ฮาจิโก
ฮาจิโกในวัยชรา | |
สปีชีส์ | สุนัข |
---|---|
สายพันธุ์ | อากิตาอินุ |
เพศ | ผู้ |
เกิด | 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 เมืองโอดาเตะ จังหวัดอากิตะ จักรวรรดิญี่ปุ่น |
ตาย | 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 (11 ปี) เขตชิบูยะ โตเกียว |
ที่ไว้ซาก | พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น ในอูเอโนะ โตเกียว |
เป็นที่รู้จักสำหรับ | การรอคอยการกลับมาของเจ้าของที่เสียชีวิตแล้วเป็นเวลา 10 ปี |
เจ้าของ | ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ |
สัณฐาน | ขนสีขาวเจือครีม |
ฮาจิโก (ญี่ปุ่น: ハチ公; โรมาจิ: Hachikō) (10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2466 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2478) เป็นสุนัขที่เป็นที่รู้จักในนามของ "สุนัขยอดกตัญญู ฮาจิโก" (忠犬) เป็นสุนัขสายพันธุ์อากิตะ ฮาจินั้นเป็นสัญลักษณ์ถึงความจงรักภักดีอันน่าทึ่งจากการที่มันเฝ้ารอเจ้านายของมันเป็นเวลาหลายปี แม้ว่าเจ้านายของมันจะเสียชีวิตไปแล้ว
ในปัจจุบันฮาจิเป็นสัญลักษณ์ของความสัตย์ซื่อ หนุ่มสาวญี่ปุ่นจะไปสัญญารักต่อกันหน้ารูปหล่อของฮาจิโกที่สถานีรถไฟดังกล่าว
ชีวิต
[แก้]ในปี ค.ศ. 1924 ฮิเดซาบูโร อูเอโนะ ศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการเกษตรกรรมแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว ได้เลี้ยงสุนัขสายพันธุ์อากิตาอินุ ไว้ และตั้งชื่อให้ว่า "ฮาจิ" ซึ่งในตอนเย็นของทุกวัน ฮาจิจะไปรอเขาใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟชิบูยะ เป็นเช่นนี้อยู่ทุกวันจนกระทั่งในวันหนึ่งในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1925 ศาสตราจารย์อูเอโนะได้เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกในสมอง ทำให้ในวันนั้นเจ้านายของฮาจิไม่ได้กลับไปที่สถานีรถไฟ ถึงกระนั้นในทุก ๆ วัน ฮาจิก็ยังคงมารอเจ้านายของมันที่สถานีชิบูยะ[1]
ตลอดช่วงเวลานั้น ฮาจิโกะกลายเป็นที่สะดุดตาของคนที่สัญจรไปมา หลายคนในสถานีรถไฟนั้นล้วนเคยเห็นฮาจิโกกับเจ้านายของเขาในแต่ละวัน ซึ่งเจ้าหน้าที่ในสถานีรถไฟบางคนก็ไม่ได้เป็นมิตรต่อเจ้าฮาจิโกมากนัก อย่างไรก็ตาม ในปี ค.ศ. 1932 ภายหลังจากที่มีคนเขียนบทความเกี่ยวกับเจ้าฮาจิโกและเจ้านายของเขาลงในหนังสือพิมพ์อาซาฮิ ก็เริ่มมีผู้คนจำนวนหนึ่งที่นำขนมและอาหารไปให้แก่เจ้าฮาจิโก ซึ่งหากรวมระยะเวลาทั้งหมดแล้ว เป็นเวลากว่า 9 ปีภายหลังการเสียชีวิตของศาสตราจารย์อูเอโนะ ที่เจ้าฮาจิโกได้มาเฝ้ารอการกลับมาของเจ้านายทุกวัน
สื่อสิ่งพิมพ์
[แก้]ค.ศ. 1932 นักศึกษาคนหนึ่งในอูเอโนะ (ที่เชี่ยวชาญในการผสมพันธุ์สุนัขอากิตะ) เห็นฮาจิที่สถานีและตามเขาไปในบ้านของคิกูซาบูโร โคบายาชิ อดีตคนสวนของศาสตราจารย์อูเอโนะ[2]) ทำให้เขาได้ทราบถึงประวัติของฮาจิโก ไม่นานหลังจากนั้น นักศึกษาได้เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับประชากรสุนัขอากิตะในญี่ปุ่น ซึ่งในงานวิจัยของเขาพบว่ามีสุนัขอากิตะพันธุ์แท้เพียง 30 ตัวที่เหลืออยู่ ซึ่งเจ้าฮาจิโกเป็นหนึ่งในนั้น
เขากลับไปเยี่ยมฮาจิโกบ่อยขึ้น และในปีที่เขาตีพิมพ์บทความหลายเรื่องเกี่ยวกับความจงรักภักดีที่น่าทึ่งของฮาจิโกในปี 1932 หนึ่งในบทความเหล่านี้ถูกตีพิมพ์ในโตเกียว โดยหนังสือพิมพ์อาซาฮิชิมบุง ซึ่งทำให้ฮาจิเป็นที่สนใจขึ้นมาทันทีจากทั้งประเทศ เรื่องราวของฮาจิโกกลายเป็นเรื่องโด่งดังระดับชาติ ความสัตย์ซื่อและความทรงจำของเจ้านายของมัน เป็นที่ประทับใจของชาวญี่ปุ่นจากจิตใจที่เปี่ยมด้วยความจงรักภักดี ครูและผู้ปกครองจำนวนมากได้เล่าเรื่องนี้แก่ลูกหลานเพื่อเป็นตัวอย่างสำหรับเด็กที่ควรจะปฏิบัติตาม ในด้านของความจงรักภักดีและรู้คุณ
