Academia.eduAcademia.edu

Swu2511

เอกสารประกอบการสอน วิชา มศว 251 มนุษยกับสังคม ภาคการศึกษาที่ 2 ปการศึกษา 2558 โดย ผศ. ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา สารบัญ หนา การเปลีย่ นแปลงทางสังคมมิติและสังคมเศรษฐกิจฐานความรู 1 คนไทยกับปญหาสังคมไทย 18 ประชาธิปไตยและบทบาทหนาที่พลเมืองในสังคมไทย 29 การเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน เรื่อง ปญหาสังคม : กรณีน้ํามันรั่วที่อาวพราว 48 กิจการเพื่อสังคมกับสังคมไทย 59 การเรียนรูดวยการนําตนเอง เรื่อง ชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว 68 1 แผนการสอน หัวขอ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมิติและสังคมเศรษฐกิจฐานความรู ผูสอน อาจารย ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา วัตถุประสงค : เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1. จิตพิสัย ไดแก - เสริมสรางเจตคติที่ดีในการเรียนรูวิชา มศว 251 มนุษยกับสังคม - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคม สิ่งแวดลอม - ตระหนักในคุณคาของศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและประชาคมนานาชาติ 2. พุทธิพิสัย ไดแก - มีความรูความเขาใจจุดมุงหมายและการเรียนการสอนวิชา มศว 251 - มีความรู ความเข าใจธรรมชาติของตนเอง รูเทาทัน การเปลี่ย นแปลง และดํารงชีวิต อยางมี ความสุขทามกลางกกระแสโลกาภิวัตน - มีความรูอยางกวางขวางมีโลกทัศนกวางไกล 3. ทักษะพิสัย ไดแก - ใฝรู และมีวิจารณญานในการเลือกรับขอมูลขาวสาร - มีทักษะสื่อสารและการใชเทคโนโลยีสารสนเทศไดอยางถูกตองและเหมาะสม เนื้อหา 1. 2. 3. 4. การเปลี่ยนแปลงอารยธรรมของสังคมโลก สังคมเศรษฐกิจฐานความรู ลักษณะบุคคลที่พึงประสงคสําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู ลักษณะบุคคลที่พึงประสงคสําหรับสังคมไทยในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู การจัดประสบการณการเรียนรู 1. ปฐมนิเทศน บอกวัตถุประสงค และบอกเนื้อหา 2. สอนบรรยายเนื้อหาหัวขอตางๆ 3. นิสิตรวมอภิปราย 4. นิสิตซักถาม 5. อธิบายใบกิจกรรมที่ 1 (การเก็บขอมูลทางสังคมศาสตร) 40 40 40 40 30 นาที นาที นาที นาที นาที 2 สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบการสอน 2. Power point วัตถุประสงค - ถายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับจุดมุงหมายและการเรียนการสอนวิชา มศว 251 - ถ า ยทอดเนื้อหาเกี่ย วกับ การเปลี่ย นแปลงทางสังคมมิติ และความสัมพัน ธ ระหวางมนุษยกับสังคม สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจไดชัดเจนยิ่งขึ้น การประเมินผล 1. การจัดทําใบกิจกรรมที่ 1 รายงานการคนควาเรื่องการเก็บขอมูลทางสังคมศาสตร 2. การมีสวนรวมอภิปรายในชั้นเรียน 3. ขอสอบภาคเนื้อหา หนังสืออางอิง เครือขายองคกรความรวมมือเพื่อทักษะการเรียนรูในศตวรรษที่ 21.(2553). ทักษะแหงอนาคตใหม การเรียนรูใน ศตวรรษที2่ 1. สืบคนเมือ่ 1 ธันวาคม 2557, จาก http://apps.qlf.or.th จิ ต ต ภิ ญ ญา ชุ ม สาย ณ อยุ ธ ยา. (2551). ลั ก ษณะผู เ รี ย นรู ต ลอดชี วิ ต ของนิ สิ ต นั ก ศึ ก ษาระดั บ ปริ ญ ญาตรี ชั้ น ป สุด ท า ย. ปริ ญญานิ พนธ กศ.ด. (การอุด มศึก ษา). กรุ งเทพฯ: บั ณ ฑิ ต วิ ทยาลั ย มหาวิ ทยาลั ย ศรีนครินทรวิโรฒ ไพฑูรย สินลารัตน; และ สรอยสน สกลรักษ. (2548, ตุลาคม–ธันวาคม). สัตตศิลา: หลัก 7 ประการในการเปลี่ยน ผานการศึกษา. วารสารครุศาสตร. 34(2): 1-4. วรวรรณ เหมชะญาติ; และ สรอยสน สกลรักษ. (2548, ตุลาคม–ธันวาคม). คุณลักษณะบุคคลที่พึงประสงค สําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู. วารสารครุศาสตร. 34(2): 5-11. สุกัญญา ตีระวนิช และคณะ. (2532). คลื่นลูกที่สาม. เรียบเรียงจาก Toffler, Alvin. (1980). The Third Wave. กรุงเทพ: พิมพวาด. วิชัย ตันศิริ และคณะ. (2541). การเรียนรู : ขุมทรัพยในตน. กรุงเทพฯ : สํานักงานคณะกรรมการการศึกษา แหงชาติ. อั จ ฉรา วั ฒ นาณรงค . (2539). เอกสารประกอบการสอนวิ ช า อษ 711 สั ง คมวิ ทยาและเศรษฐศาสตร ก าร อุดมศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Toffler, Alvin. (1980). The Third Wave. New York: Morrow 3 หัวขอการสอน การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมิติ และสังคมเศรษฐกิจฐานความรู การเปลี่ยนแปลงอารยธรรมของสังคมโลก Alvin Toffler กลาวถึงการเปลี่ยนแปลงอารยธรรมของสังคมโลกในอดีตจนถึงปจจุบันวาสังคมโลกถูก ขับเคลื่อนดวยพลังคลื่น 3 ลูก คือ คลื่นลูกที่ 1 เกิดขึ้นพรอมสังคมเกษตรกรรมเมื่อหมื่นปที่ผานมาจนเกิดการปฏิวัติเกษตรกรรม ซึ่งโลกในยุค โบราณแบงมนุษยเปน 2 กลุม คือ พวกคนปา ไดแก ชาวปา ชาวดอยที่ยังชีพอยูดวยการเก็บผักผลไม ลาสัตว ตกปลา กับคนศิวิไลซ คือ พวกที่หวานไถ พรวนดิน ทําปศุสัตวเกษตรกรรมไปถึงที่ใด ที่นั่นก็จะมีความศิวิไลซ โดยมีการใช ทรั พ ยากรธรรมชาติ ใช ที่ ดิ น ให เ ป น ประโยชน ใ นการทํ า มาหากิ น ทํ า ให เ ศรษฐกิ จ ดี ขึ้ น จึ ง ก อ ให เ กิ ด การปฏิ วั ติ เกษตรกรรม ลักษณะสังคมประกอบดวย ที่ดินที่เปนฐานทางเศรษฐกิจ การดําเนินชีวิต วัฒนธรรม ครอบครัว และ การเมือง ดําเนินไปอยูในบริเวณหมูบาน มีการแบงชั้นวรรณะไปตามสถานภาพ เปนขุนนาง นักบวช นักรบ ทาส รูปแบบการปกครองจะเปนแบบอํานาจนิยมเบ็ดเสร็จ กําเนิดของคนเปนเครื่องกําหนดวาเขาจะอยูระดับใดในสังคม เศรษฐกิจมีลั กษณะกระจายแตละชุมชนตางก็ ผลิตตามความจําเป นของพวกตน ในขณะเดี ยวกันวั ฒนธรรมและ รูปแบบทางการคาก็ไดมีการกระจายขามประเทศ จากจีนไปประเทศในยุโรป มีเมืองใหมเกิดขึ้นในเอเชีย และอเมริกา ใตซึ่งลวนเปนพื้นที่ทําเกษตรกรรม โดยตอนปลายยุคนี้เริ่มมีการการผลิตเครื่องจักรไอน้ํา ซึ่งสวนมากเปนเครื่องจักร สําหรับการทําเกษตรกรรม และมีการขุดเจาะน้ํามัน โลกอยูภายใตอิทธิพลของคลื่นเกษตร จนถึงชวงป ค.ศ. 1750 ในสังคมเกษตรประชาชนมักอาศัยอยูเปนแบบครอบครัวขนาดใหญประกอบดวยพอ แม พี่ นอง ลุง พี่ ปา นา อา จนถึง ปู ยา ตา ยาย และอยูติดที่ดินทํากินโดยไมมีการเคลื่อนยาย การศึกษาเริ่มตนที่บาน วัด หรือสถานที่ที่ เปนแหลงชุมชนมารวมตัวกัน ลักษณะเปนการถายทอดความรูจากบรรพชนในชุมชน ทองถิ่น เกี่ยวกับการเกษตร วิถีการดําเนินชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของแตละชุมชน โดยในระยะแรกยังไมมีระบบโรงเรียน และเมื่อระบบโรงเรียนไดกาวเขามาก็มีเฉพาะชนชั้นสูงหรือขุนนาง เจานาย เทานั้นที่ไดรับสิทธิ์ใหสามารถเขาเรียนใน ระบบโรงเรียนได ซึ่งความรูที่สอนในโรงเรียนระยะแรกนั้นก็เปนความรูเฉพาะสําหรับชนชั้นสูงเชน ภาษา วรรณกรรม ศิลปะ ดนตรี การปกครอง ไมไดมีลักษณะแบงแยกเปนศาสตรสาขาตางๆชัดเจน เกษตรกรผลิตเพียงใหพอสําหรับการบริโภค หรือความจําเปนของตน และการคมนาคมขนสงเพื่อกระจาย สินคาที่ผลิต และไมสะดวกเนื่องจากยังมีไมมีถนนเพียงพอ พอคาจํานวนมากเดินทางโดยใชอูฐ มา หรือเกวียน กลาว ไดวาเศรษฐกิจในคลื่นเกษตร การผลิตเพื่อใชเองมีความใหญโตมาก ในขณะที่การผลิตเพื่อการคามีขนาดเล็กมากและ ไมเปนที่นิยม การสื่อสารของคนในสังคมสวนใหญจะเปนแบบปากตอปาก หากจะสื่อสารทางไกลตองหาวิธีอื่นมาชวย เช น มาเร็ ว นกพิ ร าบ ไปรษณี ย แต การสื่อสารนี้ส รางขึ้น มาเพื่อเจานาย ขุนนาง และพอคา การสื่อสารจึงเปน เครื่องมือของชนชั้นสูง คลื่นลูกที่ 1 นี้ไดพลังงานจากแรงงานมนุษยและสัตว จากดวงอาทิตย ลม น้ํา ฟน กังหันลม ต อ มาภายหลั งได อาศั ย พลั งงงานจากม า และวั ว กล า วได ว าพลั งงานเหล า นี้ ส ามารถเกิ ด ขึ้ น ใหม ม าทดแทนได ตลอดเวลา กลาวคือ มีลมพัด มีปา มีมา มีทาสใหเปนแรงงานที่ทดแทนสืบเนื่องไป 4 คลื่นลูกที่ 2 สังคมอุตสาหกรรม เขามามีบทบาทครอบคลุมวิถีชีวิตเดิมเมื่อประมาณ 300 ปมานี้ เกิดจากการ ปฏิวัติทางอุตสาหกรรม ในยุโรป และอเมริกา อุตสาหกรรมในยุคเริ่มตนถือกําเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม และเมือง อุตสาหกรรม และเติบโตขึ้นจนเปนแหลงอุตสาหกรรมใหญผลิตอาวุธ นาฬิกา อุปกรณทําเกษตร ผา จักรเย็บผา และ สินคาอื่นๆ ในขณะที่สวนอื่นๆของประเทศก็ยังคงเปนสังคมเกษตรกรรม สังคมเกิดความตึงเครียดทางเศรษฐกิจ ระหวางคลื่นเกษตรกรรม กับ คลื่นอุตสาหกรรม และเกิดความขัดแยงถึงขั้นเปนสงครามกลางเมืองในหลายประเทศ เชน อเมริกา ญี่ปุน และรัสเซีย สงผลใหเกิดวิกฤติการณทางการเมือง กลางศตวรรษที่ 20 พลังคลื่นเกษตร เริ่มเสื่อม สลาย และคลื่นอุตสาหกรรมเขาครอบงําประชากรกวาพันลานคนในทุกทวีป หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากร โลก ซึ่งแตละประเทศจะมีภาพที่เหมือนกันคือ สังคมอุตสาหกรรมมีชัยชนะเหนือสังคมเกษตรกรรม มีการใชทุนใน การพัฒนาสรางเครื่องจักรกล ใชความรูเทคโนโลยีเบื้องตน ทําใหเกิดการผลิตสินคาอุตสาหกรรม ขยับฐานะและเพิ่ม ขีดความสามารถในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เมื่ อ คลื่ น อุ ตสาหกรรม เข ามามี บ าบาทครอบคลุ มวิ ถี ชี วิ ต เดิ ม เกิ ด โรงงานขึ้ น ในเมื อ งใหญ มี ก ารใช ร ถ แทรกเตอรเพื่อการไถนา เกิดเครื่องพิมพดีดสําหรับงานในสํานักงาน เกิดตูเย็นสําหรับงานในครัว เกิดหนังสือพิมพ รายวัน และโรงภาพยนต เกิดรถไฟ และเครื่องบิน เกิดยาบํารุงที่ชวยยืดชีวิตมนุษยใหยาวขึ้น และเครื่องมือสื่อสารที่มี อํานาจมหาศาลคือ โทรทัศนที่มีอยูในทุกๆบาน สิ่งตางๆเหลานี้ไมไดเกิดขึ้นแบบโดยลําพังเฉพาะตัว แตมีเครือขาย สัมพันธกันกอใหเกิดเปนระบบของสังคมขนาดใหญที่มีพลังอํานาจ ในชวงปลายของคลื่นอุตสาหกรรม ไดมีการสราง เครื่องจักรที่พัฒนาตัวเองขึ้นมาอยางนาตกใจ เครื่องจักรเหลานี้ทําไดมากกวาเครื่องทุนแรง มีความรูสึก ไดยิน และ สัมผัสไดดีกวามนุษย ถือไดวาเปนตนกําเนิดเทคโนโลยีสมัยใหม และเปนการสรางเครื่องจักรที่เปนเครื่องมือผลิต เครื่องจักรอีกชนิดหนึ่ง และเครื่องจักรทั้งหมดลวนเกี่ยวเนื่องอยูในระบบเดียวกัน โรงงานแตละชนิดเกิดขึ้นและ ขยายตั ว ใหญ โ ตมหึ มาเพื่ อนํ า ไปสู การผลิตเพื่อมหาชนจํานวนมหาศาล จากการคาแบบกองคาราวานในสังคม เกษตรกรรม โลกอุตสาหกรรมไดสรางศูนยการคาและระบบการคาแบบใหมที่มีพอคาขายปลีก ขายสง และตัวแทน จัดจําหนายที่เปนบริษัทขนาดยักษ โดยจําเปนตองใชพลังงานมหาศาลจากถานหิน กาซ และน้ํามัน ทั้งเพื่อการจัด จําหนาย และการผลิต ลวนเปนสิ่งที่ใชแลวหมดไปไมสามารถหามาทดแทนได หรืออาจตองใชเวลาสะสมอีกนานนับ รอยนับพันป จึงจะหากลับมาทดแทนคืนใหธรรมชาติได ซึ่งจุดหักเหที่ทําใหเปลี่ยนมาใชพลังงานที่เปนตนทุนจาก ธรรมชาตินี้เริ่มต นจากการคนคิดเครื่องจักรไอน้ําใน ค.ศ.1712 กลาวไดวาการผลิตในคลื่นลูกที่ 2 เปลี่ยนแปลง แตกตางจากคลื่นลูกที่ 1 โดยมีการผลิตสินคา บริการเพื่อการขายจํานวนมากในระบบตลาดเพื่อใหมีกําไรตอบแทน จากการลงทุนในอุตสาหกรรม ไมไดถูกผลิตขึ้นมาเพียงเพื่อตอบสนองความตองการสวนตัวอีกตอไป ตลาดกลายเปน สวนสําคัญของชีวิต เศรษฐกิจเดินเขาสูระบบตลาด และตลาดดึงประชาชนเขาสูระบบการเงิน ความเติบโตของ เศรษฐกิจถูกวัดดวยขนาดของตลาด และเปนความปรถานาของรัฐบาลและผูประกอบการทุกสังคมที่ตองการขยาย ตลาดของตนออกไปใหกวางขวางที่สุด คลื่นลูกที่ 2 ยังเปลี่ยนโครงสรางสถาบันครอบครัว สั่นคลอนระบบครอบครัวที่บิดาเปนใหญหรือเปนผูนํา ครอบครัว เปนความสัมพันธระหวางบิดามารดากับบุตร และเมื่อการผลิตเคลื่อนยายจากบานไปสูโรงงาน ครอบครัว ขนาดใหญก็แทบจะไมมีเหลือ คนในครอบครัวไมไดรวมกันทํางานในฐานะเปน 1 หนวยการผลิตอีกตอไป และเพื่อให 5 ผูใหญออกไปทํางานได เด็ก ๆก็ ถูกสงไปโรงเรี ยน ผูสูงอายุถูกส งไปที่พักคนชรา สังคมอุ ตสาหกรรมใหม ตองการ เคลื่อนยายแรงงาน คนงานจําตองเคลื่อนยายไปหางานจากแหลงหนึ่งไปสูอีกแหงหนึ่ง นับแตนั้นครอบครัวก็เริ่มมี ขนาดเล็กลงและเคลื่อนยายมากขึ้น ครอบครัวประกอบดวยพอ แม ลูก ไมมีญาติผูใหญ และเพื่อที่จะเตรียมเด็ก ๆ เขาสูสังคมอุตสาหกรรม ลักษณะการศึกษาก็เปลี่ยนไปเปนการศึกษามหาชน หลักสูตรไดรับการออกแบบอยางเปน ระบบประกอบดวยการอาน การเขียน คณิตศาสตร ประวัติศาสตร และแฝงไปดวยการเตรียมคนในยุคอุตสาหกรรม 3 ประการ คือ ตรงตอเวลา ความเชื่อฟง และการทํางานซ้ําๆ เนื่องจากในระบบอุตสาหกรรมตองการคนงานที่มา ทํางานตรงเวลา รับคําสั่งเจานายโดยปราศจากขอโตแยง ยอมเปนทาสเครื่องจักร และทํางานซ้ํา ๆ เพื่อใหมีความ ชํานาญ การศึกษาในยุคนี้จัดขึ้นเปนระบบโรงเรียน เด็กเขาโรงเรียนตั้งแตอายุนอย จํานวนปท่ีเรียนก็ยาวนานขึ้น และการศึกษาภาคบังคับก็ขยายจํานวนปมากขึ้น การศึกษาเพื่อมวลชนชวยฝกใหคนหัวออนพรอมที่จะทํางานภายใต เครื่องจักรและภายใตคําสั่งของผูบริหารโรงงาน คลื่นลูกที่ 2 นําความหวังมาสูมวลมนุษยชาติ เปนครั้งแรกที่มนุษยเห็นวาความจน ความหิว โรคภัยไขเจ็บ และทรราชยจะตองถูกกําจัด นักคิด นักเขียนมองอารยธรรมอุตสาหกรรมวาจะสามารถนํามาซึ่งสันติภาพ ความ สามัคคี ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ ตลอดจนโอกาสแหงความร่ํารวย และเปนจุดจบของอภิสิทธิ์ชนที่ถืออํานาจ โดยกําเนิด เปลี่ยนการปกครองจากระบอบขุนนางมาเปนประชาธิปไตย นั่นคือเมืองในอุดมคติ หากปจจุบันเราพบวา โลกที่เราเห็นทุกวันนี้ไมไดเปนดังที่ผูคนในอดีตเคยฝนเอาไว เราจําเปนตองหาทางทําความเขาใจวาเหตุใดจึงเปน เชนนั้น ซึ่งเราจะตอบคําถามนี้ไดก็ตอเมื่อเรามองดูสิ่งที่กําลังบั่นทอนคลื่นลูกที่ 2 ใหแตกออกเปนสองเสี่ยง คลื่นลูกที่ 3 อารยธรรมที่กาํ ลังเกิดขึ้นในปจจุบัน เปนคลื่นแหงความรูใชเทคโนโลยีขั้นสูง สารสนเทศ ระบบ คอมพิวเตอร อิเล็กทรอนิกส หรือรวมเรียกวา เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) โลกในอนาคต ความรู เ ป น ตั ว แปรที่ สํ า คั ญ ที่ สุ ด ในการชิ ง ความได เ ปรี ย บในการแข ง ขั น เพื่ อ การพั ฒ นาประเทศในทุ ก ๆ ด า น คลื่นลูกที่ 3 เปนคลื่นที่เกิดขึ้นแลวในหลายๆ ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศตะวันตกที่พัฒนาแลว ภายหลังจากอารยธรรมในยุคเกษตรกรรม และยุคอุตสาหกรรมไดผานพนไป โดยผลที่เกิดขึ้นไดทําใหบุคคล ในสังคมมีความคิดเห็นแตกตางกัน ฝายหนึ่งพยายามฟนคืนสูยุคโบราณของคลื่นลูกที่ 1 อีกฝายสนับสนุนการใชชีวิต แบบสังคมเมืองแบบคลื่นลูกที่ 2 ยึดคติวาถาไดผลก็ทํา ขายไดเปนเอา อาศัยการกระทําที่ไมรับผิดชอบมาแสวงหา ผลประโยชนใสตนโดยไมคํานึงถึงอันตรายที่แอบแฝงอยู และนอกจาก 2 พวกนี้แลวยังมีคนจํานวนมากที่มารวมตัว กันเปนแกนในการคัดคานเทคโนโลยีและกลายเปนตัวแทนของคลื่นลูกที่ 3 ซึ่งคนกลุมนี้จะไมเริ่มตนที่เทคโนโลยี แตจะถามตนเองกอนวาสังคมที่ตองการในอนาคตนั้นเปนแบบใด เนื่องจากเขารูวทุกวันนี้มีชองทางสําหรับเทคโนโลยี มากเหลือเกินจนไมมีกําลังเงินและกําลังคนพอที่จะนําไปใช จึงไดเสนอใหเลือกสรรเอาแตเทคโนโลยีท่ีสามารถเกิด ประโยชนในสังคมระยะยาว และแทนที่จะปลอยใหเทคโนโลยีเปนผูกําหนดเปาหมายของคน พวกเขาหวังวาสังคมจะ เปนตัวควบคุมทิศทางการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งอาจเรียกไดวาเปนพวกที่กบฏตอเทคโนโลยี และมีความเห็นวา เทคโนโลยีที่ลึกซึ้งนั้นไมจําเปนตองมีขนาดใหญโตสลับซับซอน และมีราคาแพง เทคโนโลยีบางอยางในคลื่นลูกที่ 2 มี ประสิทธิภาพนอยกวาความเปนจริง เพราะวิสาหกิจที่ใชเทคโนโลยีเหลานั้นไดผลักภาระตนทุนขนาดใหญบางดาน ให แ ก สั ง คม เช น การขจั ด มลภาวะ การเลี้ ย งดู ค นตกงาน เป น ต น ซึ่ งถ า นั บ สิ่ ง เหล า นี้ เ ป น ต น ทุ น การผลิ ต แล ว 6 เครื่องจักรกลจํานวนมากที่ดูภายนอกวามีประสิทธิภาพกลับกลายเปนสิ่งที่ไมไดเรื่อง จึงเสนอใหออกแบบเทคโนโลยีที่ เหมาะสมโดยสรางงานใหแกคน ไมกอมลภาวะ รักษาสิ่งแวดลอมทางธรรมชาติ เปนประโยชนแกทองถิ่นและบุคคล มากกวาที่จะคิดถึงการตลาด โดยไดทําการทดสอบเทคโนโลยีขนาดเล็กจํานวนมากมีตั้งแตการเพาะเลี้ยงสัตวน้ํา การ แปรรูปอาหาร การผลิตพลังงาน การจัดวงจรของสิ่งปฏิกูล การกอสรางราคาถูก และอุปกรณโทรคมนาคมแบบงายๆ มีการยอมรับวาการกาวเขาสูคลื่นลูกที่ 3 อาจตองคอยๆกาวจากระบบผลิตที่สิ้นเปลืองพลังงาน และสรางมลภาวะ เขาสูระบบที่มีลักษณะทิ้งของเกาเสริมของใหมที่ไมสิ้นเปลืองและไมมีมลพิษ เปนการประสานระหวางเทคโนโลยีใหม กับพลังงงานใหม เปนอุตสาหกรรมที่แตกตางจากคลื่นลูกที่ 2 โดยสวนหนึ่งเปนอุตสาหกรรมหลักที่มีการควบคุม เครงครัดภายใตเงื่อนไขทางชีวภาพและสังคม อีกสวนหนึ่งเปนอุตสาหกรรมรองขนาดเล็กที่คํานึงถึงความเปนมนุษย คลื่นลูกที่ 3 ไดเปลี่ยนแปลงภาพความทรงจําของคนในสังคมยุคคลื่นลูกที่ 2 นอกจากนี้ชองทางการรับรู ขอมูลขาวสารที่เกิดขึ้นจํานวนมากซึ่งถือกําเนิดในคลื่นลูกที่ 2 ยังเปนตัวเรงใหการเปลี่ยนแปลงเปนไปอยางรวดเร็ว โดยภาพพจนหรือความทรงจําทั้งหลายนับวันจะยิ่งไมคงทนถาวร มีความคิด ความเชื่อ และทัศนะตางๆ ปรากฏขึ้น อยางฉับพลัน ผานการพิสูจน คัดคาน แลวก็สลายตัวไป ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร และวิชาการตางๆถูกลมลาง แทนที่ ดวยทฤษฎีใหมๆเกือบทุกวัน ดังนั้นคลื่นลูกที่ 3 ไมเพียงแตเรงกระแสการไหลของขาวสารเทานั้น มันยังเปลี่ยนแปลง โครงสรางพื้นฐานของขาวสารที่เรายึดถือปฏิบัติในชีวิตประจําวันดวย การสื่อสารโทรคมนาคมในคลื่นลูกที่ 3 ก็ เปลี่ยนแปลงไปเริ่มตนจากสื่อสิ่งพิมพที่เปนหนังสือพิมพรายวันลดความสําคัญลงโดยคนหันไปนิยมบริโภคขาวผาน โทรทัศนแทน นอกจากนี้เทคโนโลยีที่ชวยใหตนทุนการผลิตสิ่งพิมพถูกลง แตรวดเร็วยิ่งขึ้น ยังสงผลใหหนังสือพิมพ รายวันตองเผชิญกับคูแขงหลายแบบ แมแตสถานีโทรทัศนที่เคยยึดครองพื้นที่สื่อก็มีโทรทัศนตามสายหรือเคเบิลทีวี วีดิทัศน และบริการรายการทีวีที่ผานจานดาวเทียม โดยสามารถรับชมไดโดยใชโทรทัศนและเครื่องคอมพิวเตอร สิ่งประดิษฐเหลานีแ้ ยกยอยผูชมโทรทัศนที่เคยมีเพียงชองทางเดียวใหมหี ลายชองทาง และทําใหเนื้อหาทางวัฒนธรรม มีความหลากหลาย ในขณะเดียวกันก็บั่นทอนอิทธิพลของโทรทัศนซึ่งเปนแหลงที่มาของขาวสารที่ครอบงําพื้นที่สื่อ เดิมใหลดนอยลง ในยุคนี้ถือเปนการเปดศักราชใหมของการสื่อสารหลายรูปแบบ ยุคแหงขาวสารพัฒนาไปควบคูกับ เทคโนโลยี และการเปลี่ ย นแปลงเหล า นี้ ส ง ผลถึ ง ระบบความคิ ด ของคนในสั ง คม ทํ า ให ก ารเรี ย นรู โ ลกและ ความสามารถในการเขาใจเรื่องราวของโลกในตัวคนเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดที่เรียกไดวาเปนการ “ปฏิวัต” คอมพิวเตอรเปนสิ่งแวดลอมที่มีสมองสามารถทํางานโดยการผสมผสานของสมองความจําอิเล็กทรอนิกสกับ โปรแกรมภาษาทางคอมพิวเตอร โดยเริ่มเขามามีบทบาทในโลกธุรกิจและแพรกระจายเขาสูทุกสํานักงาน และบาน อยางรวดเร็ว สมองกลอันแสนฉลาดชวยงานไดหลายประเภท ตั้งแตตรวจภาษี เลนเกมส เก็บตําราอาหาร เครื่อง พิมพดีด เครื่องรับโทรทัศน ชวยนัดหมาย ขอมูลการทองเที่ยว เปนตน การมีคอมพิวเตอรชวยใหการทํางานตางๆ ประหยัดทั้งพลังงานและเวลา ชวยใหมนุษยสามารถพึ่งพาตนเองไดมากขึ้น แนนอนวาสติปญญา จินตนาการและ สัญชาตญาณของมนุษยจะตองเหนือกวาเครื่องจักร แตคอมพิวเตอรเหลานี้ก็ชวยใหเราสามารถมาองทุกอยางได ละเอียดรอบคอบทุกแงทุกมุม รวมทั้งใหภาพรวมของขอมูลตางๆที่กระจัดการจายอยูรอบๆตัวเรา ชวยใหเราคิดได ลึกซึ้งมากขึ้นและฉลาดขึ้น และชวยใหเราเขาใจและสามารถหาขอสรุปที่ถูกตองไดอยางรวดเร็ว คอมพิวเตอรยังชวย ใหความทรงจําของเรามีชีวิต และกาวรุดหนาไปอยางไมหยุดยั้ง เราสามารถถามและสั่งใหคอมพิวเตอรคิดในสิ่งที่ 7 ไม น าจะคิ ด ได และในสิ่ งที่ ไม เ คยมีใครคิดมากอน ทําใหเกิดทฤษฎีใหม ความคิดใหม อุดมการณใหม ตลอดจน ความกาวหนาในดานทุกดาน ทําใหสังคมเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ อารยธรรมยุคคลื่นลูกที่ 3 มีวัตถุดิบซึ่งใชสําหรับทุกอุตสาหกรรมและเปนวัตถุดิบที่ไมมีวันใชหมด นั่นคือ สารสนเทศและจิน ตภาพ โดยเกิดทรัพยากรใหม ที่ทดแทนของเกาอยางไมมีที่สิ้น สุด สารสนเทศไดกลายมาเป น องค ป ระกอบที่ สํ า คั ญ ในการผลิ ต มากกว า เดิ ม โครงสร า งทางการศึ ก ษาจะต อ งเปลี่ ย นระบบไป งานวิ จั ย ทาง วิทยาศาสตรก็ตองปรับความหมายใหม และยิ่งไปกวานั้นสื่อมวลชนยุคปจจุบันทั้งสื่อสิ่งพิมพและสื่ออิเล็กทรอนิกสจะ ไมสามารถตานทานกระแสของสารสนเทศ โดยไมอาจสนองตอบวัฒนธรรมอันหลากหลายสําหรับการยังชีวิตมนุษย สื่อในอนาคตจะมุงมวลชนนอยลง พยายามกระจายเขาสูบุคคลมากกวาความพอใจของมวลชน เชนเดียวกับสินคา และบริ การอื่ น ๆจะต องถู กย อยให มีขนาดเล็กลงเพื่อให เขากับ ความตองการของบุ คคลที่แตกตางหลากหลายที่ เปลี่ยนแปลงไปตามการรับรูที่แพรกระจายอยางรวดเร็วของขาวสารจํานวนมาก มาตรฐานพฤติกรรมและความคิดที่มี มาตั้งแตเดิมจะมีลักษณะแยกยอย เลิกคิดวาใหญยอมจะดีกวา มนุษยจะเสนอแนวคิดใหมที่ตางจากที่เคยเชื่อและยึด กันมาในอดีตในสภาพที่มีความแตกฉานมากกวายุคอุตสาหกรรม สังคมรวมอํานาจจะเปลี่ยนไปเปนกระจายอํานาจ การตัดสินใจ ความหลากหลายในสังคมมีเพิ่มมากขึ้น แตบทบาทของชาติและรัฐจะลดลง รัฐบาลจะเสื่อมอิทธิพล สถาบันระดับนานาชาติจะมีความสําคัญยิ่งกวาระดับประเทศ และเศรษฐกิจสลายยอยเปนชิ้นเล็กชิ้นนอย การรวมตัว ของพั น ธมิ ต รใหม มิใช โ ดยความใกล ชิ ดทางภูมิศาสตร แตโ ดยความคลายคลึงทางวัฒ นธรรม ความเปน อยูของ ประชากร ศาสนา หรือความสัมพันธทางเศรษฐกิจมากกวาประเทศที่อยูใกลๆ ซึ่งเปนการสรางเครือขายใหมของ องคกรในระดับนานาชาติ (สุกัญญา ตีระวนิช และคณะ. 2532:)? สําหรับประเทศไทยนั้น อยูในพลังคลื่นที่มีลักษณะผสม คือ บางสวนโดยเฉพาะชนบทยังอยู ในคลื่นลูกที่ 1 คือยังเปนภาคเกษตรกรรม และในอนาคตมีแนวโนมลดลง คลื่นลูกที่ 2 หรือ คลื่นอุตสาหกรรมและบริการเริ่มมี บทบาทและความสําคัญสูงขึ้น โดยอยูแถวปริมณฑลในเมืองใหญๆ สําหรับคลื่นลูกที่สาม คลื่นแหงความรูนั้น ไทยมี บางเปนบางสวน ซึ่งยังไมชัดเจนและยังไมไดรับความสําคัญมากนัก ซึ่งจําเปนจะตองผลักดันคลื่นแหงความรูให เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยจะตองมองใหเห็นวาความรูคืออะไร สรางขึ้นมาไดอยางไรและอยูที่ไหน ปจจุบันโลกเปนสังคมยุคโลกาภิวัตนเปนการหลอมตัวเปนอันหนึ่งอันเดียวกันของโลกเปนเสมือนแผนดิน ตางๆ มี พรมแดนกี ดกั้น น อยลง มีการเชื่ อมโยงติดตอประสานเครือขายไปทั่ ว โลกไมวาจะเปน กิจ กรรมทางดาน การเมือง เศรษฐกิจ สังคม การศึกษา สิ่งแวดลอม เปนสังคมที่มีเทคโนโลยีสมัยใหม ชวยการติดตอสื่อสาร และ เผยแพรขาวสารขอมูลมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น หรือที่เรียกวา Information superhighway มีกระแสการเมืองการ ปกครองเปนประชาธิปไตย มีการรวมกลุมเศรษฐกิจ เปนกระบวนการของการรวมตัวกัน (Strategic alliance) เปน กลุมเศรษฐกิจเสรี สําหรับสังคมไทยในอนาคตความรวมมือทางเศรษฐกิจระหวางเพื่อนบานจะมีมากขึ้น ซึ่งในเชิง เศรษฐกิจนี้ประเทศไทยควรเปนผูเชี่ยวชาญในเศรษฐกิจในอาเซียนโดยเฉพาะเศรษฐกิจพอเพียง ชวง 30 ปที่ผานมา โครงสรางของสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก หากพิจารณาลักษณะชุมชนใน สังคมไทยแลว อาจแบงได 3 ลักษณะ คือ ชุมชนเกษตรในชนบท ชุมชนเมือง หรือชุมชนอุตสาหกรรม และชุมชนที่ กําลังจะเปลี่ยนจากเกษตรกรรมเปนอุตสาหกรรม ในอนาคตโครงสรางสังคมไทยมีแนวโนมเปลี่ยนจากสังคมชนบท 8 เปนสังคมเมืองมากขึ้น โดยคนไดอพยพเขามาทํางานในเมืองมากขึ้น โครงสรางทางเศรษฐกิจของประเทศไทยที่โดย พื้นฐานเปนภาคเกษตรกรรม จะเปลี่ยนผานไปสูภาคนอกเกษตรกรรมมากยิ่งขึ้น การเกษตรจะมีบทบาทนอยลงไป ตามลําดับ แมวาคนสวนใหญประมาณ 2 ใน 3 ของประชากร หรือประมาณ 40 ใน 60 ลานคน ยังอยูในภาคเกษตร แตแนวโนมเกษตรกรจะเขาสูอาชีพอื่นมากขึ้น วิธีการทําเกษตรกรรมจะตองเปลี่ยนไปโดยทําการเกษตรที่หลากหลาย แบบเขมขน มี การรวมตัวทํางานเปนหมูคณะ ในรูปแบบตางๆ เชน สหกรณ เปนตน เพื่อสรางชุมชนใหเขมแข็ ง มี อํ า นาจต อรองกั บ นายทุ น ได อุ ต สาหกรรมและบริ ก ารจะมี ค วามสํ า คั ญ สู ง ขึ้ น ซึ่ ง ขณะนี้ สิ น ค า อุ ต สาหกรรมมี ความสําคัญเกินกวาเทาตัวของเกษตรและจะเปน 2-3 เทาในอนาคต อยางไรก็ตามหากมีการจัดสัดสวนการพัฒนา อุตสาหกรรมและเกษตรกรรมใหมีความเหมาะสม เศรษฐกิจทั้งสองประเภทจะเกื้อกูลกันอยางมหาศาล สังคมไทยในอดีตเปนฝายรับและตามสังคมตะวันตกมาตลอด ซึ่งมีขอผิดพลาดมากและคอยๆ เปลี่ยนวิถีชีวิต และคานิยมของสังคมไทย กลายเปนสังคมบริโภคนิยม กระแสวัฒนธรรมจากภายนอกที่หลั่งไหลเขาสูสังคมไทย และ เขาแทนที่คุณคาแบบดั้งเดิมของสังคมไทย ในขณะที่สถาบันหลักทางสังคม ไดแก บาน วัด โรงเรียนเริ่มออนแอลง อบายมุขทั้งหลายในสังคมไดทําลายเด็กและเยาวชนของชาติ ดังนั้นการพัฒนาจําเปนตองพัฒนาใหสมดุลทั้งวัตถุและ จิตใจ เปลี่ยนพฤติกรรมของคนในสังคมปจจุบันจาก “มองแคบ คิดใกล ใฝต่ํา” ใหเปน “มองกวาง คิดไกล ใฝสูง” (อัจฉรา วัฒนาณรงค. 