3
บทความนี้ทั้งหมดหรือบางส่วน มีเนื้อหา รูปแบบ หรือลักษณะการนำเสนอที่ไม่เหมาะสมสำหรับสารานุกรม (พฤษภาคม 2023) |
| ||||
---|---|---|---|---|
จำนวนเชิงการนับ | สาม | |||
จำนวนเชิงอันดับที่ | 3rd (ที่สาม) | |||
ตัวประกอบ | 3 | |||
เลขไทย | ๓ | |||
เลขโรมัน | III | |||
เลขโรมัน (ยูนิโคด) | Ⅲ, ⅲ | |||
เลขจีน | 三, 叁, 参, 參, 弎, 仨, 叄, 𠫽, 𠬙, 𢦘, 𣬛 | |||
ฐานสอง | 11 | |||
ฐานสาม | 10 | |||
ฐานสี่ | 3 | |||
ฐานห้า | 3 | |||
ฐานหก | 3 | |||
ฐานแปด | 3 | |||
ฐานสิบสอง | 3 | |||
ฐานสิบหก | 3 | |||
ฐานยี่สิบ | 3 | |||
ฐานสามสิบหก | 3 |
3 (สาม) เป็นจำนวน ตัวเลข และเป็นชื่อของสัญลักษณ์ภาพ เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 2 (สอง) และอยู่ก่อนหน้า 4 (สี่)
คำเติมนำหน้า
[แก้]สามเป็นตัวเลขที่มีชื่อเรียกคล้าย ๆ กันในหลาย ๆ ภาษา เช่น สาม ซาน ทรี ตรี ไตร
ความหมาย
[แก้]- 3 เป็นหมายเลขทางหลวงแผ่นดินของ ถนนสุขุมวิท
- ซอยที่ 3 ของถนนสุขุมวิท มีอีกชื่อว่า ซอยนานาเหนือ
- 3 เป็นเลขอะตอม ของ ลิเทียม
ชื่อเรียก
[แก้]สาม
[แก้]- พระนามของกษัตริย์ เจ้าฟ้า หรือโอรสองค์ที่สาม
- เจ้าสาม -- พระโอรสองค์ที่สามใน พระเจ้าอู่ทอง (เพชรบุรี) และเป็นกษัตริย์ที่ปรากฏนามองค์สุดท้ายที่ปกครองอาณาจักรเพชรบุรี
- เจ้าสามพระยา -- พระโอรสองค์ที่สามใน สมเด็จพระนครินทราธิราช
- พญาสามฝั่งแกน -- พระโอรสองค์ที่สอง[1]ใน พญาแสนเมืองมา
- ท้าวสาม -- พระโอรสองค์ที่สามใน พญาสามฝั่งแกน
- ท้าวสามจูสง -- ตามพงศาวดารล้านช้าง เป็นพระโอรสองค์ที่สามของขุนบรม เป็นผู้สร้างเมืองแถวช่องบัว
- ชื่อเหตุการณ์
- สามก๊ก -- สงครามระหว่างจ๊กก๊ก ง่อก๊ก และวุยก๊ก
- สงครามสามนคร -- สงครามระหว่างหริภุญชัย ละโว้ และนครศรีธรรมราช
- ชื่ออื่น ๆ
ไตร หรือ ตรัย
[แก้]- พระรัตนตรัย
- ไตรสิกขา
- ไตรลักษณ์
- ไตรเพท หรือ ไตรเวท - พระเวท 3 อย่าง เป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดของศาสนาพราหมณ์ยุคแรก
- ไตรยางศ์ - การแบ่งตัวอักษรไทยออกเป็น 3 หมู่
- ไตรกีฬา - การแข่งขันกีฬา 3 ประเภท ได้แก่ ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน และวิ่ง
- ไตรภูมิพระร่วง - วรรณคดีสมัยสุโขทัย
ตริ หรือ ตรี
[แก้]- ตรีเพชร ชื่อย่านและถนนในกรุงเทพมหานคร
- ตรีศูล
- ตริภังค์
- ตรีเศียร (น้องชายของทศกัณฐ์)
- ตรียัมปวาย และ ตรีปวาย
- ลำดับที่สาม
- สิบตรี / ร้อยตรี / พันตรี / พลตรี -- ยศทางการทหาร และตำรวจ
- ปริญญาตรี -- ระดับการศึกษาขั้นต้นของระดับอุดมศึกษา
วิวัฒนาการ
[แก้]ในทางคณิตศาสตร์
[แก้]สามเป็นค่าประมาณของ π (ใกล้เคียง 3.14159) เมื่อคาดเดาหรือกะอย่างเร็วในเชิงวิศวกรรม เป็นจริงในกรณีเดียวกันถ้าผู้ใดต้องการประมาณค่า e คร่าว ๆ ซึ่งค่าประมาณที่แท้จริงเท่ากับ 2.71828
