงสุด บอยครั้งจะใชคาความปลอดภัย (safety factor) เพื่อหา
แรงเคนที่ปลอดภัยสูงสุดในการใชงาน โดยหารคาความแข็งแรงสูงสุดดวยคาความปลอดภัย
ปกติประมาณ 2 ถึง 10 แรงเคนหรือความแข็งแรงในการใชงานนี้จะใชคํานวณในการ
ออกแบบ ทั้งนี้เพื่อความมั่นใจวาวัสดุจะไมเกิดความเสียหายภายใตสภาวะการทํางานปกติ
ตัวอยางที่ 6.8
ก. สมมติตองการใชเคเบิลในการดึงรถเคเบิลหนัก 1200 ปอนด กับผูโดยสารจํานวน
6 คน แตละคนมีน้ําหนัก 175 ปอนด ถามวาตองใชเคเบิลที่มีขนาดเสนผาน
ศูนยกลางเทาไร ถาเคเบิลมีความแข็งแรงจํานน 32000 ปอนดตอตารางนิ้ว
วิธีทํา พื้นที่หนาตัด = แรง / แรงเคน
1200 lb + (6 x 175 lb)
= = 0.07 in.2
32000 lb/in.2
184 MY318
ดังนั้น เสนผานศูนยกลาง = √(4/π) x 0.07
= 0.30 in.
ข. ถาเคเบิลมีเสนผานศูนยกลาง 0.5 นิ้ว รถเคเบิลจะสามารถบรรทุกคน 8 คนได
หรือไม
1200 lb + (8 x175 lb)
วิธีทํา แรงเคน = 2
π (0.25 in.)
= 13242 lb/in.2
เนื่องจากแรงเคนที่ไดมีคานอยกวาคาความแข็งแรงจํานน ดังนั้นจึงสามารถบรรทุกได
ค. จงหาวารถเคเบิลในขอ ข. จะสามารถบรรทุกคนไดมากที่สุดกี่คน
วิธีทํา แรง = พื้นที่หนาตัด x แรงเคน
= π (0.25 in.)2 x 32000 lb/in.2
= 6283 lb
นั้นคือรถเคเบิลสามารถรับน้ําหนักไดสูงสุดเทากับ 6283 ปอนด
เมื่อหักลบน้ําหนักของรถเคเบิลออกจะได 6283 - 1200 = 5083 ปอนด
5083
ดังนั้นรถเคเบิลสามารถบรรทุกคนที่มีน้ําหนัก 175 ปอนด ไดสูงสุด = 29 คน
175
เนื่องจากแรงเคนเปนผลของแรงที่กระทําหารดวยพื้นที่หนาตัด ดังนั้นแรงเคนแทจริง
(true stress) ที่เกิดขึ้นในวัสดุตองคํานวณดวยขอมูลแรงเคนและความเครียดที่ไดในขณะทํา
การทดสอบ กลาวคือแรงเคนตองคํานวณจากพื้นที่หนาตัดที่สัมพันธกับแรงเคนที่กระทําขณะ
ทดสอบ โดยทั่วไปกราฟแรงเคนความเครียดแทจริงจะมีลักษณะเหมือนกับกราฟทางทฤษฎี
ยกเวนหลังจากที่เกิดคอคอดคาแรงเคนแทจริงจะยังคงเพิ่มขึ้นเนื่องจากพื้นที่หนาตัดแทจริงมี
คาลดลง ในขณะที่แรงเคนปกติมีคาลดลงเพราะคํานวณจากพื้นที่หนาตัดเริ่มตน ปกติการเก็บ
ขอมูลในการคํานวณแรงเคนความเครียดแทจริงไมสะดวกและไมคุมคาในทางเศรษฐศาสตร
เนื่องจากเปนกระบวนที่ยากและเสียเวลาอยางมากในการทดสอบ ดังนั้นในการคํานวณจึงใช
พื้นที่หนาตัดเริ่มตนเปนฐานการคํานวณ ซึ่งผลลัพธที่ไดเรียกวาแรงเคนปกติ (nominal stress)
หรือแรงเคนทางวิศวกรรม สําหรับสภาวะและการใชงานที่แรงเคนเกิดไดดีภายใตแรงเคนดึง
MY 318 185
ภายใตสภาวะที่วัสดุมีการเสียรูปถาวรเปนชวงกวาง แรงเคนปกติสามารถเบนออก
จากคาแรงเคนแทจริงโดยไมปรากฏจุดจํานน ดังนั้นจึงตองกําหนดจุดจํานนตามที่เห็นสมควร
เรียกวาออฟเซต (offset) ปกติคาออฟเซตนี้จะกําหนดที่รอยละการยืด 0.2 เรียกวารอยละ 0.2
ความแข็งแรงจํานนออฟเซต (0.2% offset yield strength) หรือแรงเคนพรูฟ (proof stress)
