ข้ามไปเนื้อหา

แมสติก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยางแมสติก
ต้นพิสตาชีโอป่า (Pistacia lentiscus)

แมสติก (อังกฤษ: mastic) หรือ มาตะกี่[1] เป็นยางไม้ที่ได้จากต้นพิสตาชีโอป่า ซึ่งเป็นไม้พุ่มถึงยืนต้นขนาดเล็ก ใบประกอบแบบขนนกคู่รูปไข่ เรียงสลับกัน ดอกออกตรงซอกใบ เป็นช่อสีแดง ดอกตัวผู้และดอกตัวเมียอยู่ต่างต้นกัน ผลรูปไข่กลับ มีเนื้อ ข้างในมีเมล็ดเดียว เมื่อสุกสีแดงปนส้ม พบมากในแถบบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน[2]

เมื่อลำต้นของพืชชนิดนี้แตกออกจะมียางไหลออกมา เมื่อแห้งจะมีสีเหลืองอ่อนหรือเหลืองอมเขียว โปร่งใสมันวาว และเปราะ

การนำไปใช้

[แก้]

แมสติกใช้ทำเป็นหมากฝรั่งได้ ซึ่งคำว่าแมสติกแผลงมาจากคำภาษากรีกว่า "มัสตีคา" (μαστίχα หรือ mastícha) ที่แปลว่า "เคี้ยว"[3] นอกจากนี้ แมสติกยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย[4] ใช้รักษาโรคทางระบบทางเดินอาหาร[5] และใช้ทำน้ำมันหอมระเหยได้[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ประวัติศาสตร์การพัฒนาการแพทย์แผนไทย - สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-05-28. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  2. คำอธิบาย ตำราพระโอสถพระนารายณ์, ชยันต์ พิเชียรสุนทร และคณะ, หน้า 552, พ.ศ. 2544, สำนักพิมพ์อมรินทร์ กรุงเทพฯ
  3. Chewing Mastic Gum Can Prevent Tooth Decay | Life Enhancement Products
  4. Mastic Is More Than An Antibacterial | Life Enhancement Products
  5. "mastic: Uses, Side Effects, Interactions and Warnings - WebMD". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-27. สืบค้นเมื่อ 2015-04-29.
  6. Mastic Gum - What Should I Know About It? - Alternative Medicine

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]