ข้ามไปเนื้อหา

โตนินา

พิกัด: 16°54′4.39″N 92°0′34.83″W / 16.9012194°N 92.0096750°W / 16.9012194; -92.0096750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โตนินา
พีระมิดบนลานตะพักที่ 5 ของอัครปุระที่โตนินา
พีระมิดบนลานตะพักที่ 5 ของอัครปุระที่โตนินา
โตนินาตั้งอยู่ในเม็กซิโก
โตนินา
ที่ตั้งโตนินาในเม็กซิโกและมีโซอเมริกา
โตนินาตั้งอยู่ในมีโซอเมริกา
โตนินา
โตนินา (มีโซอเมริกา)
ที่ตั้งโอโกซิงโก รัฐเชียปัส เม็กซิโก
พิกัด16°54′4.39″N 92°0′34.83″W / 16.9012194°N 92.0096750°W / 16.9012194; -92.0096750
ความเป็นมา
ละทิ้งคริสต์ศตวรรษที่ 10
สมัยสมัยคลาสสิก
วัฒนธรรมมายา
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่
ขุดค้นค.ศ. 1972–1975, 1979–1980+
ผู้ขุดค้นปีแยร์ แบ็กแล็ง, โกลด โบแด, ฆวน ยาเดวน์ (สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติ)
สถาปัตยกรรม
รูปแบบสถาปัตยกรรมมายาสมัยคลาสสิก
หน่วยงานรับผิดชอบ: สถาบันมานุษยวิทยาและประวัติศาสตร์แห่งชาติ

โตนินา (สเปน: Toniná) เป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนโคลัมบัสและซากเมืองในอารยธรรมมายา ทุกวันนี้ตั้งอยู่ในรัฐเชียปัส ประเทศเม็กซิโก ห่างจากเมืองโอโกซิงโกไปทางทิศตะวันออกประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)

แหล่งโบราณคดีนี้มีขนาดปานกลางถึงใหญ่ โดยมีหมู่วิหารพีระมิดตั้งอยู่บนลานตะพักสูงจากจัตุรัสประมาณ 71 เมตร (233 ฟุต)[1] ลานขนาดใหญ่สำหรับเล่นบอลแบบมีโซอเมริกา และโครงสร้างแกะสลักมากกว่า 100 แห่ง/ชิ้น ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 9 (ระหว่างสมัยคลาสสิก) โตนินามีความโดดเด่นจากงานประติมากรรมปูนแต่งที่ได้รับการอนุรักษ์ไว้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากโครงสร้างแกะสลักแบบลอยตัวซึ่งได้รับการผลิตขึ้นในระดับที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนในมีโซอเมริกานับตั้งแต่อารยธรรมโอลเมกสิ้นสุดลง[2] โตนินาเป็นที่ตั้งของพีระมิดที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในเม็กซิโก ด้วยความสูง 74 เมตร (243 ฟุต) ซึ่งสูงกว่าพีระมิดสุริยันที่เตโอตีวากาน[3]

โตนินาเป็นรัฐที่มีความดุดันรัฐหนึ่งในสมัยคลาสสิกตอนปลาย ชาวเมืองมักสู้รบเพื่อเพิ่มพูนอำนาจของอาณาจักร[4] ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของประวัติศาสตร์เมือง โตนินาทำสงครามอย่างประปรายกับปาเลงเกซึ่งเป็นคู่แข่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเป็นหนึ่งในหน่วยทางการเมืองที่สำคัญที่สุดทางภาคตะวันตกของภูมิภาคมายา แต่โตนินาจะกลายเป็นเมืองที่มีอำนาจเด่นเหนือภาคตะวันตกในที่สุด[5]

โตนินายังเป็นสถานที่ค้นพบการระบุวันที่วันสุดท้ายตามการนับระยะยาวเท่าที่พบในจารึกปฏิทินใด ๆ ของชาวมายา ซึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของสมัยคลาสสิกของอารยธรรมมายาใน ค.ศ. 909[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Kelly 2001, p.355.
  2. Martin & Grube 2000, p.177. Coe 1999, p.130.
  3. INAH 2016.
  4. Sharer & Traxler 2006, p.472.
  5. Sharer & Traxler 2006, p.451.
  6. Martin & Grube 2000, p.177.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • INAH (2016-12-29). "Zona arqueológica de Toniná" [Tononá Archaeological Zone] (ภาษาสเปน). Mexico City, Mexico: Instituto Nacional de Antropología e Historia (INAH). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-05-26.
  • Kelly, Joyce (2001). An Archaeological Guide to Central and Southern Mexico. Norman: University of Oklahoma Press. ISBN 0-8061-3349-X.
  • Martin, Simon; Nikolai Grube (2000). Chronicle of the Maya Kings and Queens: Deciphering the Dynasties of the Ancient Maya. London and New York: Thames & Hudson. ISBN 0-500-05103-8. OCLC 47358325.
  • Sharer, Robert J.; Loa P. Traxler (2006). The Ancient Maya (6th (fully revised) ed.). Stanford, California: Stanford University Press. ISBN 0-8047-4817-9. OCLC 57577446.