ข้ามไปเนื้อหา

โปเกมอน ไดมอนด์ และ เพิร์ล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โปเกมอน ไดมอนด์
โปเกมอน เพิร์ล
กล่องเกมโปเกมอนภาคไดมอนด์สำหรับอเมริกาเหนือ แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน ดีอัลกา กล่องเกมโปเกมอนภาคเพิร์ล แสดงภาพโปเกมอนในตำนาน พัลเกีย
ผู้พัฒนาเกมฟรีก
ผู้จัดจำหน่ายบริษัท โปเกมอน จำกัด
นินเท็นโด
กำกับจุนอิจิ มาสึดะ
อำนวยการผลิตฮิโรยูกิ จินไน
ฮิโตชิ ยามากามิ
กาคุจิ โนโมโตะ
ฮิโรอากิ ทสึรุ
ศิลปินเค็น ซุงิโมริ
เขียนบทโทชิโนบุ มัตสึมิยะ
ฮิโตมิ ซาโต้
อากิฮิโตะ โตมิซาวา
ซุงุรุ นาคัตซุย
แต่งเพลงโก อิจิโนเซะ
จุนอิจิ มาสึดะ
ฮิโตมิ ซาโต้
โมริคาชุ อาโอกิ
ชุดโปเกมอน
เครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส
วางจำหน่าย
  • JP: 28 กันยายน 2549
  • NA: 22 เมษายน 2550
  • AU: 21 มิถุนายน 2550
  • EU: 27 กรกฎาคม 2550
  • KOR: 14 กุมภาพันธ์ 2551
แนววิดีโอเกมเล่นตามบทบาท
รูปแบบผู้เล่นคนเดียว, ผู้เล่นหลายคน, ออนไลน์ผู้เล่นหลายคน

โปเกมอนภาคไดมอนด์และภาคเพิร์ล (ญี่ปุ่น: ポケットモンスター ダイヤモンド&パールโรมาจิPoketto Monsutā Daiyamondo & Pāru; อังกฤษ: Pokémon Diamond Version and Pearl Version) เป็นเกมสวมบทบาทพัฒนาโดยเกมฟรีก จำหน่ายโดยบริษัท โปเกมอน จำกัดและนินเท็นโด สำหรับเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส เมื่อรวมกับเกมภาคทำใหม่ โปเกมอนแพลทินัม เกมโปเกมอนสามภาคนี้เป็นเกมที่ห้าและเป็นรุ่นที่สี่ของเกมชุดโปเกมอน เกมออกจำหน่ายครั้งแรกในประเทศญี่ปุ่นในวันที่ 28 กันยายน ค.ศ. 2006 ต่อมาจำหน่ายในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และยุโรปตลอดปี ค.ศ. 2007

เช่นเดียวกับเกมภาคเก่า ภาคไดมอนด์และเพิร์ลเนื้อเรื่องเกิดขึ้นที่ภูมิภาคชินโอ ยึดตามเกาะฮกไกโดของประเทศญี่ปุ่น เป็นการเดินทางของโปเกมอนเทรนเนอร์อายุน้อยที่ฝึกฝนและต่อสู้กับโปเกมอน และต้องขัดขวางองค์กรอาชญากรรมด้วย เกมเพิ่มคุณสมบัติใหม่มากมาย เช่น การเล่นบนอินเทอร์เน็ตผ่านการเชื่อมต่อวายฟายของนินเท็นโด และระบบการต่อสู้ที่เปลี่ยนไป และการประกวดโปเกมอน รวมถึงโปเกมอนสายพันธุใหม่ 107 ตัว เกมทั้งสองภาคเป็นอิสระต่อกัน แต่มีเนื้อเรื่องเหมือนกัน และสามารถเล่นแยกกันได้ โดยจำเป็นต้องแลกเปลี่ยนโปเกมอนข้ามภาคกันเพื่อเติมเต็มโปเกเดกซ์

มีการประกาศเรื่องการพัฒนาเกมภาคไดมอนด์และเพิร์ลในงานประชุมสื่อนินเท็นโดในไตรมาสที่สี่ของ ค.ศ. 2004 เกมถูกออกแบบให้มีคุณสมบัติเข้ากับเครื่องดีเอส มีการคาดการณ์ว่าจะออกจำหน่ายในญี่ปุ่นใน ค.ศ. 2005 แต่ถูกเลื่อนออกไปเป็น ค.ศ. 2006 ในการส่งเสริมเกม นินเท็นโดขายเครื่องเล่นนินเท็นโด ดีเอส ไลต์ รุ่นจำกัดในญี่ปุ่น และจัดงานสังสรรค์เฉลิมฉลองการวางจำหน่ายในอเมริกาเหนือ

เกมได้รับการตอบรับทั่วไปเป็นที่ชื่นชอบ นักวิจารณ์ส่วนใหญ่ยกย่องการเพิ่มคุณสมบัติวายฟาย และรู้สึกว่าแม้ว่าการเล่นไม่ได้เปลี่ยนแปลงมากนัก แต่ก็ดึงดูดใจ นักวิจารณ์แบ่งกันวิจารณ์เรื่องกราฟิก และตำหนิเรื่องของเสียงว่าดั้งเดิมเกินไป เกมประสบความสำเร็จมากกว่าภาคที่ทำลงเกมบอยอัดวานซ์ ทำยอดขายได้ 18 ล้านหน่วยทั่วโลก ภาคไดมอนด์และเพิร์ลขายได้มากกว่าภาครูบีและแซฟไฟร์อย่างน้อย 2 ล้านหน่วย และมากกว่าภาคไฟร์เรดและลีฟกรีนอย่างน้อย 6 ล้านหน่วย และขายได้มากกว่าภาคแบล็กและไวต์ ภาคต่อมา มากกว่า 2 ล้านหน่วย

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]