2539: 116-119) สังคมเศรษฐกิจฐานความรู การเปลี่ยนแปลงทางสังคมเขาสูยุคขอมูลขาวสารดังกลาวสงผลใหสมาชิกในสังคมตองเรียนรูและปรับตัวตาม การเปลี่ยนแปลงอยางตอเนื่อง ความรูและเทคโนโลยีมีบทบาทสําคัญสําหรับสังคมที่ขับเคลื่อนดวยพลังคลื่นลูกที่ 3 ในป ค.ศ.1996 คณะกรรมาธิการนานาชาติวาดวยการศึกษาในศตวรรษที่ 21 เสนอรายงานตอ UNESCO เรื่องการ เรียนรู: ขุมทรัพยในตน กลาวถึง สังคมแหงการเรียนรูที่เกิดขึ้นจากการไดรับความรู การหมั่นสรางเสริมเติมตอความรู เดิ ม และการนํ า ความรู ไ ปใช ป ระโยชน ซึ่ ง ทั้ ง 3 ประการควรใหค วามสํ าคั ญ มากเป น พิ เ ศษในยุ ค ที่ ก ารพั ฒ นา สารสนเทศทําใหคนมีโอกาสรับขอมูลขาวสารตางๆ มากขึ้น จึงควรฝกใหคนไดรูจักรวบรวมขอมูล รวมทั้งเลือกสรร จั ด ลํ า ดั บ จั ด การ และ นํ า ข อ มู ล ไปใช ป ระโยชน (วิ ชั ย ตั น ศิ ริ และคณะ. 2541) ซึ่ ง ในป เ ดี ย วกั น นี้ OECD (Organization of Economics Co-operation and Development) ก็ไดกลาวถึง สังคมเศรษฐกิจฐานความรู (Knowledge Based Economy หรือ KBE) วาเปนสังคมที่มีลักษณะสําคัญประกอบดวย“ผลิตผลที่เกิดจากความรู การใหหรือสงผานความรู ตลอดจนการใชความรูและขอมูลขาวสาร” ซึ่งถือเปนรากฐานของระบบเศรษฐกิจ และ ในป ค.ศ. 2000 The Asia-Pacific Economic Co-operation หรือ APEC ไดยอมรับวาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู มีความสําคัญมากขึ้นพรอมทั้งเห็นวา “ผลิตผล การใหหรือสงผานและการใชความรูและขอมูลขาวสารเปนเครื่อง ผลั กดั น หลั กที่ กอให เ กิ ด การเติ บ โต ความมั่ ง คั่งและการจางงานในแวดวงอุตสาหกรรม” และ “ความรูที่สังคม เศรษฐกิ จฐานความรูตองการ นั้น ไม ใชเ พีย งความรูเกี่ยวกับ เทคโนโลยี แตหมายรวมไปถึงความรูอื่น ๆ เกี่ยวกับ วัฒนธรรม สังคม และการจัดการดวย” 9 ความรู กลายเปนสิ่งสําคัญมากสําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู และมาตรวัดความเปนสังคมเศรษฐกิจ ฐานความรู ของแตละประเทศ ไดแก 1. ความตองการบุคลากรที่มีทักษะขั้นสูง (high-skilled workers) เพิ่มขึ้น โดยเนนที่การใหบุคลากรมี พุทธิปญญาหรือทักษะการคิด พัฒนาการของความคิดและการเรียนรูตลอดชีวิตเพิ่มขึ้น 2. การแพรกระจายของขอมูลขาวสารและเทคโนโลยีการสื่อสารเปนผลมาจาก  การวางระเบียบแบบแผนการทํางาน การผลิต การบริโภคและการศึกษาแบบใหมที่ปรากฏใหเห็น อยางชัดเจน  การรวบรวมขอมูลขาวสาร ขอความรูอยางเปนระบบมีเพิ่มมากขึ้น  คาใชจายในการถายทอดความรูลดลง 3. การเปดกวางทางเศรษฐกิจโลก อันเปนผลนําไปสูการลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในดานการสงออกการ ลงทุนของชาวตางชาติ และการถายโอนความรู 4. ผลผลิตที่มีความเปนนานาชาติ ที่ตองการความรูในการควบคุมและการบูรณาการหนวยงานภาคธุรกิจ เขาดวยกันมากขึ้น 5. การเปลี่ยนแปลงลักษณะของผลผลิต ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจระดับสูงที่มีตองานบริการและงาน บริการที่มีการเพิ่มคาขั้นสูง (higher value-added services) 6. การเพิ่มขึ้นของเครือขายความรวมมือระหวางประเทศและภายในประเทศในการแลกเปลี่ยนผลผลิต และความรู 7. การวิจัยและพัฒนาที่ใหประโยชนเพิ่มขึ้น และมีนวัตกรรมในดานตางๆ เพิ่มมากขึ้น การจะเปลี่ยนสังคมไทยที่มีลักษณะเปนสังคมบริโภค โดยคนในสังคมยังคงเปนผูรับขอมูลขาวสาร ตามโลก ติดกรอบ มีรูปแบบของสิ่งตางๆ เชน การศึกษา การทํางานที่ตายตัวเปนแบบสําเร็จรูป การตั้งมาตรฐานการทํางาน หรื อผลผลิ ต ที่ ร ะดั บ ธรรมดา และตามตะวั น ตกเนื่องจากเห็น วาทั น สมัย และเจริญ กวา ใหเ ปน สังคมเศรษฐกิ จ ฐานความรูที่เนนการเรียนรูเพื่อสรางความรู นําความรูดังกลาวไปใชในการทํางาน หรือสรางผลงานที่มีประสิทธิภาพ มีคุณภาพ สามารถแขงขันไดในระดับชาติและนานาชาติ ในขณะเดียวกันก็ยังคงความเปนไทยไวไดอยางภาคภูมินั้น จําเปนตองอาศัย การจัดการ “ความรู” ที่มีการรวบรวมอยางเป นระบบ มีการแพรกระจายขอมูลข าวสารและ เทคโนโลยีการสื่อสารอยางเปนแบบแผนและมีคาใชจายในการถายทอดความรูลดลง เพื่อนําไปสูแนวทางการทํางาน การผลิต การบริโภค และจําเปนตองจัดการศึกษาแบบใหมเพื่อใหทรัพยากรบุคคลของประเทศเปนผูมีความรูและ ทักษะชั้นสูงที่สามารถสรางผลิตผลที่มีความเปนสากล เปดตัวสูตลาดโลกไดอยางสงางาม และสามารถลงทุนรวมกับ ตางประเทศไดอยางทัดเทียม(ไพฑูรย สินลารัตน; และ สรอยสน สกลรักษ. 2548: 1-2) ลักษณะบุคคลที่พึงประสงคสําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู กลไกสําคัญที่จะพัฒนาสังคมเศรษฐกิจฐานความรู (Knowledge Based economy) ซึ่งเปนสังคมที่ความรู เปนฐานสําคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ นั้นจะตองมีทรัพยากรบุคคลที่มีความรูและทักษะขั้นสูงในการ 10 ปฏิบัติงาน (high-skilled workers) สามารถขับเคลื่อนและพัฒนาสังคมในปจจุบันใหเปนสังคมแบบเศรษฐกิจ ฐานความรู และประเทศสามารถแขงขันกับนานาอารยประเทศไดอยางทัดเทียม โดยความรูที่สําคัญตอการพัฒนา บุคคลใหเปนใหเปนผูที่ทักษะชั้นสูง ประกอบดวย 4 เสาหลักการเรียนรู ดังนี้ 1. รูเรื่อง (Know-what) หรือรูขอมูลขอเท็จจริง 2. รูเหตุผล (Know-why) ตามหลักวิทยาศาสตร รูเทคโนโลยีและกระบวนการสรางสรรคงาน 3. รูวิธี (Know-how) หรือที่กลาวไดวา มีทักษะและการสรางสมรรถนะในการสรางงาน 4. รูคน (Know-who) หรือรูขอมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มีความรูและทักษะในดานตางๆ เพื่อใหไดบุคคลที่มี คุณสมบัติที่ตรงกับงานที่จะทํา และรูวิธีการทํางานรวมกับผูอื่นเพื่อสรางเครือขายทางสังคม การปรับเปลี่ยนบริบททางสังคม ตองเริ่มจากการปรับเปลี่ยนสังคมที่เปนแบบเนนการบริโภคโดยใชความรูที่ ปรากฏอยูตามกรอบที่วางไวเดิมและเปนไปตามกระแสของสังคม มาเปนการผลิตงานอยางสรางสรรคบนฐานของ การแสวงหาและสรางความรูอยางคิดแจงแทงตลอดโดยไมติดกรอบ รูปแบบการจัดการดานตางๆ ก็เปลี่ยนจากเปน แบบเฉพาะไมมีทางเลือกมากนักและเปนแบบสําเร็จรูป ไปเปนแบบที่มีความยืดหยุน ปรับเปลี่ยนใหเหมาะกับบริบท ของสังคมที่มีความแตกตาง รวมทั้งสามารถคิดรูปแบบเฉพาะที่เหมาะกับแตละบุคคลหรือกลุมยอยได มาตรฐานที่วาง ไวก็ปรับจากที่เปนแบบธรรมดาเปนเนนความเปนเลิศ แนวทางในการทํางานก็ปรับจากการมุงทํางานเดี่ยวเปนการ ทํางานรวมกันอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ไมตามตะวันตก แตเนนอัตลักษณไทยแบบทันสมัยและสามารถ ในการแขงขันกับนานาประเทศไดดังแผนภาพ(วรวรรณ เหมชะญาติ; และ สรอยสน สกลรักษ. 2548: 5-10) แผนภาพแสดง การเปลี่ยนผานบุคคลเพื่อเขาสูยุคสังคมเศรษฐกิจฐานความรู บุคคลในสังคมปัจจุบนั 1.เป็ นผูบ้ ริโภค 2.เป็ นผูต้ าม 3.เป็ นผูร้ บั ทราบข้อมูล 4.เป็ นผูท้ ย่ี ดึ ความรูเ้ ดิม 5.เป็ นผูท้ อ่ี ยูใ่ นกรอบ 6.ทํางานคนเดียว 7.ติดกรอบ 8.มุ่งผลปานกลาง 9.สําเร็จรูป 10.ตามตะวันตก บุคคลในสังคมปัจจุบนั เศรษฐกิ จฐานความรู้ สังคมเศรษฐกิ จ ฐานความรู้ 1.เป็ นผูผ้ ลิต 2.เป็ นผูส้ บื สอบ 3.เป็ นผูท้ ส่ี นใจ 4.เป็ นผูท้ ม่ี คี วามคิดร้างสรรค์ 5.เป็ นผูท้ ค่ี ดิ แจ้งแทงตลอด 6.ทํางานร่วมกัน 7.ยืดหยุ่น 8.มุ่งผลเป็ นเลิศ 9.มีความเฉพาะตัว 10.อัตลักษณ์ไทย สร้างความรู้ ใช้ความรู้ ผลผลิต ประสิทธิภาพ/คุณภาพ แข่งขันได้/ความเป็ นไทย ที่มา : วรวรรณ เหมชะญาติ และสรอยสน สกลรักษ. (2548, ตุลาคม – ธันวาคม). หนา 6. 11 ลักษณะบุคคลที่พึงประสงคสําหรับสังคมไทยในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู การเปลี่ยนแปลงอารยธรรมของสังคมสงผลตอความเปนอยูของคนในสังคมใหตองมีการปรับตัวใหสอดคลอง กั บ การเปลี่ ย นแปลง เมื่ อสั งคมเข า สู สั งคมเศรษฐกิจ ฐานความรูคนในสัง คมก็ ควรมี คุณลั กษณะที่ส อดคล องกั บ โครงสรางทางสังคมที่เปลี่ยนไป เพื่อใหสามารถดํารงชีวิตไดอยางมีความสุข ซึ่งลักษณะบุคคลที่พึงงประสงคในสังคม เศรษฐกิจฐานความรู ควรมีลักษณะดังนี้ - รูทันรูนําโลก (Smart Consumer) การเรียนรูนําไปสูการพัฒนาตนเองใหรูทันความรูที่เปนพื้นฐานสําคัญในการดํารงชีวิตและกระแสตางๆ ที่ เปลี่ยนแปลงไปอยางรวดเร็ว การมีความรูนี้เองจะทําใหรูทันโลก ซึ่งเปนฐานสําคัญของการคิดสรางเสริมเติมตอให บุคคลเปนผูรูนําโลก โดยตองประกอบดวยคุณสมบัติดังนี้ 1. ทักษะในการแสวงหา/คัดสรร/สรางความรู เจตคติที่ดีตอการเรียนรูเปนปจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลตอ การแสวงหา/คัดสรรและสรางความรู การแสวงหาประสบการณใหมๆ อยูเสมอ ความไมพอใจกับคําตอบหรือสิ่งที่ เปนอยูในปจจุบนั เปนแรงกระตุนใหเกิดการใฝรู การแสวงหาความรูตองมีควบคูกับความสามารถในการแยกแยะการ รั บ รู เ พื่ อ ให ส ามารถรั บ รู ไ ด อ ย า งละเอี ย ด รอบคอบ สั ง เกตสิ่ ง ต า งๆ และมองเห็ น ป ญ หา ป อ งกั น ข อ ผิ ด พลาด นอกจากนี้ความใจกวางยอมรับรูสิ่งใหม ก็นับเปนปจจัยสําคัญในการเรียนรู เพราะจะนําไปสูการใหความสําคัญกับ การแสวงหาความรู คัดสรรความรูอยางมีวิจารณญาณ รวมถึงการตระหนักรูถึงความสําคัญ คุณคาและประโยชนของ การเรียนรู ทําใหบุคคลเปนผูรักการแสวงหาความรู ประสบการณ และความพอใจใหมๆ อยูเสมอ จัดเปนรากฐาน สําคัญของการสรางความรูดวยตนเอง 2. ทักษะการใชและจัดการความรู หมายถึง การนําสิ่งที่เรียนรูมาประยุกตไดอยางเหมาะสมโดยใช ไหวพริบ คิดวิเคราะห ไตรตรอง พิจารณา และประมวลความรูอยางรอบคอบกอนที่จะตัดสินใจเชื่อ เปนผูชางสังเกต สามารถเก็บรวบรวมขอมูลที่หลากหลายไดอยางรวดเร็ว และสามารถนําขอมูลที่รวบรวมไดนั้นมาใชประกอบการ ตั ด สิ น ใจ เป น ผู รู เ ท า ทั น สถานการณ โ ลก มี ก ระบวนการความคิ ดที่ ก ลั่ น กรองข อ มู ล ข า วสารต า งๆ ก อ นนํ า มา ประยุกตใชใหบรรลุตามวัตถุประสงคที่ตั้งไวไดอยางเหมาะสมกับสภาวการณ 3. ทักษะทางวิทยาศาสตรและเทคโนโลยี บุคคลที่มีความสามารถในการใชเทคโนโลยีไดอยางเหมาะสม คลองแคลว และคุมคากับงานจะเปนผูผลิตที่มีทักษะชั้นสูง นอกจากนั้น บุคคลยังตองรูจักใชแหลงทรัพยากรการ เรียนรูที่หลากหลาย มีความรู ความเขาใจเกี่ยวกับแหลงทรัพยากรตางๆ และสามารถเลือกใชแหลงทรัพยากร โดย คํานึงถึงวัตถุประสงคที่สอดคลองกับการเรียนรูอยางคุมคาและเปนประโยชน 4. ทักษะการวิเคราะหและแกปญหา การจะเปนผูมที ักษะในการวิเคราะหและแกปญหานั้นบุคคลตองมี ความสามารถในการจําแนกแยกแยะความคิด และความรูสึก สามารถใชเหตุผลในการประเมินและตัดสินปญหา มี กาลเทศะ และตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นทั้งแกตนเองและผูอื่น ตลอดจนสามารถยอมรับขอผิดพลาดหรือผล การกระทําของตนเองอยางมีสติ 12 ทักษะการแกปญหา นับเปนทักษะสําคัญที่ตองการทักษะการคิดเพื่อพิจารณาขอดี ขอดอยของปญหา สามารถดึงประสบการณและความรูเดิมมาใช และหาแนวทางที่จะเอื้อประโยชนตอผลลัพธสุดทายใหดีที่สุด มีเจตคติ และมุมมองโลกที่ดี ไมยอทอตอปญหาและอุปสรรค มีการแกปญหาเปนขั้นตอน โดยกําหนดขอบเขตของปญหา ตั้งสมมติฐานการแกปญหา ทดลองและรวบรวมขอมูล วิเคราะหขอมูล และสรุปผล 5. ทักษะดานภาษาและการสื่อสาร หมายถึง การที่บุคคลมีความสามารถในการใชภาษาสื่อสารไดอยาง มีประสิทธิภาพทั้งภาษาแมและภาษาตางประเทศ โดยสามารถแสดงความคิดไดหลากหลาย เสนอขอคิดเปนหรือให คําตอบไดอยางชัดเจนมีประสิทธิภาพ บรรลุวัตถุประสงคที่ตั้งไว -เรียนรูชํานาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ (Breakthrough Thinker) สังคมปจจุบันถือเปนสังคมที่ลนไปดวยขอมูลขาวสาร ดังนั้นการนําขอมูลตางๆ มาใชใหเกิดประโยชนสูงสุด ในการพัฒนาประเทศตองอาศัยทรัพยากรมนุษยในสังคมเปนผูดําเนินการ คุณลักษณะสําคัญที่คนในสังคมจําเปนตอง มีเพื่อใหสามารถดําเนินการไดดวยความสะดวกเรียบรอย ประกอบดวย 1. การคิดใหม/การคิดสรางสรรค/การคิดแจงแทงตลอด ผูที่มีความคิดใหม เปนผูมีความคิดสรางสรรค และสามารถคิดแจงแทงตลอด บุคคลที่มีคุณสมบัตินี้จะ สามารถคิดนอกกรอบโดยไมยึดติดอยูภายใตกฎเกณฑหรือความคุนเคยเดิม มองเห็น สิ่งตางๆ ในแงมุมใหมๆ มี กระบวนการคิดที่เปนประโยชนทั้งตอคนตอตนเองและสังคม โดยความคิดใหมที่สรางสรรคนี้ อาจมาจากการนํา ความรูเดิมมาปรับเขากับความรูใหม หรือผสานกับความคิดวิเคราะห และประยุกตใชจนเกิดเปนความรูใหม จนได ผลผลิตที่เปนนวัตกรรมที่มีประโยชนตอการนําไปใช ในอนาคต 2. จิตมุงคุณภาพ มาตรฐาน และความเปนเลิศ บุคคลที่มีจิตมุงคุณภาพ เปนผูมีความตั้งใจหรือมีแรงบันดาลใจในการทํางานจนไดผลงานที่มีมาตรฐาน หรือมีความเปนเลิศ ซึ่งตองใชความสามารถ ความตั้งใจ และความรูสึกทางบวกที่มีตอการสรางผลงาน การแกไข ปญหาและอุปสรรค และการรูจักรักษาคุณภาพของผลงาน -รวมพลังสรางสรรคสังคม (Social Concerns) การรวมพลังเปนกลยุทธหนึ่งที่สําคัญในการพัฒนาสังคมใหเปนปกแผน การพัฒนาดังกลาวจะเปนไปไดดวยดี และมีทิศทางที่ชัดเจนก็ตอเมื่อคนในสังคมเห็นคุณคาของการอยูรวมกันเปนสําคัญ โดยประกอบดวยคุณสมบัติดังนี้ 1. การทํ างานแบบรวมมือเปนที มและสร างเครือขาย มนุษยมีรู ปแบบของการสรางสัมพันธภาพที่ หลากหลาย ความราบรื่นและความสําเร็จเบื้องตนในการติดตองาน ตองอาศัยมนุษยสัมพันธที่ดี มีอัธยาศัยไมตรีจิต ซึ่งเปนคุณลักษณะที่จําเปนตองไดรับการพัฒนาตั้งแตแรกเริ่มของชีวิตอยางจริงจังและตอเนื่อง เพื่อใหสามารถทํางาน รวมกันเปนทีมไดอยางมีประสิทธิภาพ สามารถที่จะสรางเครือขาย ขยายวงการทํางานออกไปไดอยางกวางขวาง 13 2. การบริหารจัดการ เปนความสามารถในการจัดระบบและวางแผนการทํางานใหบรรลุผลไดดีเยี่ยม ตามเปาประสงค โดยมุงเนนประโยชนสูงสุดภายใตเงื่อนไขของเวลา การเงิน และความจํากัดทางดานทรัพยากรตางๆ บุคคลที่มีความสามารถในการบริหารจัดการที่ดีมักมีความชัดเจนในการดําเนินชีวิตของตนเอง 3. การแขงขัน/อดทน/สูสิ่งยาก สภาวการณในสังคมปจจุบันมีการแขงขันสูง การสนับสนุนใหบุคคลมี น้ําใจนักกีฬาจึงเปนสิ่งจําเปน บุคคลควรเรีย นรูที่จะตั้งเปาหมายที่ ชัดเจน และดําเนินการตามกระบวนการหรื อ ขั้นตอนเพื่อใหประสบความสําเร็จตามเปาหมาย เรียนรูถึงคุณคาและศักดิ์ศรีของความเปนมนุษยที่เทาเทียมกัน เปดโอกาสใหผูอื่นแขงขันกับตนอยางเสมอภาคและตรงไปตรงมา รูแพ รูชนะ รูอภัย และตองเปนบุคคลที่สูงานคือ มีความตั้งใจในการทํางาน ตระหนักดีวางานแตละประเภทมีความสําคัญที่สานกันเปนประโยชนตอสวนรวม ไมเลือก หรือเกี่ยงงาน มีความอดทน รับผิดชอบ มุงมั่นในการทํางานดวยความหนักเอาเบาสู และมีเจตคติที่ดีตอการทํางาน 4. การเห็นแกสวนรวม สังคมที่เต็มไปดวยความเอื้ออาทร คิดถึงใจเขาใจเรา เปนสังคมที่ทุกคนตองการ โดยบุคคลในสังคมมีจิตสาธารณะ มีจิตสํานึกตอประโยชนสวนรวมเปนสําคัญ เปนบุคคลที่ตระหนักดีวาการรวมพลัง เปนยุทธศาสตรในการผลักดันไปขางหนาใหเกิดความเจริญ ดังนั้นการรวมแรงรวมใจที่จะยอมเสียสละประโยชนสวน บุคคลเล็กนอยเปนสิ่งที่สมควรปฏิบัติอยางยิ่ง นอกจากนี้ยังตองเปนบุคคลที่มีความเปนธรรม มักเปนบุคคลที่มองเห็น คุณคาของตนเองเปนสําคัญ รูจักตัวเองดี มั่นใจในความสามารถของตนเองสูง กลาตัดสินใจตามความคิดที่ตนเองได กลั่น กรองมาอยางรอบคอบแลว และกลาที่ จะยอมรับ ถึงผลของการตัดสิ นใจหรือผลของการกระทํานั้นๆโดยไม บิดเบือนความผิดหรือกลาวโทษผูอื่นในผลของการตัดสินใจหรือผลของการกระทําของตน ในขณะเดียวกันก็เปนผู มองเห็นคุณคาของผูอื่น เปดกวางยอมรับความถูกตอง นอกจากนี้ยังตองมีการปลูกฝงความคิดและความเชื่อที่เปน ประชาธิปไตย เพราะหมายถึง ความเชื่อในความเทาเทียมกันของมนุษย ความเชื่อในการรูจักหาเหตุผล ความเชื่อวา อํานาจทางการปกครองเกิดขึ้นจากการยินยอมพรอมใจของผูอยูใตการปกครอง ดวยเหตุนี้ประโยชนสวนรวมจึงตอง มากอนประโยชนสวนตัวเสมอ ความเคารพในศักดิ์ศรีของความเปนมนุษย หรือความเชื่อในเสรีภาพทางความคิดและ การกระทําของบุคคลจึงตองอยูในขอบเขตที่ตนพึงมีพึงได -รักษวัฒนธรรมไทย ใฝสันติ (Thai Pride) รักษความเปนไทย/ยึดมั่นในสันติธรรม บุคคลที่เปนผูรักษวัฒนธรรมไทย ใฝสันติ คือบุคคล ที่รักษาความ เปนไทยไวดวยความภาคภูมิใจ เห็นคุณคาของอัตลักษณไทย รูถึงภูมิปญญาทองถิ่น โดยเฉพาะของทองถิ่นตน และ สามารถนําภูมิปญญานั้นมาใชประโยชนในการพัฒนาทองถิ่นของตน สรางผลผลิตที่มีมูลคา และคงความเปนไทยไว อยางสมบูรณ นอกจากนี้บุคคลยังตองเปนผูตั้งมั่นในธรรม มีคุณธรรม มีหลักในการดําเนินชีวิต ซึ่งประกอบดวย วินัย สติ กตัญู เมตตา อดทน ซื่อสัตย ประหยัด ขยันและไมเห็นแกตัว เปนผูที่มีความจริงใจตอบุคคลรอบขาง เปนที่รัก เคารพและศรัทธาของสมาชิกในกลุม รวมทั้งสังคมทั่วไป เปนที่นาเชื่อถือและเปนที่พึ่งพาได สภาพการประกอบอาชีพของบุคคลในสังคมเศรษฐกิจฐานความรูพบวา ผูทํางานโดยเฉพาะบัณฑิตใหม ไดรับการคาดหวังวา จะตองเปนผูสามารถทํางานไดอยางราบรื่น เปนทั้งผูนํา และผูตามภายในทีมงาน หนวยงาน หรือ กลุมงาน ลักษณะการทํางานจะไมมีขอบเขตที่ชัดเจน ทุกคนตองตระหนักถึงความสําคัญในการเปนผูมีศักยภาพที่จะ สามารถทํางานไดตลอดชีวิต (Employability) มากกวาจะคํานึงถึงสัญญาจางงานตลอดชีวิต ผูทํางานแตละคนจะตอง 14 พัฒนาและรักษาทักษะที่จะชวยใหเกิดความยืดหยุน ความสามารถปรับตัวในการปฏิบัติงาน และการประสานงาน บัณฑิตใหมที่ทํางานทั้งในองคกรภาครัฐและเอกชนยังตองเขาใจถึงความสัมพันธอันซับซอนในลักษณะที่องคกรหนึ่งๆ เปนทั้งผูที่ทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบตอองคกรอื่นๆ และในขณะเดียวกันก็เปนผูไดรับผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงขององคกรอื่นๆ ดวย ซึ่งมีอิทธิพลสําคัญตอความมั่นคงและอยูรอดในการทํางานของผูทํางานมากกวา องคกรที่เปนผูจางงาน พรอมทั้งตองเขาใจวาสินคาและบริการขององคกรมีความเกี่ยวของสัมพันธซึ่งกับองคกรอื่นๆ สินคาและบริการจะตองเปนที่พึงพอใจขององคกรอื่นๆ พรอมทั้งจะตองมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสินคาและบริการ นั้นๆ ใหเ ปนที่ส นใจอยูตลอดเวลา ผูทํางานจึงตองสามารถพัฒ นาสิ นคาและบริการใหต อบสนองความตองการที่ เปลี่ยนแปลงอยางรวดเร็ว ลักษณะเชนนี้ทําใหผูทํางานตองมีความสามารถมองไปขางหนา และแสวงหาโอกาสในการ สรางความกาวหนาอยูตลอดเวลา นอกจากนี้กระแสการปรับลดขนาดองคกรที่เกิดขึ้นอยางตอเนื่องยังสงผลตอสภาพ การจางงานซึ่งถูกแทนที่ดวยเครื่องจักรและเทคโนโลยี สงผลตอลักษณะการปฏิบัติงานที่ผูปฏิบัติงานตองเพิ่มความ รับผิดชอบรวมกัน การตัดสินใจรวมกัน การมีความสามารถที่หลากหลาย ความยืดหยุนในการปฏิบัติงาน และความ พรอมเปลี่ยนแปลงใหเหมาะสมกับสภาพการทํางานที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งในสภาพการณเชนนี้การเรียนรูตลอด ชีวิตมีความจําเปนอยางมาก โดยที่การเรียนรูตลอดชีวิตสามารถชวยพัฒนาใหผูทํางานพัฒนาความรูความสามารถของ ตนเองไปสูความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไดดียิ่งขึ้น ดังคํากลาวของ OECD ที่วา การเรียนรูตลอดชีวิตเปน แนวคิดที่เปดกวางสําหรับทุกคนใหไดรับโอกาสที่จะเขาถึงและสนับสนุนเพื่อใหเกิดการเรียนรูไปตลอดชั่วชีวิต การ เรียนรูตลอดชีวิตมีบทบาทครอบคลุมการพัฒนาทุกดานของบุคคลและสังคม สามารถพัฒนาบุคคลในวัยทํางานของ ประเทศตางๆ ใหสามารถเขาสูการจางงานในระดับสากลไดอยางทัดเทียมกัน การเรียนรูตลอดชีวิตมีความสําคัญ มากกวาการเปนโอกาสที่สอง (Second Chance) ในการศึกษาตอของบุคคล แตถือไดวาเปนบันไดขั้นที่สอง (Second Bite) สําหรับผูที่สําเร็จการศึกษา หรือผูที่ผานชีวิตการทํางานมาแลว สามารถกลับเขาสูสถาบันอุดมศึกษา เพื่อพัฒนาความรูใหทันสมัย และเพิ่มเติมความรู ความสามารถใหสูงขึ้นจากเดิมไดในทุกชวงวัยของชีวิต สําหรับ ประเทศไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแหงชาติ ตั้งแตฉบับที่ 8 จนถึงปจจุบัน ไดปรับเปลี่ยนแนวคิดในการ พัฒนาประเทศโดยใหความสําคัญกับการพัฒนาคุณภาพคน เพื่อสรางสังคมไทยใหเปนสังคมแหงการเรียนรูโดยให ความสําคัญกับการเรียนรูตลอดชีวิต และนํามาใชเปนยุทธาสตรสําคัญในการพัฒนาสังคมไทย(จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. 2551: 31-32) หลักการเรียนรูตลอดชีวิตถือวา ผูเรียนมีความสําคัญที่สุด แรงจูงใจ ปณิธาน และการเขามามีสวนรวมใน การเรียนรูของผูเรียนเปนปจจัยบงชี้ความสําเร็จของวิสัยทัศนวาดวยการเรียนรูตลอดชีวิตของปวงชน การสงเสริมการ เรียนรูตลอดชีวิตใหไดผล ควรสงเสริมผูเรียนใหเปนผูมีลักษณะเปนผูเรียนรูตลอดชีวิต โดยการสรางแรงจูงใจ พรอมทั้ง ใหผูเรียนมีความรูความเขาใจเหตุผลและความจําเปนในการเรียนรูตลอดชีวิต มีความรักที่จะเรียนรูอยางตอเนื่อง โดย การพัฒนา ผูเรียนใหมีทักษะ ความรู ความสามารถในการเรียนรู หรือแสวงหาความรู รูจักวิธีการเรียนรู และ สามารถทําการเรียนรู ไดอยางมีประสิทธิภาพ เหลานีเ้ ปนสิ่งที่สถานศึกษาทุกระดับควรปลูกฝงใหเปนนิสัยติดตัวผูเรียน ไปจนตลอดชั่วชีวิต โดยคุณสมบัติ ลักษณะความรู และทักษะตางๆ ของบุคคลที่จําเปนสําหรับการเรียนรูตลอดชีวิต ถือเปนหัวใจสําคัญที่ชวยใหผูเรียนประสบความสําเร็จในการเรียนรูตลอดชีวิต และสามารถทําการเรียนรูตลอดชีวิต 15 ไดอยางยั่งยืน โดยลักษณะผูเรียนรูตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่แสดงถึงความพรอมและศักยภาพที่ จะเรียนรูไดทุกชวงวัยของชีวิต ประกอบดวยคุณลักษณะ 6 ดาน ไดแก 1.1 จิ ต ใจรั ก การแสวงหาความรู หมายถึ ง ลัก ษณะที่ แสดงว า เปน ผูมี ค วามรัก ในการเรีย นรู กระตือรือรนที่จะหาความรูเพิ่มเติม สามารถคิดวิเคราะห ไมเชื่ออะไรงายๆ ทําความเขาใจกับขอมูลไดอยางรอบดาน และรูจักประเมินตนเอง 1.2 วิสัยทัศนกวางไกล หมายถึง ลักษณะที่แสดงวาเปนผูที่มีความสามารถในการเชื่อมโยงความรูใน สาขาตางๆ นําความรูไปใชอยางสรางสรรค และสามารถขยายวิสัยทัศนใหสอดคลองกับการเปลี่ยนแปลง 1.3 ดําเนินภารกิจตางๆดวยการพึ่งตนเอง หมายถึง ลักษณะที่แสดงวาเปนผูทํางานไดดวยตนเอง สามารถจัดการภารกิจสวนตัว เชน การบริหารเวลา การกําหนดจุดมุงหมายในชีวิต 1.4 ทักษะดานการวิเคราะหขอมูล หมายถึง ลักษณะที่แสดงวาเปนผูที่สามารถเขาถึงแหลงขอมูลและ สารสนเทศที่มีคุณคาได สามารถตั้งคําถาม สามารถสรุปความและขยายความจากขอมูลที่มีสภาพการณที่แตกตางกัน สามารถตรวจสอบขอมูลที่รับรู สามารถอานขอมูลในรูปแบบตางๆ ทั้งขอความ สถิติ กราฟ แผนภูมิ แผนภาพ ตาราง และสามารถประเมินขอมูลตามหลักเหตุผล 1.5 ทักษะดานการเรียนรู หมายถึง ลักษณะที่แสดงวา เปนผูมีความพรอมในการเรียนรูจากขอมูล ขาวสารที่หลากหลาย สามารถอธิบายความแตกตางระหวางการเรียนรูระดับพื้นฐานกับระดับนําไปปฏิบัติ 1.6 ทักษะดานการใชภาษา หมายถึง ลักษณะที่แสดงวา เปนผูสามารถใชภาษาประจําชาติ และ ภาษาสากลในการติดตอสื่อสาร และแสวงหาความรูไดเปนอยางดี(จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา. 2551: 16-17) ในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเปนยุคที่สังคมมีความเจริญกาวหนาทางวิทยาการและเทคโนโลยี การเรียนรูไมไดสิ้นสุด อยูในสถาบันการศึกษาอีกตอไป แตเปนการเรียนรูตั้งแตเกิดจนตลอดชีวิต การไมเรียนรูอยางตอเนื่องจะสงผลตอการ ดํารงชีวิต และการประกอบอาชีพใหมีความยากลําบากจนกระทั่งทําใหสูญเสียโอกาสที่ดีในชีวิต ดังนั้นการเรียนรูแบบ รอรับขอมูลแบบที่ผานมาแตเพียงอยางเดียวไมเหมาะสมกับสภาพการณนี้อีกตอไป การเตรียมพรอมและกาวเขาสูการ เรียนรูตลอดชีวิตเปนสิ่งที่ไมสามารถหลีกเลี่ยงได บุคคลตองสามารถประเมินความรูที่ตนเองมีอยูตลอดเวลา ใฝรู และ สามารถแสวงหาความรูมาเพิ่มเติมเสริมตอเพื่อพัฒนาตนเองอยางตอเนื่อง กลุม Partnership for 21st Century Skills ไดกลาวถึงการเรียนรูในศตวรรษที่ 21 วาบุคคลจําเปนตองมีทักษะสําคัญ 3 ประการ คือ 1. ทักษะชีวิตและอาชีพ 2. ทักษะการเรียนรู และนวัตกรรม ประกอบดวย - การวิเคราะห ( Critical Thinking) - การสื่อสาร (Communication) - การรวมมือ (Collaboration) - ความคิดสรางสรรค (Creativity) 3. ทักษะดานสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (เครือขายองคกรความรวมมือเพื่อทักษะการเรียนรูในศตวรรษ ที่ 21. 