อาดเลอร์ทาค
ยุทธการที่บริเตน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ แนวรบด้านตะวันตกของสงครามโลกครั้งที่สอง | |||||||
สมรภููมิทางอากาศ ค.ศ. 1940 | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
สหราชอาณาจักร | ไรช์เยอรมัน | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
Hugh Dowding Keith Park Charles Portal |
แฮร์มันน์ เกอริง อัลแบร์ท เคสเซิลริง ฮูโก ชแปร์เริล | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
Fighter Command: 13 fighters (air)[3] 1 fighter (ground)[2] 3 fighter pilots killed[2] RAF Bomber Command: 11 bombers (air)[2] 24 aircrew killed[2] 9 captured[4] Other: 47 miscellaneous aircraft (ground)[2] c. several hundred civilians[5] |
47[3][6]–48[7] aircraft destroyed (air) 39 severely damaged[7] circa 200 killed or captured including: 44 killed 23 wounded at least 45 missing[8] |
อาดเลอร์ทาค (เยอรมัน: Adlertag)[9][10][11][12][13] หรือ วันนกอินทรี เป็นชื่อที่ใช้เรียกวันแรกของ "ปฏิบัติการอินทรีขย้ำ" (เยอรมัน: Unternehmen Adlerangriff) ซึ่งได้เป็นรหัสนามของปฏิบัติการทางทหารโดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟอ)ของนาซีเยอรมนีเพื่อทำลายกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษ(RAF) โดยเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1940 ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องพบความปราชัยในยุโรปตะวันตกและสแกนดิเนเวีย แทนที่จะหันไปทำข้อตกลงกับเยอรมนี อังกฤษได้ปฏิเสธการทาบทามทั้งหมดเพื่อเจรจาสันติภาพ
ในช่วงยุทธการที่บริเตน ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งที่ 16 กับกองทัพเยอรมัน(เวร์มัคท์) ให้เตรียมความพร้อมสำหรับการรุกรานสหราชอาณาจักร ปฏิบัติการครั้งนี้ถูกเรียกรหัสนามว่า ปฏิบัติการสิงโตทะเล (เยอรมัน: Unternehmen Seelöwe) ก่อนที่จะดำเนินการครั้งนี้ เยอรมันจำเป็นต้องครองน่านฟ้าให้ได้เสียก่อน ลุฟท์วัฟเฟอจะต้องทำลายกองทัพอากาศหลวงของอังกฤษเพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษโจมตีหมู่เรือยกพลขึ้นบกของเยอรมัน หรือให้การป้องกันแก่กองเรือของราชนาวีอังกฤษที่หมายจะสกัดกั้นการยกพลขึ้นบกทางทะเลของเยอรมัน เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ฮิตเลอร์ได้ออกคำสั่งให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งลุฟท์วัฟเฟอ จอมพล แฮร์มันน์ เกอริงและกองบัญชาการสูงสุดกองทัพอากาศเยอรมัน (OKL) ด้วยคำสั่งที่ 17 เพื่อเปิดฉากการจู่โจมทางอากาศ
เป้าหมายที่สำคัญคือ กองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะทำให้อังกฤษสูญเสียศักยภาพการครองน่านฟ้าทันที ทั้งนี้ตลอดช่วงเดือนกรกฏาคมและต้นเดือนสิงหาคม แม้เยอรมันจะมีความพร้อมออกปฏิบัติการอาดเลอร์ทาคทุกเมื่อ แต่วันปฏิบัติการกลับถูกเลื่อนออกไปหลายครั้งเนื่องจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ในที่สุดก็สามารถออกปฏิบัติการได้ในวันที่ 13 สิงหาคม ค.ศ. 1940 การโจมตีของเยอรมันในวันดังกล่าว ได้ก่อให้เกิดเสียหายอย่างหนักและทั้งชีวิตและทรัพย์สินในภาคพื้นดิน อย่างไรก็ตาม เนื่องด้วยการข่าวกรองและการสื่อสารที่ย่ำแย่ ฝ่ายเยอรมันไม่ได้ประสบความสำเร็จในการทำลายอำนาจการครองน่านฟ้าของอังกฤษมากนัก
เกอริงได้ให้สัญญากับฮิตเลอร์ว่า อาดเลอร์ทาคและอาดเลอร์กริฟจะบรรลุผลตามที่ต้องการภายในไม่กี่วันหรือในสัปดาห์ที่เป็นอย่างช้า หมายความว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบของกองบัญชาการเครื่องบินขับไล่ของกองทัพอากาศอังกฤษ แต่อาดเลอร์ทาคและปฏิบัติการครั้งต่อๆมากลับล้มเหลว เยอรมันไม่สามารถทำลายกองทัพอากาศหลวงอังกฤษและไม่สามารถครองน่านฟ้าอังกฤษได้ ทำให้ปฏิบัติการสิงโตทะเลต้องถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Bungay 2000, p. 207.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 Bungay 2000, p. 211.
- ↑ 3.0 3.1 Bungay 2000, p. 371.
- ↑ Donnelly 2004, pp. 88–89.
- ↑ Note excluding 4 casualties from Australia; the Commonwealth War Graves Commission lists only 25 Civilian casualties 13 August 1940
- ↑ Taylor and Moyes 1968, p. 23.
- ↑ 7.0 7.1 Hough and Richards 2007, p. 162.
- ↑ Mason 1969, pp. 240–243.
- ↑ Hough and Richards 2007, p. 154.
- ↑ Murray 1983, p. 50.
- ↑ Bungay 2000, p. 203.
- ↑ Fiest 1993, p. 28.
- ↑ Mason 1969, p. 236.