แรงเคนพรูฟนี้เปนแรงเคนปกติที่ทําใหเกิดความเครียดแบบไมเปนสัดสวน ณ จุดออฟเซตที่
กําหนด ซึ่งขึ้นอยูกับรอยละของระยะทดสอบเริ่มตน กระบวนการออฟเซตจะใชกับวัสดุที่ไม
ปรากฏจุดจํานนที่ชัดเจน การวัดคาแรงเคนพรูฟดวยกรรมวิธีออฟเซตไดแสดงในรูปที่ 6.16
6.2 ขอมูลสมบัติทางกลจากการทดสอบแรงดึงและกราฟแรงเคนความเครียด
186 MY318
เมื่อทําการทดสอบแรงที่กระทํากับชิ้นทดสอบขณะทดสอบจะบันทึกลงบนกระดาษ
กราฟโดยเครื่องทดสอบ ขณะเดียวกันสัญญาณความเครียดของชิ้นทดสอบที่เกิดขึ้นจาก
อุปกรณวัดระยะยืดที่ยึดอยูกับชิ้นทดสอบจะถูกนํามาบันทึกลงบนกระดาษกราฟเชนกัน โดย
ขอมูลของแรงที่ไดจากกราฟในการทดสอบแรงดึงสามารถเปลี่ยนเปนแรงเคน และสามารถ
นํามาเขียนเปนกราฟแรงเคนความเครียดได ดังตัวอยางกราฟแรงเคนความเครียดของโลหะ
ผสมอะลูมีเนียมความแข็งแรงสูงในรูปที่ 6.17
สมบัติ เ บื้อ งตน ที่ ตรวจวั ด ดว ยการทดสอบแรงดึ งได แก ความแข็ งแรงจํ า นน (yield
strength) หรือจุดจํานน (yield point) ความแข็งแรงดึง (tensile strength) ความเหนียว (ductility)
ซึ่งแสดงดวยรอยละการยืด (percent elongation) กับรอยละการลดลงของหนาตัด (percent
reduction in area) และการอธิบายชนิดของการแตกหักที่เกิดขึ้น ในกรณีของวัสดุแข็งเปราะ
MY 318 187
1. โมดูลัสความยืดหยุน (modulus of elasticity)
2. ความแข็งแรงจํานนรอยละ 0.2 ของการเสียรูป (percent offset)
3. ความแข็งแรงดึงสูงสุด (ultimate tensile strength)
4. รอยละการยืด (percent elongation)
5. รอยละการลดลงของพื้นที่ ณ จุดแตกหัก (reduction in area)
- โมดูลัสความยืดหยุน ในชวงแรกของการทดสอบการดึงโลหะจะเกิดการเสีย
รูปแบบยืดหยุน ถานําแรงที่กระทําออกชิ้นทดสอบจะกลับคืนสูความยาวเริ่มตน โดยปกติการ
เสียรูปแบบยืดหยุนของโลหะสูงสุดปกติจะต่ํากวารอยละ 0.5 โดยทั่วไปโลหะและโลหะผสม
จะมีความสัมพันธระหวางแรงเคนกับความเครียดในกราฟแรงเคนความเครียดเปนเสนตรง
ในชวงที่เกิดการเสียรูปแบบยืดหยุน ซึ่งสามารถอธิบายไดดวยกฎของ Hooke
σ (แรงเคน)
= Eε (ความเครียด)
σ (แรงเคน)
หรือ E =
ε (ความเครียด)
188 MY318
โลหะและ โมดูลัสการคืนตัว (Elastic modulus)
โลหะผสม*ตางๆ x 106 psi GPa
เหล็กกลา 30 207
นิกเกิล 30 207
ทองแดง 18 124 หมายเหตุ *
ไทเทเนียม 16 110 วัสดุหลายผลึก
อะลูมีเนียม 10 69 ที่อุณหภูมิหอง
แมกนีเซียม 6.5 45
- ความแข็งแรงจํานน เปนคาที่มีความสําคัญมากที่ใชในการออกแบบโครงสรางทาง
วิศวกรรม เนื่องจากเปนความแข็งแรงของโลหะหรือโลหะผสมกอนเกิดการเสียรูปถาวร ซึ่ง
บอยครั้งจุดสิ้นสุดของการเสียรูปยืดหยุนกับจุดเริ่มตนของการเสียรูปถาวรบนกราฟแรงเคน
ความเครียดไมปรากฏชัดเจน ดังนั้นในการหาคาความแข็งแรงจํานนจึงจําเปนตองกําหนด
ขนาดของการเสียรูปถาวรหรือระยะยืดถาวรคาหนึ่ง แลวหาคาแรงเคนที่สัมพันธกับระยะยืด