2553) 16 มศว 251 ใบกิจกรรมที่ 1 รายงานการคนควาเรื่องวิธีการเก็บรวบรวมขอมูลทางสังคมศาสตร ชื่อนิสิต___________________________________________________รหัสนิสิต_____________________ กลุมผูเรียน ________วันที่เรียน_____________________อาจารยผูสอน_____________________________ 1. วิธีการเก็บขอมูลทางสังคมศาสตรคืออะไร และมีกี่วิธี 2. กรณีนิสิตไดรับมอบหมายใหลงพื้นที่เพื่อสํารวจปญหาในชุมชนโดยใชแบบสอบถามและสัมภาษณ ใหนิสิต สรุปวิธีดําเนินการเพื่อใหไดรับขอมูลที่สมบูรณและมีคุณภาพนาเชื่อถือในประเด็นตอไปนี้ 2.1 การสรางแบบสัมภาษณที่ดีและวิธีวิเคราะหขอมูลจากแบบสัมภาษณ 2.2 เลือกแบบสอบถาม 1 ชนิด พรอมวิธีสรางแบบสอบถามที่ดี และสถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล 17 3. ตัวอยางวิธีการเก็บขอมูลจากงานวิจัยที่นิสิตคนควาเพิ่มเติม 3.1 ชื่อเรื่อง________________________________________________________________ 3.2 ชื่อผูแตง_______________________________________________________________ 3.3 ความมุงหมายของการวิจัย 3.4 เครื่องมือเก็บรวบรวมขอมูลที่ใชในงานวิจัย (แบบสัมภาษณ/แบบสอบถาม) 3.5 สถิติที่ใชในการวิเคราะหขอมูล 3.6 สรุปผลการวิจัย 18 แผนการสอน หัวขอ คนไทยกับปญหาสังคมไทย ผูสอน อาจารย ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา วัตถุประสงค : เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1. จิตพิสัย ไดแก - เสริมสรางเจตคติที่ดีในการทําหนาที่พลเมืองในสังคมไทย - มีคุณธรรม จริยธรรมในการดํารงชีวิต มีความซื่อสัตยสุจริต และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคม 2. พุทธิพิสัย ไดแก - มีความรู ความเขาใจเพื่อนมนุษยสังคมไทย สามารถนําความรูไปใชแกปญหาสังคม - มีความรูความเขาใจ สามารถวิเคราะหสถานการณที่มีผลกระทบตอสังคมไทยเชิงประวัติศาสตร วัฒนธรรม และความเปนอยูจากอดีตมาสูปจจุบัน 3. ทักษะพิสัย ไดแก - คิดอยางมีเหตุผลและเปนระบบ - สามารถเชื่อมโยงความรูสูการใชประโยชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคมในทุก มิติไดอยางสมดุล เนื้อหา 1. 2. 3. 4. 5. ปญหาสังคมคืออะไร ทัศนคติในการมองปญหาที่ไมถูกตองของคนในสังคม ปญหาสังคมไทย ผูบริหารประเทศกับการแกปญหาสังคมไทย ประโยชนที่คนไทยจะไดรับจากปญหาสังคม การจัดประสบการณการเรียนรู 1. อาจารยสอนบรรยายเนื้อหาหัวขอตางๆ 2. นิสิตชมสื่อประกอบการสอน 3. นิสิตรวมอภิปราย 4. อาจารยสรุปเนื้อหา 5. นิสิตซักถาม 40 45 40 25 30 นาที นาที นาที นาที นาที 19 สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบการสอน วัตถุประสงค - ถายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับปญหาสังคม - ถายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับปญหาสังคมไทยและแนวทางแกไขของคนไทย 2. Power point สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจไดชัดเจนยิ่งขึ้น 3. วีดิทัศนเรื่องวีรชนคนที่ถูกลืม แสดงสภาพปญหาสังคมไทยที่เปนผลมาจากการกระทําของคนไทยตั้งแตอดีต (ขุนรองปลัดชู) ถึงปจจุบัน การประเมินผล 1. การจัดทําใบกิจกรรมที่ 2 คนไทยกับปญหาสังคมไทย 2. การมีสวนรวมอภิปรายในชั้นเรียน 3. ขอสอบภาคเนื้อหา หนังสืออางอิง พระพรหมคุณาภรณ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2553). กรรมของคนไทยทํากันไวเอง. กรุงเทพฯ: จันทรเพ็ญ. พัทยา สายหู. (2540). กลไกของสังคม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. พูนศิริ วัจนะภูมิ. (2544). เอกสารประกอบการสอนชุดวิชามนุษยกับสังคม หนวยที่ 15 ปญหาสังคม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 20 หัวขอการสอน คนไทยกับปญหาสังคมไทย เรื่ อ งของสั ง คมนี้ รวมถึ ง เรื่ อ งการเมื อ งเป น เรื่ อ งของชี วิ ต ของที่ เ ราต อ งเกี่ ย วข อ งอยู ต ลอดเวลา และมี ผลกระทบตอชีวิตของทุกคน สังคมเปนอยางไร เชน คนมีวินัยหรือวุนวายสับสน คนสวนมากยากจนหรืออุดมสมบูรณ อยูกันสงบดีหรือมีอาชญากรรมมาก การเมืองเปนอยางไร มีนโยบายดานตางๆ อยางไร กระทั่งจะออกกฎหมายแบบ ไหน ก็มีผลกระทบถึงทุกคน ตรงบาง ออมบาง ดังนั้นทุกคนควรคิดวาเราจะอยู จะทําอยางไร ปญหาของสังคมเปน สภาพแวดล อ มใหญ ที่ ส ง ผลกระทบต อ ทุ ก คน แม แ ต จิ ต ใจของเราก็ อ ยู ใ นสภาพแวดล อ มอั น นี้ และถู ก กระทบ ตลอดเวลา บางทีก็แทบทั้งวัน เขามาทางตา ทางหู หรือทางไหน ในที่สุดก็มาถึงและมารวมที่ใจ เพราะฉะนั้นคนใน สังคมตองไดรับผลกระทบอยางหลีกเลี่ยงไมได จึงตองตั้งสติใหถูก เตรียมหลักใหดี และทําความเขาใจใหแยบคาย คือ ตองมองปญหาใหถูกตอง(พระพรหมคุณาภรณ. 2553: 8-9) ปญหาสังคมคืออะไร “ปญหาสังคม”เมื่อเกิดขึ้นในสังคมมักเปนประเด็นที่ไดรับความสนใจและถูกนํามาพูดถึงกันทั้งจากผูที่ไดรับ ผลกระทบและไมไดรับผลกระทบ รวมถึงผูที่เกี่ยวของในการแกปญหาทั้งในระดับนโยบายและผูปฏิบัติงาน ในกรณีที่ ปญหาสังคมนั้ นเปน ป ญหาที่ มีผู ไดรั บผลกระทบมาก และมีความซับซอนก็อาจมีการจัดสัมมนาอภิปรายในกลุม นักวิชาการผูสนใจ ปญหาที่เกิดขึ้นและถือวาเปนปญหาสังคมมักเปนเรื่องที่มีขอบเขตกวางขวางและเกี่ยวของกับคน ในสังคม ซึ่งการแกไขปญหาใหสําเร็จและทุกคนพึงพอใจจึงเปนเรื่องยุงยากซับซอนอยางมาก ดังนั้นการศึกษาและทํา ความเขาใจถึงความหมายของปญหาสังคมไดอยางถูกตอง จะเปนพื้นฐานสําคัญตอการกําหนดปญหาที่นําไปสูการ แกไขไดอยางมีประสิทธิภาพตอไป นักสังคมวิทยาไดอธิบายวา ปญหาสังคม คือ ปญหาที่เกี่ยวกับความสัมพันธในหมูประชาชน เมื่อใดก็ตามที่ คนสวนใหญในสังคมเห็นพองตองกันวาสภาวการณที่เกิดขึ้นในสังคมมีผลกระทบทางลบตอคุณภาพชีวิตและคานิยมที่ ยึดมั่น ควรจะตองมีการดําเนินการบางอยางเพื่อแกไขสภาวการณนั้น ถือวาปญหาสังคมไดเกิดขึ้นแลว อีกนัยหนึ่งถา สมาชิกของสังคมมีความเห็นเปนเอกฉันทวาสถานการณนั้นมีผลกระทบตอกลุมคนบางกลุมของประเทศ ก็ถือวาเปน ปญหาของสังคมโดยสวนรวมเชนกัน จากขอความดังกลาวอาจสรุปไดวา ปญหาสังคมเปนสิ่งที่สมาชิกสวนใหญของ สังคมไดรับความเดือดรอนอันเนื่องมาจากปรากฏการณนั้น และตองการหรือพยายามหาทางแกไขขจัดปรากฏการณ ที่ไมพึงปรารถนานั้น แมวาปญหาสังคมจะเปนสิ่งที่ทุกสังคมไมปรารถนา แตปญหาสังคมก็เกิดขึ้นจากการกระทําของคนในสังคมที่ มีความหลากหลายทั้งทางความคิดและความตองการ ปญหาสังคมอาจเปนปญหาที่เกิดจากการกระทําของมนุษยกับ มนุษย หรือมนุษยกับสภาพแวดลอมก็ได ดังนั้นการมีความรูและเขาใจเกี่ยวกับปญหาสังคมจึงสิ่งจําเปนสําหรับทุกคน ในสังคม โดย พูนศิริ วัจนภูมิ ไดอธิบายลักษณะสําคัญของปญหาสังคมไวดังนี้ 21 1. ภาวการณที่มีผลกระทบกระเทือนตอคนจํานวนมาก ไมเปนที่พึงปรารถนาของคนสวนใหญในสังคม และมีความเห็นวาจะเปนอันตรายหากปลอยทิ้งไว หรือเปนสภาวการณที่เกิดขึ้นในขนาดมากพอที่จะกระตุนคน จํานวนมากใหเกิดความรูสึกเดือดรอน ซึ่งอาจจะเปนสภาวการณที่มีการละเมิดระเบียบสังคมที่มีอยู และการละเมิดนี้ กวางขวางจนสังคมสวนใหญไมสามารถควบคุมแกไขไดในทันที ซึ่งตัวอยางปญหาสังคมโดย พัทยา สายหู ไดเสนอไว ในกรณีนี้เชน แมวาคนลักขโมยจะมีอยูในทุกสังคม แตถาสังคมสามารถควบคุมปราบปรามไดทันทีทุกครั้งที่มีผูละเมิด เชนนี้ขึ้น การลักขโมยก็ไมถึงกับทําใหระเบียบสังคมโดยทั่วไปตองเสียหาย และไมมีใครรูสึกวาเปนปญหาของสังคม แต ถาการลั กขโมยมี แพรห ลายขึ้ น และเลยเถิดไปจนเปน การชิงทรัพยป ลนสะดมภฆาเจาทรัพยทุกแหงหน และ เจาหนาที่ซึ่งสังคมมอบหมายอํานาจหนาที่ไวใหคอยควบคุมปราบปรามผูละเมิดระเบียบของสังคมเหลานี้ไมสามารถ ควบคุมปราบปรามไดสําเร็จ ความวุนวายที่เกิดจากการลักขโมยปลนสะดมภนี้เปนที่รูสึกอึดอัดใจของคนสวนใหญใน สังคมก็กลายเปนปญหาสังคม 2. ภาวการณอันไมเปนที่พึงปรารถนา เปนสภาวการณอยางหนึ่งอยางใดในสังคมที่ไมสอดคลองกับ คานิยมของคนจํานวนมาก หรือเบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมที่คนในสังคมยึดมั่น ซึ่งเปนสภาวการณที่ไม ถูกตองสังคมนั้นๆ โดยตัวอยางปญหาสังคมที่ ณรงค เส็งประชา นํามาอธิบายไวในกรณีนี้ คือ การคาประเวณี ซึ่งผูคน ในสังคมตางก็เห็นวาเปนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนไปจากบรรทัดฐานของสังคมและมีผลกระทบกระเทือนไปถึงสังคมโดย สวนรวม เชน กอใหเกิดโรคภัยไขเจ็บ ซึ่งอาจจะติดตอไปถึงผูอ่ืนที่ไมไดเกี่ยวของกับโสเภณี โดยตรง ผลกระทบตอ ชื่อเสียงของสังคมสวนรวม เชน ไดชื่อวาเปนเมืองโสเภณี ผลกระทบตอสุขภาพอนามัยของลูกหลาน เชน โรคเอดส กามโรค รางกายพิการ ผลกระทบตอสังคม เชน ความไมเปนธรรมในสังคม การหลอกลวง การรีดไถ การฉอราษฎร บังหลวง การบังคับใหตองขายตัวซึ่งมีลักษณะคลายทาส สภาวะดังกลาวเปนสิ่งที่ผูคนจํานวนมากไมพึงปรารถนาให เกิดหรือมีขึ้นในสังคม ตางก็มีความคิดและวิธีการตางๆ มาปรับปรุงแกไข โดยที่เห็นวาปญหานี้สามารถที่จะแกไขให หมดไป หรือใหบรรเทาลงไดถาหลายๆ ฝายไดชวยกัน แตถาในสังคมนั้นมองเห็นวาการคาประเวณีเปนเรื่องธรรมดา เปนสิ่งที่ชวยใหสังคมดีขึ้น ชวยบรรเทาปญหาสังคมอื่นๆ ได สภาวการณนั้นก็ไมจัดวาเปนปญหาสังคม 3. การเกิดความรูสึกวาควรจะไดมีการแกไขปรับปรุง เมื่อมีบุคคลจํานวนมากในสังคมรูสึกวาควรจะมี การกระทําบางอยางเพื่อที่ จะได มีการแกไขปรับปรุงสถานการณใหดีขึ้น เชน ปญหาการทําลายสิ่ งแวดล อมและ ทรั พ ยากรธรรมชาติ ป จ จุ บั น คนมี ค วามรู สึ ก ตื่ น ตั ว กั น มากที่ จ ะดํ า เนิ น การปรั บ ปรุ ง แก ไ ขให มี ก ารจั ด การ ทรั พยากรธรรมชาติ ท่ีมีอยู ให ใช ป ระโยชน ไดสูงสุด เปน ความรูสึกรว มของคนในสังคมทั่ วไป ตั้ งแต ในระดั บ โลก ระดับประเทศ จนถึงระดับชุมชนทองถิ่น วาควรจะมีการแกไขปรับปรุงจากผูเกี่ยวของ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ตั้งแตระดับนโยบายจนถึงเจาหนาที่ผูปฏิบัติงาน ตลอดจนมีการรณรงคใหประชาชนทั่วไปตระหนักรู และรวมมือกัน อนุรักษทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดลอมตาง ๆ ทั้งตนน้ําลําธาร ปาไม และพื้นที่อุดมสมบูรณเพื่อการเพาะปลูก ซึ่ง 22 เรื่องนี้สืบเนื่องมาจากการที่คนในสังคมตระหนักรูถึงปญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาตินั่นเอง และ ถึงแมวาจะไมกระทบตอบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยตรง แตมองเห็นวาเปนปญหาของสวนรวมที่รับรูไดวาจะตองแกไข 4. การแสดงออกในรูปของการกระทํารวมกัน เมื่อมีปญหาเกิดขึ้นในสังคมแลว สมาชิกสวนใหญของ สังคมที่มีสวนไดสวนเสียกับปญหาดังกลาว ไดพากันแสดงความคิดเห็น เสนอและเลือกหาวิธีแกไข มีการรวมกลุมกัน เพื่อกําจัดปญหาดังกลาว เชน ผูผลิตสินคาเพื่อบริโภค ไมไดดําเนินการตามมาตรฐานที่ไดแจงหรือที่โฆษณาไว หรือมี การตั้งชื่อคลายชื่อสินคาที่ไดมาตรฐาน เปนการลอลวงใหผูซื้อเขาใจผิด หรือปลอมปนวัตถุดิบที่ถูกกวา ซึ่งอาจจะ กระทําเพื่อลดตนทุนการผลิต ทําใหไดกําไรมาก ซึ่งเปนผูบริโภค อาจตั้งชมรมผูบริโภค โดยมีวัตถุประสงคที่จะชี้แจง ทําความเขาใจใหสมาชิกในสังคมทราบถึงวิธีการเลือกซื้อสินคาที่ถูกตอง กลวิธีการผลิตและรวมมือกันสอดสองตรวจ ตราคุณภาพของสินคา เพื่อปองกันการเอารัดเอาเปรียบของผูผลิต(พูนศิริ วัจนะภูมิ. 2544: 231-232) ทัศนคติที่ไมถูกตองในการมองปญหาของคนในสังคม เมื่อปญหาสังคมเปนสิ่งหลีกเลี่ยงไมได ความสามารถในการจัดการกับปญหาที่เกิดขึ้นจึงมีความสําคัญอยาง มาก และจําเปนตองอาศัยความคิดเห็นของคนในสังคมที่จะชวยกันคลี่คลายหรือขจัดปญหาใหหมดสิ้นไป ซึ่งการ จัดการปญหาของคนในสังคมนี้ขึ้นอยูกับทัศนคติในการมองปญหาสังคมที่อาจจะทําใหปญหานั้นหมดไป หรือในทาง ตรงกันขามอาจเปนการทําใหปญหานั้นกลายเปนปญหาที่ใหญโตลุกลามมากขึ้นไปอีก ดังนั้นเพื่อใหสามารถเขาใจ ปญหาสังคมไดดีขึ้น จึงมีการศึกษาทัศนคติที่ไมถูกตองของคนในสังคมเกี่ยวกับการแกไขปญหาสังคม ไวดังนี้ 1. การวางเฉยหรือไมสนใจ เพราะเห็นวาปญหานั้นไมกระทบกระเทือนตอตัวเขา และตัวเขาเองก็ไมมีเวลา พอที่จะสนใจไดทุกเรื่อง เพราะมีเรื่องอื่นที่นาเพลิดเพลินเจริญใจมากกวาซึ่งบุคคลเหลานี้จะใหความสนใจตอเมื่อมี ความรูสึกวา ปญหานั้นกระทบกระเทือนตอสวัสดิภาพของเขา หรือคุกคามคานิยมบางอยางที่เขายึดถืออยู 2. กรรมบันดาล เพราะเชื่อวาปญหาสังคมที่เกิดขึ้นเปนเพราะกรรมบันดาล ดวยเหตุนี้จึงยอมรับความทุกข ยากและความอดอยากอยางสงบโดยไมพยายามแกปญหาที่เกิดขึ้นหรือแมแตจะคิดทําอะไรสักอยางกับปญหา บุคคล ดังกลาวไมใชไมอยากแกไขปญหา แตเปนเรื่องที่วาความคิดที่จะทําอะไรสักอยางไมเคยอยูในหัวของเขาเลย 3. เยยหยัน เพราะคิดวาเสียเวลาที่จะไปพูดเรื่องปญหาสังคม คนที่ประสบกับความโชครายนั้น ไมมีคาควร แกการสนใจ ขณะเดียวกันคนที่จะเขาไปชวยเหลือก็ไมนาไวใจ เพราะแตละคนก็มีความเห็นแกตัวเองทั้งนั้น ฉะนั้น ควรปลอยใหชีวิตแตละคนเปนไปตามยถากรรม สวนผูที่นิยมลัทธิรุนแรงจะพยายามหาทางแกไขปญหาโดยการปฏิวัติ สังคมแทนการปฏิรูปสังคม 4. การลงโทษของศาสนา เพราะเชื่อวาเปนการลงโทษของพระเจาตอบาปของมนุษย ดังนั้น ปญหาตาง ๆ ที่เกิดขึ้น เชน ดินฟาอากาศแหงแลง น้ําทวม สงคราม โรคระบาด พายุ ขาวยกหมากแพง เศรษฐกิจตกต่ํา ก็คือผลที่ พระเจาลงโทษมนุษยที่กระทําผิด ถาเปนจริงดังกลาวขางตน การแกปญหาก็คือ การประพฤติใหอยูในกรอบของ ศีลธรรม รูจักสํานึกในบาปโดยการสวดมนตออนวอน ไมใชแกโดยการเปลี่ยนแปลงสังคมหรือสถาบัน 23 5. ความรูสึกออนไหว ทัศนคติการมองปญหาสังคมของกลุมนี้จะขึ้นกับความรูสึกมาก เชน มองปญหา ความยากจนวาความยากจนเปนสิ่งที่ชวยไมได เปนเรื่องของการตกเปนเหยื่อของสังคมที่อยูในสภาพกดขี่เชนนี้ หรือ มองวาความยากจนเกิดจากการถูกกลุมคนชั้นกลางและกลุมคนชั้นสูงคอยเอาเปรียบอยูตลอดเวลา เปนตน อยางไรก็ ตาม การพิจารณาปญหาดวยความรูสึก และการพยายามที่จะมีการปฏิบัติเพื่อแกปญหา ทั้งปญหาความยากจน ปญหาโรคเอดส ปญหาการกีดกันทางผิว ปญหาความไมเสมอภาคทางเพศนั้น ก็ควรจะมีการวิเคราะหอยางเปนเหตุ เปนผล ไมใชจากความรูสึกเทานั้น 6. ทัศนคติทางวิทยาศาสตรสังคม เพราะเห็นวาการเห็นอกเห็นใจตอผูที่ทุกขยากเทานั้นยังไมพอ ตองมี ความรูความชํานาญและความรูแจงเห็นจริงในวิชาชีพดวยวาปญหานั้นมีความเปนมาอยางไร มีวิธีแกไขอยางไร ทาที ของนักวิทยาศาสตรสังคมตอปญหาที่เกิดขึ้นมักจะตั้งคําถามวา เปนปญหาอะไร มีขอเท็จจริงอยางไรบางเกี่ยวกับ ปญหานั้น มีคานิยมทางสังคมอะไรบางที่เกี่ยวของ มีวิธีการปฏิบัติใดที่ไดผลเมื่อดูจากคานิยมที่คนสวนใหญยึดถือ นอกจากทัศนคติในการมองปญหาสังคมที่ไมเหมาะสมดังกลาวขางตนแลว ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับความ เขาใจของคนในสังคมที่เปนสาเหตุสําคัญอันนํามาซึ่งปญหาสังคมดวย ดังนี้ 1. การมองปญหาที่ตางกัน เชน ปญหาการวางงานเปนปญหาสังคมอยางหนึ่ง แตในสายตาของคนบางคน เชน นายจางอาจจะเห็นวามีภาวะการวางงานไวบางก็ดี คนงานที่มีอยูจะไดทํางานหนักขึ้นเพราะกลัวถูกใหออกและ จางคนใหมมาแทน หรือปญหาการขาดแคลนที่อยูอาศัย พวกนักจัดสรรหมูบานอาจจะเห็นวาดี เพราะอาจมีผลให ขายบานไดจํานวนมากขึ้น การที่คนเรามองอะไรไมเหมือนกันนี่เอง แมจะมีคนจํานวนมากเห็นเปนปญหา แตใน ขณะเดียวกันคนอีกจํานวนหนึ่งอาจจะไมเห็นดวย จึงเปนขอขัดแยงที่ยากจะหาขอยุติได 2. การมองปญหาสังคมวาเปนผลมาจากการฝาฝนหรือทําผิดกฎระเบียบขอบังคับของสังคมที่กําหนด ซึ่ง ก็เปนเรื่องธรรมดาที่อาจเกิดขึ้นไดในสังคมทั่วไป ทีจ่ ะมีทั้งคนเครงระเบียบ และดื้อดึงไมทําตามหรือฝาฝนโดยไมตั้งใจ ปญหาสังคมจึงเปนเรื่องของความเปนเหตุเปนผลที่พอจะเขาใจได เปนเรื่องปกติและเปนผลิตผลที่หลีกเลี่ยงไมไดของ คานิยมและการปฏิบัติในสังคมปจจุบัน 3. การมองปญหาสังคมวาเกิดจากคนเลว ซึ่งถือวาเปนการมองปญหาที่ผิดพลาดมากที่สุด เพราะหาก คนเรามองปญหาในแงของความดีกับความเลว เปนการมองอาการหรือผลมากกวามองสาเหตุ เชน คนมันเลวจึงได เปนโจร คนมันไมดีถึงไดสอบตก ฯลฯ ถาเปนนิยาย พระเอกตองชนะผูรายวันยังค่ํา จึงทําใหคนเรามองแตความดีกับ ความเลวซึ่งเปนผล แทที่จริงควรดูที่สาเหตุมากกวา และแกที่สาเหตุ อยาสรุปที่ผล 4. ปญหาสังคมเกิดจากการพูดเกินความจริง ปญหาสังคมเปนเรื่องเกิดขึ้นจริง ไมใชเกิดจากการพูดลอย ๆ คนเรามักจะพูดอะไรเกินความเปนจริงเพื่อทําใหคนตื่นเตนสนใจ โดยปกติมนุษยมีสัญชาตญาณที่จะสนใจเรื่องบันเทิง มากกวาปญหาสังคมหรือความยากแคนตาง ๆ การพูดลอย ๆ ใหใครเชื่อเปนเรื่องยาก ดังนั้นจะตองทําใหปญหานั้น กระทบกระเทือนบุคคลอยางจริงจังดวยการพูดเกินความจริง 5. ทุกสังคมจะมีกลุมคนบางกลุมที่ไมตองการใหมีการแกปญหาสังคมที่เกิดขึ้น ซึ่งเปนเรื่องธรรมดาที่ทุก คนจะเห็นไมเหมือนกัน จึงตองดูจํานวนคนที่ตองการใหแกปญหา และปญหาบางอยาง ถาดูกันใหถองแทแลว จะมี คนจํานวนนอยที่อยากใหแกปญหาหรือไมพอใจที่จะแกปญหานั้นเพราะตนไดหรือเสียประโยชน 24 6. การมีความคิดวาปญหานั้นจะคลี่คลายไดดวยตัวของมันเอง การเชื่อวาเมื่อเวลาผานไปปญหาจะ คลี่ ค ลายเองตามธรรมชาติ เป น ข อ อ า งเพื่ อ จะได ไ ม ต อ งทํ า อะไรหรื อ เป น การปลอบใจตั ว เอง ซึ่ ง เป น หลั ก ที่ วิทยาศาสตรไมยอมรับ เพราะปญหาสวนใหญหากไมแกไขอยางทันทวงทีปญหานั้นจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น 7. การมีความเชื่อวาการไดขอเท็จจริงจะชวยแกปญหา จากความเชื่อที่วาไมมีปญหาใดจะแกไดอยางมี ประสิทธิภาพถาขาดการเรียนรูขอเท็จจริงเกี่ยวกับปญหานั้น แตในสภาพความเปนจริง การไดขอเท็จจริงก็ไมไดเปน หลั ก ประกั น ว า จะแก ป ญ หาได เนื่ องจากมี ก ารตี ค วามหมายของข อ เท็ จ จริ ง ที่ มี อ ยู ต า งกั น ขึ้ น กั บ ค า นิ ย มและ ผลประโยชนของผูเกี่ยวของ ถึงแมวาการไมมีขอเท็จจริงจะทําใหแกปญหาไดยาก แตขอเท็จจริงจะมีความหมายก็ ตอเมื่อมีการตีความใหตรงกับคานิยม ถาคานิยมตรงกันเหมือนกับขอเท็จจริงก็อาจชวยแกปญหาได แตงสังคมที่มี คานิยมตางกันหรือขัดกัน ขอเท็จจริงก็ไมมีความหมาย 8. ปญหานั้นขจัดไดโดยไมตองมีการเปลี่ยนแปลงสถาบันทางสังคม ปญหาสังคมจะไมไดรับการแกไขเปน อัน ขาดถ าไมมีการเปลี่ ย นแปลงสถาบั นสั งคมบางสถาบัน หรือไมมีการเปลี่ย นแปลงในดานการปฏิบัติ เชน การ แกปญหาความยากจนก็ตองมีการปรับปรุงแกไขหลายสถาบันที่เกี่ยวของ ทั้งการศึกษา เศรษฐกิจ และหนวยงาน ราชการที่เกี่ยวของตาง ๆ ปญหาของสังคมไทย สังคมไทยมีโครงสรางทางสังคมทั้งที่เปน เกษตรกรรม อุตสาหกรรม และเทคโนดลยีผสมผสานกันมีผลให สังคมไทยมีลักษณะปญหาที่หลากหลาย ซึ่งปญหาลักษณะเดียวกันอาจเปนปญหาของคนกลุมหนึ่ง ในขณะที่คนอีก กลุมหนึ่งไมไดคิดวาเปนปญหาก็ได ซึ่ง ศาสตราจารย ดร. พัทยา สายหู ไดรวบรวมลักษณะปญหาสังคมไทยไว ดังนี้ 1. เรื่องครอบครัวแตกแยก และการไมเอาใจใสในการเลี้ยงดูบุตรในสังคมเมืองสมัยใหม ครอบครัวใน เมืองสมัยนี้ ถึงพอแมลูกอยูพรอมหนากัน ไมมีการทะเลาะเบาะแวงกันอยูหรือหยารางกัน ก็หยอนความผูกพันยึดมั่น เมื่อเทียบกับครอบครัวสมัยกอน เพราะครอบครัวสมัยนี้ไมคอยไดรวมเปนหนวยผลิตและบริโภคหนวยเดียวกันอยาง ใกลชิด พอออกจากบานไปทํางานที่หนึ่ง แมไปอีกที่หนึ่ง ลูกอยูบานกับคนใช หรือออกไปเรียนหนังสือแตเล็กๆ เย็น ค่ําทุกคนกลับบานดวยความเหนื่อยออน ตางคนตองการพักผอนกับโทรทัศนกับวิทยุ หรือพอไปเที่ยวค่ําคืนตอกับ เจานายหรือลูกนอง แมก็มีงานสังคม ลูกก็จะสังสรรคกับเพื่อน หรือ “แฟน” เลยไมคอยไดอยูดวยกัน ถึงวันหยุดเสาร อาทิตย ตางคนตางก็มีกิจกรรรมแยกกันไปอีก ไมชาไมนานก็ไดยินวาพอไมคอยกลับบาน หรือไปมีบานใหม แมไม คอยไดทําหนาที่แมบาน ลูกไมคอยเชื่อฟงอยูในโอวาท ครอบครัวที่มีแตลักษณะภายนอก แตไมมีเนื้อหาสาระภายใน อยางนี้ถามีมากๆ รายก็เรียกไดวาปญหาสังคม 2. เด็กเรียนหนังสือ โรงเรียนมีหลักสูตรกําหนดไวก็เรียนกันไป แตทั้งครูและนักเรียนก็ไมคอยแนใจวามี จุดมุงหมายเพื่ออะไร วิชาที่ควรจะเปนประโยชนกลับไมคอยมีคนสอน คนเรียน เรียนจําแตไมเรียนคิด ระเบียบวินัย ระหวางศึกษาเลาเรียนไมคอยจะมี ทําใหตอไปเติบใหญก็ไมมีนิสัยนี้ บางทีก็ทาทายเพื่อนนักเรียนดวยกัน บางทีก็ทา ทายครู กลับบานทาทายพอแม ออกนอกบานก็ทาทายสังคม ถูกบางผิดบางแลวแตอารมณหรือพวกมาก ลากไป 25 สุดทายเรียนจบแลวบางทานก็ไมยอมรับใชทําประโยชนตอบแทนกลับคืนใหสังคม เรื่องอยางนี้ก็นาจะนํามาวิจารณ เปนปญหาสังคมไดเหมือนกัน 3. ชุมชนไม มีความอิ นังขั งขอบกั น เพื่อนบานไมมีความเกรงใจกั น ไมชว ยกั นรักษาสาธารณสมบัติ ไม คํานึงถึงสวัสดิภาพของกันและกัน คนละแวกบานเดียวกันลอบชิงทรัพยหรือปลุกปล้ําทํารายกัน ใชยวดยานพาหนะ ถนนหนทางไมมีความอารีอารอบมิตรจิตมิตรใจกัน ไมส นใจใยดีที่จะชวยเหลือรวมมื อกัน หากเอารัดเอาเปรีย บ ประโยชนกันไดก็เอา เจาของโรงงานทําความรําคาญใหชาวบานขางเคียงดวยเสียง กลิ่น น้ําโสโครก ถนนหนทาง แมนํ้าลําคลองโสโครก สนใจแตผลประโยชนและกําไรของตนฝายเดียว ลักษณะอยางนี้ในชุมชนก็นาจะเปนปญหา ของสังคมที่ควรไดรับการแกไขบรรเทาเหมือนกัน 4. การทํามาหากินประกอบอาชีพ ที่ใหรายไดเหลื่อมล้ํากันมาก บางอาชีพรวยอยางไมนาจะรวย บาง อาชี พก็ จ นอย า งไม น า จน ฝ า ยจั ด การและฝ า ยแรงงาน ตา งหาทางเอาเปรี ย บกัน และกั น นายจ างให คา แรงต่ํ า สวัสดิการนอย เอากําไรสวนใหญไวแบงปนใหหมูผูถือหุน ใหอยูดีกินดีในความฟุมเฟอย คนงานใชของนายจางแบบ ทิ้งๆ ขวางๆ ยักยอกของหลวง เบียดบังผลประโยชนของบริษัท นายทุนเจาของเงินใหกูดอกเบี้ยสูง ทําจํานําจํานอง เบียดเบียนทรัพยสมบัติของชาวบานที่ยากจน ผูมีรายไดหลีกเลี่ยงภาษี ขาราชการใชอภิสิทธิ์เหนือประชาชน ใชเงิน ภาษีอากรบําเรอความสุขของเจาหนาที่พนักงานอยางมิชอบ อํานาจปกครองคบคิดกับอํานาจเศรษฐกิจกอบโกย ผลประโยชนจากชาวบานผูตองบริโภคในสภาพจํายอม สิ่งเหลานี้ก็นาจะเรียกไดวาเปนปญหาสังคม 5. ความมั่นคงปลอดภัยของชีวิตและทรัพยสินของผูทํามาหากินโดยสุจริต ถาหากมีนอยหรือไมมี ก็ตอง ถือวาเปนเรื่องเดือดรอนของสังคมที่จะตองหาทางขจัดปดเปา ความมั่นคงปลอดภัยเชนนี้ไมไดหมายแตเพียงการรอด พนจากการรบกวนของขโมยโจรผูรายอันธพาลเทานั้น แตรวมถึงความปลอดภัยจากอุบัติเหตุ หรือความประมาท เลินเลอในการสัญจรไปมาดวยยานพาหนะ อุบัติเหตุจากเครื่องมือเครื่องใชในบานและการทํางานอาชีพ อัคคีภัยและ สาธาณภัยตางๆ รวมทั้งการถูกคุกคามขมขี่จากผูมีอํานาจหนาที่ดวย 6. การบอนทําลายทรัพยากร และสมบัติสวนรวมของประเทศชาติ ไมวาจะเปนการเลี่ยงภาษีอากร หรือ การทําลายปาไม การจับปลาลาสัตวในประเภทและดวยอุปกรณที่ตองหาม การทําลายสภาวะแวดลอมธรรมชาติและ โบราณสถานวัตถุ การรวบรวมสมัครพรรคพวกกอการรายทําลายความสงบสุขของชาวบานและความมั่นคงของสังคม การก อ ความจลาจลวุ น วาย การใช ข องส ว นรวมเสมื อ นของส ว นตั ว เหล า นี้ ก็ เ ป น ป ญ หาสั ง คมทั้ ง สิ้ น เพราะ กระทบกระเทือนผลประโยชนรวมกันของคนหมูมากในสังคม 7. การสู ญเสี ยคุณ ธรรมสํา คัญของการอยูรวมกัน อยางสันติ การขาดหลั กเกณฑที่แนน อนของความดี ความชั่ ว ความถู ก ความสุ จ ริ ต หรื อ ความทุ จ ริ ต การถื อ ผลประโยชน ข องตนเองและพวกพ อ งว า สํ า คั ญ กว า ผลประโยชนสวนรวมของสังคมและชาติบานเมือง การขาดความรับผิดชอบในหนาที่ สี่งเหลานี้ก็เปนปญหาสังคม เพราะเปนสนิมที่ทําลายพื้นฐานและรากเหงาของสังคม(พัทยา สายหู. 2540: 221-224) ปญหาสั งคมที่ เกิ ดขึ้ นในสั งคมไทยนี้มีส าเหตุมาจากการกระทําของคนในสั งคม ซึ่งพระพรหมคุ ณาภรณ กลาวถึงสังคมไทยไวในหนังสือ”กรรมของคนไทยทํากันไวเอง”วา สังคมไทยของเรามีปญหามานานนักหนา เราพูดคํา วา “วิกฤต” กันมานานแลว อยางวิกฤตเศรษฐกิจเมื่อป 2540 และกอนจะเจอวิกฤตเศรษฐกิจนั้นก็มีภาวะวิกฤตทาง 26 สังคมมานานแลว แตเราไมรูจักเอาประโยชนจากสิ่งที่เกิดขึ้นมาเตือนสติ มาตั้งหลักแลวใชปญญาพิจารณาหาทาง แกไข ดังนั้นเมื่อเจอวิกฤตเขาก็ตื่นเตนโวยวายกันวุน แตแลวก็ยังอยูในความประมาทตอไป เมื่ออยูในความประมาท ไมฟน ไมตื่น ไมแกไขปรับปรุง ตอมาก็ตองเจอวิกฤตซ้ําซาก แลวมันก็ยิ่งรุนแรงขึ้นทุกทีจนไมอาจปลอยใหเกิดวิกฤติ แบบนี้อีกตอไป โดยสิ่งที่ตองเริ่มทําเปนประการแรก คือ ตองทําความเขาใจใหถูกตองวาสภาพสังคมที่เปนปญหากัน ทั้งหมดนั้น ตองบอกวาเปนผลกรรมของสังคมนี้เองซึ่งสะสมมานานหรือพูดอีกอยางหนึ่งวา สังคมไทยไดรับผลสมกับ กรรมของตนเองที่ไดทํามา ซึ่งเราไมรูตัว เราไมไดคิด เรามองไปแตที่คนอื่น วาเขาเปนอยางนั้นอยางนี้ ยอมรับเสียเถิด วา ที่จริงสังคมของเราไดเปนปญหามานานแลว และพวกเราคนไทยนี่แหละที่ไดรวมทํากรรมกันมาที่จะใหเปนอยางนี้ ตั้งแตอดีตจนปจจุบัน เชน เมื่อพูดถึงประชาธิปไตยก็บอกวาประชาธิปไตยแบบมีสวนรวม แตอยามองแคนั้น ไมใชแค วาจะไปรวมไดรวมเสีย จะไปเอาไปทําเรื่องนั้นเรื่องนี้ กับเขา แตตองมอง “ความมีสวนรวม” วามีสวนรวมในการที่ได ทําตัวเปนปญหาใหญของสังคมไทยหรือไม(พระพรหมคุณาภรณ. 