ข้ามไปเนื้อหา

อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์

พิกัด: 28°45′N 34°45′E / 28.750°N 34.750°E / 28.750; 34.750
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์
อ่าวเอลัต
คาบสมุทรไซนายที่มีอ่าวอัลอะเกาะบะฮ์อยู่ฝั่งตะวันออก และอ่าวสุเอซอยู่ฝั่งตะวันตก
อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ตั้งอยู่ในประเทศอียิปต์
อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์
อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์
ที่ตั้งเอเชียตะวันตกเฉียงใต้
พิกัด28°45′N 34°45′E / 28.750°N 34.750°E / 28.750; 34.750
ชนิดอ่าว
ชื่อในภาษาแม่
แหล่งน้ำไหลเข้าหลักทะเลแดง
ประเทศในลุ่มน้ำอียิปต์, อิสราเอล, จอร์แดน และซาอุดีอาระเบีย
ช่วงยาวที่สุด160 กิโลเมตร (99 ไมล์)
ช่วงกว้างที่สุด24 กิโลเมตร (15 ไมล์)
พื้นที่พื้นน้ำ239 km2 (92 sq mi)
ความลึกสูงสุด1,850 เมตร (6,070 ฟุต)
เมืองอัลอะเกาะบะฮ์, เอลัต, ฏอบา, ฮักล์, ชัรมุชชัยค์

อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์ (อาหรับ: خَلِيجُ ٱلْعَقَبَةِ), หรือ อ่าวเอลัต (ฮีบรู: מפרץ אילת, อักษรโรมัน: Mifrátz Eilát) เป็นอ่าวที่อยู่ทางเหนือของทะเลแดง ติดกับคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกและคาบสมุทรอาหรับทางตะวันตก อ่าวด้านตะวันตกของอ่าวแห่งนี้คือ อ่าวสุเอซ (Gulf of Suez)

อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์มีความลึกสูงสุด 1,850 เมตร (1.15 ไมล์) มีความกว้างจากจุดที่กว้างที่สุด 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) และมีความยาวถึงส่วนปลายคือช่องแคบติราน (Straits of Tiran) ประมาณ 160 กิโลเมตร (99 ไมล์) ชายฝั่งของอ่าวแห่งนี้อยู่ในสี่ประเทศคือ อียิปต์ อิสราเอล จอร์แดนและซาอุดีอาระเบีย มีเมืองท่องเที่ยวและเมืองท่าอย่างฏอบา (Taba) ในอียิปต์, เอลัต (Eilat) ในอิสราเอล และอัลอะเกาะบะฮ์ (Aqaba) ในจอร์แดน[1]

มีบันทึกตั้งแต่สมัยราชวงศ์ที่สี่แห่งอียิปต์ว่าอ่าวอัลอะเกาะบะฮ์เป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของการค้าขายในภูมิภาค มีการบันทึกในอีกหลายราชวงศ์ของอียิปต์ถึงการเดินทางข้ามทะเลแดงไปทำการค้ากับอาณาจักรพันต์ (Punt) นอกจากนี้เมืองอายลา (Ayla; ปัจจุบันคือเมืองอัลอะเกาะบะฮ์) ยังเป็นเมืองที่ทำการค้ากับชาวแนบาเทีย (Nabataeans) ต่อมาชาวโรมันได้สร้างเส้นทาง Via Traiana Nova ทำให้การค้าระหว่างแอฟริกากับเลแวนต์สะดวกขึ้น[2]

ในปัจจุบัน อ่าวอัลอะเกาะบะฮ์เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมาดำน้ำเพื่อชมปะการัง ซากเรืออับปางและสัตว์น้ำ[3] ประมาณการว่ามีนักดำน้ำ 250,000 คนต่อปี คิดเป็น 10% ของรายได้จากการท่องเที่ยวในบริเวณนี้[4] นอกจากนี้ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวอื่น ๆ เช่น หุบเขาวาดีรัม (Wadi Rum) ซากเมืองอายลาและสนามรบของยุทธการอัลอะเกาะบะฮ์ (Battle of Aqaba) ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง

อ้างอิง

[แก้]
  1. Gulf of Aqaba - New World Encyclopedia
  2. King's Highway | ancient road, Middle East | Britannica.com[ลิงก์เสีย]
  3. Gulf of Aqaba - World Atlas
  4. Artificial Reefs and Dive Tourism in Eilat, Israel, Dan Wilhelmsson, Marcus C. Öhman , Henrik Ståhl and Yechiam Shlesinger, Ambio, Vol. 27, No. 8, Building Capacity for Coastal Management (Dec., 1998), pp. 764-766 Published by: Allen Press on behalf of Royal Swedish Academy of Sciences [1]. the United Nations Environment Programme. Retrieved on December 17. 2014

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]