สามเป็นจำนวนเฉพาะที่เป็นจำนวนคี่จำนวนแรก[2] และเป็นจำนวนเฉพาะที่น้อยที่สุดเป็นอันดับสอง สามเป็นจำนวนเฉพาะแฟร์มา (22n + 1) และจำนวนเฉพาะแมร์แซน (2n − 1) จำนวนแรก
จำนวนแรกตามคำกล่าวของลัทธิพีทาโกรัส (Pythagoreanism) และเป็นจำนวนแรกที่เป็นเพศผู้
จำนวนแรกตามคำกล่าวของโพรคลัสที่ว่า n2 มากกว่า 2n
สาม เป็นจำนวนฟิโบนักชีลำดับที่สี่ แต่ในลำดับ Perrin 3 เป็นทั้งจำนวน Perrin ลำดับที่ศูนย์และที่สาม
3 เป็นจำนวนของด้าน (ที่ไม่ตัดกัน) ของรูปหลายเหลี่ยมที่น้อยที่สุด
เกาส์พิสูจน์ว่า จำนวนเต็มทุกจำนวนเป็นผลบวกของจำนวนสามเหลี่ยมไม่เกินสามตัว
จำนวนใด ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูป 4n (8m+7) เป็นผลบวกของกำลังสอง 3 จำนวน
3 เป็นจำนวนมิติที่มนุษย์สามารถรับรู้ได้
ตารางการคำนวณพื้นฐาน
[แก้]การคูณ | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 50 | 100 | 1000 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3 | 6 | 9 | 12 | 15 | 18 | 21 | 24 | 27 | 30 | 33 | 36 | 39 | 42 | 45 | 48 | 51 | 54 | 57 | 60 | 63 | 66 | 69 | 72 | 75 | 150 | 300 | 3000 |
การหาร | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3 | 1.5 | 1 | 0.75 | 0.6 | 0.5 | 0.375 | 0.3 | 0.25 | 0.2 | |||||||
1 | 2 | 3 | 4 | 5 |
การยกกำลัง | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
3 | 9 | 27 | 81 | 243 | 729 | 2187 | 6561 | 19683 | 59049 | 177147 | 531441 | 1594323 | ||
1 | 8 | 27 | 64 | 125 | 216 | 343 | 512 | 729 | 1000 | 1331 | 1728 | 2197 |
ในทางวิทยาศาสตร์
[แก้]- เลขโรมัน III หมายถึงดาวยักษ์ในการจัดประเภทดาวฤกษ์ของเยอร์เกส
- สามเป็นเลขอะตอมของธาตุลิเทียม
- มนุษย์รับรู้ว่าจักรวาลเป็นปริภูมิสามมิติ แต่บางทฤษฎี เช่น ทฤษฎีสตริง แนะว่ามีมากกว่านั้นที่มนุษย์ยังไม่พบ
ความเชื่อ
[แก้]- 3 ในความเชื่อของชาวจีนและชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นเลขมงคล เพราะการมีเลข 3 นำหน้าตัวเลขใด ๆ จะหมายถึงโชคดีสามครั้ง โดยเป็นความเชื่อที่มีพื้นฐานมาจากพิธีกรรมในพุทธศาสนาที่เข้ามาเผยแผ่ในยุคราชวงศ์ฮั่น (206 ปีก่อนคริสต์ศักราช–ค.ศ. 220) เช่น การกราบไหว้พระพุทธรูป 3 ครั้ง หรือการเวียนเทียนรอบอุโบสถ 3 ครั้ง[3]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิงและเชิงอรรถ
[แก้]- ↑ เชื่อว่าพระเชษฐาองค์แรกที่ชื่ออ้าย ได้เสียชีวิตไปในวัยเยาว์ ทำให้พระโอรสองค์โตที่ยังพระชนม์ชีพชื่อว่า ยี่
- ↑ Bryan Bunch, The Kingdom of Infinite Number. New York: W. H. Freeman & Company (2000) : 39
- ↑ ทัศนะ 8, 'ตัวเลข'กับชีวิตที่'ถูกบงการ' . "อาหารสมอง" โดย วรากรณ์ สามโกเศศ. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 30 ฉบับที่ 10358: วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560