2553: 9-11) การแกปญหาสังคมไทย เมื่อบอกวาคนไทย หรือสังคมไทยกําลังรับผลที่สมกับกรรมของตน กรรมของตนคือ กรรมของสังคมคือกรรม อะไร แลวเมื่อแกไข จะทําอยางไร คําตอบมีวา ผลกรรมใหญของสังคมไทย เปนปญหาเรื่องคุณภาพคน คนไทย อยากไดกุศลงายๆ โดยใชวิ ธีลัด แตพอจะใหทํากุศลจริงๆ ก็ไมสู จึงพัฒนากาวหนามุ งแนวไปในกุศลจริงจังไมได โดยเฉพาะอย า งยิ่ งกุ ศลขั้ น ป ญ ญา เพราะฉะนั้น การแกไ ขพัฒนาคุณ ภาพของคน จึงเปน เรื่ องใหญที่สุ ด ของ สังคมไทย และเปนสิ่งที่สังคมไทยตองแกไขอยางเรงดวน การพัฒนาคุณภาพคนนั้น จะตองทํากันใหจริงจัง ปญหา คุณภาพคนไทยเปนอยางไร อาจกลาวไดวารางกายพอมีกําลัง แตออนแอทางจิตใจ สภาพออนแอที่รายแรงที่สุด คือ ออนแอทางปญญา ถาออนแอทางปญญาแลวแยที่สุด สังคมจะเอาดีไมได ตองทําใหมีความเขมแข็งทางปญญา สราง ความเขมแข็งทางปญญาขึ้นมา จึงจะไปได แลวความเขมแข็งทางจิตใจ ความเขมแข็งทางสังคม และความเขมแข็ง อะไรตออะไรจะตามมาหมดเลย สังคมไทยของเรานี้มีอาการที่แสดงสภาพออนแอ ดังนี้ 1. ชอบรุนแรง ทําเรื่องรุนแรงมากๆ บอยๆ ความรุนแรงนั้นแสดงถึงความออนแอ เพราะความรุนแรงเกิด จากความออนแอ ที่วาความรุนแรงเกิดจากความออนแอนั้น จะเห็นวา คนออนแอไมมีความเขมแข็งที่จะควบคุม รักษาภาวะจิ ตใจของตน ก็เลยวูวาม เอาแตอารมณ หรือปญญาออนแอ คิ ดหาทางออกทางไปอยางอื่นไมได ทํ า ความสําเร็จดวยวิธีการที่ดีงามไมได ก็เลยตองเอาความรุนแรงเขาวา นี่ก็เพราะความออนแอ 2. เห็นแกเสพ หมกมุนมัวเมา มั่วสุรายาเสพติด ปลอยตัวไปตามกระแสบริโภคนิยม ตั้งตัวอยูไมไดที่จะไม เลื่อนไหลลองลอยไปตามกระแสนั้น จิตใจออนแอ ไมมีเรี่ยวแรงพอที่จะเหนี่ยวรั้งตัวเองไว ขาดกําลังความรูความ เขาใจ คือปญญาที่จะรูเทาทันและที่จะเห็นทางไปที่ดีกวา ขาดความเขมแข็งที่จะทวนกระแสรายไมใหทวมทนพัดพา ตัวไป หรือที่จะยืนหยัดไมยอมตามเหยื่อลอแหงผลประโยชน 3. ไมมีความเขมแข็งอดทนที่จะรอผลจากการกระทําดวยเรี่ยวแรงความเพียรพยายามของตนเอง มนุษย ปุถุชนคนทั่วไปตองอยูดวยความหวังซึ่งเปนเรื่องที่ดี แตตองหวังโดยรอผลจากการกระทําของตน ไมใชหวังลอยๆ หวัง แบบพึ่งพา ถาเอาแตรอผลจากการดลบันดาล ไมวาจะของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ของฤทธิ์ ของเทวดา หรือวาของคน ไดแตหวัง 27 ผลที่รอใหคนอื่นบันดาล ไมมีเรี่ยวแรง ไมมีความมุงมั่น และไมมีความคิดที่จะทําใหจริงจังจนกวาจะสําเร็จ ก็คือ ออนแอ สังคมไทยเวลานี้เปนสังคมรอผลดลบันดาลอยางหนัก ไมวาจะรอเทวดาบันดาล หรือรอมนุษยบันดาลก็ แลวแต ก็คือจมอยูในความออนแอและความประมาท เปนเรื่องที่ใชไมได ถาจะใหสังคมของเราเขมแข็ง ก็ตองใหคนมี ความเขมแข็งที่จะรอผลจากการกระทําของตน ก็คือตองเปนคนที่หวังผลจากการกระทํา ถาคนไทย “หวังผลจากการ กระทํา” ไมวาจากการทํางาน จากการทําการศึกษาคนควา จากการทําเหตุปจจัยของความเจริญกาวหนานั้นๆ ก็ตาม ถาอยางนี้แลว รับรองวาสังคมไทยเดินหนาแน “สังคมรอผลดลบันดาล ก็คือคนไขที่นอนรอการรักษาพยาบาล” เวลา นี้สังคมไทยเปนอยางไร เห็นชัดๆ วุนอยูกับเรื่องออนวอนนอนคอย และรอผลดลบันดาล เลยปลอยเวลาไปเปลาๆ นานเขาก็กลายเปนนิสัยที่วา ไมคิดไมอยากจะทําอะไร กลายเปนคนออนเปลี้ย ไมมีกําลัง เมื่อคนออนแออยางนี้ ชุมชนก็ออนแอแลวสังคมก็เปนงอย มันจะไปไหวอยางไร ถาปลอยใหคนอยูในสภาพอยางนี้ ออนแออยางนี้ ก็ไม สามารถทําการสรางสรรคอะไรเปนชิ้นเปนอัน ก็แกปญหาสังคมไมได คนที่รอการบันดาลจากภายนอกอยางนี้ ก็คือ คนเจ็บปวยชนิดหนึ่ง ก็เหมือนคนเจ็บไข ที่ทําอะไรไมได ไดแตรอการรักษา แลวก็พาใหชุมชนปวย ปวยกันไปหมด ปวยดวยความออนเปลี้ย อาการออนเพลีย เปลี้ย ไมมีแรง เปนความปวยอยางหนึ่งใชไหม พอชาวบานปวย ชุมชน ปวย ตอไปจังหวัดก็ปวย ตอจากนั้นประเทศไทยก็ปวย จึงตองพัฒนาคนใหมีกําลังแข็งแรงขึ้นมา คนที่แข็งแรงนั้น ดูได จากการที่วา เขาเปนคนทําจริงจัง มีความเพียร พยายาม ขยัน อดทน รอผลจากการกระทําของตนได การแกไขปญหาสังคมหรือการพัฒนาสังคมนั้นจะตองใหความสําคัญกับการพัฒนาความสัมพันธระหวางคน ในสังคมใหอยูรวมกันไดอยางมีความสุข หนาที่ของผูบริหารบานเมืองที่สังคมไทยตองการ คือ บริหารบานเมืองให มั่นคงปลอดภัยใหคนมีโอกาสทําดีเต็มที่ โดยไมตองเกรงใจ หรือมัวแตเอาใจชาวบานกัน เพื่อจะใหเขารัก จะหาพวก หาคะแนน หรืออะไรก็แลวแต ถาเจตนาดีจริง ตองใหเขามีหวังจากการกระทํา ไปสนับสนุนใหเขาทํา คุณขาดทุนขาด รอน ขาดอุปกรณอะไรจะชวย แตคุณตองทํา อันนี้สําคัญที่สุดที่จะทําใหคนไทยเขมแข็งขึ้นมาได การสวดมนตสวด พร หรือพระเจริญพระพุทธมนตที่เรียกวาพระ “ปริตร” ก็คือการสรางอํานาจในการคุมครอง ปองกันใหมีความมั่นคง ปลอดภัย ปลอดโปรงโลงใจ มีใจสบาย เกิดกําลังใจขึ้นมา แลวก็ใชโอกาสไดเต็มที่ หนาที่ของสิ่งศักดิ์สิทธิ์มีแคนี้ การ ทํางาน มีหนาที่ มีความดีที่จะทําอยูเปนเรื่องของผลที่จะเกิดจากการทําเหตุปจจัยดวยตัวของคุณเอง แตเมื่อคุณ ปลอดภัย มั่นใจ ก็จะไดใชโอกาสนั้นไปทํางานทําการเปนตัวของคุณไปไดอยางเต็มที่ ไมตองหวาดหวั่นพรั่นกลัวอะไร นี่คือความศักดิ์สิทธิ์ที่กลับมาหนุน ตรงขามกับลัทธิรอผลดลบันดาล ที่จะบันดาลใหโดยไมตองทํา ผูใหญ ผูบริหาร ผูปกครอง ไมวาระดับไหน จนถึงทั้งรัฐ มีหนาที่สําคัญก็คือดูแลคุมครองใหชาวบานหรือราษฎรมีความมั่นคงปลอดภัย แกไขอุปสรรค จัดสรรปจจัยเกื้อหนุน เปดชองทางสรางโอกาสประสานกลไกในระบบ อํานวยเครื่องใหความสะดวก และเสริมบรรยากาศที่เอื้อ เพื่อใหประชาชนสามารถเลาเรียนศึกษา พัฒนาชีวิต ทํางานทําการ หรือทําการสรางสรรค ตางๆ ไดอยางเต็มที่ แลวก็แนะนําใหความรู ชี้ชองทาง หนุน สงเสริมเขาไป ไมใชไปดลบันดาลผลใหเขา(พระพรหม คุณาภรณ. 2553: 37-44) ประโยชนที่คนไทยจะไดรับจากปญหาสังคม สังคมไทยมีปญหามานานจนกระทั่งเขาขั้นวิกฤติแลวในฐานะที่เปนคนไทยควรชวยกันหาทางออก ซึ่งการคิด เพียงใชวิกฤตเปนโอกาสเพียงแคนั้นยังไมสามารถแกไขใหสังคมดีขึ้นได เพราะยังไมมีความชัดเจนวาจะเอาโอกาสนั้น 28 ทําอะไร เวลานี้ตองชัด ตองเจาะลงไป โอกาสที่จะตองใช คือ เปนโอกาสสําหรับสังคมไทยที่จะทําแบบฝกหัด สังคม ที่จะเจริญ คนที่จะเจริญ ตั้งแตเด็กที่จะเจริญ จะมีปญญา จะสําเร็จการศึกษา ตองทําแบบฝกหัดมากๆ สังคมไทยเรา ตองทําแบบฝกหัดเยอะๆ เวลานี้ สังคมมีแบบฝกหัดใหทํามากมาย เราจะเขมแข็งและเราจะเจริญ จะพัฒนาไปได ก็ ดวยการหมั่นทําแบบฝกหัดนี้แหละ ตอนนี้เรามาถึงขั้นตอนที่จะตองทําแบบฝกหัดแลว ตองลุกขึ้นมาทําแบบฝกหัดกัน อยามัวบนอยู ตองตระหนักวา “วิกฤตเปนโอกาสไมพอ ตองเอาโอกาสมาใชทําแบบฝกหัด” แมแตคนที่เรียกกันวาผูปฏิบัติธรรม ก็อยาแคมาปฏิบัติพอใหใจสบายหายทุกข กลายเปนนักหลบหลีกปญหา เมื่อปฏิบัติธรรมแลว จิตใจตองเขมแข็งมากขึ้น ปญญาตองสวางมากขึ้น ตองตั้งทาทีของจิตใจตอชีวิตตอโลกไดถูกตอง มีเมตตาการุณยมากขึ้น เปนอิสระมากขึ้น กลับไปอยูกับชีวิตอยางเขมแข็ง มีปญญาสดใส พรอมยิ่งขึ้นที่จะกาวไปได เต็มที่ จะทําอะไรก็ทําไดผลดียิ่งขึ้น ชวยแกปญหารอบตัวไดดียิ่งขึ้น มิฉะนั้น แมแตสมาธิก็จะกลายเปนสมาธิกลอมไป สมาธินั้นมีไวเพื่อเปนฐานของปญญา ถาใครไมเอาสมาธิเปนฐานของปญญา สมาธินั้นก็เปนทางที่ตัน ถึงจะเกงไดฌาน ไดอะไรแคไหน ในที่สุดก็ตัน ธรรมทุกอยางเปนองคประกอบอยูในกระบวนการสงตอไปสูจุดหมาย จะปฏิบัติธรรมขอ ไหนตองถามทันทีวา ธรรมขอนี้จะสงตอสูธรรมขอไหน จุดหมายใหญที่จะไปถึงในที่สุดคืออะไร แลวอันนี้จะเปนสวน รวม สวนเอื้อ เปนปจจัยเกื้อหนุนตอการไปถึงจุดหมายใหญนั้นอยางไร ถาตอบไมได ก็แสดงวายังสอบตกอยู การ ทําบุ ญถื อไดว า เปน ปฏิ บัติการในการพั ฒ นาคนอยางครบครัน และชัดเจน จึงมีบุญมีกุศลในดานและระดับตางๆ มากมาย ซึ่งในที่สุดก็ใหถึงจุดหมายสุดทายนั้นได ดวยการสงตอสูปญญา จึงตองกาวเดินหนาตอไป ไมใชจบที่สมาธิ (พระพรหมคุณาภรณ. 2553: 45-47) 29 แผนการสอน หัวขอ ประชาธิปไตยและบทบาทหนาที่พลเมืองในสังคมไทย ผูสอน อาจารย ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา วัตถุประสงค : เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1. จิตพิสัย ไดแก - เสริมสรางเจตคติที่ดีในการทําหนาที่พลเมืองในสังคมไทย - มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อสวนรวม - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคม - มีวินัยตรงตอเวลาเคารพกฏระเบียบของสังคม 2. พุทธิพิสัย ไดแก - มีความรูความเขาใจการเปนพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย - มีความรูความเขาใจเพื่อนมนุษย สังคมไทยและนานาชาติ กฎหมายในชีวิตประจําวันและ สามารถนําความรูไปใชในการแกปญหาสังคมอยางสรางสรรค - สามารถเชื่อมโยงความรูสูการใชประโยชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคมในทุก มิติไดอยางสมดุล - มีความรูพื้นฐานในการดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3. ทักษะพิสัย ไดแก - ใชภาษาไทยในการติดตอสื่อสารและสรางความสัมพันธ - สามารถปรับตัวทํางานรวมกับผูอื่นทั้งในฐานะผูนําและสมาชิกกลุม - การอยูรวมกับผูอื่นอยางสันติสุข - ใฝรูและมีวิจารณญานในการเลือกรับขอมูล - สามารถคิดอยางมีเหตุผลและเปนระบบ - มีทักษะการคิดวิเคราะหเชิงตัวเลข - มีทักษะสื่อสารและการใชเทคโนโลยีสารสนเทศไดอยางถูกตองและเหมาะสม - สามารถนําเสนอสารสนเทศในรูปแบบที่เหมาะสม และมีคุณภาพ เนื้อหา 1. ความเปนพลเมือง 2. คุณลักษณะของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย 3. วิถีไทยที่ขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย 30 การจัดประสบการณการเรียนรู 1. อาจารยสอนบรรยายเนื้อหาหัวขอตางๆ 2. นิสิตชมสื่อประกอบการสอน 3. อาจารยและนิสิตรวมอภิปราย 4. อาจารยสรุปเนื้อหา 5. นิสิตซักถาม 6. นิสิตสรุปผลใบกิจกรรมรายบุคคล 7. อธิบายใบกิจกรรมที่ 4 (โครงการสํารวจปญหาชุมชน) สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบการสอน 2. Power point 3. วีดิทัศนเรื่อง 2475 25 45 25 20 25 30 10 นาที นาที นาที นาที นาที นาที นาที วัตถุประสงค - ถายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับคุณลักษณะของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย - ถายทอดเนื้อหาเกี่ยวกับวิถีไทยที่ขัดขวางความเปนประชาธิปไตย สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจไดชัดเจนยิ่งขึ้น แสดงสภาพประชาธิปไตยในสังคมไทยตั้งแตเปลี่ยนแปลงการปกครอง การประเมินผล 1. การจัดทําใบกิจกรรมที่ 2 คนไทยกับปญหาสังคมไทย 2. การมีสวนรวมอภิปรายในชั้นเรียน 3. ขอสอบภาคเนื้อหา หนังสืออางอิง ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสรางพลเมือง. กรุงเทพฯ : นานมีบุคพับลิเคชั่น ทิพยพาพร ตันติสุนทร. (2554). การศึกษาเพื่อสรางพลเมือง. กรุงเทพฯ : สถาบันนโยบายศึกษา. ณัฐกร วิทิตานนท. (2553). หลักรัฐธรรมนูญเบื้องตน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. 31 หัวขอการสอน ประชาธิปไตยและบทบาทหนาที่พลเมืองในสังคมไทย ความหมายของ “ประชาธิปไตย” ประชาธิปไตย (Democracy) มีรากศัพทมาจากภาษากรีก 2 คํา คือ Demos แปลวา พลเมือง/ประชาชน และ Kratos แปลวา การปกครอง/รัฐบาล/อํานาจปกครอง จากรากศัพทดังกลาว จะเห็นไดวาคํานี้มีความหมายอยู ในตัวแลววา อํานาจประชาชน Abraham Lincoln อดีตประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเคยกลาวสุนทรพจนไววา “ประชาธิปไตยเปนการปกครองที่จะตองทําใหบรรลุวัตถุประสงคหรือเปาหมายแหงการเปนรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน Democracy is … government of the people, by the people, and for the people …”) สําหรับประเทศไทย ประชาธิปไตย ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 หมายถึง ระบอบการปกครองที่ถือมติปวงชนเปนใหญ การถือเสียงขางมากเปนใหญ(ณัฐกร วิทิตานนท. 2553: 17) ปริญญา เทวานฤมิตรกุล อธิบายวา ประชาธิปไตย มาจากคําวา ประขา บวกกับคําวา อธิปไตย ซึ่งแปลวา อํ า นาจสู งสุ ด ของประเทศ “ประชาธิ ป ไตย” จึ ง หมายถึ ง ระบอบการปกครองที่ อํา นาจสู งสุ ดของประเทศเป น ประชาชน ประเทศใดปกครองดวยระบอบ “ประชาธิปไตย” ประชาชนจึงมีฐานะเปน “เจาของประเทศ” เพราะเปน เจาของอํานาจสูงสุดของประเทศ และมีเฉพาะแตประเทศที่ปกครองดวยระบอบประชาธิปไตยเทานั้นที่ประชาชนจะ เปนเจาของประเทศ สวนการปกครองระบอบอื่น ประชาชนไมใชเจาของประเทศ หากเปนแตเพียงผูอาศัยเทานั้น ประชาธิปไตยในทางปฏิบัติประกอบดวยสถาบันการเมืองที่มีความเปนตัวแทนของประชาชนสวนใหญ โดยมี การเลือกตั้งที่เปนไปอยางเสรีและเที่ยงธรรม เปนระบบหลายพรรคการเมือง และประชาชนไมเพียงแตมีสิทธิเลือกตั้ง ผูใชอํานาจทางการเมืองแทนตนในทุกระดับเทานั้น หากแตยังมีอํานาจตัดสินปญหาและกําหนดนโยบายโดยตรงใน เรื่ อ งสํ า คั ญ ๆ ได แ ก การทํ า ประชามติ การริ เ ริ่ ม กฎหมาย การถอดถอน ฯลฯ กล า วได ว า ประชาธิ ป ไตย เจริญเติบโตดวยศรัทธาและความเชื่อมั่นวา ควรมีการจํากัดอํานาจการปกครองของผูปกครองใหอยูในขอบเขตอัน เหมาะสม ตามหลักคิดที่วา อํานาจอธิปไตยเปนของปวงชน ฉะนั้นถึงแมวาระบอบการเมืองเชนนี้จะไมใชระบอบที่ ดีสมบูรณแบบ เพราะทั้งสิ้นเปลืองเวลา เงินทอง และเต็มไปดวยความขัดแยง/ยุงเหยิง/ไรระเบียบอันเกิดจากการ แขงขันในทางตาง ๆ แตประวัติศาสตรก็ไดตอกย้ําครั้งแลวครั้งเลาใหตองเรียนรูและยอมรับกันวานี่คือ ระบอบการ ปกครองทีม่ ีขอเสียนอยที่สุด เทาที่มนุษยเคยมีมา หัวใจของประชาธิปไตย ตองครอบคลุมหลักการสําคัญดังตอไปนี้ ใหครบถวน(ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. 2555:20) 1) หลักอํานาจสูงสุดเปนของประชาชน (Popular Sovereignty) หรืออํานาจสูงสุดในการปกครองอยูที่ ประชาชน ดังนั้น ในฐานะที่ประชาชนเปนเจาของอํานาจอธิปไตย ประชาชนจึงมีสิทธิตั้งรัฐบาลได ผานกระบวนการ เลือกตั้งเปนสําคัญ 2) หลักสิทธิเสรีภาพตาง ๆ ของประชาชน (Bill of Rights) จะตองไดรับการคุมครอง รัฐบาลจะไมลวงล้ํา สิทธิเสรีภาพ หรือกระทําการใด ๆ อันเปนการรบกวนถึงสิทธิเสรีภาพอันพึงมีของประชาชน 32 3) หลักความสูงสุดของกฎหมาย ผูมีอํานาจตองถูกกฎหมายจํากัดอํานาจเอาไว เปาหมาย วิธีการ และ รากฐานในการดําเนินการใด ๆ ก็ตามก็รัฐ จะตองชอบดวยกฎหมาย (Government of Law, Not of Men) ซึ่งก็คือ “หลักนิติธรรม” (Rule of Law) 4) หลักความเสมอภาค ซึ่งเนนความเทาเทียมกันของมนุษยทุกคน โดยใหความคุมครองทางกฎหมายอยาง ทัดเทียมกัน (Equal Protection under Law) โดยไมมีการเลือกปฏิบัติใด ๆ (Discrimination) 5) หลักการเสียงขางมาก (Majority Rule) ในทุก ๆ เรื่อง แมวาประชาธิปไตยจะเปนการปกครองที่ยึดมั่น ในเสีย งข างมาก แตก็จ ะต องพรอมรั บฟ ง และใหความเปน ธรรมแกฝายขางนอยดว ยเชน กัน(ณั ฐกร วิทิตานนท. 2553: 17-18) ในประเทศไทยนั้น อํานาจสูงสุดของประเทศ หรือ อํานาจอธิปไตย ไดเปนของประชาชนเมื่อ 27มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยมีการประกาศใชรัฐธรรมนูญฉบับแรก ที่มีชื่อวา “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม ชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งมีคําปรารภและมาตรา 1 ดังขอความตอไปนี้ “โดยที่คณะราษฏรไดขอรองใหอยูใตธรรมนูญการปกครองแผนดินสยาม เพื่อบานเมืองจะไดเจริญขึ้น และ โดยที่ไดทรงยอมรับตามคําขอรองของคณะราษฏร จึงทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ใหตราพระราชบัญญัติขึ้นไวโดย มาตราตอไปนี้ มาตรา 1 อํานาจสูงสุดของ ประเทศนั้นเปนของราษฏรทั้งหลาย ประชาธิปก ปร. ประกาศ ณ วันที่ 27 มิถุนายน พุทธศักราช 2475” พระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัว ไดทรงลงพระปรมาภิไธยที่ทายรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยไมมีผูลงนามรับ สนองพระบรมราชโองการ ซึ่งแตกตางไปจากรัฐธรรมนูญฉบับตอมา รวมถึงพระราชบัญญัติและพระราชกําหนดทุก ฉบั บ ที่ ป ระกาศใช ห ลั งจากนั้ น เปน ต น มา ซึ่ งตองมีผูล งนามรับ สนองพระบรมราชโองการเสมอ การที่หลังจากมี ประกาศใชรั ฐธรรมนูญฉบับบแรกแลว ตองมีผูลงนามรับสนองพระบรมราชโองการก็เพราะวา นับ ตั้งแตวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 อํานาจสูงสุดของประเทศไดกลายเปนของราษฏรทั้งหลายไปแลว การที่พระมหากษัตริยจะทรง ใชพระราชอํานาจได จึงตองมีตัวแทนราษฏรเปนผูทูลเกลาฯ ขึ้นไป โดยผูทูลเกลาฯ จะเปนผูลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการเมื่ อทรงโปรดเกล า ฯ ลงมา รั ฐ ธรรมนูญ ทุกฉบับ จึงได บัญ ญัติ ไวเป น หลักการวา “บทกฎหมายพระ ราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผนดิน ตองมีรัฐมนตรีลงนามรับสนองพระบรมราช โองการ ...” (ม. 195 รัฐธรรมนูญแหงราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550) แตกอนหนาวันที่ 27 มิถุน ายน พ.ศ.2475 อํานาจสูงสุดยังคงเปนของพระองค เมื่อจะทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกลาฯ จึงทรงมีพระราชอํานาจที่จะทําได โดยพระองคเอง โดยไมตองมีผูทูลเกลาฯ ขึ้นไป รัฐธรรมนูญฉบับ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 จึงมีฐานะเปนหนังสือมอบอํานาจสูงสุดของประเทศไทย โดย พระมหากษัตริยซึ่งเปนเจาของอํานาจแตเดิม ไดทรงลงพระปรมาภิไธยมอบอํานาจนั้นใหกับ “ราษฎรทั้งหลาย” ดวย พระองคเอง พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผนดินสยามชั่วคราวพุทธศักราช 2475 จึงถือเปนรอยตอระหวาง ระบอบราชาธิปไตยที่อํานาจสูงสุดเปนของพระราชากับระบอบประชาธิปไตยอํานาจสูงสุดของประเทศเปนของ 33 ราษฎรทั้งหลาย โดยมีพระมหากษัตริยทรงเปนประมุขภายใตรัฐธรรมนูญ ซึ่งเริ่มตนในประเทศไทยตั้งแตวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ.2475 เปนตนมา เมื่ออํานาจสูงสุดของประเทศไดกลายเปนของประชาชน ประชาชนจึงเปลี่ยนฐานะจากผูอาศัย กลายเปน เจาของประเทศ โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกลาเจาอยูหัวซึ่งเปนเจาของประเทศแตเดิมไดมอบความเปนเจาของ ประเทศใหกับประชาชนโดยพระองคเอง เมื่อประชาชนเปนเจาของประเทศ ประชาชนจึงยอมมีสิทธิและเสรีภาพใน ประเทศเชนเดียวกับเจาของบานยอมมีสิทธิและเสรีภาพในบานของตนเอง ประชาธิปไตยจึงแตกตางไปจากการ ปกครองระบอบอื่นเพราะระบอบอื่นประชาชนไมใชเจาของประเทศแตเปนเพียงผูอาศัย และจะมีสิทธิเสรีภาพเพียง เทาที่ผูมีอํานาจของประเทศจะอนุญาตใหมีเทานั้น ในประเทศที่ปกครองดวยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจึงเทาเทียมกัน ในระบอบนี้ประชาชนจะเปน เจาของชีวิต มีสิทธิสวนบุคคล และมีเสรีภาพในการเลือกวิถีชีวิตของตนเอง โดยไมจําเปนตองคิดเหมือนกัน เชื่อ เหมือนกัน หรือเห็นเหมือนกัน แตสามารถแตกตางกันได ประชาธิปไตยจึงเปนเรื่องของการยอมรับ ความหลากหลาย ภายใตหลักความเสมอภาค สําหรับเรื่องอันเปนของสวนรวมหรือการเมืองการปกครอง โดยเหตุที่ประชาชนแตกตาง กั น และมี ความเห็ น ที่ แตกต า งกั น ได หากไม ส ามารถเห็ น พ องต องกั น ได ประชาธิป ไตยซึ่ งเปน การปกครองโดย ประชาชน ก็จะตองตัดสินปญหาโดยใชหลักเสียงขางมาก (Majority rule) แตการใชหลักเสียงขางมากอยางเดียว อาจจะกลายเปนเผด็จการเสียงขางมากไปได ดังนั้นประชาธิปไตยจึงตองมีการคุมครองสิทธิของเสียงขางนอย (Minority rights) ดวย เพราะประชาธิปไตยมิใชระบอบการปกครองแบบพวกมากลากไป หรือระบอบพวกมาก เปนใหญ เสียงขางมากจึงตองรับฟงและเคารพเสียงขางนอยดวย ประเทศที่ปกครองดวยระบอบประชาธิปไตย จะตองนําหลักการหลักประชาธิปไตยที่ประกอบดวย หลัก อํานาจสูงสุดเปนของประชาชนและเปนการปกครองโดยประชาชน หลักนิติธรรม หลักสิทธิเสรีภาพ หลักความเสมอ ภาค และหลักการปกครองโดยเสียงขางมากที่คุมครองเสียงขางนอย มากําหนดเปนกติกา เพื่อใชในการปกครอง ตนเองของประชาชน ซึ่งกติกานี้ก็คือ รัฐธรรมนูญ นั่นเอง(ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. 2555:22-25) ความหมายของ “พลเมือง” “พลเมือง” เปน คําที่เ ริ่มใช กันมากขึ้นในสังคมไทยและมี ความหมายแตกต างจากคําว าประชาชน โดย ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเปนระบอบประชาธิปไตยไดเกิดเหตุการณ ที่พลังจากประชาชนในสังคมได รวมตัวขับเคลื่อนกดดันใหเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และเปนอํานาจทางการเมืองที่เปนอิสระจากอํานาจรัฐ จนเกิดการเมืองของพลเมืองที่มีการขยายตัวและทํางานในรูปแบบตางๆ โดยไมตองพึ่งพาอํานาจจากรัฐ การ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดจากพลังทางการเมืองของพลเมืองที่เห็นเดนชัดก็คือ การตอตานอํานาจทหารใน เหตุการณเดือนพฤษภาคม 2535 และหลังจากนั้นมีการเรียกรองใหมีการปฏิรูปสังคม ทั้งดานการเมือง การศึกษา สาธารณสุข สื่อสาธารณะ และการกระจายอํานาจ กระทั่งสามารถผลักดันใหเกิดรัฐธรรมนูญป พ.ศ. 2540 อันเปน ฉบั บที่เ รีย กว า รัฐ ธรรมนู ญฉบั บประชาชนเพราะเปนรัฐ ธรรมนูญที่เกิดจากการขับเคลื่อนของภาคพลเมือง และ ประชาชนไดเขามามีสวนรวมในการรางรัฐธรรมนูญฉบับนี้อยางมากที่สุด 34 รัฐธรรมนูญฉบับดังกลาวไดใหหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามครรลองของระบอบประชาธิปไตย อยางกวางขวาง เชน ใหอํานาจการตรวจสอบการใชอํานาจรัฐของรัฐบาล โดยมีกลไกการตรวจสอบที่เปนองคกร อิสระหลายองคกร ใหมีการกระจายอํา นาจออกจากสวนกลางสูทองถิ่น ใหมีการจัดตั้งสภาพัฒ นาการเมืองเพื่อ พัฒนาการเขาถึงและการมีสวนรวมทางการเมืองของประชาชน เปนตน ป พ.ศ. 2554 คําวา “พลเมือง” เปนคําสําคัญที่ไดรับการบันทึกไวในยุทธศาสตรของกระทรวงศึกษาธิการ วาดวย “ยุทธศาสตรการศึกษาเพื่อสรางพลเมือง” ในสมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อันเปนชวงเวลาของ ปรากฏการณความขัดแยงทางการเมืองอยางสูงในเรื่องของปญหาประชาธิปไตยที่ไดสรางความแตกแยกในสังคมไทย อยางที่ไมเคยปรากฎมากอน ดังนั้นสังคมไทยจึงมีความตองการชัดเจนที่จะสรางคนในทิศทางที่จะใหเปน “พลเมือง” ในแบบของประชาธิปไตย แต “ความเปนพลเมือง” สําหรับคนไทยและสังคมไทยก็ยังไมมีการทําความเขาใจให ตรงกันชัดเจน การใชคําวาประชาชนและพลเมืองจึงถูกใชควบคูกันไปอยูเสมอโดยมิอาจแยกแยะความหมายและ ความสําคัญของคําดังกลาว การพูดถึง “ความเปนพลเมือง” ในทุกวันนี้ เราพึงเขาใจใหตรงกันเสียกอนวา เรากําลังพูดถึง “พลเมือง” ใน ความหมายของคนที่จะใชชีวิตอยูในสังคมภายใตระบอบการปกครองของแตละประเทศ แตพลเมืองจะมีบทบาท หนาที่ และบุคลิกภาพอยางไร ก็อยูที่ระบอบทางการเมืองของรัฐนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อการดํารงอยูและความมั่นคงของรัฐที่ จําเปนตองอาศัยการสนับสนุนและค้ําจุนโดยคนในสังคมหรือประชาชนนั่นเอง ซึ่งรวมถึงวิถีชีวิต การกินเปน – อยู เปน และคิดเปน ลวนอยูที่การเมืองการปกครองนี้ทั้งสิ้น ไมวาจะเปนรัฐเผด็จการ กึ่งเผด็จการประชาธิปไตยหรือกึ่ง ประชาธิปไตย และประชาธิปไตย ผูอยูภายใตระบอบนั้นๆ ก็จะถูกออกแบบมาใหอยูตามครรลองของอุดมการณทาง การเมืองนั้นๆ จนกลายเปนวัฒนธรรม หรือเปนวิถีปฏิบัติ เชน ระบอบเผด็จการพลเมืองก็จะเปนผูรับสนองนโยบาย ของรัฐ เคารพกฎระเบียบอยางเครงครัด เปนผูตามที่ดี ไมตองมีความคิดเห็นเปนผลดีที่ไมกลาโตแยงเพราะถูกจํากัด เสรีภาพและรัฐทําใหทุกอยางอยูแลว ดังที่เราเคยไดยินคําวา “เชื่อผูนํา ชาติพนภัย” ซึ่งลักษณะเชนนี้อยูในขั้วตรง ขามกับระบอบประชาธิปไตย ซึ่งสงเสริมสิทธิเสรีภาพของประชาชนใหอิสระการคิด การแสดงออก กระทั่งสามารถ เข าไปมี สว นร วมกํา หนดทิ ศทางความเปน ไปของสังคมและการเมืองได ความเปน พลเมืองในสังคมเผด็จการกับ ประชาธิปไตยจึงแตกตางกันโดยสิ้นเชิง ดร.