เฮ็ลมูท ไวท์ลิง
เฮ็ลมูท ไวท์ลิง | |
---|---|
ไวท์ลิงในปี 1943 | |
เกิด | 2 พฤศจิกายน 1891 ฮัลเบอร์ชตัท ราชอาณาจักรปรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน |
เสียชีวิต | 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955 วลาดีมีร์ สหภาพโซเวียต | (64 ปี)
รับใช้ | เยอรมนี เยอรมนี ไรช์เยอรมัน |
แผนก/ | กองทัพบก |
ประจำการ | ค.ศ. 1911–1945 |
ชั้นยศ | พลเอกทหารปืนใหญ่ |
การยุทธ์ | สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง |
บำเหน็จ | กางเขนอัศวินแห่งกางเขนเหล็กประดับใบโอ๊กและดาบ กางเขนเยอรมัน กางเขนเหล็กชั้น 1 กางเขนเหล็กชั้น 2 Class |
พลเอกทหารปืนใหญ่ เฮ็ลมูท อ็อทโท ลูทวิช ไวท์ลิง (เยอรมัน: Helmuth Otto Ludwig Weidling) เป็นนายทหารเยอรมันระหว่างก่อนและหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อมาไวท์ลิงได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองทัพในการป้องกันกรุงเบอร์ลินในพื้นที่การต่อสู้ในยุทธการเบอร์ลินในปี 1945
หลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์กระทำอัตวินิบาตกรรมในฟือเรอร์บุงเคอร์ ไวท์ลิงเข้าพูดคุยกับพลเอกชุยคอฟแห่งกองทัพแดงในเช้ามืดวันที่ 2 พฤษภาคม และตัดสินใจออกประกาศกระจายเสียงให้ทหารวางอาวุธและยอมจำนนต่อกองทัพแดงแห่งสหภาพโซเวียต ความว่า:
ในวันที่ 30 เมษายน 1945 ท่านผู้นำได้กระทำอัตวินิบาตกรรม และได้ทอดทิ้งพวกเราที่สาบานความภักดีต่อท่าน ซึ่งตามคำสั่งของท่านผู้นำ ทุกนายจะยังคงสู้เพื่อเบอร์ลินแม้ว่าขาดแคลนเครื่องกระสุนและสถานการณ์ภาพรวมทำให้การสู้รบดูไม่มีความหมาย ทุกชั่วโมงที่เรายังคงสู้รบจะยืดความทุกขเวทนาของพลเรือนเบอร์ลินและผู้บาดเจ็บฝ่ายเรา ผู้ใดที่ล้มลงในการสู้รบเพื่อเบอร์ลินเท่ากับผู้นั้นสละชีพอย่างสูญเปล่า ดังนั้นตามการตกลงกับกองบัญชาการใหญ่ทหารโซเวียต ข้าพเจ้าขอให้ทุกนายหยุดการสู้รบในทันที[1]
— ไวท์ลิง พลเอกทหารปืนใหญ่และผู้บัญชาการเขตป้องกันเบอร์ลิน
ภายหลังสงคราม ไวท์ลิงถูกจับกุมและกลายเป็นเชลยสงครามของโซเวียต เขาถูกส่งตัวไปยังมอสโก ศาลทหารโซเวียตได้ตัดสินให้จำคุก 25 ปีให้ข้อหาก่ออาชญากรรมสงครามในดินแดนสหภาพโซเวียต ต่อมาเขาได้เสียชีวิตในค่ายกักกันเชลยศึกชาวเยอรมันในเมืองวลาดีมีร์ภายใต้การควบคุมของหน่วยเคจีบีด้วยสภาวะหัวใจล้มเหลว เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1955
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ข้อความต้นฉบับ: „Am 30. 4. 45 hat sich der Führer selbst entleibt und damit uns, die wir ihm die Treue geschworen hatten, im Stich gelassen. Auf Befehl des Führers glaubt Ihr noch immer um Berlin kämpfen zu müssen, obwohl der Mangel an schweren Waffen, an Munition und die Gesamtlage den Kampf als sinnlos erscheinen lassen. Jede Stunde, die Ihr weiterkämpft, verlängert die entsetzlichen Leiden der Zivilbevölkerung Berlins und unserer Verwundeten. Jeder, der jetzt noch im Kampf um Berlin fällt, bringt seine Opfer umsonst. Im Einvernehmen mit dem Oberkommando der sowjetischen Truppen fordere ich Euch daher auf, sofort den Kampf einzustellen“