ข้ามไปเนื้อหา

Passer

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Passer
นกกระจอกเคปตัวผู้ในประเทศนามิเบีย
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Passeriformes
วงศ์: Passeridae
สกุล: Passer
Brisson, 1760
สปีชีส์

ดูในบทความ

ชื่อพ้อง
รายการ
  • Pyrgita Cuvier, 1817
  • Corospiza Bonaparte, 1850
  • Auripasser Bonaparte, 1851
  • Sorella Hartlaub, 1880
  • Ammopasser Zarudny, 1880

Passer เป็นสกุลนกกระจอก หรือที่รู้จักกันในชื่อ นกกระจอกแท้ ในสกุลประกอบด้วยนกกระจอกใหญ่และนกกระจอกบ้าน เป็นนกที่พบมากที่สุดในโลก พวกมันคือนกตัวเล็กที่มีท้องหนาสำหรับกินเมล็ดพืช และส่วนใหญ่มีสีเทาหรือสีน้ำตาล มีถิ่นกำเนิดในโลกเก่า บางชนิดกระจายพันธุ์ไปทั่วโลก

ลักษณะ

[แก้]
นกกระจอกแดงในอุทยานแห่งชาติมาราคีรี, แอฟริกาใต้

นกกระจอกในสกุลนี้ชุดขนมีสีน้ำตาลอ่อนหรือสีเทา แต้มสีดำ เหลือง หรือขาว ทั่วไปยาว 10-20 เซนติเมต (3.9-7.9 นิ้ว) จากนกขนาดเล็กอย่างนกกระจอกสีน้ำตาลแดง (Passer eminibey) ที่ยาว 11.4 เซนติเมตร (4.5 นิ้ว) และหนัก 13.4 กรัม (0.47 ออนซ์) ไปจนถึงนกกระจอกปากนกแก้ว (Passer gongonensis) ที่ยาว 18 เซนติเมตร (7.1 นิ้ว) และ 42 กรัม (1.5 ออนซ์)[1][2] จะงอยปากแข็งรูปกรวยสั้นทู่ สันปากบนโค้งลง ปลายทู่[3] ทุกชนิดร้องคล้ายนกกระจอกใหญ่ แต่บางชนิดมีความซับซ้อนกว่า

การกระจายพันธุ์

[แก้]
ฝูงนกกระจอกทองซุนดาใกล้ทะเลแดงในประเทศซูดาน

สมาชิกส่วนใหญ่ในสกุลพบในสิ่งแวดล้อมแบบเปิดตามธรรมชาติในภูมิอากาศอบอุ่นของทวีปแอฟริกาและตอนใต้ของทวีปยูเรเชีย การศึกษาการวิวัฒนาการแสดงว่าสกุลมีต้นกำเนิดในแอฟริกา[4] มีหลายชนิดที่ปรับให้เข้ากับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สิ่งนี้ทำให้นกกระจอกใหญ่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับมนุษย์ ขยายขอบเขตการกระจายพันธุ์ในทวีปยูเรเชียนอกเหนือจากถิ่นกำเนิดในตะวันออกกลาง[5] นอกเหนือจากการขยายเขตการกระจายพันธุ์ตามธรรมชาติ นกกระจอกใหญ่ยังถูกนำไปในบางพื้นที่ของโลก ประกอบด้วย ทวีปอเมริกา, แอฟริกาใต้สะฮารา, และ ประเทศออสเตรเลีย นกกระจอกบ้านก็ถูกกระจายพันธุ์โดยกิจกรรมของมนุษย์เช่นกัน ในประเทศออสเตรเลีย รัฐมิสซูรีและรัฐอิลลินอยในสหรัฐ[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Clement, Harris & Davis 1993, p. 442
  2. Bledsoe, A. H.; Payne, R. B. (1991). Forshaw, Joseph (บ.ก.). Encyclopaedia of Animals: Birds. London: Merehurst Press. p. 222. ISBN 978-1-85391-186-6.
  3. Groschupf, Kathleen (2001). "Old World Sparrows". ใน Elphick, Chris; Dunning, John B. Jr.; Sibley, David (บ.ก.). The Sibley Guide to Bird Life and Behaviour. London: Christopher Helm. pp. 562–564. ISBN 978-0-7136-6250-4.
  4. Allende, Luise M.; Rubio, Isabel; Ruiz del Valle, Valentin; Guillén, Jesus; Martínez-Laso, Jorge; Lowy, Ernesto; Varela, Pilar; Zamora, Jorge; Arnaiz-Villena, Antonio (2001). "The Old World sparrows (genus Passer) phylogeography and their relative abundance of nuclear mtDNA pseudogenes" (PDF). Journal of Molecular Evolution. 53 (2): 144–154. Bibcode:2001JMolE..53..144A. CiteSeerX 10.1.1.520.4878. doi:10.1007/s002390010202. PMID 11479685. S2CID 21782750. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 21 July 2011.
  5. 5.0 5.1 Summers-Smith, J. D. (1990). "Changes in distribution and habitat utilisation by members of the genus Passer". ใน Pinowski, J.; Summers-Smith, J. D. (บ.ก.). Granivorous birds in the agricultural landscape. Warszawa: Pánstwowe Wydawnictom Naukowe. pp. 11–29. ISBN 978-83-01-08460-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]