วิชัย ตันศิริ อดีตเลขาธิการสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแหงชาติ และอดีตรัฐมนตรีชวยวาการ กระทรวงศึกษาธิการ ไดใหความหมายของความเปนพลเมืองไว 2 ลักษณะ ดังนี้ 1. ความเปนพลเมืองในความหมายเกา หมายถึงการเปนผูรับ คอยแบมือรับทั้งผลบวกและลบจากนโยบาย ของรัฐบาล การเปนพลเมืองจึงเปนเพียงผูตาม ผูปฏิบัติตามคําสั่งและกฎหมายอยางเครงครัด เปนพลเมืองที่ยอมรับ อํานาจทางการเมืองอยางเปนทางการ คือ เปนผูอยูใตการปกครองนั่นเอง 2. ความเปนพลเมืองในความหมายใหม คื อ พลเมืองมีสวนเปนผู กระทํา มี จิตสาธารณะ เห็ นประโยชน สวนรวม มีความรับผิดชอบ และพรอมเปนผูนําการเปลี่ยนแปลงในทุกระดับ อันเปนความหมายของพลเมืองในสังคม ประชาธิปไตย ที่มองเห็นการเมืองเปนเรื่องของทุกคนในสังคมที่พลเมืองตองเขารวมรับผิดชอบ ไมปลอยใหเปนเรื่อง ของนักการเมือง ผูนํา หรือรัฐบาลเทานั้น 35 เอนก เหล า ธรรมทั ศ น ได พู ดไว ใ นหนังสื อการเมืองของพลเมื องฯ วา “ประชาธิ ป ไตยนั้ น มีเนื้อ หาและ วิญญาณที่เปนเอกอุ คือการปกครองของเราเอง เพื่อเราเอง และที่ตอกย้ําใหถึงที่สุดก็คือโดยพวกเรากันเอง” พูด งายๆ ก็คือ การปกครองกันเอง การปกครองแบบนี้ คนในสังคมก็ตองพูดกันรูเรื่อง มีเหตุมีผลมีวิจารณญาณและมี ความรับผิดชอบ ไมใชเฮกันไปตามวาทกรรมของผูนํา หรือนักการเมืองที่มักผูกขาดการชี้นําแบบเผด็จการ สังคมไทย ยังมีปญหาความสัมพันธทางอํานาจระหวางรัฐที่ควบคุมกลไกทางการเมือง กับพลเมืองผูเปนที่มาของอํานาจทาง การเมือง และเราจะ “สรางพลเมือง” หรือเปลี่ยนแปลงประชาชนใหเปนพลเมืองที่ใชชีวิตและมีวัฒนธรรมการเมืองที่ สอดคลองกับระบอบการเมืองหรืออุดมการณประชาธิปไตยไดอยางไร และโดยวิธีการใด เพื่อพลเมืองไทยสามารถทํา หนาที่ผูสนับสนุนค้ําจุนตัวระบอบประชาธิปไตยใหมีเสถียรภาพ สิ่งที่สะทอนใหเราเห็นก็คือสังคมไทยออนแอ ไมอาจแกปญหาเมื่อเผชิญกับวิกฤติใหญๆ ได ไมวาจะเปน วิกฤติเศรษฐกิจในป 2540 วิกฤติการเมือง ความแตกแยกแบงสี ตั้งแตปลายป 2549 และวิกฤตมหาอุทกภัย 2554 สิ่งที่นาพิจารณาคือ หลังการเปลี่ยนแปลงตั้งแตป 2475 จวบจนปจจุบัน ทั้งกลไกการเมืองระดับบนสุด และกลไก บริหารดานตางๆ ของรัฐมิไดมีความแข็งแกรงหรือความสามารถในการจัดการเมื่อตองเผชิญกับวิกฤติการณที่รุนแรง ดังกลาวมาแลวได แมวาเปาหมายของการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญภายหลังป 2475 คือ การขยายมิติการมีสวนรวมของ ประชาชนในทางการเมือง โดยการนําเอาระบอบประชาธิปไตยเขามาแทนที่ระบอบเดิม แตก็ปรากฏวามิตินี้ยังไม สามารถผนึ กกํ า ลั งเป น ป กแผ น แนน หนาได ไมวาจะเปน ดานอุดมการณ คานิยม และดานสถาบัน ทางการเมือง ประชาชนโดยทั่วไปยังขาดความรู ความเขาใจ และไมสามารถเขาไปมีสวนรวมในการเปลี่ยนแปลงใดๆ ได ทําให บทบาทของผูนํา หรือผูกุมอํานาจรัฐมีความสําคัญและเกิดการรวมศูนยอํานาจของรัฐราชการมากขึ้น ดวยเหตุนี้จึงทํา ใหการมีสวนรวมของประชาชนจะมีขึ้นไดก็โดยผานการเลือกตั้ง และการเขารวมโครงการตางๆ ตามที่รัฐบาลเปนผู กําหนด การมีบทบาททางการเมืองของประชาชนจึงถูกจํากัดอยูเพียงการเปน “ผูเขารวม” ทางการเมือง หาใชผู “มี สวนในการกระทํารวม” ทางการเมือง ตลอดระยะเวลานับแตมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ประชาธิปไตยเกิดขึ้น ในสังคมไทยมานานกวา 80 ป และคนไทยมีรัฐธรรมนูญใชแลวจํานวนหลายฉบับ แตความเขาใจและรับรูทางการ เมืองของคนไทยยังอยูในลักษณะจํากัด ความออนแอของสังคมจึงสะทอนไดจากการไมสามารถสรางมิติการมีสวน รวมของประชาชนใหเปนพลังสังคมรวมกับรัฐในการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม เพื่อรวมกันฝาวิกฤติใหญๆ ของชาติ ไปใหได เรื่องการเมืองจึงยังไมสัมพันธหรือสอดคลองกับวัฒนธรรมและการใชชีวิตของคนไทยโดยทั่วไป หรืออาจ กลาวไดวา คนไทยยังขาดวัฒนธรรมการเมือง จึงควรจะไดทําความคุนเคยกับ “การเมือง” ใหมากขึ้น เพราะการเมือง เกี่ยวของกับทุกคน ทุกเรื่อง ทั้งอดีต ปจจุบัน และอนาคต การไมสนใจการเมืองและไมมีความรูและความเขาใจ การเมืองจึงมีผลทําใหคนไทยถอยหางจากการเมืองมากขึ้น และปลอยใหธุระทางการเมืองเปนเรื่องของขาราชการ นักการเมือง นักธุรกิจ และกลายเปนธุรกิจการเมือง เมื่อขาราชการ นักธรุกิจ และกลายเปนธุรกิจการเมืองไปแลว ขาราชการ นักธุรกิจ และนักการเมืองก็รวมกันทํากิจกรรมทางการเมืองในทุกระดับ จึงเกิดการคอรรัปชั่นขนานใหญ กลายเปนมะเร็งรายทางการเมืองที่กัดกรอนสังคมไทยอยูในทุกวันนี้ คําวา “การเมือง” มีรากศัพทมาจากคําวา “Polis” เปนคํากรีกโบราณ แปลวา เมือง สวนการเมืองก็คือ กิจกรรมที่ทํากันในเมืองเพื่อทําใหเกิดสิ่งที่ดีสําหรับชีวิตสวนรวม ในความหมายนี้ การเมืองจึงเปนเรื่องกิจสาธารณะ 36 เรื่องของประโยชนสวนรวม การเมืองจึงเปนกิจกรรมธรรมชาติเพื่อมนุษยชาติ รัฐบาลเปนเพียงสวนหนึ่งของการเมือง และการเมืองมิใชมีไวสําหรับนักการเมืองเทานั้น ดังที่อาริสโตเติ้ล ไดตั้งขอสังเกตไววา “โดยธรรมชาติแลวพวกเรา ลวนเปนผูสรางการเมือง” การเมื องจึงเปนเรื่องของทุกคนที่ อยูในเมือง ที่มารวมกันทํากิจกรรมเพื่อสวนรวม มิใช เฉพาะเรื่องแกงแยงหรือแบงปนผลประโยชนกัน การเมืองจึงเปนเรื่องการทําความดี เปนเรื่องของคุณธรรม การเมืองประเทศไทยเทาที่เปนอยูปจจุบันมี 2 ประการ คือ ประเภทแรก คื อ การเมื อ งแบบตั ว แทน โดยประชาชนมีส ว นรว มผา นการเมือ งที่ ถูก จํา กัดวงอยูใ นหมู นักการเมืองและขาราชการ การเมืองในแบบแรกถูกผูกขาดโดยนักการเมืองหรื อรัฐบาล ดังจะเห็นนโยบายและ โครงการตางๆ ที่รัฐบาลประกาศออกมาโดยประชาชนไมไดรูเห็นเปนใจ เปนการเมืองที่ผูกขาดการใหบริการ และ ประชาชนรอรับการบริการ ไมวาจะชอบหรือไมชอบ ดีหรือไมดีก็ตาม ประเภทที่สอง คือ การเมืองของพลเมือง หรือการเมืองภาคพลเมือง ถือเปนอํานาจทางการเมืองที่มีพื้นฐาน มาจากพลังในสังคมนอกกลไกรัฐ กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือ เปนอํานาจที่มาจากประชาสังคม (Civil society) ซึ่งหมายถึง สถาบันและพลังตางๆ ในสังคมที่มิใชสถาบันของรัฐ ซึ่งไดแก สวนเอกชน อันหมายรวมถึงองคกร และพลังอาสา เอกชนที่อยูนอกสถาบันอํานาจรัฐดวย เปนการเมืองที่พลเมืองเชื่อวาตนสามารถเปนผูทําใหเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู สิ่งที่ดีได แกปญหาได เปนการเมืองที่คนสนใจตอปญหาสังคมและตองการแกไข โดยการรวมกลุมกันเปนองคกร สมาคมหรือชุมชน เพื่อทํา กิจสาธารณประโยชนนอยใหญ เปนอิสระจากกลไกอํานาจรัฐ ไมเห็นวาการเมืองเปน เรื่องของนักการเมืองและรัฐบาลเทานั้น พลเมืองจึงไมใชเพียงผูหยอนบัตรเลือกตั้ง และปฏิบัติตามกฎหมาย “การเมือง” จึ งมิใชจะสัมพันธ กับสิ่งที่นักการเมืองทําไปทุกเรื่อง แตเมื่อการเมืองเปนเรื่ องกิจสาธารณะ การเมืองของพลเมืองจึงเปนเรื่องธรรมชาติที่ผูเดือดรอนมองเห็นปญหาและอยากแกไขใหชุมชนปลอดภัย นาอยูและ มีสันติสุข การเกิดขึ้นของพลังสังคมในรูปของประชาสังคมหรือกลุมพลเมืองที่ทํางานดานสิ่งแวดลอม สาธารณสุข สื่อ สาธารณะ การศึกษา ฯลฯ เหลานี้จึงทําใหพลเมืองมีความหมายในทางการเมืองของสังคมประชาธิปไตย และเปน ความหมายที่กวางทําใหการเมืองครอบคลุมการกระทําที่เปนทางการและไมเปนทางการเพื่อแกไขปญหาสาธารณะ แมวาทุกเรื่องทุกอยางจะไมใชเรื่องการเมืองโดยตรง แตก็มีมิติทางการเมืองอยูในแทบทุกเรื่องที่นําพาผูคนแมไมรูจัก กันใหมารวมคิด รวมแกปญหา ผานกิจกรรมสาธารณะ (Civic Engagement) ตั้งแตระดับชุมชน ไมวาจะเปนเรื่อง ปญหายาเสพติด เรื่องการตอตานคอรรรัปชั่น เรื่องโรคเอดส เรื่องสิ่งแวดลอม เรื่องการศึกษา ฯลฯ พลเมืองจึงเปนผูมี สว นกระทําไมใชเ ปน เพี ย งผู สังเกตการณ ทางการเมือง แตเปน การเมืองที่พลเมืองตองการมีพันธะทางการเมือง (Political Engagement) สถานะของพลเมืองจึงเปนผูผลิตหรือผูสรางการเมือง ดังที่อาริสโตเติ้ล ไดกลาวไววา “ความเปนพลเมือง มิใชผูชมหรือผูเคราะหรายทางการเมือง แตไดเปลี่ยนบทบาทจากการเปนประชาชนที่รอชม และเรียกรองโอกาส จากรั ฐ บาล จากเป น ผู เ คราะห ร า ยที่ ร อการช ว ยเหลื อ มาเป น “ผู ก ระทํ า ” ที่ ส ามารถทํ า การเมื อ งเพื่ อ การ เปลี่ ยนแปลงได และกลายเป นอํ านาจทางการเมืองใหม ที่พลเมืองสร างขึ้น ดวยตัวเอง” นี่ คือความแตกตาง ระหวางประชาชนกับพลเมือง 37 สังคมไทย นอกจากคําวา “พลเมือง” ที่ใชในความหมายของความเปนพลเมืองแลว คนทั่วไปสวนใหญก็ มักจะใชคําวาประชาชนดวย เอนก เหลาธรรมทัศน ไดใหความเห็นในเรื่องนี้วา “ประชาชน” (people) นั้น มีมาทุก ยุคทุกสมัย ซึ่งหมายถึงคนที่ไมใชผูปกครอง (non-ruler) ในสมัยโบราณนั้นประชาชนเปนไพรหรือทาสเกือบทั้งหมด การเมืองสมัยใหมไดปลดปลอยประชาชนจากการเปนไพรหรือทาสใหกลายเปนเสรีชนที่มีสถานะทางกฎหมายเทา เทียมกัน กลายเปนราษฎรหรือประชาชนที่อยูใตการปกครองซึ่งตองเสียภาษีใหกับรัฐ และตองยึดถือปฏิบัติตาม กฎหมายบานเมืองทุกคน การจะเปลี่ยนแปลงการปกครองใหเปนประชาธิปไตยก็ตองเปลี่ยนราษฎรหรือประชาชนให เปนพลเมืองดวย สําหรับประเทศตะวันตกโดยความหมายของพลเมืองนั้น คือ ผูที่นอกจากเสียภาษีและปฏิบัติตาม กฎหมายบานเมืองแลว ยังตองมีบทบาทและอํานาจทางการเมือง มีสิทธิเขารวมทํากิจกรรมเพื่อสวนรวมรวมกับรัฐ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในป 2475 การสรางความตระหนักของบทบาทพลเมืองตอระบอบ ประชาธิปไตยยังไมมีพลังและขาดความตอเนื่อง การมีสวนรวมของประชาชนในทางการเมืองจึงเปนการเขารวมทาง การเมืองโดยผานตัวแทนคือการเลือกตั้งเทานั้น และยังตองตกอยูภายใตบรรยากาศของการแกงแยงผลประโยชน และอํานาจทางการเมืองของชนชั้นนําที่มีรัฐประหารบอยครั้ง และมีเผด็จการรัฐสภาอยางตอเนื่อง ประชาชนจึงถูก กีดกันออกจากการเมืองมากยิ่งขึ้น ทําใหพลังประชาธิปไตยไมมีความตอเนื่อง ประกอบกับการบริหารราชการแผนดิน ที่เปนรัฐราชการโดยมีการรวมศูนยอํานาจไวที่สวนกลาง มีผลใหแนวคิดเรื่องการสรางพลเมือง หรือกระบวนการ กลอมเกลา (Socialization) ทางสังคมเพื่อใหมีพลเมืองเขามามีสวนรวมในทางการเมืองจึงยังไมเกิดขึ้นจนถึงปจจุบัน โดยที่หัวใจปรัชญาของประชาธิปไตย คือการปกครองกันเองพึ่งตนเอง ระบอบประชาธิปไตยจึงตองการ พลเมืองที่มีวัฒนธรรมของพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ (Responsibility) ตอบานเมืองหรือสวนรวม มีความเสียสละ ตอสวนรวม และรวมกลุมเพื่อทํางานสวนรวม (Civic Engagement) มีความเปนอิสระ (Freedom) รักในเสรีภาพ มี ศักดิ์ศรีในความเปนมนุษย เคารพในความเสมอภาค (Human Rights) ไมวาจะยากดีมีหรือจน ก็ถือวาตนเปน พลเมืองของประเทศซึ่งมีหนาที่พื้นฐานตอบานเมืองรวมกัน ซึ่งความพยายามใดๆ ของชุมชนทองถิ่นที่พยายามพึ่งพา ตนเองในการแกไขปญหาจากการรวมจิตรวมใจของคนในชุมชนดวยกันจนประสบความสําเร็จโดยไมตองเสียเวลารอ นโยบายจากรัฐถือเปนการลดการพึ่งพาจากภายนอก และสามารถผสานพลังจากภายในชุมชนดวยกันเอง จึงนับวา เป น ประชาธิ ป ไตยที่ เ กิ ดขึ้ น ได ในระดั บ ชุ มชนอยางแทจ ริง ประชาธิป ไตยเชน นี้จึงเปน ประชาธิป ไตยที่อุดมดว ย คุณธรรม เพราะชุมชนมีจิตใจที่เสียสละ ทําความดีรวมกัน มีจิตสํานึกสาธารณะ ถือเปนประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นได ตั้งแตระดับครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะกลายเปนฐานที่แข็งแกรงในการสรางพลเมืองในระดับฐานรากของสังคม ลักษณะของพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย “ระบอบประชาธิปไตย ตองการนักประชาธิปไตย” เปนคํากลาวที่เกิดจากประสบการณของชาวเยอรมัน ภายหลั ง สงครามโลกครั้ ง ที่ ส องที่ ใ ห ค วามสํ า คั ญ กั บ พลเมื อ งในการเข า มี ส ว นร ว มในทางการเมื อ ง (Political Participation) มี จิตวิ ญญาณสาธารณะ (Civic Engagement) และมีความรั บผิ ดชอบทางสังคม (Social Responsibility) ซึ่งการที่พลเมืองจะแสดงออกถึงบทบาทเหลานี้ไดเขาตองมีการศึกษา มีความรู และมีความเขาใจ ทางการเมือง (Political Literacy) มีความเสมอภาค (Equality) รักในความยุติธรรม (Justice) มีเสรีภาพ 38 (Freedom) ในการแสดงออกเพื่อประโยชนของปจเจกและสวนรวม ลักษณะพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่เปน สากลนั้น ไดมีการทําการศึกษาวิจัยจากนักวิชาการจากทุกทวีปมารวมกัน เพื่อเตรียมตัวเขาสูศตวรรษที่ 21 และไดมี การพิมพเผยแพรไปทั่วโลกโดยมีสาระสําคัญสรุปไดดังนี้ 1. การเปนผูที่มีความรู มีการศึกษา และความสามารถที่จะมองเห็นและเขาใจในสังคมของตน และสังคมโลกเฉกเชนเปนสมาชิกของสังคมโลก 2. มีความสามารถที่จะทํางานรวมกับผูอื่นและรับผิดชอบทั้งตอตนเองและผูอื่นในบทบาทสวน ตนและตอสังคม 3. มีความสามารถที่จะเขาใจ ยอมรับ และอดทนตอความแตกตางทางวัฒนธรรม 4. มีความสามารถที่จะคิดวิเคราะหอยางมีเหตุผลและเปนระบบ 5. มีความเต็มใจที่จะแกปญหาความขัดแยงดวยทาทีสันติ ไมใชความรุนแรง 6. มีความเต็มใจที่จะเปลี่ยนการใชชีวิตและอุปนิสัยการบริโภคเพื่อรักษาสิ่งแวดลอม 7. มีความสามารถที่จะเขาใจและปกปองสิทธิมนุษยชน 8. มีความเต็มใจและมีความสามารถที่จะเขาไปมีสวนรวมในทางการเมือง ทั้งในระดับทองถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ซึ่งบุคลิกลักษณะทั้ง 8 ประการนี้ มีลักษณะเปนพลเมืองสากล คือ เปนไดทั้งพลเมืองของประเทศและเปน พลโลก ดวยเหตุที่โลกปจจุบันนี้แตละประเทศก็ตางมีสถานะที่พีงอิงพิงกันไมสามารถอยูอยางโดดเดี่ยวได ผลที่เกิดขึ้น ณ ที่หนึ่งก็จะสงผลตออีกที่หนึ่งเสมอ เพราะโลกปจจุบันมีการสื่อสารกันไดอยางรวดเร็วดวยเทคโนโลยีชั้นสูง และไมมี พรมแดนการพูดถึงประชาธิปไตยในปจจุบันจึงกาวลวงไปถึงประชาธิปไตยดานสิ่งแวดลอมดวย เพราะการทําลาย สิ่งแวดลอม ณ ที่หนึ่งอาจสงผลกระทบตออีกที่หนึ่งได พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยจึงตองมีจิตใจรักสิ่งแวดลอม การกินอยู ดํารงชีพ ตองเปนมิตรกับสิ่งแวดลอม เพื่อไมใหเกิดการทําลายและแยงชิงทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยูอยาง จํากัดบนโลกใบนี้ อันจะเปนการละเมิดตอชีวิตผูอื่นและทํางานลางซึ่งกันและกัน ซึ่งขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนซึ่งเปน หลักสําคัญอันหนึ่งของประชาธิปไตย ลักษณะของพลเมืองในสังคมไทยก็ควรที่จะเปนไปในทิศทางเดียวกันดัง เพราะประเทศไทยเปนสมาชิกของ สั งคมโลกเป น หนึ่ ง ในผู กอ ตั้ ง สมาคมอาเซี ย น (ASEAN) การสรา งพลเมื องไทยใหมี มาตรฐานสากล ใหยื น อยูไ ด ทามกลางการแขงขันอยางรุนแรงในทุกที่ในโลก ไมวาในกลุมอาเซียน (ASEAN) ในกลุมประชาคมยุโรป (EU) หรือใน เวทีใดๆ ก็ตาม คุณลักษณะทั้ ง 8 ประการนั้น มี เงื่อนไขหลักอยูที่ใหคุณคาของความเปนมนุษยที่มีศักดิ์ศรี ความ รวมมือกัน ความเขาใจกัน ใชเหตุผล มีสันติแมแตกตางกัน โดยไมตองมีความรุนแรงหรือละเมิดตอกัน บนพื้นฐาน ของความเปนมนุษย หรือคุณธรรมรวมที่อยูเหนือชาติ ภาษาและวัฒนธรรมประเพณีทั้งมวล เพื่อกาวสูความเปน “พลโลก” ซึ่งสถาบันนโยบายศึกษาโดยทิพยพาพร ตันติสุนทร ก็ไดกลาวถึงคุณลักษณะที่สําคัญของพลเมืองไทยใน ระบอบประชาธิปไตยวาประกอบดวยลักษณะ 9 ประการ(ทิพยพาพร ตันติสุนทร. 2554: 3-15)ดังภาพ 39 ที่มา: ทิพยพาพร ตันติสุนทร. (2555). หนา 56 วิถีไทยที่ขัดขวางการพัฒนาประชาธิปไตย การพัฒนาประชาธิปไตยของสังคมไทยที่ผานมายังมีความแปลกแยก ทําใหคนไทยจํานวนมากขัดแยงกันทั้ง เรื่องวิธีการและเปาหมายของประชาธิปไตย และความไมชัดเจนในเรื่องประชาธิปไตยนี้ยังสงผลตอการพัฒนาความ เปนพลเมืองที่ยังไมอาจเกิดขึ้นไดอยางจริงจัง จึงไดมีการศึกษาปจจัยที่เปนอุปสรรคสําคัญในการพัฒนาความเปน พลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของสังคมไทย ดังนี้ 1. การเปนรัฐอุปถัมภ การผู กขาดอํ า นาจไว ท่ีส วนกลาง การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูร ณาญาสิทธิร าชยเปน ระบอบประชาธิ ปไตย ในป 2475 เป นการถายโอนอํ านาจจากระบอบเก าสู ระบอบใหม เป นรัฐ ใหมที่ใชระบอบ รัฐธรรมนูญหรือประชาธิปไตย บนความแข็งแกรงของระบบราชการที่มีอยูกอนแลว ความจําเปนของระบอบใหมที่ ตองมีผูนําจากการเลือกตั้งของประชาชนจึงถูกใชเพื่อสรางความชอบธรรมใหกับการเปลี่ยนแปลง รัฐบาลยังคงผูกขาด อํานาจและบทบาทไวที่สวนกลางทั้งหมด ประชาชนถูกครอบงํา และถูกกํากับเพียงทําหนาที่ปฏิบัติตามกฎหมาย เชน เสียภาษี และไปเลือกตั้ง ทําใหประชาชนโดยทั่วไปเขาใจวาประชาธิปไตยคือการไปเลือกตั้ง เปนเพียงผูมีหนาที่ตามที่ รัฐกําหนดให จึงยังไมมีพลเมืองที่ไปมีสวนรวมในการกําหนดการมีอํานาจและการสืบทอดอํานาจทางการเมือง การมี สวนรวมทางการเมืองจึงถูกจํากัดอยูเพียงระดับการเลือกตั้ง นอกจากนั้นแลว การมีสวนรวมในการพัฒนาทางสังคม ของประชาชนก็มีขอบเขตจํากัดอยูเพียงการไปเขารวมในโครงการของทางราชการ ทําใหประชาชนหางจากการเมือง และคอยรอรับการชวยเหลือจากทางราชการ ซึ่งเปนลักษณะของประชาชนที่อยูภายใตการอุปถัมภของผูที่เหนือกวา และขาดความเชื่อมั่นในการพึ่งตนเอง แมวากระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกประเทศจะกดดันใหมีการกระจายอํานาจสูทองถิ่น แตการกําหนดอํานาจดังกลาวนี้มิไดเกิดจากการเขาไปมีสวนรวมคิดและกําหนดจากประชาชนในทองถิ่นทั้งในเรื่อง ของอํ านาจหน าที่ และการเงิ น การคลัง ทํ าใหอํานาจของทองถิ่นยังถูกยึดโยงอยูที่อํานาจสว นกลาง คือ รัฐบาล 40 นักการเมืองในสวนปกครองทองถิ่นเองก็มีพฤติกรรมทางการเมืองไมแตกตางจากสวนกลางที่มาจากการเลือกตั้ง ระดับชาติ ทําใหเกิดระบบอุปถัมภใหมที่กดทับความออนแอของประชาชนมากยิ่งขึ้น ลักษณะการรวมศูนยการปกครองภายใตระบอบประชาธิปไตยจึงกลายเปนระบอบคณาธิปไตยในความ เปนจริง เพราะวัฏจักรทางการเมืองที่คณะบุคคลและบุคคล ตางสลับกันขึ้นครองอํานาจ และมีลักษณะการใชอํานาจ เพื่อความมั่นคงของตนนั้นเปนลักษณะอํานาจนิยมที่สืบตอกันมาจนปจจุบัน ดังที่พบเห็นกันโดยทั่วไป คือ วัฒนธรรม ผูนอย – ผูใหญ ผูอาวุโสกวา และมีลักษณะของการแบงพรรคแบงพวกขึ้นอยูกับวาเปนคนหรือพวกของใครจึงจะไดดี มีแตการยกยองผูมีอํานาจวาสนา คนไทยจึงมีคติวา “รูรักษาตัวรอดเปนยอดดี” หรือ “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตําลึง ทอง” อันสะทอนทัศนคติที่คนไทยโดยทั่วไปตองรูจักการเอาตัวรอดไวกอนไมวาจะถูกหรือผิด และดีที่สุดคือไมตอง แสดงความคิดเห็น เพราะผูใหญหรือผูอาวุโสทั้งวัยวุฒิหรือคุณวุฒิจะไมพอใจ และมีผลตอการงานและชีวิตสวนตัวได การใชอํานาจและระบบอุ ปถัมภในสังคมไทยจึ งมีอยูมากในระบบราชการ เชน การมีเ สนสายเพื่อเขาสู ตําแหน ง มากกวาพิจารณาจากความรูความสามารถโดยเฉพาะในปจจุบัน จะเห็นไดวานักการเมืองที่อยูในอํานาจจะมีอิทธิพล สูงและใชอํานาจของตนในการโยกยายขาราชการอยางไมเปนธรรมโดยอางความเหมาะสม เมื่อประเทศไทยเรงรัด พัฒนาประเทศเขาสูการเปนประเทศอุตสาหกรรมใหมเกิดวัฒนธรรมบริโภค นักธุรกิจมุงแสวงหากําไรอยางขาดสติ นักการเมืองสวนใหญก็ใชอํานาจทางการเมืองหาผลประโยชนเพื่อสรางอิทธิพลของตนภายในพรรค และอาศัยพรรค และกระบวนการเลือกตั้งที่เต็มไปดวยการใหอามิสสินจางรองรับความชอบธรรมที่จอมปลอม ภายใตระบบอุปถัมภที่ ปรากฏอยูทั่วไป ดังจะเห็นไดชัดในระบบการเมืองที่เกิด “ระบบมุง ” ที่ผูอุปถัมภ (ดวยเงิน) แกสมาชิกในกลุม เปนผูมี อิทธิพลและคนกุมอํานาจที่แทจริงในพรรค อีกทั้งการจัดสรรตําแหนงรัฐมนตรีก็จะจัดไปตามกลุมผูนํา ซึ่งสามารถคุม คะแนนเสียงในกลุมของตนไวไดเทาใด ระบบอุปถัมภบนพื้นฐานของเงินหรือผลประโยชนทางเศรษฐกิจจึงกลายเปน คุณลักษณะสําคัญของการเมืองไทย เมื่อนักธุรกิจเขาสูการเมืองมากขึ้น ทําใหการเมืองกลายเปนเรื่องธุรกิจการเมือง ที่นักธุรกิจใชชองทางการเมืองเพื่อปกปองผลประโยชนเพิ่มเติม เกิดเปนผลประโยชนทับซอนทั้งธุรกิจและการเมือง และมีการคอรรัปชั่นงายและมากขึ้น จนทําใหเรื่องคอรรัปชั่นกลายเปนเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นได ดังที่มีผลการสํารวจ ความคิดเห็นเรื่องคอรรัปชั่นวา “นักการเมืองโกงกินไมเปนไร ขอใหมีผลงานบาง” ซึ่งเทากับแสดงวาเราไดยอมรับ การใชอํานาจที่ไมสุจริต ขาดคุณธรรมของผูมีฐานะและอํานาจบารมีทางสังคมและการเมือง และเปนผูอยูตนทางของ ระบบอุปถัมภอันเลวราย 2. การศึกษา การศึกษาไทยถูกออกแบบและกํากับโดยระบอบการเมือง หรือผูนําทางการเมือง ในอดีตการศึกษาเนน การกลอมเกลาใหราษฎรไดเขาใจหนาที่ของตน เพื่อตอบสนองตอรัฐโดยมีรัฐเปนศูนยกลาง การจัดการศึกษาในเมือง หลวงจึงเนนหนักไปในการสรางคนเพื่อรับใชกลไกหลักของรัฐเพื่อเปนขาราชการที่ดี ขณะที่การขยายการศึกษาไปยัง สวนตางๆ ของประเทศเปนการสรางพลเมืองที่ดี ปจจุบันภายใตระบอบประชาธิปไตยมีการนําระบบการจัดการศึกษา สมัยใหมที่มีหลักสูตรกลาง มีการเรียนการสอนในระบบที่ควบคุมโดยรัฐลวนเปนสวนสําคัญของการควบคุมทางสังคม การศึกษาแบบนี้จึงมีแผนการศึกษา หลักสูตรการจัดการศึกษาระดับตางๆ อยางครบถวน และใชเปนการทั่วไปทั้ง ประเทศ การจัดการศึกษาที่รวมศูนยไวที่สวนกลางนี้ไดละเลยความสําคัญของความเปนชุมชน ความเปนพหุสังคม 41 ที่มีศาสนา ภาษา เชื้อชาติ และวัฒนธรรมที่อยูรวมกันในประเทศ ดวยเหตุนี้ ทองถิ่นจึงไมไดมีสวนรวมในการจัดการ ศึกษาในแบบวิถีชุมชนเพื่อรักษาอัตลักษณและภูมิปญญาของชุมชนที่มีอยูอยางหลากหลาย จึงทําใหชุมชนออนแอ และไมสามารถพึ่งพาตนเองได อีกทั้งการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่ขาดความเสมอภาคและเทาเทียมในพื้นที่ที่ หางไกลในยุคการเรงรัดพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนับตั้งแตป 2504 เปนตนมา กระทั่งเขาสูยุคบริโภคนิยมก็ยิ่งเปน สาเหตุใหผูคนละทิ้งทองถิ่นเพื่อแสวงหาโอกาสทางการศึกษาในเมืองหลวงและเมืองใหญ เพื่อยกระดับฐานะทาง เศรษฐกิจและสังคมของตน ก็ยิ่งเปนสรางความเหลื่อมล้ําทางเศรษฐกิจและสังคมสูงยิ่งขึ้นและสรางความเสียหายทาง เศรษฐกิจครั้งใหญของประเทศในชวงปลายทศวรรษ 2530 เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ “ตมยํากุง” อันเนื่องจากระบบ การศึกษาไทยไมสามารถสรางพลเมืองของประเทศใหมีความสามารถปรับตัวใหทันตอการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ เกิดขึ้นอยางรวดเร็วและรุนแรง กระทั่งนําสูกระแสการเรียกรองใหมีการปฏิรูปการศึกษา การเมือง และสังคม เพื่อ ปรับตัวใหทันตอการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกในยุคโลกาภิวัฒน นอกจากนี้ บรรยากาศการเรียนรูในระบบการศึกษาไทยในระยะเวลายาวนานนั้น เปนการสอนที่มุงปอน วิชาความรูเพื่อใหผูเรียนเชื่อฟง จดจํา และทําตาม ไมไดฝกฝนใหทํา และนําใหคิด เพื่อนําสูการปฏิบัติและแสดง ออกเป นการเน นวิ ชาการ แต ขาดการสงเสริมทักษะทางสังคม ผูเรีย นจึงถูกแยกสว นออกจากอาณาบริเวณทาง การเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ไมสามารถเชื่อมโยงบทบาทของตนกับสังคมภายนอกและไมสามารถสรางจิตสํานึก ของการเปนเจาของสังคมที่เขามีชีวิตอยู และไมมีความพรอมที่จะรับผิดชอบ ใหสมกับคํากลาวที่วา “เยาวชน คือ อนาคตของชาติ” แมวาหลักสูตรจะยังมีการใหความรูเรื่องของสังคมทั่วไป รวมทั้งระบอบการเมือง – การปกครอง และระบอบประชาธิปไตย แตก็เปนเพียงการสอนใหทองจําและทําตามในเรื่องรูปแบบการปกครอง และจําลองการ เลือกตั้งในโรงเรียน ซึ่งไมไดมีความรูความเขาใจทางสังคมและการเมืองมากไปกวาการใหฝกทดลองจากการมีสภา นักเรียน และการเลือกตั้ง การศึกษาจึงทําใหคนไทยรูจักประชาธิปไตยเพียงการเลือกตั้ง แตขาดทักษะชีวิต การคิด การใชชีวิตในแบบสังคมประชาธิปไตยที่ตองการการแสดงออกถึงวุฒิภาวะในการใชความคิด การมีเหตุมีผล การมี ความรับผิดชอบใหเกิดขึ้นไดจริง และแมวาประเทศไทยเราจะเคยมีวิชา “หนาที่พลเมืองและศีลธรรม” ซึ่งปจจุบัน วิ ช าเหล า นี้ ไ ปเป น ส ว นหนึ่ ง ในวิ ช าสั ง คมศึ ก ษา แม โ รงเรี ย นจะได มี ก ารฝ ก ให นั ก เรี ย นรู จั ก วิ ธี ก ารของระบอบ ประชาธิปไตย เชน ใหมีสภานักเรียน มีการเลือกตั้ง และมีพรรคการเมืองจําลองขึ้น แตเมื่อพนวัยเรียนไปแลว ก็ไมได มีสวนเรียนรูอยางเปนระบบอยางตอเนื่อง การสอนในระบบการศึกษาไทยที่เนนการสอนใหเชื่อฟงและทําตามนี้ เปนไปตามแนวคิดเรื่องการเปน พลเมืองที่เชื่ อฟง ทําตามกฎระเบียบ และเคารพกฎหมายของสังคม ซึ่งสะทอนถึงความเปน “คนดี” ในคานิย ม การศึกษาไทย และเปน “พลเมืองดี” ที่เคารพกฎหมายอยางที่เปนอยูในสังคมไทย ทุกวันนี้การเปน “เด็กดี” จึง ตองเคารพและเชื่อฟงผูใหญ ทําใหเด็กดีในวันนี้ เมื่อเปนผูใหญในวันหนาก็ไมอาจโตแยงหรือแสดงความคิดเห็นตอ ผูใหญหวา อาวุโสกวา หรือมีอํานาจกวาไดซึ่งทัศนคติดังกลาว ไดถายทอดเปนบุคลิกของคนไทย และกลายเปนวิถี ไทยที่ถูกหลอหลอมกลอมเกลาผ านระบบการศึกษาตั้งแตอดีตจนถึงปจจุบันทามกลางบรรยากาศทางสังคมและ การเมืองที่ไมเปนประชาธิปไตยทําใหขาดพลังขับดันที่จะอยากรู ไมกลาแสดงออก ไมแสวงหาความถูกตอง ตลอดจน 42 จริยธรรมก็พลอยลดนอยถอยลงดวย การหลีกหนีความรับผิดชอบ และจํากัดขอบเขตสํานึกของตนเอง เพราะเกรง กลัวอํานาจของผูที่อยูในสถานะที่เหนือกวา การศึกษาที่รวมศูนยอํานาจการจัดการไวที่รัฐบาลดังกลาวสงผลใหเกิดวัฒนธรรมของคนที่ไมคอยเขาใจ บทบาทของรัฐบาลที่มีผลตอความเปนอยูของตนเอง และไมสนใจเรื่องสวนรวม นักเรียนจึงมุงแขงขันกันเรียน จนเมื่อ สําเร็ จการศึกษาก็ มุงหาเลี้ ยงชีพเพื่อประโยชนของตนเอง และทิ้งภาระทางสังคม – การเมืองไวกับนักการเมือง อันเปนคานิยมของการบูชายกยองผูมีความสําเร็จทางเศรษฐกิจ มากวาการใหความสําคัญกับการสรางคนที่มีความรูคู คุณธรรมที่พรอมเสียสละเพื่อสวนรวม 3. สื่อสารมวลชน ดร.