ถาวรนั้นเปนคาความแข็งแรงจํานน สําหรับการออกแบบโครงสรางทางวิศวกรรมในอเมริกา
ความแข็งแรงจํานนจะมีคาเทากับแรงเคน ณ จุดที่มีการยืดถาวรรอยละ 0.2 ดังแสดงในกราฟ
แรงเคนความเครียดรูปที่ 6.18 โดยความแข็งแรงจํานนที่รอยละ 0.2 ของความเครียดนี้เรียกวา
ความแข็งแรงจํานนออฟเซตรอยละ 0.2 (0.2 percent offset yield strength) ซึ่งหาไดจากการ
ลากเสนขนานกับเสนกราฟที่เปนเสนตรงในบริเวณของการเสียรูปยืดหยุนที่ระยะยืด 0.002 in/in
(หรือ m/m) จนตัดกับเสนกราฟดานบน จากนั้นใหลากเสนตรง ณ จุดตัดในแนวระดับไปตัด
กับแกนของแรงเคน และแรงเคน ณ จุดตัดนี้เปนคาความแข็งแรงจํานนออฟเซตรอยละ 0.2
MY 318 189
รูปที่ 6.18 การหาคาความแข็งแรงจํานนออฟเซตรอยละ 0.2
ความแข็งแรงสูงสุดของโลหะหาไดโดยการลากเสนในแนวระดับจากจุดสูงสุดบน
กราฟแรงเคนความเครียดไปที่แกนของแรงเคนและคาแรงเคนที่ได ณ จุดตัดนี้เรียกวาความ
แข็งแรงดึงสูงสุดหรือบางครั้งเรียกวาความแข็งแรงดึง สําหรับโลหะผสมอะลูมีเนียมในรูปที่
6.17 มีคาความแข็งแรงดึงสูงสุดเทากับ 87000 psi สําหรับโลหะผสมที่มีความเหนียวจะไมนํา
คาความแข็งแรงดึงสูงสุดมาใชในการออกแบบทางวิศวกรรม เนื่องจากโลหะเกิดความเสียหาย
แบบถาวรอยางมากกอนถึงจุดสูงสุด อยางไรก็ตามความแข็งแรงดึงสูงสุดสามารถบงบอกถึง
การมี อ ยู ข องความบกพร อ งต า งๆ กล า วคื อ ถ า โลหะมี ค วามพรุ น ตั ว และสิ่ ง เจื อ ปน ความ
บกพรองเหลานี้อาจเปนเหตุทําใหความแข็งแรงดึงสูงสุดของโลหะมีคาต่ํากวาปกติ
- รอยละการยืด ปริมาณการยืดของชิ้นทดสอบที่เกิดขึ้นระหวางการทดสอบแรงดึง
จะใชแสดงสมบัติความเหนียวของโลหะ โดยปกติจะอยูในรูปของรอยละการยืดที่เทียบกับ
ระยะทดสอบเริ่มตนซึ่งมีคา 2 นิ้ว (5.1 เซนติเมตร) (รูปที่ 6.2) โดยโลหะที่มีความเหนียว
มากกวาคือเกิดการเสียรูปไดมากจะมีรอยละการยืดสูง เชนแผนอะลูมีเนียมผสม 1100 - 0
หนา 0.062 นิ้ว (1.6 มิลลิเมตร) ซึ่งมีความแข็งต่ําจะมีรอยละการยืดสูงคือรอยละ 35 ในขณะที่
โลหะผสมอะลูมีเนียมความแข็งแรงสูง 7075 - T6 ที่ความหนาเดียวกันจะมีรอยละการยืดเพียง
รอยละ 11 ในการวัดระยะยืดที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่องของชิ้นทดสอบระหวางการทดสอบแรง
ดึงสามารถวัดไดดวยอุปกรณตรวจวัดการยืด สวนรอยละการยืดหลังการแตกหักหาไดโดย
MY 318 193
ตัวอยาง 6.11 จากกราฟแรงเคนความเครียดที่ไดจากการทดสอบชิ้นงานทองเหลืองดังรูปที่
6.20 จงหาคาตัวแปรตางๆ ตอไปนี้
ก. คาโมดูลัสความยืดหยุน
ข. ความแข็งแรงจํานนที่ความเครียดรอยละ 0.2 ออฟเซต
ค. แรงสูงสุดที่ชิ้นทดสอบทองเหลืองทรงกระบอกขนาดเสนผานศูนยกลาง
เริ่มตน 12.8 mm. (0.505 in.) จะสามารถรับได
ง. ความยาวชิ้นทดสอบที่เปลี่ยนไปเมื่อรับแรงเคนดึง 345 MPa (50,000 psi) โดย
กําหนดใหชิ้นทดสอบมีความยาวเริ่มตนเทากับ 250 mm. (10 in.)
