ข้ามไปเนื้อหา

เยแม็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เยแม็ก
ฮันกึล
예맥
ฮันจา
อาร์อาร์Yemaek
เอ็มอาร์Yemaek

เยแม็ก (เกาหลี: 예맥; 濊貊) เป็นกลุ่มชนเผ่าโบราณในคาบสมุทรเกาหลีตอนเหนือและแมนจูเรียที่นักวิชาการหลายคนถือเป็นบรรพบุรุษของชาวเกาหลีในปัจจุบัน[1][2][3][4] iGENEA บริการลำดับวงศ์ตระกูลชั้นนำของยุโรป รายงานว่าการวิจัยล่าสุดในปัจจุบันเสนอแนะว่า "ชาวเกาหลีสมัยใหม่สืบทอดมาจากชาวเยแม็ก"[5] เยแม็กมีความเกี่ยวข้องทางบรรพบุรุษกับอาณาจักรเกาหลีหลายแห่ง เช่น โชซ็อนโบราณ, พูยอ, โคกูรยอ และชนเผ่าต่าง ๆ อย่าง อกจอ, ทงเย (เย), ยังแม็ก (양맥; 梁貊) และโซซูแม็ก (소수맥; 小水貊)[6]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

ข้อมูลในซัมกุก ซากี บันทึกว่า ชิลลาได้รับการสถาปนาเป็นสมาพันธรัฐของหกตระกูลที่ประกอบด้วยผู้อพยพจากโชซ็อนโบราณ[7] และพระราชลัญจกรแห่งเย (예왕지인; 濊王之印) เดิมกษัตริย์แห่งพูยอเคยใช้งาน ถูกค้นพบที่ชิลลาใน ค.ศ. 19 และเป็นตัวแทนของพระเจ้านัมแฮแห่งชิลลา[8] นอกจากนี้ ยังเชื่อกันว่าโคกูรยอ แพ็กเจ พูยอ และกายาสืบต้นตอจากกลุ่มชนเผ่าเยแม็ก[9]

ประมาณการว่าการแทนที่เยแม็กและภาษาโชซ็อนโบราณ ซึ่งอยู่ในตำแหน่งสูงกว่าในสามอาณาจักร เริ่มเร็วขึ้นผ่านการเคลื่อนไหวลงใต้ของผู้คนทางเหนือในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 3[10]

วัฒนธรรมเยแม็กอาจมองเป็นบรรพบุรุษของวัฒนธรรมเกาหลีสมัยใหม่ และอาณาจักรหลายแห่งในเกาหลีและบางส่วนของจีนตะวันออกเฉียงเหนือ[11] นักประวัติศาสตร์ชาตินิยมบางคน อย่าง Yeo Ho-kyu โต้แย้งว่า ต้นกำเนิดของชาวเกาหลีมาจากกลุ่มชนเผ่าเยแม็ก[12]

Sang-Yil Kim นักประวัติศาสตร์ อ้างว่าชนเผ่าเยแม็กของเกาหลีมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมจีนยุคต้น เขาเสนอแนะว่าชนเผ่าเยแม็กมีผลกระทบทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ต่อเอเชียตะวันออก และอย่างน้อยมีทงอี๋บางส่วนที่มีต้นกำเนิดจากเกาหลีดั้งเดิม[13]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Pai, Hyung Il (2000). Constructing "Korean" Origins: A Critical Review of Archaeology, Historiography, and Racial Myth in Korean State-formation Theories. Harvard University Asia Center. p. 86. ISBN 9780674002449. As the first "Koreans", the Yemaek are considered responsible for the formation of Tan'gun's kingdom of Kochoson
  2. Xu, Stella Yingzi (2007). That Glorious Ancient History of Our Nation: The Contested Re-readings of "Korea" in Early Chinese Historical Records and Their Legacy on the Formation of Korean-ness. Ann Arbor. p. 220. ISBN 9780549440369. ProQuest 304872860. The majority of the Kija Choson and Wiman Choson people were Yemaek, the ancestors of the Korean people
  3. Preucel, Robert; Mrozowski, Stephen; Nelson, Sarah (2010). Contemporary Archaeology in Theory: The New Pragmatism (2nd ed.). Wiley-Blackwell. p. 218-221.
  4. Park, Kyeong-chul (December 2004). "History of Koguryŏ and China's Northeast Asian Project". International Journal of Korean Histor. 6: 2-5.
  5. "Ancient tribe Koreans - Ancestry and origin". iGENEA. สืบค้นเมื่อ 29 January 2023.
  6. Park, Kyeong-chul (December 2004). "History of Koguryŏ and China's Northeast Asian Project". International Journal of Korean Histor. 6: 4-5.
  7. Kim Bu-sik, Samguk Sagi, Silla Bongi, Vol.1, "先是朝鮮遺民分居山谷之間爲六村"[1]
  8. Kim Bu-sik, Samguk Sagi, Silla Bongi, Vol.1, "春二月 北溟人耕田 得濊王印獻之"[2]
  9. Park, Kyeong-chul (December 2004). "History of Koguryŏ and China's Northeast Asian Project". International Journal of Korean Histor. 6: 4-5.
  10. a series of displaced peoples southward movements following the Wei invasion to Goguryeo in 242, Xianbei invasion to Buyeo in 285, fall of Lelang in 313
  11. Son, Chang-Hee (2000). Haan (han, Han) of Minjung Theology and Han (han, Han) of Han Philosophy: In the Paradigm of Process Philosophy and Metaphysics of Relatedness (ภาษาอังกฤษ). University Press of America. ISBN 9780761818601.
  12. Ahn, Yonson (2005). "Nationalisms and the mobilisation of history in East Asia: The "War of History" on Koguryŏ/Gaogouli". Internationale Schulbuchforschung. 27 (1): 15–30. ISSN 0172-8237. JSTOR 43056666.
  13. Son, Chang-Hee (2000). Haan (han, Han) of Minjung Theology and Han (han, Han) of Han Philosophy: In the Paradigm of Process Philosophy and Metaphysics of Relatedness (ภาษาอังกฤษ). University Press of America. ISBN 9780761818601.