วิชัย ตันศิริ ไดเขียนไวในหนังสือ วัฒนธรรมการเมืองและการปฏิรูป วา “ครูที่สําคัญที่สุดของเยาวชน ดานวัฒนธรรมการเมือง คือ นักการเมืองและผูนําทางการเมือง รองลงมาคือ สื่อสารมวลชน” และผูนําทั้งสองกลุมนี้ มีบทบาทและภาระที่ตองแสดงตนใหสอดคลองกับระบบและวิถีประชาธิปไตย การทําหนาที่ของนักการเมืองและ สื่อจะทําใหประชาชนสัมผัสไดและรูเห็นอยูตลอดเวลา การถายทอดวิธีคิดการทํางาน และบุคลิกภาพที่สื่อออกไปสู ประชาชน ลวนมีผลตอการจดจําและเอาเปนตัวอยางไดงาย ในอดี ตที่ ตั้งกรมโฆษณาการขึ้ นตั้ งแตป 2475 นี้ ก็เ พื่อโฆษณาความคิ ด ความเชื่ อของผูนํ า และแจ ง ขาวสารของราชการใหประชาชนปฏิบัติตาม เปนการสื่อสารเพียงดานเดียวที่ประชาชนไมไดมีสวนรวมดวยโดยอาศัย สื่อวิทยุเปนเครื่องมือสื่อสารจากรัฐบาลถึงประชาชนในการแถลงขาว การปราศรัยในพิธีและโอกาสสําคัญๆ ของผูนํา ในคณะรัฐบาล อันเปนจุดเริ่มตนขององคกรประชาสัมพันธของรัฐ ที่ตอมาพัฒนาเปนกรมประชาสัมพันธของรัฐบาล จวบจนปจจุบัน การทําหนาที่ของสื่อจึงถูกผูกขาดและกํากับโดยนโยบายของรัฐบาล เรียกวาเปนกระบอกเสียงของรัฐ ยิ่งในชวงที่ประเทศไทยตกอยูภายใตการปกครองระบอบเผด็จการ หรือกึ่งประชาธิปไตย ผูมีอํานาจทางการเมืองก็ได ใชสื่อเปนเครื่องมือ สื่อจึงถูกผูกขาดและกํากับโดยนโยบายของรัฐบาล เรียกวาเปนกระบอกเสียงของรัฐ ยิ่งในชวงที่ ประเทศไทยตกอยูภายใตการปกครองระบอบเผด็จการ หรือกึ่งประชาธิปไตย ผูมีอํานาจทางเมืองก็ไดใชสื่อดังกลาว เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ และกําจัดศัตรูทางการเมือง เพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล นอกจากนี้ยังทําลายผูที่มี แนวคิดอุดมการณทางการเมืองที่แตกตางจากตน ซึ่งการทําหนาที่ของสื่อดังกลาว จึงไมไดสะทอนความคิด ความ ทุกข – สุข และความตองการของประชาชนแตอยางใด แม ว าสื่ อกระจายเสีย งและวิ ทยุ โ ทรทัศนจ ะมีการพัฒ นามากขึ้น ตามลําดับ ตามการเปลี่ ย นแปลงของ เทคโนโลยี และกระแสความตองการของประชาชนที่ตองการเขามาทํางานในดานสื่อสารมวลชนมากขึ้น แตการ ทํางานของเอกชนดานสื่อก็ยังตองถูกกํากับภายใตการดูแลของรัฐอยางเขมงวด ซึ่งเปนการลิดรอนเสรีภาพของสื่อ และของประชาชนที่ต องการจะรู ขาวสารทั้ งของราชการและของสังคมทั่วไป จนกระทั่งภายหลังเหตุการณ ทาง การเมืองเดือนพฤษภาคม 2535 จึงไดมีกระแสเรียกรองใหมีการปฏิรูปทางการเมืองครั้งสําคัญ รวมถึงการปฏิรูปสื่อ สาธารณะเพื่อประโยชนของประชาชนตั้งแตระดับชุมชนโดยเห็นวา “คลื่นความถี่ที่ใชในการสงวิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทั ศน และวิ ทยุ โ ทรคมนาคม เป น การสื่อสารของชาติเพื่อประโยชนส าธารณะ” และเปน ความสําเร็จ ที่ 43 รัฐธรรมนูญไดใหการรับรองไวในป 2540 จนถึงรัฐธรรมนูญป 2550 ซึ่งนับเปนการเปลี่ยนแปลงครั้งสําคัญที่เปด โอกาสใหประชาชนไดมีสื่อสาธารณะของตนเอง ที่รวมกลุมกันอยูในชุมชนตางๆ ทั่วประเทศ การที่ประเทศไทยตกอยูภายใตการครอบงําจากสื่อที่อยูภายใตการกํากับของรัฐมาอยางยาวนาน ทําใหมี ผลตอการกลอมเกลาทางการเมืองของประชาชน ทําใหประชาชนไมรู ไมสนใจ และไมเขาใจเรื่องการเมือง ทั้งที่ทุก เรื่องของชีวิตเกี่ยวพันกับการเมืองจนกลายเปนวิถีชีวิตของคนไทย คนไทยโดยทั่วไปจึงไมเห็นความสําคัญกับการเมือง และไมตองการยุงเกี่ยวกับการเมือง เพราะการเมืองเปนเรื่องไกลตัวและอาจนําอันตรายมาสูตนได จึงเห็นวาเปนเรื่อง ของนักการเมือง และรัฐบาลเทานั้น การที่ประชาชนถูกหลอหลอมภายใตสถานการณที่ไมเปนประชาธิปไตยดังกลาว จึงกลายเปนอุปสรรคตอการพัฒนาพลเมืองตามอุดมการณประชาธิปไตย ซึ่งแมปจจุบันสื่อมวลชนจะไดรับเสรีภาพ มากขึ้นภายหลังการมีรัฐธรรมนูญป 2540 แตหลายรัฐบาลก็ยังพยายามเขาแทรกแซงการทํางานของสื่อมวลชนมา โดยตลอด การพัฒนาพลเมืองใหมีความเปนประชาธิปไตย จึงตองการสื่อที่มีเสรีภาพ เพื่อเปดโอกาสใหพลเมืองแสดง ความคิดเห็นเต็มที่ ซึ่งสื่อสารมวลชนคือภาพสะทอนการมีเสรีภาพของสังคม 4. สถาบันครอบครัว สิ่งแวดลอมทางสังคมที่ไมเปนประชาธิปไตย การใชชีวิตการงานในสถาบัน องคกรตางๆ จึงมีลักษณะ แบบถูกจํากัดดวยการมีทัศนคติแบบอุปถัมภ การไมใหความเทาเทียมกันในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็น ระบบการ เลี้ยงดูในครอบครัวก็ไดรับอิทธิพลนี้ดวย อันที่จริงแลวการบมเพาะตั้งแตเด็กนั้นเปนเรื่องสําคัญมาก เพื่อใหเขามีจิตใจ ที่ออนโยน มีคุณธรรม รูจักการมีเหตุผล แบงปน รูจักรับฟง มีการแสดงออก และหลีกเลี่ยงการทะเลาะวิวาทดวยการ ใชกําลัง และรักความยุติธรรม แตการเลี้ยงดูเด็กของคนไทยไมเปนประชาธิปไตยเทาที่ควร เพราะเราสอนเด็กแบบ อํานาจนิยม เราจึงสอนเด็กโดยใชระบบอาวุโสเปนใหญ สอนแบบใชความรูสึกและอารมณเปนใหญ ผูกขาดความ ถูกผิดทุกอยางที่ลูกตองเชื่อฟงและปฏิบัติตามโดยขาดเหตุผล เด็กไมเขาใจวาเขาควรมีวินัยอยางไร แตตองคอยเอาใจ ผูใหญ พอแม ผูอาวุโสทุกๆ คนที่อยูในครอบครัว เขาจึงไมมีวินัย ไมรูจักรับผิดชอบตัวเอง จัดการตัวเองไมได ไมรูวา จะปฏิบัติอยางไร เพราะคตินิยมที่วา “เด็กดี คือ ผูที่เชื่อฟงผูใหญ” นั่นเอง การอบรมเลี้ยงดูจะชวยสรางประชาธิปไตยใหเกิดขึ้นไดก็ตั้งแตที่บาน ตั้งแตเล็ก ดวยการสรางสมดุล ระหวางการใชเสรีภาพ ความรับผิดชอบและความมีวินัย โดยเฉพาะการสรางนิสัยใหเปนผูมีวินัยที่ควบคุมตัวเองได เพราะคําวา วินัย หมายถึง ขอบังคับหรือขอปฏิบัติอยางสมัครใจจนเปนนิสัย วินัยเปนสิ่งสําคัญมากในการปกครอง ระบอบประชาธิปไตย เนื่องจากการปกครองระบอบประชาธิปไตยเปนการปกครองตนเอง ดังนั้น ถาประชาชนในชาติ ขาดความรับผิดชอบและไมมีวินัยในตนเองแลวยอมหมายถึง การไมสามารถบังคับหรือควบคุมตนเองใหอยูในกรอบ กติกาที่ตนเองและผูอื่นรวมกําหนดได ทําใหไมสามารถที่จะใชสิทธิในการปกครองอยางเหมาะสมไดเชนกัน ซึ่งการ เปนผูมีวินัยนั้นยังทําใหเเปนผูที่มีความซื่อตรงตอหนาที่ของตนดวย คือ มีความรับผิดชอบตอสถานภาพตางๆ ที่ตน เปนอยู ไมวาจะเปนสมาชิกของชุมชน ของครอบครัว และเปนพลเมืองของประเทศ การมีวินัยนี้มีความจําเปนมาก สําหรับสังคมไทย เพราะคนไทยโดยทั่วไปนั้นมักขาดวินัย แตชอบอิสระ ดังคํากลาวที่วา “ทําอะไรตามใจคือไทยแท” คนไทยจึงชอบหลบหลีกกฎหมาย หรือระเบียบของสังคม เชน การฝาฝนกฎจราจร การหลีกเลี่ยงภาษี ฯลฯ 44 การขาดวินัยของคนไทย สวนหนึ่งมาจากการกลอมเกลาทางสังคม ไมวาระบบการศึกษา และสถาบันทาง สังคมตางๆ ไมไดใหความสําคัญในเรื่องวินัยอยางจริงจังตั้งแตเด็กๆ ดังคํากลาวที่วา “วินัยเกิดขึ้นที่บาน” สวนใน โรงเรียนก็ไมไดเนนเรื่องวินัย แตเนนในเรื่องความกตัญู ความรักชาติ และนับถือศาสนาเปนสําคัญ ทําใหเด็กไทย ไมไดฝกฝนกลอมเกลาในดานนี้จึงไมสามารถจะมีวินัยในตนเอง ไมสามารถบังคับตนเองใหอยูในระเบียบวินัย หรือ การตรงตอเวลาได กลายเปนลักษณะที่ไมพึงประสงคของการเปนพลเมืองที่ตองรีบแกไขอยางเรงดวน เพราะผูที่ขาด วินัยก็มักจะขาดความรับผิดชอบดวย ยอมสรางความเสียหายแกสวนรวมไดงาย จากปจจัยทั้ง 4 ประการ จะเห็นไดวาองคประกอบของการฉุดรั้งและไมสงเสริมโอกาสใหประชาชนเปน พลเมืองนั้น ลวนมาจากโครงสรางทางการเมือง การมีระบบอุปถัมภที่หยั่งรากลึกมายาวนานจากสถาบันที่ถืออํานาจ ทางการเมือง สถาบันที่ใชอํานาจทางการเมือง คือ รัฐ และระบบราชการ สูสถาบันการศึกษา อันเปนโรงงานบมเพาะ เมล็ดพันธุพลเมือง สูชุมชนและครอบครัว ที่ลวนมาจากการรวมศูนยอํานาจไวที่ราชการสวนกลางมากจนเกินไป เพราะขาดสํานึกถึงความสําคัญและความจําเปนของการมีสวนรวมที่แทจริงของพลเมือง การไมเชื่อในคุณคาของ มนุษยที่มีศักดิ์ศรีและมีเหตุนั้นมีผลทําใหสังคมขาดพลัง และรัฐบาลประเภทนี้ไมสามารถที่จะบริบาลประชาชนได ดังปรากฎอยางชัดเจนแลวในกรณีภัยธรรมชาติ อุทกภัยที่เกิดขึ้น ซึ่งผลจากภัยธรรมชาตินี้เองทําใหเกิดการเปดเผย จุดออนของอํานาจรัฐที่รวมศูนยมากเกินไปอยางชัดแจง และปฏิเสธพลังการมีสวนรวมของภาคประชาสังคมหรือ พลเมืองในการแกไขปญหาใหญของชาติ(ทิพยพาพร ตันติสุนทร. 2554: 16-28) 45 SWU 251 ใบกิจกรรมที่ 2 คนไทยกับสังคมไทย ชื่อนิสิต___________________________________________________รหัสนิสิต__________________ กลุมผูเรียน ________วันที่เรียน_____________________อาจารยผูสอน___________________________ จากการเรียนเรื่อง”คนไทยกับสังคมไทย” และ “ประชาธิปไตยและบทบาทหนาที่พลเมืองในสังคมไทย” ใหนิสิตใน ฐานะสมาชิกของสังคมตอบคําถามดังตอไปนี้ 1. สิ่งที่นิสิตประทับใจในสังคมไทย 2. สิ่งที่นิสิตไมประทับใจในสังคมไทย 3. นิสิตคิดวาสังคมไทยตองการพลเมืองที่มีคุณสมบัติอยางไร 4. นิสิตจะทําหนาที่พลเมืองเพื่อชวยปรับปรุงแกไขใหสังคมไทยดีขึ้นดวยตนเองไดอยางไรบาง 46 มศว 251 ใบกิจกรรมที่ 3 โครงการสํารวจปญหาชุมชน กิจกรรมกลุม รายชื่อกลุม 1. ชื่อนิสิต_____________________________________รหัสนิสิต___________________ 2. ชื่อนิสิต_____________________________________รหัสนิสิต___________________ 3. ชื่อนิสิต_____________________________________รหัสนิสิต___________________ 4. ชื่อนิสิต_____________________________________รหัสนิสิต___________________ 5. ชื่อนิสิต_____________________________________ รหัสนิสิต__________________ 6. ชื่อนิสิต_____________________________________ รหัสนิสิต__________________ 7. ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 8. ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 9. ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 10. ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 11.ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 12.ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ 13.ชื่อนิสิต______________________________________รหัสนิสิต__________________ ชื่อโครงการ _______________________________________________________________________________ สถานที่เก็บรวบรวมขอมูล หมายเหตุ 1. ใหนิ สิ ตใช ใบกิจ กรรรมนี้เปน ใบปะหนาโครงการสํารวจปญ หาชุมชนในวัน ที่นิสิตสงรายงาน โครงการฯใหอาจารยประจํากลุม 2. การจัดทําขอเสนอโครงการฯตองประกอบดวยหัวขอที่กําหนดตามเอกสารแนบจํานวน 10 ขอ 3. กรณี ที่ จํ า เป น ต อ งใช เ อกสารขออนุ ญ าตเข า พื้ น ที่ ใ ห นิ สิ ต จั ด ทํ า หนั ง สื อ ขออนุ ญ าตโดยมี รายละเอียดตามหัวขอที่ 1 - 10 ใหอาจารยประจํากลุมลงนาม 4. รายงานฉบับสมบูรณ ประกอบดวยหัวขอที่ 1 - 15 โดยจัดสงเปนรูปเลมขนาด A4 พรอม CD 47 เอกสารประกอบโครงการสํารวจปญหาชุมชน 1. ชื่อเรื่อง หัวขอโครงการ 2. ภูมิหลัง/ประวัติความเปนมา 3. วัตถุประสงค/ความมุงหมาย 4. สถานที่เก็บขอมูล 5. ประชากร/กลุมตัวอยาง 6. ระยะเวลาที่จะดําเนินการ (วันที่ .............ถึง...................รวม...วัน) 7. แบบสัมภาษณ/แบบสอบถาม 8. การวิเคราะหและนําเสนอขอมูล 9. ผูรับผิดชอบโครงการ (รายชื่อสมาชิกในกลุมพรอมรหัสนิสิต) 10. ผูประสานงานโครงการ (ชื่อหัวหนาโครงการ หรือ ผูแทนนิสิต 1-2 คน พรอมเบอรโทรศัพทติดตอ) 11. อาจารยที่ปรึกษาโครงการ (ชื่ออาจารยผูสอน หมายเลขโทรศัพทติดตอ พรอมลงนามเห็นชอบโครงการวิจัย) 12. ผลการสํารวจ 13. อภิปรายผล 14. ขอเสนอแนะในการนําแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอพียงไปใชในการแกปญหาของชุมชน 15. บรรณานุกรม (ระบุเฉพาะที่เกี่ยวของเทานั้น) 16. ภาคผนวก : เชน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ ฯ 48 แผนการสอน หัวขอ การเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน เรื่อง ปญหาสังคม : กรณีน้ํามันรั่วที่อาวพราว ผูสอน อาจารย ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา 13.30-17.30 วัตถุประสงค : เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1. จิตพิสัยที่พึงประสงค ไดแก - เสริมสรางเจตคติในการเรียนรูและกระบวนการแกไขปญหาสังคม - มีคุณธรรมจริยธรรมในการดํารงชีวิต มีความซื่อสัตยสุจริต และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคมและสิ่งแวดลอม - ใฝรู และมีวิจารณญานในการเลือกรับขอมูลขาวสาร 2. พุทธิพิสัยที่พึงประสงค ไดแก มีความรูและแนวทางในกระบวนการคิดวิเคราะหปญหาสังคม - มีความรู ความเขาใจวิธีการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน - มีความรูกวางขวาง มีโลกทัศนกวางไกล และสามารถเรียนรูดวยตนเอง - มีความรู ความเขาใจและตะหนักถึงความจําเปนในการมีความสัมพันธที่ถูกตองกับธรรมชาติ แวดลอม 3. ทักษะพิสัยที่พึงประสงค ไดแก - คิดอยางมีเหตุผลและเปนระบบ - สามารถเชื่อมโยงความรูสูการใชประโยชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคมในทุก มิติไดอยางสมดุล - ทักษะการคิดวิเคราะหเชิงตัวเลข - มีทักษะสื่อสารและการใชเทคโนโลยีสารสนเทศไดอยางถูกตองและเหมาะสม - สามารถแสวงหาความรูโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศ - สามารถนําเสนอสารสนเทศในรูปแบบที่เหมาะสม และมีคุณภาพ - ใชภาษาในการติดตอสื่อสารและสรางความสัมพันธ - สามารถปรับตัวทํางานรวมกับผูอื่นในทั้งในฐานะผูนําและสมาชิกกลุม เนื้อหา 1. ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 2. บทบาทผูเรียนในการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 3. แนวคิดการทําหนาที่พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 49 การจัดประสบการณการเรียนรู - การเรียนรูในชั้นเรียน 1. อธิบายความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 2. อธิบายกิจกรรม 3. การดําเนินการตามกระบวนการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 4. การนําเสนอและอภิปราย 15 15 90 60 นาที นาที นาที นาที สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบการสอน 2. Power point วัตถุประสงค ถายทอดเนื้อหาความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจความหมาย ความสําคัญ และการเตรียมความพรอม สําหรับการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐานไดชัดเจนยิ่งขึ้น 3. วีดิทัศนเรื่อง ขาวน้ํามันรั่วที่ ศึกษาเหตุการณน้ํามันรั่วที่อาวพราวและผลกระทบที่ชาวบานไดรับ อาวพราว การประเมินผล 1. การจัดทําใบกิจกรรมที่ 4 การเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 2. แบบประเมินผลการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน 3. การนําเสนอผลงาน หนังสืออางอิง ชัยวัฒน สุทธิรัตน. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรูที่เนนผูเรียนเปนสําคัญ. กรุงเทพฯ: แดเน็กซ อินเตอร คอรปอรปอเรชั่น มหาวิ ท ยาลั ย วลั ย ลั ก ษณ . (2554). รวมบทความ PBLฉบั บ พิ เ ศษ: การเรี ย นรู แ บบใช ป ญ หาเป น ฐาน. นครศรีธรรมราช : โรงพิมพดีชัย สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การจัดการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐาน. กรุงเทพฯ : สํานักมาตรฐาน การศึกษาและพัฒนาการเรียนรู Barrett, Terry. (2011). New Approach to Problem-based Learning: Revitalising practice in Higher Education. New York : Routledge 50 หัวขอการสอน การเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐานเรื่อง ปญหาสังคม : กรณีน้ํามันรั่วที่อาวพราว การจัดการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐาน เปนกระบวนการเรียนรูที่มุงสรางความเขาใจและแสวงหาแนวทาง แกปญหา โดยใชปญหาเปนจุดตั้งตนของกระบวนการเรียนรู และเปนตัวกระตุนการพัฒนาทักษะการแกปญหาดวย การใชเหตุผล และการสืบคนหาขอมูลเพื่อเขาใจกลไกที่เกี่ยวของกับของตัวปญหาทั้งหมด รวมทั้งคิดวิธีการแกปญหา โดยสรางความรูจากกระบวนการทํางานกลุม ตัวปญหา จะเปนจุดตั้งตนและเปนตัวกระตุนในกระบวนการเรียนรู ซึ่ง การเรียนรูแบบนี้มุงเนนพัฒนาผูเรียนในดานทักษะและกระบวนการเรียนรู และพัฒนาผูเรียนใหสามารถเรียนรูดวย การนําตนเอง (Self - Directed Learning) ซึ่งผูเรียนจะไดฝกฝนการสรางองคความรูโดยผานกระบวนการคิดดวย การแกปญหาอยางมีความหมายตอผูเรียน(สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550: 1) ลักษณะสําคัญของการจัดการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐาน สรุปไดดังนี้ 1. ตองมีสถานการณที่เปนปญหาและเริ่มตนการจัดกระบวนการเรียนรูดวยการใชปญหาเปนตัวกระตุนให เกิดกระบวนการเรียนรู 2. ปญหาที่นํามาใชในการจัดกระบวนการเรียนรู ควรเปนปญหาที่เกิดขึ้นพบเห็นไดในชีวิตจริงของผูเรียน หรือมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นจริง 3. ผูเรียนเรียนรูดวยการนําตนเอง (Self-Directed Learning) คนหาและแสวงหาความรูคําตอบดวยตนเอง ดังนั้น ผูเรียนจึงตองวางแผนการเรียนดวยตนเอง บริหารเวลาเอง คัดเลือกวิธีการเรียนรูและประสบการณการเรียนรู รวมทั้งประเมินผลการเรียนรูดวยตนเอง 4. ผูเรียนเรียนรูเปนกลุมยอย เพื่อประโยชนในการคนหาความรู ขอมูลรวมกัน เปนการพัฒนาทักษะการ แกปญหาดวยเหตุและผล ฝกใหผูเรียนมีทักษะในการรับสงขอมูล เรียนรูเกี่ยวกับความแตกตางระหวางบุคคล และฝก การจัดระบบตนเองเพื่อพัฒนาความสามารถในการทํางานรวมกันเปนทีม ความรูคําตอบที่ไดมีความหลากหลายองค ความรูจะผานการวิเคราะหโดยผูเรียน มีการสังเคราะหและตัดสินใจรวมกันการจัดการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐานนี้ นอกจากจัดการเรียนรูเปนกลุมแลวยังสามารถจัดใหผูเรียนเรียนรูเปนรายบุคคลได แตอาจทําใหผูเรียนขาดทักษะใน การทํางานรวมกับผูอื่น 5. การเรียนรูมีลักษณะการบูรณาการความรูและบูรณาการทักษะกระบวนการตางๆ เพื่อใหผูเรียนไดรับ ความรูและคําตอบที่กระจางชัด 6. ความรูที่เกิดขึ้นจากการเรียนรูจะไดมาภายหลังผานกระบวนการเรียนรู โดยใชปญหาเปนฐานแลวเทานั้น 7. การประเมินผลเปนการประเมินผลจากสภาพจริง โดยพิจารณาจากการปฏิบัติงานของผูเรียน(สํานักงาน เลขาธิการสภาการศึกษา. 2550: 2-3) 51 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู ขั้นตอนการจัดการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐานแสดงดังแผนผัง ดังนี้ การเตรียมการของผูสอน  พิจารณาเลือกมาตรฐานสาระ/เนื้อหา ทีเ่ หมาะสมกับแนวทางการจัดการเรียนรู  จัดทําแผนการจัดการเรียนรู  จัดทําเครื่องมือวัดและประเมินผล บทบาทผูสอน ในการจัดการเรียนรู  แนะนําแนวทางฯ/ วิธีการเรียนรู  ยกตัวอยางปญหา/ สถานการณ  ตั้งคําถามใหคิดตอ 1. กําหนดปญหา  ถามคําถามใหผูเรียนคิดละเอียด  กระตุนยั่วยุใหผูเรียนคิดตอ  ชวยดูแลตรวจสอบ แนะนําความถูกตอง ครอบคลุม  ศึกษาคนควาขอมูลเพิ่มเติม  อํานวยความสะดวก จัดหา ประสานงาน วัสดุ เอกสาร สื่อเทคโนโลยี  แนะนํา ใหกําลังใจ  แลกเปลี่ยนขอมูลความคิดเห็น  ตั้งคําถามเพือ่ สรางความคิดรวบยอด  ผูสอนชวยตรวจสอบการประมวล การสรางองคความรูใหม  ใหผูเรียนสรุปองคความรูที่ไดจาก การศึกษาคนควา  พิจารณาความเหมาะสม เพียงพอ  เสนอปญหาหลากหลาย  เลือกปญหาที่นาสนใจ  แบงกลุมตามความสนใจ 2. ทําความเขาใจปญหา  ตั้งคําถามในประเด็นที่อยากรู  ระดมสมองหาความหมาย/ คํานิยาม  อธิบายสถานการณของปญหา  บอกแนวทางและอธิบายวิธีคนหาคําตอบ  จัดทําแผนผังความคิด/จัดทําบันทึกการทํางาน 3. ดําเนินการศึกษาคนควา  แบงงาน แบงหนาที่  จัดเรียงลําดับการทํางาน  กําหนดเปาหมายงาน/ ระยะเวลา  คนควาศึกษาและบันทึก 4. สังเคราะหความรู 5. สรุปและประเมินคา ของคําตอบ  ผูสอนประเมินตนเอง ประเมินผลการเรียนรู  ความรูความจํา  ความเขาใจ  การนําไปใช การคิดวิเคราะหเผยแพร บทบาทผูเรียน 6. นําเสนอและ ประเมินผลงาน  ผูเรียนแตละคนนําความรูมานําเสนอภายในกลุม  ตรวจสอบขอมูลวาสามารถตอบคําถามที่อยากรูได ทั้งหมดหรือไม  ตรวจสอบความถูกตอง เหมาะสม พอเพียง  ทบทวนและหาความรูเพิ่มเติม  กลุมนําขอมูลที่ไดทั้งหมดมาประมวลสรางเปน องคความรูใหม  ประเมินประสิทธิภาพ คุณภาพการปฏิบัติงานกลุม  ประเมินตนเองทั้งดานความรู กระบวนการกลุม ความพึงพอใจ  เลือกวิธีการ/ รปแบบการนําเสนอผลงานที่นาสนใจ  เสนอผลงานการปฏิบัติงานตอเพื่อน ผูเรียน/ ผูสอน วิทยากรทองถิ่น, ผูสนใจ  ประเมินผลรวมกับกลุมเพื่อน/ผูสอน/วิทยากร/ ทองถิ่น ที่มา : สํานักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). หนา 7 52 รายละเอียดแตละขั้นตอน มีดังนี้ ขั้นที่ 1 กําหนดปญหา เปนขั้นที่ผูสอนจัดสถานการณตางๆ กระตุนใหผูเรียนเกิดความสนใจ และมองเห็น ปญหา สามารถกําหนดสิ่งที่เปนปญหาที่ผูเรียนอยากรูอยากเรียนไดและเกิดความสนใจที่จะคนหาคําตอบ ขั้นที่ 2 ทําความเขาใจกับปญหา ผูเรียนจะตองทําความเขาใจปญหาที่จะเรียนรู ซึ่งผูเรียนจะตอง สามารถอธิบายสิ่งตางๆ ที่เกี่ยวของกับปญหาได ขั้นที่ 3 ดํา เนินการศึ กษาคนคว า ผูเรียนกําหนดประเด็นที่ตองเรียนรูโ ดยดําเนิน การศึกษาคนควาดว ย ตนเองดวยวิธีการหลากหลาย ขั้นที่ 4 สังเคราะหความรู เปนขั้นที่ผูเรียนนําความรูที่ไดคนความาแลกเปลี่ยนเรียนรูรวมกัน อภิปรายผล และสังเคราะหความรูทึ่ไดมาวามีความเหมาะสมหรือไมเพียงใด ขั้นที่ 5 สรุปและประเมินคาของคําตอบ ผูเรียนแตละกลุมสรุปผลงานของกลุมตนเอง และประเมินผลงาน วาขอมูลที่ศึกษาคนความีความเหมาะสมหรือไมเพียงใด โดยพยายามตรวจสอบแนวคิดภายในกลุมของตนเองอยาง อิสระทุกกลุมชวยกันสรุปองคความรูในภาพรวมของปญหาอีกครั้ง ขั้นที่ 6 นําเสนอและประเมินผลงาน ผูเรียนนําขอมูลที่ไดมาจัดระบบองคความรูและนําเสนอเปนผลงานใน รูปแบบที่หลากหลาย ผูเรียนทุกกลุมรวมทั้งผูที่เกี่ยวของกับปญหารวมกันประเมินผลงาน(สํานักงานเลขาธิการสภา การศึกษา. 2550: 8) บทบาทของผูเรียน 1. ผูเรียนตองปรับทัศนคติในบทบาทหนาที่และการเรียนรูของตนเอง 2. ผูเรียนตองมีคุณลักษณะดานการใฝรู ใฝเรียน มีความรับผิดชอบสูง รูจักการทํางานรวมกันอยางเปนระบบ 3. ผูเรียนตองไดรับการเตรียมพื้นฐาน และฝกทักษะที่จําเปนในการเรียนรูตามรูปแบบการเรียนรูที่เนน ผูเรียนเปนสําคัญ เชน กระบวนการคิด การสืบคนขอมูล การทํางานกลุม การอภิปราย การสรุป การนําเสนอผลงาน และการประเมินผล 4. ผูเรียนตองมีทักษะสื่อสารที่ดีทั้งการอาน การพูด การฟง การเขียน และการสรางความสัมพันธกับเพื่อน (สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550: 13) การเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐาน เรื่อง ปญหาสังคม: กรณีน้ํามันรั่วที่อาวพราว วัตถุประสงคการเรียนรู 1. นิสิตสามารถบอกชนิดและคุณสมบัติของน้ํามันปโตรเลียม พรอมทั้งอธิบายพิษและอันตรายจากสารตกคางที่ มีตอสภาพแวดลอมและสิ่งมีชีวิตในทะเล 2. นิสิตสามารถอธิบายผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดลอม ที่ชุมชนไดรับจากเหตุการณนี้ 3. นิสิตสามารถวิเคราะหบทบาทของชาวบานในการจัดการแกไขปญหาสังคมที่เกิดขึ้นจากเหตุการณน้ํามันรั่ว 4. นิสิตสามารถเสนอแนวทางการแกไขปญหาสังคมที่แสดงถึงการทําหนาที่พลเมืองตามระบอบประชาธิปไตย ของชาวบาน 53 ขั้นตอนการดําเนินการจัดการเรียนรูของอาจารยผูสอนวิชาศึกษาทั่วไปในฐานะ Facilitator 1. อาจารยอธิบายความหมาย ความสําคัญ ของการเรียนรูแบบ PBL และประโยชนที่ผูเรียนจะไดพัฒนาทักษะ การคิด การเรียนรู การสื่อสาร การทํางานรวมกับผูอื่น 2. อาจารยอธิบายขั้นตอนการเรียนรูแบบ PBL พรอมทั้งการกําหนดหนาที่ความรับผิดชอบของ ประธาน เลขา และสมาชิกกลุม 3. อาจารยอธิบายวิธีการประเมินผล แบบฟอรมการประเมินผล 4. อาจารยใหนิสิตแบงกลุมประมาณ 7-10 คน/กลุม พรอมทั้งเลือกประธาน เลขา และผูนําเสนอ 5. อาจารยแจกเอกสารประกอบดวย Scenario เรื่องน้ํามันรั่วที่อาวพราว แบบประเมินผล และกระดาษ Flipchart สําหรับบันทึกขอมูล 6. อาจารยให นิ สิ ตดู วี ดิทัศน เ รื่ อง ผลกระทบจากเหตุการณน้ํามัน รั่ว ที่อาวพราวเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556 พรอมกัน 7. กลุมนิสิตดําเนินการเรียนรูตามกระบวนการ PBL โดยทุกกลุมดําเนินการพรอมกัน ดังนี้ ลําดับ 1 2 3 กิจกรรม ประธานทุกกลุมอาน Scenario เรื่องน้ํามัน รั่วที่อาวพราว สมาชิกรวมกัน กําหนด คนหา และ แลกเปลี่ยนเรียนรู เพื่อสราง Clarifying term โดยใหเลขา เปนผูบันทึกขอมูลใน กระดาษ Flipchart สมาชิกกลุมรวมกัน คิดและเลือกประเด็น ปญหา (Problem List) บทบาท Facilitator ผล บอกใหประธานกลุมอาน Scenario จนเสร็จ สมาชิกกลุม เรียบรอยทุกกลุม ทุกคน รับทราบ 1.