วิธีทํา ก. โมดูลัสความยืดหยุนสามารถหาไดจากความชันของเสนกราฟในชวงของการเสีย
รูปแบบยืดหยุนหรือชวงขีดจํากัดแบบสัดสวน โดยการหาคาแรงเคนที่เปลี่ยนไปหารดวยคา
ความเครียดที่เปลี่ยนไปจากแรงเคนนั้น ดังสมการ
194 σ2 - σ1 MY318
ε2 - ε1
E = Δσ =
Δε
จากกราฟรูปเล็กซึ่งเปนกราฟขยายในชวงของการเสียรูปแบบยืดหยุนจะกําหนดให σ1
และ ε1 มีคาเทากับศูนยที่จุดเริ่มตนของกราฟ และกําหนด σ2 ที่ 150 MPa ซึ่งหาคา ε2 ไดเปน
0.0016 ดังนั้นคาโมดูลัสของชิ้นทดสอบทองเหลืองนี้หาคาไดเปน
15 – 0 MPa
E =
0.0016 – 0
= 93.8 GPa (13.6 x 106 psi)
ข. ความแข็งแรงจํานนออฟเซตที่รอยละการยืด 0.2 เมื่อลากเสนประขนานกับเสนกราฟ
ในชวงยืดหยุนที่ความเครียด 0.002 จนตัดกับเสนกราฟดานบนจะไดคาแรงเคนเทากับ 250
MPa (65,000 psi) เปนคาความแข็งแรงจํานนออฟเซตของชิ้นทดสอบทองเหลือง
ค. แรงสูงสุดที่ชิ้นทดสอบสามารถรับไดคํานวณไดจากคาความแข็งแรงดึงสูงสุดซึ่ง
คือแรงเคนสูงสุดที่เกิดขึ้นกับชิ้นทดสอบ จากกราฟชิ้นทดสอบมีแรงเคนสูงสุดเทากับ 450
MPa (65,000 psi) และจากสมการการหาคาแรงเคนสามารถคํานวณหาคาแรงที่กระทํากับชิ้น
ทดสอบไดดังนี้
2
F = σ A0 = σπ(d0/2)
2
6 2 12.8 x 10-3 m.
= 450 x 10 N/m x 3.14 x
2
= 57,900 N (13,000 lb)
ง. การหาระยะยืดของชิ้นทดสอบที่เกิดขึ้นจากแรงเคนที่ 345 MPa ลําดับแรกตองหา
ความเครียดที่เกิดขึ้น ซึ่งบนกราฟที่แรงเคน 345 MPa จะอยูที่จุด A จากนั้นลากเสนขนานกับ
แกนแรงเคนลงมาที่แกนของความเครียดจะไดคาความเครียด ประมาณ 0.06 และจากความ
ยาวเริ่มตนของชิ้นทดสอบสามารถหาคาระยะยืดที่เปลี่ยนไปไดดังนี้
Δl = εl0 = 0.06 x 250 mm. = 15 mm. (0.6 in.)
