อาสนวิหารเซบิยา
อาสนวิหารเซบิยา | |
---|---|
อาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนัก | |
มุมมองด้านตะวันออกเฉียงใต้ของอาสนวิหาร | |
ที่ตั้ง | เซบิยา |
ประเทศ | ประเทศสเปน |
นิกาย | โรมันคาทอลิก |
เว็บไซต์ | www |
ประวัติ | |
สถานะ | อาสนวิหาร |
เสกเมื่อ | 1507 |
สถาปัตยกรรม | |
สถานะการใช้งาน | ใช้งาน |
สถาปนิก | อาลอนโซ มาร์ติเนซ, เปโดร ดังการ์ต, การ์ลัส กัลเต็ส ดา รูอัน, อาลอนโซ โรดริเกซ |
ประเภทสถาปัตย์ | โบสถ์คริสต์ |
รูปแบบสถาปัตย์ | กอธิก, ฟื้นฟูศิลปวิทยาสเปน, มัวร์ |
งานฐานราก | 1402 |
แล้วเสร็จ | 1519 |
โครงสร้าง | |
อาคารยาว | 135 เมตร (443 ฟุต) |
อาคารกว้าง | 100 เมตร (330 ฟุต) |
เนฟกว้าง | 15 เมตร (49 ฟุต) |
ความสูงอาคาร | 42 เมตร (138 ฟุต) |
จำนวนยอดแหลม | 1 |
ความสูงยอดแหลม | 105 เมตร (344 ฟุต) |
การปกครอง | |
อัครมุขมณฑล | เซบิยา |
นักบวช | |
อัครมุขนายก | โฆเซ อังเฆล ไซซ์ เมเนเซส |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | อาสนวิหาร, อัลกาซาร์ และหอจดหมายเหตุอินดีสในเซบิยา |
ประเภท | วัฒนธรรม |
เกณฑ์ | i, ii, iii, vi |
ขึ้นเมื่อ | 1987 (สมัยที่ 11), เพิ่มเติม 2010 |
เลขอ้างอิง | 383bis-001 |
ภูมิภาค | ยุโรป |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | อาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนักเซบิยา |
ประเภท | อสังหาริมทรัพย์ |
เกณฑ์ | โบราณสถาน |
ขึ้นเมื่อ | 29 ธันวาคม 1928 |
เลขอ้างอิง | (R.I.) - 51 - 0000329 - 00000 |
อาสนวิหารพระแม่มารีแห่งสำนัก (สเปน: Catedral de Santa María de la Sede) หรือ อาสนวิหารเซบิยา (Catedral de Sevilla) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิกในเมืองเซบิยา ประเทศสเปน[1] อาสนวิหารได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกยูเนสโกในปี 1987 ร่วมกับอัลกาซาร์และหอจดหมายเหตุอินดีสซึ่งอยู่ติดกัน[2] อาสนวิหารนี้ถือเป็นหนึ่งในโบสถ์คริสต์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นโบสถ์คริสต์สถาปัตยกรรมกอธิกที่ใหญ่ที่สุดในโลก[3]
เมื่อสร้างแล้วเสร็จในคริสต์ศตวรรษที่ 16 อาสนวิหารเซบิยาขึ้นแท่นเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกแทนที่ฮาเกียโซเฟียซึ่งเป็นอาสนวิหารที่ใหญ่ที่สุดในโลกมานานนับพันปี[4] ส่วนกอธิกขอบอาสนวิหารมีขนาด 126 เมตร (413 ฟุต) กว้าง 76 เมตร (249 ฟุต) ตรงกลางมุขยื่นมีความสูงสูงสุด 42 เมตร (138 ฟุต) ส่วนหอคอยฆิรัลดามีความสูง 104.5 เมตร (342 ฟุต 10 นิ้ว)
อาสนวิหารเซบิยาเป็นสถานที่ประกอบพิธีศีลบัปติศมาของอินฟันเตฆวนแห่งอารากอนในปี 1478 ซึ่งเป็นพระราชโอรสเพียงพระองค์เดียวของพระมหากษัตริย์คาทอลิก (พระเจ้าเฟร์นันโดที่ 2 แห่งอารากอนและสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 1 แห่งกัสติยา) ภายในโบสถ์น้อยหลวงเป็นที่บรรจุพระศพของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 3 แห่งกัสติยา ผู้พิชิตเซบิยาคืนจากมุสลิม, พระเจ้าอัลฟอนโซที่ 10 แห่งกัสติยา พระราชโอรสของพระองค์ และพระเจ้าเปโดรแห่งกัสติยา ผู้สืบราชสมบัติกัสติยาในสมัยหลัง นอกจากนี้ยังมีอนุสรณ์ศพของพระคาร์ดินัลฆวน เด เซร์บันเตส และเปโดร กอนซาเลซ เด เมนโดซา อยู่ในโบสถ์น้อยต่าง ๆ ของอาสนวิหาร นอกจากนี้ภายในอาสนวิหารยังเป็นที่ฝังร่างของคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส และดีเอโก โคลัมบัส ผู้เป็นบุตรด้วย[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Seville Cathedral". spain.info. Spanish Tourism Board. สืบค้นเมื่อ 1 February 2016.
- ↑ "The other Europe: Cinque Terre, Bruges, Rothenburg, Edinburgh, Seville". Dallas Morning News. 31 May 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 December 2018. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
- ↑ Colin Lawson; Robin Stowell, บ.ก. (16 February 2012). The Cambridge History of Musical Performance. Cambridge University Press. p. 590. ISBN 978-1-316-18442-4.
- ↑ Melton 2010, p. 1301.
- ↑ "Cathedral, Alcázar and Archivo de Indias in Seville". UNESCO. สืบค้นเมื่อ 1 June 2009.
บรรณานุกรม
[แก้]- Bloom, Jonathan M. (2020). Architecture of the Islamic West: North Africa and the Iberian Peninsula, 700-1800. Yale University Press.
- Harvey, John (1957). The Cathedrals of Spain (ภาษาอังกฤษ). Batsford.
- Montiel, Luis Martínez; Morales, Alfredo José (1999). The Cathedral of Seville (ภาษาอังกฤษ). Scala Publishers. ISBN 978-1-85759-203-0.
- Melton, J. Gordon (2010). "Hagia Sophia". ใน Melton, J. Gordon; Baumann, Martin (บ.ก.). Religions of the World: A Comprehensive Encyclopedia of Beliefs and Practices (ภาษาอังกฤษ) (2nd ed.). Santa Barbara: ABC-CLIO. pp. 1300–1301. ISBN 978-1-59884-204-3.