ข้ามไปเนื้อหา

แอมแปร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แอมแปร์
แบบจำลองการสาธิตของเหล็กเคลื่อนที่ แอมมิเตอร์ เมื่อกระแสที่ไหลผ่านคอยล์เพิ่มขึ้น ลูกสูบจะถูกดึงเข้าไปในคอยล์ต่อไปและตัวชี้จะเบี่ยงเบนไปทางขวา
ข้อมูลทั่วไป
ระบบการวัดระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI)
เป็นหน่วยของกระแสไฟฟ้า
สัญลักษณ์A 
ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์

แอมแปร์ (อังกฤษ: ampere) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า แอมป์ (สัญลักษณ์ : A) เป็นหน่วยวัดกระแสไฟฟ้า หรือปริมาณของประจุไฟฟ้าต่อวินาที แอมแปร์เป็นหน่วยฐานเอสไอ ตั้งชื่อตามอ็องเดร-มารี อ็องแปร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส หนึ่งในผู้ค้นพบแม่เหล็กไฟฟ้า

นิยาม

[แก้]

แอมแปร์ คือกระแสคงที่ ซึ่งหากคงอยู่ในตัวนำเป็นเส้นตรงขนานกัน 2 ตัว ที่มีความยาวไม่จำกัด มีภาคตัดขวางที่เล็กมาก และวางห่างกัน 1 เมตร ในสุญญากาศ ก็จะก่อให้เกิดแรงระหว่างตำแหน่งทั้งสองนี้เท่ากับ 2×10–7 นิวตันต่อความยาว 1 เมตร [1]

กระแสไฟฟ้า คือ อัตราเวลาของประจุ หรือปริมาณกระจัดของประจุไฟฟ้า หนึ่งแอมแปร์แทนค่าอัตราประจุ 1 คูลอมบ์ต่อวินาที

ค่าแอมแปร์ได้นิยามขึ้นครั้งแรก (เป็นหน่วยฐาน เช่นเดียวกัน หน่วยเมตร วินาที และกิโลกรัม) โดยไม่มีการอ้างอิงกับปริมาณของประจุ หน่วยของประจุ คือ คูลอมบ์ นั้น นิยามว่ามีค่าเท่ากับปริมาณประจุที่ถูกแทนที่ด้วยกระแส 1 แอมแปร์ ในเวลา 1 วินาที

หน่วยพหุคูณ

[แก้]
พหุคูณเอสไอสำหรับหน่วยแอมแปร์ (A)
พหุคูณย่อย พหุคูณใหญ่
ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ ค่า สัญลักษณ์ ชื่อ
10–1 A dA เดซิแอมแปร์ 101 A daA เดคาแอมแปร์
10–2 A cA เซนติแอมแปร์ 102 A hA เฮกโตแอมแปร์
10–3 A mA มิลลิแอมแปร์ 103 A kA กิโลแอมแปร์
10–6 A µA ไมโครแอมแปร์ 106 A MA เมกะแอมแปร์
10–9 A nA นาโนแอมแปร์ 109 A GA จิกะแอมแปร์
10–12 A pA พิโกแอมแปร์ 1012 A TA เทระแอมแปร์
10–15 A fA เฟมโตแอมแปร์ 1015 A PA เพตะแอมแปร์
10–18 A aA อัตโตแอมแปร์ 1018 A EA เอกซะแอมแปร์
10–21 A zA เซปโตแอมแปร์ 1021 A ZA เซตตะแอมแปร์
10–24 A yA ยอกโตแอมแปร์ 1024 A YA ยอตตะแอมแปร์
10−27 A rA รอนโตแอมแปร์ 1027 A RA รอนนาแอมแปร์
10−30 A qA เควกโตแอมแปร์ 1030 A QA เควตตาแอมแปร์
หน่วยที่นิยมใช้แสดงเป็นตัวหนา

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Paul M. S. Monk, Physical Chemistry: Understanding our Chemical World, John Wiley and Sons, 2004 online

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]