MY 318 195
ความเหนียวของวัสดุสามารถทําใหเพิ่มขึ้นไดในระดับหนึ่งดวยการออกแบบ โดย
วัสดุที่มีความเหนียวจะเกิดการโคงงอกอนการแตกหักหรือเกิดการเสียรูปกอนแตกราว และ
ความเหนียวยังทําใหวัสดุมีความสามารถในการขึ้นรูปเพิ่มขึ้น
พื้นที่ใตกราฟแรงเคนความเครียดทั้งหมดเปนคาพลังงานที่จําเปนในการทําใหวัสดุ
แตกหักและเปนคาที่แสดงถึงความแกรงของวัสดุ หรือคาโมดูลัสความแกรงซึ่งเปนการวัด
การดูดซับพลังงานของวัสดุ ทั้งในสวนของการเสียรูปถาวรและยืดหยุน ความแกรงจะบงบอก
ถึงความแข็งแรงตอการแตกหักของวัสดุหรือความสามารถที่จะทนตอแรงกระทําฉับพลัน
โดยผลลัพธที่ไดอาจไมเทากับผลของการทดสอบแรงกระแทกซึ่งแสดงถึงความแกรงเชนกัน
อยางไรก็ตามผลลัพธทั้งสองจะใกลเคียงกันในกรณีที่เปนผลของแรงเคนความเครียดแทจริง
ผลการทดสอบแรงดึงจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ กลาวคือเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นความ
แข็งแรงจํานน ความแข็งแรงดึงและโมดูลัสของความยืดหยุนของวัสดุจะลดลง แตความเหนียว
เพิ่มขึ้น บอยครั้งที่ปรากฏการณนี้ถูกนําไปใชประโยชนในกระบวนการขึ้นรูปวัสดุขณะรอน
ซึ่งเปนการขึ้นรูปวัสดุดวยแรงเคนต่ําและตองการความเหนียวของวัสดุคอนขางสูง สมบัติ
ความแข็งแรงดึงของวัสดุวิศวกรรมตางๆไดแสดงในตารางที่ 6.2
196 MY318
Epoxy 4,000 ABS 7,000
Melamine-formaldehyde 5,500-13,000 Butadiene 3,500
Phenol-formaldehyde 6,000-9,000 Butadyene-styrene 600-3,500
Urea-formaldehyde 5,500-13,000 Silicone 3,000-4,000
Fibers for composits Woods (perpendicular to grian)
Glass 500,000 Softwoods 200-500
Graphite 300,000-410,000 Hardwoods 300-1,000
Polyaramid (Kevlar) 410,000
ตารางที่ 6.2 สมบัติความแข็งแรงดึงของวัสดุวิศวกรรมตางๆ
7. สรุป (summary)
การทดสอบแรงดึงบอยครั้งใหขอมูลที่สําคัญในการระบุสมบัติทางกายภาพและทาง
กลของวัสดุ การทดสอบแรงดึงเปนการทดสอบเบื้องตนที่ใชทดสอบวัสดุซึ่งสามารถให
ขอมูลความแข็งแรงดึงของวัสดุ และบอยครั้งที่ขอมูลนี้มีความสําคัญในการออกแบบและการ
สรางผลิตภัณฑทางวิศวกรรม
ขอมูลการทดสอบแรงดึงสามารถสรางเปนกราฟแรงเคนความเครียดของชิ้นทดสอบ
ผลลัพธในการทดสอบจะแสดงถึงพฤติกรรมของวัสดุในการใชงาน โดยมีสองจุดที่สําคัญ
เกิดขึ้นบนกราฟคือจุดจํานนและแรงเคนดึงสูงสุดหรือความแข็งแรงดึงของวัสดุ ซึ่งเปนขอมูล
ที่บงบอกถึงสมรรถภาพการรับแรงของวัสดุ
ขอมูลที่สําคัญอื่นๆที่ไดจากการทดสอบแรงดึงไดแก รอยละการยืด รอยละการลดลง
ของพื้ น ที่ ห น า ตั ด และความเครี ย ดที่ เ กิ ด ขึ้ น ในระหว า งการทดสอบ ข อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ
คุณลักษณะเหลานี้จะใชในการบงชี้การเสียรูปของวัสดุในระหวางการทดสอบ ปริมาณการ
เสียรูปของวัสดุที่ปรากฏกอนแตกหักบอยครั้งใชเปนตัวแบงวัสดุวาเปนวัสดุเหนียวหรือเปราะ
