แสมขาว
หน้าตา
แสมขาว | |
---|---|
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Plantae |
หมวด: | Magnoliophyta |
ชั้น: | Magnoliopsida |
อันดับ: | Lamiales |
วงศ์: | Acanthaceae |
สกุล: | Avicennia |
สปีชีส์: | A. alba |
ชื่อทวินาม | |
Avicennia alba Blume [2] |
แสมขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Avicennia alba) เป็นพืชในป่าชายเลน สูงได้ถึง 30 เมตร พบได้ทั้งบริเวณหาดทรายและหาดเลนรากแผ่เป็นร่างแห และมีรากหายใจเป็นแท่งโผล่ขึ้นมา ใบมีลักษณะยาวรีกว่าแสมแบบอื่นๆ ใบจะซีดและมีสีอ่อนกว่าแสมดำและแสมทะเล ใบหนา อวบน้ำ ป้องกันการสูญเสียน้ำ มีต่อมเกลือ ขับเกลือออกทางผิวใบ ดอกสีขาวเหลือง มีสี่กลีบแบบเดียวกับแสมทะเลแต่ช่อดอกของแสมขาวเป็นช่อยาวกว่า ผลเป็นทรงหยดน้ำ ยาวกว่าผลแสมดำ ผลลอยน้ำได้
การใช้ประโยชน์
[แก้]แสมขาวมีสารแทนนิน ใช้ในการฟอกหนังได้ แสมขาวเป็นไม้โตเร็ว ใช้ปลูกร่วมกับ Sonneratia และ Rhizophoraเพื่อป้องกันชายฝั่ง .[3] ใช้ทำถ่านได้ไม่ดีนัก สารสกัดจากแก่นใช้เป็นยา ผลนำมาต้ม รับประทานได้[3] แต่ไม่นิยมนำมาทำขนมลูกแสมเท่ากับผลแสมดำ[4]
อ้างอิง
[แก้]- จักกริช พวงแก้ว สรณรัชฏ์ กาญจนะวณิช วิภาพรรณ นาคแพน. นักสืบชายหาด: พืชและสัตว์ชายหาด. กทม. มูลนิธิโลกสีเขียว. 2549 หน้า 154
- ↑ Avicennia alba IUCN Red List of Threatened Species. Version 2011.2. Retrieved 2012-02-09.
- ↑ Vanden Berghe, Edward (2010). "Avicennia alba Blume". WoRMS. World Register of Marine Species. สืบค้นเมื่อ 2012-02-07.
- ↑ 3.0 3.1 Api Api Putih Mangrove and Wetland Wildlife at Sungei Buloh Nature Park. Retrieved 2012-02-07.
- ↑ เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 168