.th
เริ่มใช้ | พ.ศ. 2531 |
---|---|
ประเภท TLD | โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ |
สถานะ | ใช้งานอยู่ |
จดทะเบียน | ที.เอช.นิค |
ผู้สนับสนุน | ที.เอช.นิค |
จุดมุ่งหมายการใช้งาน | โดเมนระดับบนสุดของประเทศไทย |
ข้อจำกัดการจดทะเบียน | ต้องจดทะเบียนให้ตรงกับประเภทที่กำหนด |
ดีเอ็นเอสเซก | ใช่ |
เว็บไซต์จดทะเบียน | THNIC |
.th เป็นโดเมนอินเทอร์เน็ตระดับบนสุดตามรหัสประเทศ (ccTLD) สำหรับประเทศไทย บริหารโดยบริษัท ที.เอช.นิค จำกัด (THNIC) ควบคุมโดย มูลนิธิศูนย์สารสนเทศเครือข่ายไทย (Thai Network Information Center Foundation)
โดเมน .th เริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2531 โดยความร่วมมือระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีสถานะการใช้เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทย
ที.เอช.นิค อนุญาตให้จดทะเบียน .th ในโดเมนระดับที่สาม ภายใต้โดเมนระดับที่สองที่กำหนดไว้แล้วเจ็ดประเภทเท่านั้น ได้แก่
- .ac.th หน่วยงานการศึกษา (academic institutions) สำหรับสถาบันการศึกษา ผู้สมัครขอจดทะเบียนโดเมนเนมภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นสถาบันการศึกษาที่จดทะเบียนในประเทศไทย
- .co.th หน่วยงานการค้า (commercial entities) สำหรับการพาณิชย์และธุรกิจ ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้ จะต้องเป็นองค์กรพาณิชย์ที่จดทะเบียนในประเทศไทย หรือบริษัทต่างประเทศที่มีตัวแทนอยู่ในประเทศไทย และตัวแทนนั้น จะต้องจดทะเบียนในประเทศไทย และได้รับการโอนสิทธิ ในการจดทะเบียนชื่อโดเมนจากบริษัทแม่ในต่างประเทศเป็นที่เรียบร้อย
- .go.th หน่วยงานรัฐบาล (government use) สำหรับการใช้ของภาครัฐบาล เช่น กระทรวงหรือหน่วยงานรัฐบาล ผู้สมัครขอจดทะเบียนชื่อโดเมนภายใต้หมวดหมู่นี้จะต้องเป็นหน่วยงานของรัฐบาลไทย (มติการประชุมคณะรัฐมนตรี)
- .mi.th หน่วยงานทหาร (military use) สำหรับหน่วยงานทางทหาร
- .or.th หน่วยงานไม่แสวงผลกำไร (non-profit organizations) สำหรับองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไร
- .net.th ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Internet providers) สำหรับนิติบุคคลผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการโทรคมนาคมทั้ง 3 แบบ ตาม พระราชบัญญัติ การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. ๒๕๔๔
- .in.th บุคคลหรือองค์กรทั่วไปในประเทศไทย (individuals / organizations) สำหรับบุคคลทั่วไป และหน่วยงานทุกประเภท
โดเมนระดับบนสุดที่สอง
[แก้]เริ่มใช้ | พ.ศ. 2553 |
---|---|
ประเภท TLD | โดเมนระดับบนสุดตามรหัสประเทศ |
สถานะ | ใช้งานอยู่ |
จดทะเบียน | ที.เอช.นิค |
ผู้สนับสนุน | ที.เอช.นิค |
จุดมุ่งหมายการใช้งาน | โดเมนระดับบนสุดของประเทศไทย |
การใช้งานจริง | ชื่อโดเมนที่สองของเว็บไซต์ |
ดีเอ็นเอสเซก | ใช่ |
เว็บไซต์จดทะเบียน | THNIC |
ในปี พ.ศ. 2553 มีการจดทะเบียนโดเมนระดับบนสุดขึ้นใหม่อีกชื่อหนึ่งคือ .ไทย เพื่อใช้เป็นชื่อโดเมนในภาษาท้องถิ่น จนกระทั่งปัจจุบัน เว็บไซต์หลายพันแห่งใช้โดเมนนี้ [2] มีทั้งจดทะเบียนเพื่อใช้เป็นโดเมนหลัก และใช้ควบคู่ไปกับ .th ดั้งเดิม
ในทางเทคนิค ".ไทย" จะถูกแปลงให้เป็น ".xn--o3cw4h" รวมทั้งโดเมนย่อยตามขั้นตอนวิธีของชื่อโดเมนสากลวิวัตน์ (Internationalized Domain Name: IDN) เพื่อให้เข้ากันได้กับมาตรฐานเดิม RFC 883 ที่ใช้ได้เพียงรหัสแอสกีเท่านั้น
ที.เอช.นิค อนุญาตให้จดทะเบียน .ไทย ทั้งระดับที่สองและระดับที่สามตามที่กำหนดเจ็ดประเภท
- .ศึกษา.ไทย ประเภทเดียวกับ .ac.th
- .ธุรกิจ.ไทย ประเภทเดียวกับ .co.th
- .รัฐบาล.ไทย ประเภทเดียวกับ .go.th
- .ทหาร.ไทย ประเภทเดียวกับ .mi.th
- .องค์กร.ไทย ประเภทเดียวกับ .or.th
- .เน็ต.ไทย ประเภทเดียวกับ .net.th
- .ไทย ประเภทเดียวกับ .in.th
ชื่อที่ห้ามจดทะเบียน
[แก้]ชื่อที่ห้ามจดทะเบียนตามนโยบายของ ที.เอช.นิค มีมากกว่า 7,000 รายการ [3] ส่วนใหญ่เป็นชื่อประเทศ เมืองหลวง เมืองใหญ่ สถานที่ทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ ชนชาติหรือกลุ่มชาติพันธุ์ ชื่อองค์การรัฐบาล ซึ่งจะสงวนไว้ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเท่านั้น นอกจากนี้ชื่อที่พ้องกับเชื้อพระวงศ์ คำหยาบคาย และคำที่เกี่ยวกับกิจกรรมทางเพศ อาชญากรรม และความมั่นคงของประเทศ ไม่อนุญาตให้จดทะเบียน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "นโยบายการจดทะเบียนชื่อโดเมน .th และ .ไทย ฉบับปรับปรุงปี 2562". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-03. สืบค้นเมื่อ 2019-05-03.
- ↑ ตัวอย่างการสืบค้นจากกูเกิล [1]
- ↑ คำสงวนห้ามใช้ในการตั้งชื่อโดเมนเนม