ในระหวางการทดสอบแรงดึงวัสดุจะเกิดการเสียรูปทั้งแบบยืดหยุนและถาวร ในชวง
ขีดจํากัดการยืดหยุน วัสดุสามารถคืนสภาพอยางเต็มที่จากแรงเคนที่กระทําและสามารถ
กลับคืนสูรูปทรงเดิม สวนพฤติกรรมการเสียรูปถาวรเปนความสามารถของวัสดุในการเกิด
การเสียรูปโดยปราศจากการแตกหัก คือการยืดออกที่เกิดขึ้นในระหวางการทดสอบแรงดึง
MY 318 197
ยังโมดูลัสหรือโมดูลัสความยืดหยุนแสดงถึงความสามารถในการกลับคืนสูสภาพเดิม
(resilience) หรือสติฟเนสความยืดหยุนของวัสดุ ซึ่งสามารถคํานวณไดโดยการหารแรงเคน
ในชวงขีดจํากัดการยืดหยุนดวยความเครียดที่เกิดขึ้น ณ แรงเคนนั้น โมดูลัสความยืดหยุนเปน
สมบัติที่ใชในการเปรียบเทียบวัสดุที่ชัดเจน
8. คําถามทายบท (Questions)
1. จงอธิบายวาชิ้นทดสอบแรงดึงเกิดคอคอดไดอยางไร
2. จงอธิบายความแตกตางของแรงเคนแทจริง (true stress) กับแรงเคนปกติ (nominal stress)
3. ถาแรงกระทําไมอยูในแนวเดียวกับแกนชิ้นทดสอบจะมีผลตอผลการทดสอบอยางไร
4. จงอธิบายเทอมของขีดจํากัดสัดสวน (proportional limit) ขีดจํากัดยืดหยุน (elastic
limit) จุดจํานน (yield point) ความแข็งแรงสูงสุด (ultimate strength) ความแข็งแรง
แตกหัก (breaking strength) โมดูลัสความยืดหยุน (modulus of elastic) ความแกรง
(toughness) สติฟเนส (stiffness) และความเหนียว (ductility)
5. จงอธิบายความแตกตางของจุดจํานนกับความแข็งแรงจํานนพรอมวาดกราฟประกอบ
6. ถาชิ้นทดสอบขนาดเสนผานศูนยกลาง 0.505 in. รับแรง 2500 lb ถามวาเกิดแรงเคน
ขึ้นภายในชิ้นงานเทาไร
7. จงหาแรงเคนที่เกิดขึ้นในชิ้นงานขนาดเสนผานศูนยกลาง 1.0 in. ที่รับแรง 5000 lb
8. จงหาความเครียดที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานที่ยาวเริ่มตน 4.5 in. แลวยืดออก 0.05 in. หลัง
ทดสอบ พรอมทั้งคารอยละการยืด (% elongation)
9. จงหารอยละการลดลงของพื้นที่หนาตัด (% reduction in area) ของชิ้นทดสอบขนาด
เสนผานศูนยกลางเริ่มตน 0.505 in. และเสนผานศูนยกลางหลังทดสอบ 0.502 in.
198 MY318
10. จงหาความเครียดที่เกิดขึ้นในชิ้นทดสอบหนาตัด 3 in. x 5 in. เมื่อรับน้ําหนัก 8000 lb
และแปลงคาผลลัพธที่ไดอยูในหนวยเมกะพาสคาล (1 MPa เทากับ 145 lb/in.2)
11. ทอนเหล็กขนาด 2 x 3 in. ถูกออกแบบใหมีความแข็งแรงสูงสุด 100000 lb/in.2 ถาม
วาทอนเหล็กนี้สามารถรับน้ําหนัก 50 ton ไดหรือไม และรับน้ําหนักสูงสุดไดเทาไร
12. ถามวาแทงเหล็กขนาด 10 x 10 cm. ที่สามารถรับแรงเคนได 100 MPa จะสามารถรับ
น้ําหนักสูงสุดไดกี่กิโลกรัม และสามารถรับแรงเคน 10000 lb/in.2 ไดหรือไม
13. เสนลวดเหล็กกลายาว 18 in. และมีความเครียดไมเกิน 0.01 in./in. ถามวาเสนลวดนี้
ยืดไดสูงสุดเทาไร
14. ถาทอนเหล็กกลาขนาดเสนผานศูนยกลาง 0.75 in. ถูกออกแบบใหรับแรงเคนสูงสุด
100000 lb/in.2 ถามวาเหล็กกลาจะสามารถรับน้ําหนักไดสูงสุดไดกี่ปอนด
MY 318 199