ในที่สุดความซื่อสัตย์และตำนานของฮาจิโกกลายเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติในด้านความจงรักภักดีโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคจักรวรรดินิยม ที่ผู้คนจงรักภักดีต่ออย่างสุดซึ่งต่อองค์จักรพรรดิ[3]
วันที่มรณะของฮาจิโก
[แก้]ฮาจิโกตายลงในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ 1935 บริเวณถนนในชิบูยะ[4] ซึ่งหลังจากฮาจิโกตาย ร่างของมันได้ถูกรักษาไว้ ต่อมาในปี ค.ศ. 2011 ร่างของฮาจิโกถูกชันสูตรที่มหาวิทยาลัยโตเกียวเกี่ยวกับสาเหตุการตาย ซึ่งพบว่ามีพยาธิที่ตับและหัวใจ และมีปัญหาที่ระบบทางเดินอาหาร [5][6]
ในปัจจุบันร่างของฮาจิโกถูกเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติญี่ปุ่น[7][8] ป้ายอนุสรณ์ของฮาจิโกตั้งอยู่ในสุสานอาโอยามะ เขตมินาโตะ กรุงโตเกียว[9] นอกจากนี้ ยังมีอนุสาวรีย์อยู่ที่หน้าสถานีรถไฟชิบูยะ ซึ่งเป็นจุดที่ฮาจิโกนั่งรอเจ้านาย
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Dog faithfully awaits return of his master for past 11 years story Posted Aug 18, 2007 by Chris V. (cgull) in Lifestyle of Digital journal. Accessed July 8, 2008
- ↑ Bouyet, Barbara. Akita, Treasure of Japan, Volume II. Hong Kong: Magnum Publishing, 2002, page 5. ISBN 0-9716146-0-1. Accessed via Google Books April 18, 2010.
- ↑ Skabelund, Aaron Herald (23 September 2011). "Canine Imperialism". Berfrois. สืบค้นเมื่อ 28 October 2011.
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) - ↑ "Hollywood the latest to fall for tale of Hachiko," The Japan Times, June 25, 2009
- ↑ Mystery solved in death of legendary Japanese dog[ลิงก์เสีย]
- ↑ Associated Press, "Worms, not skewer, did in Hachiko เก็บถาวร 2012-07-29 ที่ archive.today", Japan Times, 4 March 2011, p. 1.
- ↑ Opening of the completely refurbished Japan Gallery of National Museum of Nature and Science เก็บถาวร 2007-06-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน "In addition to the best-loved specimens of the previous permanent exhibitions, such as the faithful dog Hachikō, the Antarctic explorer dog Jiro and Futabasaurus suzukii, a plesiosaurus native to Japan, the new exhibits feature a wide array of newly displayed items." 2007 The National Science Museum, Tokyo. Accessed November 13, 2007
- ↑ Kimura, Tatsuo. "A History Of The Akita Dog". Akita Learning Center. สืบค้นเมื่อ May 6, 2011.
- ↑ Drazen, Patrick (2011). A Gathering of Spirits: Japan's Ghost Story Tradition: from Folklore and Kabuki to Anime and Manga. iUniverse. p. 101. ISBN 1462029426.
Aoyama Cemetery contains a memorial to Hachiko on the site of Professor Ueno's grave. Some of Hachiko's bones are reportedly buried there, but in fact, Hachiko can still be seen -- stuffed, in the National Science Museum.
- เรื่องราวของฮาจิโก สุนัขยอดกตัญญู (ญี่ปุ่น)