อธิบายวิธีการสราง Clarifying term โดย สมาชิกกลุมมี ใหนิสิตใชโทรศัพทมือถือคนหาขอมูลจาก ความเขาใจ Internet และสื่อ 2. เดินตรวจการมีสวนรวมของสมาชิกกลุม ความหมาย ทุกกลุม พรอมทั้งกระตุนใหประธานทํา ของScenario หนาที่ดูแลใหสมาชิกทุกคนมีสวนรวมแสดง ไดชัดเจน ความคิดเห็น 1.อธิบายวิธีการสราง Problem List จาก กลุมได Scenario ประเด็นปญหา 2.ดูแลใหทุกกลุมดําเนินกิจกรรม กรณีพบวา ที่สําคัญ มีกลุมใดยังไมสามารถดําเนินกิจกรรมไดให สําหรับ หยุดเพื่อสังเกต และใชคําถามกระตุนใหกลุม อภิปราย นิสิตคิดโดยพยายามอยูในวัตถุประสงคการ เรียนรู ระยะเวลา (นาที) 5 20 20 54 ลําดับ 4 5 6 7 กิจกรรม สมาชิกกลุมรวมกัน อภิปราย (Discussion) ประเด็นปญหาที่ได จากขั้นตอนที่ 3 บทบาท Facilitator 1.อธิบายจุดมุงหมายของการอภิปราย ประเด็นปญหาใหสมาชิกกลุมทุกกลุมเขาใจ 2. เดินตรวจความเรียบรอยในการทํางาน ของทุกกลุม โดยพยายามใหสมาชิกกลุมทุก คนมีสวนรวมแสดงความคิดเห็นใหมากที่สุด หากพบวา มีสมาชิกคนใดแสดงความคิดเห็น มากเกินไปจนเพื่อนไมมีโอกาสแสดงความ คิดเห็น ใหกระตุนประธานกลุมทําหนาที่ จัดสรรโอกาสสมาชิกใหเทาเทียมกันดวย สมาชิกกลุมรวมกัน 1.ตรวจผลการดําเนินงานของทุกกลุมวาได กําหนด Hypothesis Hypothesis เรียบรอย หากเห็นวา ของปญหาจากผล Hypothesis ยังไมชัดเจน ควรตั้งคําถาม การอภิปราย สําหรับ กระตุนใหสมาชิกกลุมคิดทบทวนวา ใชวิเคราะหปญหาใน Hypothesis มีความสัมพันธกับประเด็น ขั้นตอนที่ 4 โดยนํา ปญหาที่อภิปรายอยางไร มาเขียน Concept 2.บอกใหนิสิตสราง Concept Map ใน Map พรอมทั้งเสนอ กระดาษ Flipchart ที่เตรียมไว แนวทางแกไขปญหา สมาชิกกลุมนํา ตรวจ Flipchart ที่กลุมนิสิตเขียน Coccept ประเด็นปญหาที่ไม Map และ จุดประสงคการเรียนรูสําหรับ สามารถอธิบายได ศึกษาคนควาตอไป มาบันทึกเปน จุดประสงคการ เรียนรูสําหรับไป ศึกษาคนควาตอไป ทุกกลุมนําเสนอผล 1.ฟงการนําเสนอเพื่อติดตามดูพัฒนาการ การเรียนรู จาก ทางความรูและความคิดของทุกกลุม Concep Map 2.สรุปประเด็นการวิเคราะหปญหาและแนว ทางแกไข พรอมทั้งเพิม่ เติมแนวคิดที่เปน สาระสําคัญซึ่งกลุมไมไดนําเสนอกิจกรรม ผล 1.ผลการ วิเคราะห ประเด็นปญหา 2.ความรู และ เหตุผลของ สมาชิกกลุมที่ นํามาใชในการ วิเคราะห ปญหา Coccept Map เรื่อง ปญหา ผลกระทบจาก กรณีน้ํามันรั่ว ที่อาวพราว และแนวทาง แกไข ระยะเวลา (นาที) 30 20 Concep Map และ จุดประสงค การเรียนรู 10 รวบรวมสรุป องคความรู จากการเรียนรู แบบ PBL ใน ครั้งนี้ 15 55 การประเมินผลกิจกรรมการเรียนรูโดยใชปญหาเปนหลัก คะแนนเต็ม 10 คะแนน แบงเปน คะแนนกลุม 6 คะแนน คะแนนรายบุคคล 4 คะแนน พิจารณาคุณภาพของผลงาน ดังนี้ พิจารณาจากการมีสวนรวมทํางานกลุม ดังนี้ 1. เนื้อหาครอบคลุมวัตถุประสงคการเรียนรู 1. การทําหนาที่ของประธานกลุมในการจัดการให 2. การวิ เ คราะห ป ญ หามี ค วามเหมาะสมตาม สมาชิกมีสวนรวมอยางมีประสิทธิภาพ หลักการและเหตุผล 2. เลขากลุ ม ในการจดบั น ทึ ก และแสดงความ 3. การนํ า ความรู ที่ เ กี่ ย วข อ งมาใช ใ นการ คิดเห็น แกปญหา 3. สมาชิกกลุมแตละคนในการมีสวนรวมแสวงหา 4. ความคิดสรางสรรค และทักษะสื่อสารในการ รวบรวมขอมูล และรวมเสนอความคิด นําเสนอ Concept Map 4. ผู นํ า เสนอผลงานสามารถสื่ อ สารได ชั ด เจนใน เวลาที่กําหนด 56 Scenario เรื่องน้ํามันรั่วที่อาวพราว ปามาลีมีอาชีพขายอาหารทะเลเผา และของที่ระลึกริมอาวพราว เกาะเสม็ด ปามาลีอยูกับลูกชาย 2 คน อายุ 15 ป และ 13 ป เด็กทั้งสอง หารายไดเสริมดวยการรับจางทั่วไป รายไดหลักมาจากนักทองเที่ยว เมื่อเกิดเรื่องคราบ น้ํามันกระจายมาถึงอาวพราว ปามาลีดีใจมากแกคุยกับลูกชายวา ปามาลี: มีน้ํามันเราตักไปขายสิ ลูกชายคนโต : น้ํามันดิบแมจะเอาไปทําอะไรได ปามาลี : เอามายารูรั่วของเรือนาปอมก็ได ลูกชาย สายหนาขี้เกียจเถียง วันนี้แดดเริ่มแรง แตนักทองเที่ยวไปไหนหมด ไมมีมาสักคน ปามาลีบอกลูกชายใหเฝารานแทนเพราะแกจะ ไปหา อบต. ลูกชายตนโต: ไปทําไม ปามาลี: จะไปยื่นเรื่องขอคาชดเชยที่นักทองเที่ยวหายไปหมด ลูกชายตนโต: บริษัทน้ํามันมาจายใหหัวละ 5,000 ก็ไดแลวนี่ ปามาลี: จะไปพออะไร ตองไปรองอบต. ใหอบต.ไปรองกับบริษัท ยังไมทันเดินออกไปลูกชายคนเล็กตะโกนออกมา ลูกชายคนเล็ก: เดี๋ยวอยาเพิ่งไป นาปอมเอาปลาหมึกมาใหครึ่งกิโล ลูกชายคนโต: กินไมได ขาวทีวีบอกวามันมีพิษ ลูกชายคนเล็ก: มันตองใชเวลาสะสม นี่เพิ่ง 7 วันเอง กินได ปามาลี: อยาเถียงกัน เดี๋ยวทอดใหกิน ใครไมอยากกินไมตองกิน วันรุงขึ้นลุงขันผูใหญบาน ประกาศชวนชาวบานใหมารวมตัวกันที่ชายหาดเพื่อตรวจสอบสภาพชายหาด จะไดชวยกันดูแลจัดการ และแกไขปญหานักทองเที่ยวไมกลามาเที่ยว นาปอม: ปามาลี: ลูกชายตนโต: ลูกชายคนเล็ก: พี่มาลีผูใหญขันใหมาชวนไปรวมกับชาวบานที่ชายหาด จะไปทําไม เสียเวลาทํามาหากิน แลวเดินเขาหองนอน ไปก็ชวยอะไรไมได ปลอยใหพวกเจาหนาที่รัฐจัดการกันเองดีกวา เพิ่งกลับมาจากชายหาด เห็นมีชาวบานไปแค 2 คนเอง 57 SWU 251 ใบกิจกรรมที่ 4 Concept Map ปญหาสังคม : กรณีน้ํามันรั่วที่อาวพราว กิจกรรมกลุม จากการชมวีดิทัศนเกี่ยวกับน้ํามันรั่วที่อาวพราว ใหกลุมนิสิตใชประกอบการอานกรณีปญหาจากPower point เพื่อรวมกันคิดวิเคราะหตามกระบวนการเรียนรูแบบใชปญหาเปนฐานตามลําดับขั้นตอนดังนี้ 1. แตงตั้งประธาน และเลขากลุม 2. ชวยกันทํารายการคําที่ไมเขาใจหรือเขาใจไมตรงกัน(Clarifying Term) 3. ชวยกันทํารายการประเด็นปญหาที่เกิดจากน้ํามันรั่วที่อาวพราว (Problem List) 4. อภิปรายประเด็นปญหาในขอ 2. รวมกัน 5. เขียนสมมติฐาน(Hypothesis) โดยใช Concept Map 6. นําประเด็นปญหาที่ยังไมสามารถอธิบายไดตั้งเปนจุดประสงคการเรียนรู(Learning Objectives)สําหรับ นําไปศึกษาคนควาตอไป 7. รวมกันเขียนนําเสนอผลการเรียนรูโดยเขียน Concep Map ลงในกระดาษ Flip Chart 8. ทุกกลุมนําเสนอ Concept Map โดยใชเวลากลุมละ 5 นาที หมายเหตุ นิสิตที่ไมไดเขารวมกิจกรรมกลุมตามวันเวลาที่กําหนดจะไมสามารถไดรับผลประเมินการเรียนรู ปญหาคราบน้ํามันที่อาวพราว อุปกรณที่นิสิตตองเตรียมมาในวันทํากิจกรรม 1. ปากกาสีตางๆสําหรับเขียน Concept Map 2. เอกสารประกอบการสอนวิชา มศว 251 3. โทรศัพทมือถือ/อุปกรณคอมพิวเตอรสําหรับสืบคนขอมูล 4. เขียนแบบฟอรมการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรู โดยใชป ญหาเป นฐานใหเสร็จ เรียบร อยเพื่อนํามาส ง อาจารยกอนทํากิจกรรม 58 แบบฟอรมการประเมินผลกิจกรรมการเรียนรูโดยใชปญหาเปนฐาน ชื่อกลุม________________________________ การประเมินผลการทํางานรายบุคคล (4 คะแนน) ตําแหนง รายชื่อที่นิสิตที่เขารวมกิจกรรม 1. ประธานกลุม 2. เลขากลุม 3. ผูนําเสนอ 4. ผูนําเสนอ 5. สมาชิก 6. สมาชิก 7. สมาชิก 8. สมาชิก 9. สมาชิก 10. สมาชิก คะแนนทีไ่ ด การประเมินผลงานกลุม (6 คะแนน) รายการ คะแนนทีไ่ ด 1. ความรู (2 คะแนน) - ความครบถวนตรงประเด็น - ความถูกตอง 2. ความคิด (2 คะแนน) - การวิเคราะหขอมูล - แนวทางการแกปญหาเหมาะสม และเปนไปได 3. การนําเสนอ (2 คะแนน) - ความชัดเจน - ความคิดสรางสรรค คะแนนรวม 59 แผนการสอน หัวขอ กิจการเพื่อสังคมกับสังคมไทย ผูสอน อ. ดร.จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา 8.30-12.30 น. วัตถุประสงค เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1) จิตพิสัย ไดแก - มีคุณธรรม จริยธรรมในการดํารงชีวิต มีความซื่อสัตยสุจริต และมีจรรยาบรรณทางวิชาการ - มีจิตสาธารณะ เสียสละเพื่อสวนรวม - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคม 2) พุทธิพิสัย ไดแก - มีความรู ความเขาใจเรื่องกิจการเพื่อสังคม - มีความรูกวางขวางโลกทัศนกวางไกล และสามารถเรียนรูดวยตนเอง - มีความรูความเขาใจเพื่อนมนุษย สังคมหทย และนานาชาติ สามารถนําความรูไปใชในการ แกปญหาและสรางสรรคสังคม 3) ทักษะพิสัย ไดแก สามารถคิดอยางมีเหตุผลและเปนระบบ สามารถเชื่อมโยงความรูสูการใชประโยชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคมในทุก มิติไดอยางสมดุล การอยูรวมกับผูอื่นอยางสันติสุข เนื้อหา 1. ความหมาย วัตถุประสงค และการดําเนินกิจการเพื่อสังคม 2. การพัฒนาคนหรือพัฒนาทรัพยากรมนุษย 3. การพัฒนามนุษยเพื่อไปสูการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดประสบการณการเรียนรู 1. สอนบรรยายเนื้อหาหัวขอตางๆ 3. นิสิตชมสื่อประกอบการสอน 4. นิสิตรวมอภิปราย 5. นิสิตซักถาม 6. นิสิตทํากิจกรรมที่มอบหมาย 45 30 30 30 45 นาที นาที นาที นาที นาที 60 สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบ การสอน 2. Power point 3. วีดิทัศน เรื่อง อู ธวัชชัย นักกิจการเพื่อสังคม วัตถุประสงค ถายทอดเนื้อหาความรูเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคม สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจไดชัดเจนยิ่งขึ้น ศึกษาแนวคิดของบุคคลตัวอยางที่เปนนักกิจการเพื่อสังคม การประเมินผล 1. ใบกิจกรรมโครงการออกแบบกิจการเพื่อสังคม 2. การมีสวนรวมอภิปรายในชั้นเรียน 3. ขอสอบภาคเนื้อหา หนังสืออางอิง คณะสังคมศาสตร และศูนยบริการวิชาการแกชุมชน. (2556). เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการเรื่อง Social Impact after SE Approach เมื่อ 27 พฤศจิกายน 2556 ณ อาคารนวัตกรรมศาสตราจารย สาโรช บัวศรี. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (2557). เอกสารประกอบการเสวนาทางวิชาการเรื่อง บริบทกิจการเพื่อสังคมกับ การเปลี่ยนแปลงสังคมไทย เมื่อ 9-10 เมษายน 2557 ณ โรงแรมเอ-วัน เดอะ รอยัลครูส (พัทยา) ชลบุรี Ashoka ประเทศไทย ผูป ระกอบการสังคมคือ?http://thailand.ashoka.org/ 18 พฤศจิกายน 2557 ผูประกอบการเพื่อสังคม (Social Entrepreneur) รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร กรุงเทพธุรกิจออนไลน 12 มกราคม พ.ศ. 2552 สืบคนจาก http://www.volunteerspirit.org/node/950 18 พฤศจิกายน 2557 O.K.Nation Blogผู ป ระกอบการเพื่ อ สั ง คม: ความหวั ง ใหม ใ นการพั ฒ นาสั ง คมไทยมี น าคม 2550http://www.oknation.net/blog/print.php?id=1391718 พฤศจิกายน 2557 สํานักงานสรางเสริมกิจการเพื่อสังคมแหงชาติhttp://tseo.or.th/article/46718 พฤศจิกายน 2557 61 หัวขอการสอน กิจการเพื่อสังคมกับสังคมไทย Social Enterprise กิจการเพื่อสังคม คือ กิจการที่มีรายไดจากการขาย การผลิตสินคา /บริการ ที่ตั้งขึ้นเพื่อ เปาหมายในการแกไขปญหาและพัฒนาชุมชน สังคม และ/หรือสิ่งแวดลอมเปนหลัก โดยไมไดมุงสรางกําไรสูงสุด สําหรับเจาของหรือผูถือหุนที่ประกอบธุรกิจทั่วไป กิจการเพื่อสังคมควรมีการดําเนินงาน ดังนี้ • กระบวนการผลิต การดําเนินกิจการ รวมถึงผลิตภัณฑหรือบริการ ไมกอใหเกิดผลเสียตอเนื่องใน ระยะยาวตอสังคม สุขภาวะ และสิ่งแวดลอม • มีการกํากับดูแลกิจการที่ดี • มีศักยภาพที่จะมีความยั่งยืนทางการเงินไดดวยตนเอง • ผลกําไรสวนใหญถูกนําไปเพื่อการลงทุนกลับไปในการขยายผลเพื่อการบรรลุเปาหมายดังกลาว หรือ คือผลประโยชนใหแกสังคม หรือผูใชบริการ • สามารถมีรูปแบบองคกรที่หลากหลาย • มีการนําปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช ลักษณะของกิจการเพื่อสังคม กิจการเพื่อสังคมที่ดีควรมีลักษณะดังตอไปนี้ 1. เปนองคกรที่แสวงหารายไดและกําไร เพียงแตรายไดและกําไรเหลานั้นมีหรือนํามาใชเพื่อผลประโยชน ทางสังคมหรือสิ่งแวดลอม 2. มีแนวทางการหารายไดดวยตนเองเพื่อหลอเลี้ยงการดําเนินงานอยางยั่งยืน โดยที่มาของรายไดสามารถ อยูในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ บริการ การระดมทุนโดยใหผลตอบแทนแกผูลงทุน จนถึงการขอรับบริจาคหรือการ สนับสนุนทางการเงินแบบใหเปลา 3. เนนการใชนวัตกรรมเพื่อแกไขปญหา นั่นคือการคิดคนวิธีการใหมๆ ที่สามารถแกปญหาที่เปนเปาหมาย ของการดําเนินงานไดอยางมีประสิทธภาพ ไดผล ยั่งยืน และสามารถตอยอดผลลัพธได 4. การดําเนินงานโดยอาศัยความรวมมืออยางกวางขวาง เพื่อระดมศักยภาพเฉพาะของเครือขายเพื่อรวม แกไขปญหาสังคมที่ซับซอน 62 นโยบายรัฐบาลกับกิจการเพื่อสังคม รัฐบาลหลายประเทศใหความสําคัญกับกิจการเพื่อสังคม และมีนโยบายสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม เชน ประเทศอังกฤษ มีการกอตั้งหนวยงานชื่อ Office of the Third Sector (OTS) ภายใตการดูแลของสํานัก คณะรัฐมนตรี โดย OTS มีนโยบายหลัก คือการผลักดันและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคม และยังชวยเหลือในดานการใหขอมูล และคําปรึกษาที่ดี การเขาถึงแหลงเงินทุน และลดอุปสรรคในการทํางานรวมกับภาคธุรกิจเอกชน นอกจากนี้ยังมี คณะทํางานเฉพาะกิจ Social Investment Task Force ซึ่งทําหนาที่ใหคําแนะนําแกรัฐบาลในเรื่องของการขยายตัว ของกองทุน Phoenix (กองทุนเพื่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนโดยการกระตุนการลงทุนผานทางสังคมและธุรกิจ) การจั้ด ตั้งการใหเครดิตทางภาษีของการลงทุนเพื่อชุมชน การใหความชวยเหลือของภาครัฐ สูกองทุนรวมพัฒนาชุมชน และ การพัฒนาทางดานการเงินแกชุมชน ประเทศแคนาดา มี เ งิ น กองทุ น สนั บ สนุน กิจ การเพื่อสังคมภายใตการดูแลของรัฐ มนตรีดานการพัฒ นา ทรัพยากรมนุษยและศักยภาพ พรอมทั้งมีการออกพระราชบัญญัติความรวมมือขององคกรไมแสวงหาผลกําไร โดย รัฐบาลแกไขกฎระเบียบสําหรับองคกรไมแสวงหาผลกําไร และปรับปรุงความนาเชื่อถือทางการเงิน ทําใหบทบาทและ ความรับผิดชอบของผูประกอบกิจการเพื่อสังคมมีความชัดเจนในแงกฏหมายพรอมทั้งการปกปองสิทธิประโยชนตางๆ นอกจากนั้นยังกอตั้ง Co-operative Development Initiative (CDI) ในป 2003 ซึ่งเปนโครงการ 5 ป เพื่อชวย พัฒนา ทําวิจัย รวมถึงทดลองใชนวัตกรรมดานรูปแบบของความรวมมือกับหนวยงานตางๆตางๆ ประเทศสิงคโปร มีการจัดตั้งกองทุน Social Enterprise (Social Enterprise Fund – SEF) ซึ่งเปนผูให เงิ น ทุ น สนั บ สนุ น สํ า หรั บ การเริ่ มต น กิ จ การเพื่อ สังคม และยั งมีก ารจั ดตั้ง คณะกรรมการ Social Enterprise Committee (SEC) โดยมีเปาหมายเพื่อกระตุนความรับผิดชอบทางสังคมของธุรกิจ สรางกิจการเพื่อสังคมที่มีความ ชํานาญดานสิ่งแวดลอม และสรางวัฒนธรรมของการเปนผูประกอบการดานสังคม ประเทศไทย รัฐบาลไดใหความสําคัญกับกิ จการเพื่อสังคมในฐานะที่เ ปนกลไกที่ทําใหเอกชนมีส วนรว ม รับผิดชอบแกไขปญหาสังคมมากขึ้น จึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการสรางเสริมกิจการเพื่อสังคม (สสส. ) และกําลังเรง จัดทําแผนแมบทสรางเสริมกิจการเพื่อสังคม กิ จ การเพื่ อสั ง คมในประเทศไทยนั้ น มี มานานแล ว ส ว นมากจะอยู ใ นรู ป สหกรณ หรื อ อยู ในรู ป ของการ รวมกลุมวิสาหกิจชุมชน กระจายตัวอยูทั่วทุกภูมิภาค โดยแตละองคกรตางมีเปาหมายในการทํางานเพื่อตอบสนองตอ ปญหาที่เกิดขึ้นตามบริบทในทองถิ่นของตนเอง รวมทั้งเพื่อการบรรลุเปาหมายทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม รวมกัน การดําเนินกิจการเพื่อสังคมในระดับภูมิภาคจะเนนไปตามพื้นที่อยูอาศัยและในเชิงวัฒนธรรม กลาวคือ ภาคเหนือ การรวมกลุมเพื่อทําธุรกิจชุมชน กิจการเพื่อสังคมสวนมากจะเนนที่การรักษาวัฒนธรรมทองถิ่น เพื่อชวยเหลือผูดอยโอกาสทางสังคม และชนกลุมนอย เปนตน ซึ่งถายทอดผานงานหัตถกรรม (Handicraft) เปนงาน ชางที่ทําดวยมือหรืออุปกรณงายๆ อาศัยทักษะและเนนประโยชนใชสอยเปนหลัก โดยทั่วไปเปนผลิตภัณฑที่แสดงให เห็นถึงวัฒนธรรมและศาสนา สามารถนํามาใชในชีวิตประจําวันได ผลิตภัณฑที่ผลิตออกมาเปนจํานวนมากจะสื่อถึง วัฒนธรรมของคนทองถิ่น และในภาคเหนือสวนมากจะมีชาวเขาอาศัยอยูมาก จึงทําใหเกิดการทําธุรกิจเพื่อชวยเหลือ ชาวเขาใหเกิดการพัฒนาอาชีพ เชน จากการปลูกฝนมาปลูกชาและสิ่งทอ งานฝมือพวกการปกเย็บลายผาชนเผา 63 เปนถุงยาม เสื้อ สรอยคอ ซึ่งเปนทักษะที่ชาวเขามีอยูแลว รวมถึงใชวัสดุทองถิ่นในการผลิตสินคาตางๆ เพื่อนําไป จําหนายในตลาด และยังสรางงานใหแกบุคคลเหลานั้นอีกดวย ภาคใต กิจ การเพื่อสังคมจะเน นทางดานสิ่งแวดลอม โดยดูจากการอนุรักษธ รรมชาติทั้งชายทะเลและ ปะการัง เนื่องจากธรรมชาติของภาคใตสวนใหญจะเปนทะเล และเกิดปญหาปะการังถูกทําลายดวยสาเหตุตางๆ เชน การจับสัตวน้ําในแนวปะการัง การใชสารเคมีเบื่อปลา การทองเที่ยวเกิดจากการที่นักทองเที่ยวไปเดินหรือยืนบน ปะการัง รวมทั้งการทิ้งสมอเรือที่นํานักทองเที่ยวเขาไป และการกอสรางชายฝงเพื่อสนับสนุนการทองเที่ยว การ พัฒนาที่ดินบริเวณใกลเคียงชายฝง การทิ้งของเสียและสิ่งปฏิกูลลงในบริเวณปะการังก็ทําใหเสียสมดุลของระบบนิเวศ ดวยสาเหตุตางๆ เหลานี้ทําใหเกิดคนที่ตองการอนุรักษทรัพยากรธรรมชาติทางทะเล ทําธุรกิจที่มุงเนนรักษาสมดุล ระหวางกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการอนุรักษธรรมชาติเขาดวยกัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปญหาพื้นที่แหงแลง และการขาดความรูดานการเกษตรที่ดี จึงมีการทํากิจการ เพื่อสังคมที่เปนธุรกิจเกี่ยวกับเกษตรกรรม เชน เกษตรพอเพียง เกษตรชีวภาพ เปนตน โดยมุงเนนแกปญหาทางดาน เกษตรกรรมเป น หลั ก และมี เ ป า หมายเพื่ อ แกป ญ หาความยากจนของเกษตกร และเพื่อเพิ่มผลผลิต และความ หลากหลายของพืชผลทางการเกษตร เพื่อรับมือกับภาวะการเปลี่ยนแปลงของตลาด เชน การแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ทางการเกษตรในกลุมปราชญชาวบาน และกลุม Grassroot Innovation Network (GIN) ที่มีการถายทอดเทคนิค ทางการเกษตร ทั้งเกษตรอินทรียขนาดจิ๋ว การใชถานชีวภาพ ระบบชลประทานแบบหยดน้ํา ปุยอินทรีย ฟารมหมู หลุมและการเกษตรแบบทวีคูณ (multiple crop farming) จนกลายเปนเครือขายขนาดใหญ ภาคกลาง เปนพื้นที่ของการทําเกษตรกรรมควบคูกับมีความเจริญทางดานอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ จึงมีการทําธุรกิจ social enterprise ที่หลากหลาย เชน การรวมกลุมสหกรณการเกษตร กลุมแมบานในทองถิ่น แต ปจจุบันเริ่มมีแนวคิดของการสรางธุรกิจชนิดนี้ในรูปของบุคคลทั่วไป โดยใชความรู ความสามารถเฉพาะทางมากขึ้น ทําใหเ กิ ด ความหลากหลายของธุร กิ จ โดยมีการจัดตั้งองคกรพัฒ นาชุมชนที่ภ าคกลางจํานวนมาก รวมถึงมีการ กระจายการพัฒนาไปสูภูมิภาค ซึ่งมีแนวคิดหลักเพื่อชวยเหลือสังคมในภูมิภาคอื่นๆ ของประเทศใหมีการเจริญเติบโต ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมไปพรอมๆ กัน เชน สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน (Population and Community Development Association: PDA) ที่มุงสงเสริมโครงการ social enterprise เปนที่แรกๆ ของเมืองไทย โดยให ภาคธุรกิจมีบทบาท สวนรวมกับองคกรพัฒนาเอกชนที่จะชวยอํานวยความสะดวก ซึ่งเปนการเพิ่มประสิทธิภาพใน การพัฒนาชนบท และยังเนนพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้งในเขตชนบทและเขตเมืองไดดียิ่งขึ้นอีกดวย ประโยชนของกิจการเพื่อสังคม การดําเนินกิจการเพื่อสังคมมีประโยชนตอการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ และยังชวยกระตุนเศรษฐกิจใน ระยะยาว สรุปไดดังนี้ 1. การพั ฒ นาสั งคมและสิ่ ง แวดล อ มอย างยั่งยื น โดยใชธุ ร กิ จ เป น เครื่อ งมื อแก ไขและพัฒ นาสั งคมและ สิ่งแวดลอม โดยใชกลไกการแบบทุนใหเปลาที่มุงเนนการกระจายผลประโยชนสูชุมชนและผูดอยโอกาส ซึ่งธุรกิจที่ ไดรับทุนจะตองไมกอใหเกิดผลเสียตอสังคม และสิ่งแวดลอม 64 2. การสรางเสริมกลไกตลาดที่มีคุณธรรมและยั่งยืน โดยเชื่อมโยงขับเคลื่อนกลไกตลาดสําคัญ ดวยการ การบริโภคที่ยั่งยืน การผลิตที่ยั่งยืน และการลงทุนที่รับผิดชอบตอสังคม 3. การพัฒนาคุณภาพบริการสาธารณะ โดยสรางนวัตกรรมและรูปแบบใหมของบริการสาธารณะ ทั้งบริการ โดยตรงตอสังคม และการประมูลจากรัฐบาล เชน การจัดการของเสีย พลังงานทดแทนระดับชุมชน และการพัฒนา อาชีพ/ชวยเหลือผูดอยโอกาส หรือผูสูงอายุ 4. การสรางเศรษฐกิจใหมแหงคุณธรรมและความยั่งยืน ไดแก การสรางมูลคาทางเศรษฐกิจที่มีคุณธรรมและ คุณคาเชิงสังคม ซึ่งสามารถเปนเครื่องมือกระตุนเศรษฐกิจได และดึงดูดคนรุนใหมเพื่อมาเปนผูประกอบการเพื่อ สังคมที่สามารถสรางประโยชนใหตัวเองและสังคมไปพรอมกัน การประกอบธุรกิ จเพื่อสังคม ถือไดวาเปนรูป แบบหนึ่งของการแสดงความรับผิด ชอบต อสังคม เป นการ ดําเนินธุรกิจตามหลักจริยธรรม มีการกํากับดูแลกิจการที่ดีควบคูไปกับการใสใจ และดูแลรักษาสังคม สิ่งแวดลอม การเปนผูประกอบการเพื่อสังคม ผูป ระกอบการสังคมคือ บุคคลที่มีวิธีการใหมในการแกปญหาสังคมที่เรงดวน บุคคลเหลานี้มีความมุงมั่นและ ยืนหยัดในการแกไขปญหาที่สําคัญ และเสนอแนวคิดใหมเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม แทนที่จะปลอยใหการแกไข ปญหาสังคมเปนหนาที่ของภาครัฐหรือภาคธุรกิจ ผูประกอบการสังคมมุงมั่นรวมแกไขปญหาโดยการเปลี่ยนแปลง ระบบการผลิต เผยแพรวิธีการทํางาน และจูงใจใหคนในสังคมยอมรับการเปลี่ยนแปลงใหมๆ เปนผูมีวิสัยทัศนและ เปนนักปฏิบัติที่มุงมั่นจะนําวิธีการแกไขปญหาที่เปนจริงมาสรางการเปลี่ยนแปลงในสังคมตามวิสัยทัศนของตนอยางมี จริยธรรม นอกจากนี้ยังแสวงหาการสนับสนุนจากสังคมวงกวาง เพื่อสงเสริมใหคนในชุมชนลุกขึ้นมายอมรับและนํา ความคิดไปปฏิบัติใหมากที่สุด ผูประกอบการเพื่อสังคมจึงมีความพิเศษ คือ เปนผูมีสวนผสมระหวางความคลองตัว ความมีประสิทธิภาพ และความสามารถในการสรางนวัตกรรมแบบผูประกอบการ รวมกับความมีจิตสํานึกตอสังคมแบบนักพัฒนาสังคมไว ดวยกัน จึงกลาวไดวาผูประการเพื่อสังคมมีความโดดเดนกวาผูประกอบการ หรือ NGOs โดยทั่วไป เพราะนอกจาก เขาจะมี ความสามารถในการบริ ห ารธุร กิ จ ใหป ระสบความสําเร็จ และเลี้ย งตัว เองไดแลว เขายังใชธุร กิจ นั้น เปน เครื่องมือหาแหลงเงินทุน เพื่อใหการสนับสนุนความตั้งใจที่จะแกไขปญหาสังคมที่ตนเองสนใจใหสามารถดําเนินไปได อยางไมขาดตอน เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระหวางผูประกอบการเพื่อสังคมกับผูประกอบการทั่วไปจากภายนอกนั้น แทบไมมีความแตกตางกัน แตหากพิจารณาแรงจูงใจภายในของผูประกอบการเพื่อสังคมเห็นไดวาไปไกลกวาการ แสวงหาความมั่ งคั่ งเพื่อตนเอง แตเ ขาปรารถนาที่จะเห็น สังคมถูกพัฒ นาไปในทางที่ดีขึ้น ดังนั้นคุณสมบัติของผู ประกอบกิจการเพื่อสังคมควรประกอบดวย 1. มีความพรอมในการดําเนินธุรกิจแบบพึ่งตนเองได 2. เปนผูนําการเปลี่ยนแปลง Change Agent 3. มีหลักธรรมาภิบาล 4. สามารถดําเนินธุรกิจเพื่อเปาหมายสําคัญคือการพัฒนาสังคม 65 ตัวอยางผูประกอบการสังคมแนวหนาในประวัติศาสตร ผูประกอบการเพื่อสังคมนั้นจะอยูระหวางกลางระหวางองคกรสาธารณกุศลที่มุงเนนเพื่อสังคมอยางเดียว กับองคกรธุรกิจที่เปาหมายหลักอยูที่การทํากําไร โดยผูประกอบการเพื่อสังคมจะมุงเนนทั้งในดานของกําไรและสังคม ไปควบคูกัน ผูประกอบการเพื่อสังคมตัวอยางที่เปนที่รูจักและโดงดังไปทั่วโลก ก็คือ Muhummad Yunus กอตั้ง ธนาคารกรามีน ที่บังกลาเทศ เปนผูริเริ่มเรื่องของ Micro-Finance โดยใหเงินกูขนาดยอมสําหรับแมบานเพื่อลงทุน สรางกิจการของตนเอง โดยปลอยเงินกูจํานวนไมมากเพื่อใหผูประกอบการที่ไมสามารถกูเงินจากธนาคารปกติไดมี เงินทุนแรกเริ่มในการทําธุรกิจ Yunus ไดเขาไปชวยสรางฐานะใหกับชาวบังกลาเทศเปนจํานวนมาก ในขณะเดียวกัน ธุรกิจใหกูเงินของเขาขยายตัว และเติบโตไปอยางตอเนื่อง และ Yunus เองก็ไดรับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพเมื่อป 2006 นอกจากนี้ยังมีตัวอยางผูประกอบการเพื่อสังคมที่เปนที่รูจักอีกจํานวนมาก ไดแก ซูซาน บี แอนโทนี(Susan B. Anthony) ชาวอเมริกัน ผู ตอสูเพื่ อสิทธิส ตรีในสหรัฐ และสิทธิในการ ครอบครองสินทรัพย ยิ่งไปกวานั้น เธอยังเปนผูนําในการผลักดันการแกไขกฎหมายเรื่องนี้ วิโนบา บาเว (Vinobha Bhave) ชาวอินเดีย ผูกอตั้ง The Land Gift Movement ซึ่งสนับสนุนและ ผลักดันใหมีการจัดสรรที่ดินจํานวน ๗,๐๐๐,๐๐๐ เอเคอรแกคนในวรรณะจันฑาลและผูไรที่ทํากินในสังคมอินเดีย แมรี่ มอนเตสเซอรี่ (Mary Montessori) ชาวอิตาลี ผูพัฒนาวิธีการเรียนการสอนแบบมอนเตสเซอรี่ เพื่อ การศึกษาสําหรับเด็กปฐมวัย ฟลอเรนซ ไนติงเกล (Florence Nitingale) ชาวอังกฤษ ผูกอตั้งการพยาบาลสมัยใหม เธอกอตั้งโรงเรียน สําหรับพยาบาลแหงแรก และตอสูเพื่อใหโรงพยาบาลไดรับการพัฒนาใหมีสภาพที่ดีขึ้น มากาเร็ต แซงเก (Magaret Sange) ชาวอเมริกา ผูกอตั้ง The Planned Parenthood Federation of America ซึ่งเธอไดเผยแพรขบวนการวางแผนครอบครัวไปทั่วโลก จอหน มูอีร (John Muir) ชาวอเมริกัน นักธรรมชาตินิยมและนักอนุรักษทรัพยากร ไดกอตั้งระบบอนุรักษปา สงวนแหงชาติและชวยกอตั้ง The Sierra Club ณอน โมเนต (Jean Monnet) ชาวฝรั่งเศส เปนผูรับผิดชอบตอการฟนฟูเศรษฐกิจประเทศฝรั่งเศส หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง รวมทั้งเปนผูกอตั้ง the European Coal and Steel Community (ECSC) และEuropean Common Market ซึ่งเปนองคกรที่เกิดขึ้นกอนประชาคมเศรษฐกิจ ในประเทศไทยการเปนผู ประกอบการเพื่อสังคม เปนแนวคิดที่เปนทางเลือกใหมในการแกปญ หาสังคม ปจจุบัน ซึ่งที่ผานมายังไมประสบความสําเร็จเทาที่ควร และจําเปนตองอาศัยความรวมมือจากหลายภาคสวนในสังคม องคกรธุรกิจไทยที่มีประสบการณการเปนผูประกอบการเพื่อสังคมและเปนที่รูจัก ไดแก โครงการพัฒนาดอยตุง พัฒนาคนทองถิ่นใหมีความรู อาชีพ และรายได โดยเนนการแกไขที่ตนเหตุปญหา และพัฒนาที่ยั่งยืน มุงพัฒนาและเพิ่มมูลคาใหภูมิปญญาทองถิ่นและทรัพยากรในพื้นที่ พัฒนาฝมือแรงงานและใช เทคโนโลยีที่เหมาะสม พัฒนาคนใหสรางรายไดและมีอาชีพไมใชการใหเปลา ซึ่งโครงการพัฒนาดอยตุงมีการทํางาน 2 สว น คื อ กิ จกรรมเชิ งธุร กิจ เช น การเพาะเนื้อเยื่อ การผลิตและจําหนายผลิตทางการเกษตร แปรรูป อาหาร หั ต ถกรรม งานป น และการท องเที่ ย ว ฯลฯ ป จ จุ บั น หน ว ยธุ ร กิ จ ต า ง ๆ สร า งรายได ป ล ะประมาณ 465 ล า น 66 รัฐบาลสนับสนุนปละ 23 ลาน ซึ่งจะสงกําไรไปฝายพัฒนาสังคมโครงการพัฒนาดอยตุงและโครงการอื่นของมูลนิธิแม ฟาหลวง ซึ่งดําเนินกิจกรรมพัฒนาชุมชนและสังคมที่ไมสรางรายได เชน การปลูกปา การพัฒนาอาชีพ การใหความรู และการศึกษา ฯลฯ บริษัท ทีวีบูรพา จํากัด ใหความรูและสรางความตระหนักการเห็นคุณคาคนใหสังคม บริษัท ทีวีบูรพา จํากัด เปนตัวอยางผูประกอบการที่มีจุดเนน เพื่อใหความรูในประเด็นตาง ๆ รวมถึงสรางความตระหนักแกคนในสังคมไทย ใหไดเห็นแงมุมและมุมมองชีวิตของกลุมคนตาง ๆ โดยบริษัทไดผลิตหลายรายการ เชน รายการจุดเปลี่ยน คนคนคน กบนอกกะลา ฯลฯ นับเปนรายการรูปแบบใหมที่พลิกโฉมจากรูปแบบเดิม เปนรายการที่ประสบผลสําเร็จ โดยเปนสื่อ ที่คนในสังคมไทยสามารถเขาถึงและรับรูไดอยางกวางขวาง ไดรับความนิยมและเปนที่รูจักของคนในสังคมไทยอยาง มาก โดยบริษัทอยูรอดและแขงขันในตลาดไดดวยการหาโฆษณา จส. 100 จุดประกายการสรางคุณคาทางสังคมใหคนเมืองกรุงฯ จส. 100 เปนตัวอยางผูประกอบการเพื่อ สังคมในกลุมคนทองถิ่นคือในกรุงเทพฯ โดยรายการมีสวนสรางคุณคาทางสังคม (Social Value) ใหเกิดขึ้นกับคนที่ อยูในเมือง ซึ่งมีสภาพความเปนปจเจกสูง รายการนี้เปนการสรางเครือขายการชวยเหลือซึ่งกันและกันของคนใน กรุงเทพฯ ที่มีความเอื้ออาทรกันไมวาจะเปนรถเสีย การรายงานสภาพการจราจร และบอกเสนทางการจราจรเพื่อ หลีกเลี่ ยงการติ ดขั ด การตามหาหรื อแจ งเบาะแสคนหาย การเกิดอุบัติเหตุทั้งบนผิว การจราจรหรือสวนอื่น ของ กรุงเทพฯ การจัดโครงการกองทุนบริจาคเงินเพื่อลิ้นหัวใจกับ จส. 100 ฯลฯ โดยรายไดของรายการมาจากการหา โฆษณา รวมถึงการจัดกิจกรรมโครงการแรลลี่ตาง ๆ ที่มีสวนในการระดมทุน เปนตน ตัวอย างขางตนนี้ เปนผู ประกอบการเพื่อสังคมที่เปน ตัวแบบใหคนในสั งคมไดเดิน ตาม สังคมไทยจะตอง สนับสนุนและสรางผูประกอบการเพื่อสังคมใหมีจํานวนมากขึ้น เพื่อเปนแนวทางแกปญหาและพัฒนาสังคม โดยตอง หาวิธีที่จะชวยใหเกิดขึ้นจริงในภาคปฏิบัติ เพื่อสามารถนําคนหรือองคกรที่มีความตั้งใจดีและมีศักยภาพเขามามีสวน ชวยกันแกไขและพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่ยั่งยืน แนวคิดการสรางผูประกอบการเพื่อสังคม การสร างผู ประกอบการเพื่ อสั งคมเกิดขึ้น มากอนในประเทศที่พัฒ นาแลว ยกตัวอยางใน สหรัฐอเมริกา มหาวิทยาลัยหลายแหงมีหลักสูตรเพื่อสรางผูประกอบการเพื่อสังคมโดยเฉพาะ ซึ่งหลักสูตรที่วานี้ดึงความสนใจของ นั กศึ กษาที่ ส นเรื่ องการทํ า ธุ ร กิ จ หรื ออยากเปน ผู ป ระกอบการ ใหหัน ไปสนใจการแกไ ขปญ หาสั งคมดว ย ดังนั้ น นักศึกษาที่จบออกมาจะเปนบุคคลที่มีความเปนนักธุรกิจและนักพัฒนาสังคมในบุคคลคนเดียวกัน นักศึกษาที่เขามาเรียนจะถูกฝกฝนใหเปนนักธุรกิจ เพื่อสามารถเขียนแผนธุรกิจของตน โดยตัวธุรกิจนั้น ตองไมทํารายสังคมและสิ่งแวดลอม เชน ธุรกิจที่เกี่ยวของกับอบายมุข หรือ กิจกรรมที่ทําลายสิ่งแวดลอม เปนตน นอกจากนี้ธุรกิจนั้นจะตองสามารถอยูไดอยางยั่งยืน และเติบโตมีกําไรเหมือนกับธุรกิจทั่วไป มากยิ่งกวานั้น แผน ธุรกิจนั้นไมไดมีเปาหมายหลักเพื่อแสวงหากําไรสูงสุดแกองคกร แตนํากําไรที่ไดสนับสนุนงานเพื่อแกปญหาสังคมให สามารถดําเนินไปไดอยางตอเนื่อง 42 67 แนวคิดการสราง “ผูประกอบการเพื่อสังคม” หรือ Social Entrepreneur อาจฟงไมคุนหูคนไทย แตใน หลายประเทศ เชน สหรัฐอเมริกา เปนสิ่งที่เกิดขึ้นมาระยะหนึ่งและเปนที่รูจักกันอยางกวางขวาง เนื่องจากภาค ธุรกิจและประชาสังคม (NGOs) ตางมีความจํากัดในตัวเอง คือ ภาคธุรกิจมุงเนนไปที่การแสวงหากําไร ไมไดสนใจ ปญหาสังคมอยางแทจริ ง แมว าบางส วนจะตอบแทนแกสั งคมบาง แตเป นลั กษณะการสรางภาพลักษณ เสีย เป น สวนมาก ขณะที่กลุม NGOs แมเปนกลุมที่มีอุดมการณ แตสวนใหญยังไมเขมแข็งและเลี้ยงตัวเองไมได เพราะขาด แหล ง ทุ น สนั บ สนุ น ที่ ต อ เนื่ อ ง และระบบการบริ ห ารจั ด การที่ ไ ม เ ข ม แข็ ง ทํ า ให ก ารดํ า เนิ น งานเป น ไปอย า ง กระทอนกระแทนไมมีความยั่งยืน ดังนั้นจึงนาเสียดาย หากสังคมไทยจะมีแตผูประกอบการที่มีความสามารถแตไมสนใจตอปญหาสังคม โดยมุง แตแสวงหาผลกําไรใหกับธุรกิจของตนเปนที่ตั้ง และนาเสียดายเชนเดียวกัน หากจะมีแตนักพัฒนาสังคมที่มีความ ตั้งใจดีตอชาติบานเมือง แตบุคคลเหลานี้ขาดกําลังทรัพยสนับสนุน และขาดทักษะในการทํากิจกรรมเพื่อหาทุน ความ ตั้งใจที่ดีตอสังคมนั้นจึงมีโอกาสสําเร็จไดยาก “ผูประกอบการเพื่อสังคม” จึงเปนทางเลือกใหมในการแกปญหา สังคมไทยในป จ จุบั น เพราะการหวั งใหภ าครัฐเพีย งฝายเดีย วเปน ตัว หลักในการแกปญหาสังคมคงไมทัน การณ การสรางผูประกอบการเพื่อสังคมขึ้นมาในสังคมไทยเปนแนวทางประการสําคัญอีกทางหนึ่งในการแกปญหา สังคม โดยคนไทยทุกคนสามารถเริ่มตนดําเนินการเองไดตามกําลังของแตละบุคคล โดยอาจจะเริ่มตนไดตั้งแตใน ระดับบุคคล กลุมบุคคล จนถึงองคกรธุรกิจขนาดใหญ 68 แผนการสอน หัวขอ การเรียนรูดวยการนําตนเอง เรื่อง ชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว ผูสอน อาจารย ดร. จิตตภิญญา ชุมสาย ณ อยุธยา เวลา วัตถุประสงค : เพื่อใหนิสิตพัฒนาดานตางๆ ดังนี้ 1. จิตพิสัยที่พึงประสงค ไดแก - เสริมสรางเจตคติในการเรียนรูดวยการนําตนเอง - ตระหนักในคุณคาของศิลปวัฒนธรรมทั้งของไทยและประชาคมนานาชาติ - รับผิดชอบตนเอง ผูอื่น สังคม และสิ่งแวดลอม 2. พุทธิพิสัยที่พึงประสงค ไดแก มีความรูและแนวทางในการพัฒาตนเอง - มีความรู ความเขาใจวิธีการเรียนรูดวยการนําตนเอง - มีความรูกวางขวางมีโลกทัศนกวางไกล และสามารถเรียนรูดวยตนเอง - มีความรูความเขาใจธรรมชาติตนเอง รูเทาทันการเปลี่ยนแปลง และดํารงชีวิตอยางมีความสุข ทามกลางกระแมโลกาภิวัตน - มีความรูพื้นฐานในการดํารงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง 3. ทักษะพิสัยที่พึงประสงค ไดแก - ใฝรูและมีวิจารณญานในการเลือกรับขอมูลขาวสาร - สามารถคิดอยางมีเหตุผลและเปนระบบ - สามารถเชื่อมโยงความรูสูการใชประโยชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเอง และสังคมในทุก มิติไดอยางสมดุล - มีความสามารถแสวงหาความรูโดยใชเทคโนโลยีสารสนเทศ เนื้อหา 1. ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเอง 2. ชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว 3. แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. เปรีย บเที ยบขอดีและข อเสี ยระหวางการทําเกษตรเชิงเดี่ย วกับ เกษตรตามแนวคิดปรัช ญาเศรษฐกิจ พอเพียง 69 การจัดประสบการณการเรียนรู - การเรียนรูในชั้นเรียน 1. อธิบายความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเอง 30 นาที 2. แนะนําแหลงเรียนรูเกษตรเชิงเดี่ยวและเศรษฐกิจพอเพียง 20 นาที 3. อธิบายกิจกรรม 10 นาที - การเรียนรูนอกชั้นเรียน 1. ทบทวนความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเองพรอมทั้งเตรียมความพรอมในการเรียนรู 2. การศึกษาคนควาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3.การศึกษาเรื่องชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยวจาก http://www.youtube.com 4. อาจารยติดตาม และใหคําปรึกษาแนะนํากรณีนิสิตมีขอสงสัย 5. นิสิตแลกเปลี่ยนเรียนรูสิ่งที่ศึกษาคนควา 6. ทํารายงานในใบกิจกรรมที่ 5 สื่อการสอน รายการ 1. เอกสารประกอบการสอน 2. Power point วัตถุประสงค ถายทอดเนื้อหาความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเอง สรุปเนื้อหาใหนิสิตเขาใจความหมาย ความสําคัญ และการเตรียมความพรอม สําหรับการเรียนรูดวยตนเองไดชัดเจนยิ่งขึ้น 3. วีดิทัศนเรื่อง ชะตากรรม ศึกษาเรื่องราวพรอมทั้งขอดีและขอเสียของเกษตรกรที่ทําเกษตรเชิงเดี่ยว เกษตรเชิงเดี่ยว 4. ข อ มู ล ปรั ช ญาเศรษฐกิ จ ศึกษาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อนํามาเปรียบเทียบกับแนวคิดการทํา พอเพียง เกษตรเชิงเดี่ยว การประเมินผล 1. การจัดทําใบกิจกรรมที่ 5 ชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว 2. ขอสอบภาคเนื้อหา 70 หนังสืออางอิง สมคิ ด อิ ส ระวั ฒ น . (2538). รายงานการวิ จั ยลั กษณะการเรี ยนรู ด วยตนเองของคนไทย. กรุ งเทพฯ: คณะ สังคมศาสตรและมนุษยศาสตร มหาวิทยาลัยมหิดล. สุนทร สุทองหลอ. (2542). คุณลักษณะการเรียนรูดวยการนําตนเองของนักศึกษาสถาบันราชภัฏสวนดุสิต. ปริญญานิพนธ กศ.ม. (การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. สุนทรา โตบัว. (2546). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสรางคุณลักษณะการเรียนรูดวยการนํา ตนเองของนักศึ กษาพยาบาล. ปริญญานิพนธ กศ.ด. (การวิจัยและพัฒนาหลักสูต ร). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Guglielmino, L.M. (1977). Development of the Self-Directed Learning Readiness Scale. University of Georgia: Georgia Unpublished Ed.D.Dissertation. Hershey, Paul; & Blanchard, Kenneth. (1996). In Definse of the Stage Self-Directed arning. Retrieved March 17, 2013, from ii 168,223.23/SJRNGQA/ggrow/SSD, on Houle, Cyril O. (1964). Continuing Your Education. New York: Mc Graw-Hill Book Company Knowles. Malcom, S. (1975). Self-Directed Learning: A guide for Learners and Teachers. Chicago: Chicago Association Press 71 หัวขอการสอน การเรียนรูดวยการนําตนเอง เรื่องชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว กิจกรรมการเรียนรูดวยการนําตนเอง 1. ศึกษาความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเอง 2. ดูวีดิทัศนชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว จาก http://www.youtube.com 3. ศึกษาคนควาแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 4. ตอบคําถามใบกิจกรรมที่ 5 ความรูเบื้องตนเกี่ยวกับการเรียนรูดวยการนําตนเอง การจัดการเรียนรูในปจจุบันมีลักษณะผูเรียนเปนสําคัญ สงเสริมใหผูเรียนเกิดการใฝรู ใฝเรียนอยางตอเนื่อง เพื่อใหสามารถปรับตัวทันกับการเปลี่ยนแปลงของศาสตรทมี่ อี งคความรูอยางหลากหลาย และมีแหลงเรียนรูมากมาย เชน ตํารา วีดิทัศน และสื่อตางๆ การเรียนรูดวยการนําตนเองเปนวิธีการเรียนรูที่ศูนยกลางของการเรียนรูคือ ผูเรียน ไมใชผูสอน ซึ่งจะสงผลใหเกิดการเรียนรูตลอดชีวิตและเปนสวนหนึ่งการพัฒนาอยางยั่งยืน การเรียนรูดวยการนํา ตนเองจึงเปนวิธีการจัดการเรียนรูชนิดหนึ่งที่จะชวยใหผูเรียนเกิดความกระหาย ใครรู สามารถเรียนรูเรื่องตางๆ ที่ มีอยูไดมากที่สุด และจะดําเนินการศึกษาอยางตอเนื่อง การเรียนรูดวยตนเองเปนแนวคิดที่สนับสนุนการเรียนรูตลอด ชีวิตของสมาชิกในสังคม และสนับสนุนสภาพ “สังคมแหงการเรียนรู” ซึ่ง เปาหมายที่สําคัญของการเรียนรูดวย ตนเอง คือ การพัฒนาผูเรียนใหใฝเรียนรูตลอดชีวิตหลังสําเร็จการศึกษา การเรียนรูดวยการนําตนเองคืออะไร การเรียนรูดวยการนําตนเอง คือ การเรียนรูสําหรับบุคคลทีม่ ีความตั้งใจที่จะเรียนรู และจะเกิดขึ้นเมื่อผูเรียน มุงมั่นในการเรียนรูเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยางตอเนื่องโดยจะตองมีการกําหนดจุดมุงหมายในการเรียนรู และวางแผนการ เรียนรูดวยตนเอง ผูท่ีจะเรียนดวยวิธีนี้ตองมีลักษณะความรับผิดชอบสูง เปนผูเรียนที่มีลักษณะการเรียนรูเชิงรุก มี ความสุขุมรอบคอบ ตระหนักถึงความสามารถที่เปนไปไดของตนเอง Malcolm S. Knowles ไดกลาวถึงการเรียนรู ดว ยการนําตนเองว า เป นรู ป แบบการเรี ย นรูที่มีป ระโยชนแกผูเรียนโดยชวยกระตุนใหผูเรียนมีกระบวนการคิด วิเคราะห สังเคราะห แสวงหาความรูตางๆ และรูจักแกปญหาดวยตนเอง ซี่งสอดคลองกับสภาพการณของโลกยุค โลกาภิวัตนที่มีลักษณะเปนสังคมแหงการเรียนรู 72 Cyril O.Houle ไดกลาวถึงลักษณะของผูที่จะสามารถทําการเรียนรูดวยการนําตนเองวาควรประกอบดวย ลักษณะ 7 ประการ ดังนี้ 1. ควรมีความมั่นใจในสิ่งที่จะเรียนโดยปราศจากความกลัวในสิ่งที่จะเรียน 2. ควรมีการตั้งเปาหมายของการเรียนรูอยางแทจริง และประเมินผลสําเร็จในการเรียนรูตามเปาหมาย 3. ควรตระหนักวาการเรียนรูควรอาศัยวิสัยทัศนที่เปนของตนเอง 4. ควรฝกฝนการใชความคิดอยูบนหลักความจริง 5. ควรมีที่ปรึกษาในกรณีตางๆ ไดแก 5.1 ควรปรึกษาอาจารยผูสอนเมื่อเรียนรูสิ่งใหมๆ และเมื่อพบอุปสรรค ปญหาในการเรียนรู 5.2 ควรปรึกษากลุมเพื่อน เมื่อตองการความคิดเห็นจากเพื่อน หรือกลุมผูเชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ 6. ควรมีการทบทวนบทเรียนในเรื่องที่สําคัญเพื่อใหกลายเปนความชํานาญในเรื่องตางๆอยางสมบูรณ 7. ควรมีหลักในการศึกษาคนควาดวยตนเอง ควรตั้งกฏการเรียนรูของตนเอง หลักการการเรียนรูดวยการนําตนเอง การเรียนรูดวยการนําตนเอง ใหความสําคัญกับการรับผิดชอบในเบื้องตนของผูเรียนในการเรียนรูและเชื่อใน ศักยภาพที่ไมสิ้นสุดของมนุษย โดยผูเรียนมีแรงจูงใจจากภายใน การเรียนรูดวยการนําตนเองเปนพฤติกรรมที่เกิดจาก การนําจากภายในตัวผูเรียน และเปนการเรียนรูแสวงหาความรูรวมกันระหวางผูสอนกับผูเรียน เปนการเลือกหรือ ปรับเนื้อหาสาระสื่อการเรียนการสอนเพื่อใหผูเรียนเปนผูดําเนินการและควบคุมตนเอง โดยมีกระบวนการใหผูเรียน ไดริเริ่มวิเคราะหความตองการในการเรียน ตั้งเปาหมายการเรียนดวยตนเองหาวิธีไปสูความสําเร็จที่ตั้งไว พรอมกับ สะทอนความคิดในความสําเร็จ ชวยใหผูเรียนพัฒนาและเพิ่มศักยภาพของตนเองโดยคนพบความสามารถและสิ่งที่มี คุณคาในตนเองที่เคยมองขามไป Malcolm S. Knowles ไดกลาวถึงหลักการเรียนรูดวยการนําตนเองวา การนําตนเองเปนความรูสึกสวนลึก ของผูใหญที่มีความตองการ และรูสึกถึงความสามารถในการนําตนเอง โดยมีความเชื่อพื้นฐานวา การเรียนรูจะเรียน ไดมากที่สุดเมื่อวิธีการและเทคนิคการสอนทําใหผูเรียนมีสวนเกี่ยวของในการเรียนรูดวยการนําตนเอง ดังนั้นบทบาท ของครูจึงควรอยูที่กระบวนการสืบหาและคนหาคําตอบรวมกับผูเรียนมากกวาการทําหนาที่ถายทอดความรู และควร ทําหนาที่ประเมินวาผูเรียนสามารถเรียนรูไปตามวัตถุประสงคที่ตองการหรือไม การเตรียมความพรอมใหผูเรียนสามารถเรียนรูไดดวยการนําตนเอง ลักษณะของคนซึ่งสามารถเรียนรูดวยการนําตนเองไมไดมีอยูในตัวทุกคน โดยเฉพาะอยางยิ่งในสังคมไทยซึ่ง ลักษณะการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัวและระบบการศึกษาในโรงเรียนของคนไทยสวนใหญ ไมเอื้อตอการเรียนรูดวย ตนเอง การเตรียมความพรอมเพื่อใหผูเรียนสามารถเรียนไดดวยตนเอง จึงเปนสิ่งจําเปน สมคิด อิสระวัฒน ไดเสนอ แนวคิดในการเตรียมความพรอมใหผูเรียนสามารถเรียนรูดวยการนําตนเอง ดังนี้ 73 1. จากระบบที่คนไทยมีความคุนเคยกับการพึ่งพาผูอื่น คุนเคยกับการถูกบอกใหทํา ใหเชื่อฟงครูอาจารย ดังนั้นการที่ผูสอนคาดหวังวาผูเรียนสามารถทําอะไรไดดวยตัวเองทันทีจึงเปนสิ่งที่ยาก สิ่งที่ผูสอนควรทํา คือ ใหความ ชวยเหลือมากในชวงแรกและลดความชวยเหลือลงทีละนอย การเตรียม ความพรอมในชวงแรกจึงเริ่มจากการให ความชวยเหลือ จนกลายเปนการชวยเหลือตนเองได หลังจากนั้น ฝกใหผูเรียนเรียนรูจากกันและกัน 2. จัดประสบการณหรือสิ่งแวดลอมที่สงเสริมใหบุคคลสามารถเรียนรูดวยตนเอง เชน สรางสถานการณให ผูเรียนมีโอกาสเรียนรูหรือทําดวยตนเอง ใหตอบคําถาม ใหแสดงความคิดเห็น ใหเปรียบเทียบ ใหบอกความ แตกตาง ใหทําเปนประจํา ใหรวมทํา มอบหมายความรับผิดชอบให 3. ผูสอนบอกและใหผูเรียนทดลองทํา 4. ใหผูเรียนทําดวยตนเองโดยผูสอนไมไดชวยเหลือ 5. ลดการขูบั งคั บ ให น อยลง ให กําลังใจ ใหความชว ยเหลือผูเรียนในโอกาสที่เหมาะสม(สุน ทรา โตบัว . 2546: 51-52) Goglielmino ได ศึ ก ษาลั ก ษณะของผู เ รี ย นที่ มี ค วามพร อ มในการเรี ย นรู ด ว ยการนํ า ตนเองจะต อ ง ประกอบดวยลักษณะ 8 ประการ คือ 1. การเปดใจรับโอกาสที่จะเรียน (Openness to Learning Opportunities) ไดแก ความสนใจในการ เรียน ความภูมิใจเมื่อเรียนสําเร็จ ชอบศึกษาคนควาจากหองสมุด ยอมรับคําติติงในความผิดพลาดของตนเอง และมี ความพยายามในการทําความเขาใจในเรื่องที่ยากๆ มีความรับผิดชอบในการเรียนรู 2. เชื่อมั่นวาตนเองเปนผูเรียนที่ดีได (Self Concept as an Effective Learner) มีวินัยและสามารถบริหาร จัดการตนเองได เมื่อตัดสินใจเรียนแลว สามารถแบงเวลาใหกับการเรียนไดแมจะมี งานอื่นมากก็ตาม โดยรูวา เมื่อใดที่จะเรียน สามารถหาวิธีการตางๆ เพื่อเรียนรูหัวขอใหมๆ มีความสุขกับการแกปญหาที่ยากๆ และรูวาเมื่อ ตองการขอมูลจะไปหาไดจากที่ไหน 3. มีความคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู (Initiative and Independence in Learner) หมายถึง รัก การเรียนรู มักแสวงหาคําตอบจากคําถามตางๆ รวมทั้งไมทอถอย แมจะไมเขาใจในสิ่งที่กําลังทําอยูชอบที่จะเรียนไม มีปญหาในการทําความเขาใจจากการอาน และสามารถทํางานดวยตนเอง ไดอยางดี 4. มีความรับผิดชอบตอการเรียนของตนเอง (Informed Acceptance of Responsibility for One’s Own Learning) ไดแก การยอมรับตนเองวาเปนผูที่มีสติปญญาปานกลางเต็มใจเรียนในสิ่งที่ยากหากเปนเรื่องที่สนใจ และมีความเชื่อวาการคิดอยูเสมอวาตนเองเปนใครกําลังทําอะไร เปนสิ่งสําคัญตอการศึกษาของตนเอง 5. มีความรักที่จะเรียน (Love of Learning) ไดแก ความชื่นชมตอบุคคลที่ศึกษาคนควาอยูเสมอ มีความ ตองการที่จะเรียนและปรารถนาใหมีเวลามากกวานี้ มีความสนุกสนานในการคนควา และมี ความกระหายในการ เรียนรู 6. ความคิดสรางสรรค (Creativity) ไดแก มีความคิดที่จะทําสิ่งตางๆ และกลาที่จะลองปฏิบัติสามารถหา แนวทางในการเรียนสิ่งใหมๆ ไดหลายทาง 74 7. การมองอนาคตในแงดี (Positive Orientation to the Future) ไดแก ความตองการเรียนรูตลอดชีวิต ชอบคิดถึงเรื่องในอนาคต คิดวาปญหาเปนสิ่งทาทายและสามารถประเมินตนวาตองการเรียนอะไรเพิ่มเติม 8. ความสามารถใชทักษะศึกษาหาความรู และทักษะการแกปญหา (Ability to Use Basic Study Skills Problem – Solving Skills) ไดแก มีทักษะในการเรียนรู ประกอบดวยการอาน การเขียน การฟง การจํา มีความ สนุกกับการแกปญหา และคิดวาปญหาเปนสิ่งที่ทาทาย Paul Hersey & Kenneth Blanchard เสนอขั้นตอนในการพัฒนาผูเรียนไปสูการเรียนรูดวยการนําตนเอง 4 ระดับ ลําดับ ผูเรียน ผูสอน ตัวอยางการกระทํา ขั้นที่ 1 ผูพึ่งพา ผูมีอํานาจ,ผูฝกฝน ผู ส อนบรรยายเข ม งวดต อ ผูเรียนเพื่อใหผูเรียนผานพน อุปสรรคในการเรียน ขั้นที่ 2 ผูเอาใจใส ผูใหแรงจูงใจ,ผูชี้นํา ผูสอนใชกุลยุทธในการสอน แบบอภิ ป รายร ว มกั บ การ บรรยาย ขั้นที่ 3 ผูมีปฏิสัมพันธ ผูอํานวยความสะดวก ผู ส อนและผู เ รี ย นอภิ ป ราย รวมกัน อยางเสมอภาคหรื อ การสอนแบบสั ม มนาหรื อ การสอนแบบโครงการ ขั้นที่ 4 ผูศึกษาดวยตนเอง ผูใหคําปรึกษา ผู เ รี ย นแสดงความคิ ด เห็ น การปฏิบัติดวยตนเอง ผูใหคําแนะนํา การทํางานดวยตนเอง ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 หรือการศึกษาดวยตนเอง ผูเรียนมีลักษณะพึ่งพาและการเรียนการสอนจะมีผูสอนเปนศูนยกลางของการเรียนรู ผูเรียนจะมอง วาผูสอนคือผูชํานาญในเรื่องที่ผูเรียนตองการที่จะเรียนรู ผูสอนจึงมีหนาที่สอน และผูเรียนจะปฏิบัติ ตามที่ผูสอนมอบหมายทุกอยาง ในกระบวนการเรียนรู ผูเรียนสามารถประสบความสําเร็จในการ เรียนไดจากการพึ่งพาผูสอน ผูเรียนควรมีการเปลี่ยนบทบาทจากผูพึ่งพาผูสอนเปนผูเอาใจใสในเรื่องที่ตองการเรียนรู โดยผูสอน ควรใชกลยุทธในการสอนแบบอภิปรายรวมกับการบรรยาย ผูส อนควรใหแรงจูงใจตอผูเรียนในการ มีสวนรวมในการอภิปรายการสื่อสารในเรื่องการเรียนรู ใชในรูปแบบของการสื่อสาร 2 ทาง และ ควรเปดโอกาสใหผูเรียนไดรวมอภิปรายในสิ่งที่เขาสนใจ และใหผูเรียนไดใชความสามารถของ ตนเองตามความแตกตางของผูเรียน 75 ขั้นที่ 3 ผูเรียนควรเปลี่ยนบทบาทจากผูเอาใจใสมาเปนผูมีปฏิสัมพันธ ผูเรียนควรใชทักษะและความรูที่ ตนเองมีอยูในกระบวนการเรียน โดยผูสอนและผูเรียนควรรวมอภิปรายในสิ่งที่ผูเรียนตองการเรียน อยางเสมอภาคกันระหวางผูสอนและผูเรียน ซึ่งกลยุทธในการสอนควรเปนวิธีการสัมมนาหรือ การสอนแบบโครงการ ในขั้นที่ 3 นี้ ผูเรียนควรไดรับการพัฒนาใหเกิดความคิดแบบสรางสรรค ความคิดแบบวิจารณญาณ และนําทักษะของแตละคนทีม่ ีความแตกตางกันมาใชในกระบวนการเรียน ขั้นที่ 4 ผูเรียนควรมีบทบาทของผูเรียนดวยวิธีการเรียนรูดวยการนําตนเองอยางแทจริง ผูเรียนควรสามารถตั้ง วัตถุประสงคในการเรียน เลือกวิธีเรียน กําหนดเวลาเรียน หาแหลงวิทยาการของความรูทั้งเปนบุคคล ตํารา และสถานที่ไดดวยตนเอง รวมทั้งสามารถประเมินผลการเรียนดวยตนเองซึ่งการเรียนการสอนแบบการนํา ตนเองจะประสบความสําเร็จไมไดเลยถาผูเรียนหางไกลจากผูสอน บทบาทของผูสอนจะเปลี่ยนไป สรุป คือ - ผูสอน คือ ผูใหคําแนะนํา และปรึกษาแกผูเรียน เพื่อการพัฒนาในสิ่งที่ผูเรียนตองการเรียน - อภิปรายปญหาอุปสรรคตางๆ กับผูเรียน เพื่อความกาวหนาของการเรียนรู - ผลักดันใหมีความรวมมือและปรึกษากันระหวางผูเรียนในสิ่งที่ตองการเรียน - ใหความสําคัญกับผูเรียน เปดโอกาสใหผูเรียนไดปรึกษาหารือนอกหองเรียนได ถึงแมบางครั้งอาจเปน การเพิ่มภาระงานใหแกผูสอน - ผูสอนควรพัฒนาใหผูเรียนมีการเรียนรูตลอดชีวิต - ใหขอเสนอแนะแกผูเรียนเพื่อการปรับปรุงตัวเองของผูเรียน - ผูสอนควรกําหนดใหผูเรียนไดประเมินผลการเรียนดวยตนเอง รูปแบบขั้นตอนทั้ง 4 ขั้นดังกลาวเปนขั้นตอนการเรียนที่จะทําใหผูเรียนสามารถพัฒนาการเรียนของตนไปสู วิธีการเรียนรูดวยการนําตนเองได ทั้งนี้ความสําคัญอยูที่ผูสอนควรทําความเขาใจเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนแบบ การนําตนเองและเห็นความสําคัญของวิธีการเรียนแบบนี้ที่เปนกลยุทธการสอนที่ชวยในการพัฒนาคนใหเกิดคุณภาพ แลวควรพัฒนาการสอนใหผูเรียนใชวิธีการเรียนรูดวยการนําตนเอง ซึ่งจะเอื้อประโยชนตอผูเรียนโดยตรง(สุนทร สุ ทองหลอ. 2542: 83-86) 76 มศว 251 ใบกิจกรรมที่ 5 ชะตากรรมเกษตรเชิงเดีย่ ว ชื่อนิสิต___________________________________________________รหัสนิสิต___________________ กลุมผูเรียน ________วันที่เรียน_____________________อาจารยผูสอน___________________________ จากการชมวิดีทัศน เรื่อง ชะตากรรมเกษตรเชิงเดี่ยว ใหนิสิตเปรียบเทียบกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ประเด็น เกษตรเชิงเดี่ยว เศรษฐกิจพอเพียง 1. ทรัพยากรที่ใช - ที่ดิน - แรงงาน - เงิน - อื่นๆ 2. กระบวนการทํางาน - เทคโนโลยี - การพึ่งพาตนเอง - การมีสวนรวมของ ชุมชน - อื่นๆ 3. ผลที่ไดรับ - ปริมาณผลผลิต - คุณภาพผลผลิต - รายไดที่เปนตัวเงิน - สภาพความเปนอยู - ผลกระทบตอ สภาพแวดลอม - อื่นๆ 77