ข้ามไปเนื้อหา

สรรพสินค้าเซ็นทรัล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด
ประเภทพาณิชย์
อุตสาหกรรมบริการ
รูปแบบบริษัทจำกัด
ก่อตั้งพ.ศ. 2490
ผู้ก่อตั้งเตียง จิราธิวัฒน์
สำนักงานใหญ่22 อาคารสำนักงานเซ็นทรัลชิดลม ชั้น 9 ซอยสมคิด ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
บุคลากรหลักณัฐธีรา จิราธิวัฒน์ บุญศรี
(ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม)
บริการห้างสรรพสินค้า, สินเชื่อบัตรเครดิต, บริการด้านการเงิน
เว็บไซต์http://www.central.co.th

บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด (อังกฤษ: Central Department Store Company Limited) หรือ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เป็นห้างสรรพสินค้าเก่าแก่ขนาดใหญ่ที่มีสาขามากที่สุดของประเทศไทยก่อตั้งกิจการขึ้นโดยชาวไทยเชื้อสายจีน คุณเตียง จิราธิวัฒน์ เริ่มดำเนินการเมื่อปี พ.ศ. 2490 ด้วยการเป็นร้านขายหนังสือและนิตยสารนำเข้า ของชำและสินค้าเบ็ดเตล็ดเล็ก ๆ ก่อนที่สัมฤทธิ์ (บุตรชาย) จะเริ่มดำเนินการยกระดับกิจการขึ้นจนเป็นห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เริ่มเปิดดำเนินกิจการสาขาแรกเมื่อปี พ.ศ. 2499 ตั้งอยู่ที่ย่านวังบูรพา[1] และยังคงพัฒนากิจการอยู่ตลอดมาจนกลายมาเป็นกลุ่มห้างสรรพสินค้านานาชาติชั้นนำของโลกในปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เกิดขึ้นจากการขยายกิจการร้านขายของชำเล็ก ๆ ของ นี่เจียง แซ่เจ็ง ชายหนุ่มที่เดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อมาตั้งรกรากในไทยพร้อมกับ หวาน แซ่เจ็ง ผู้เป็นภรรยาและ ฮกเส่ง แซ่เจ็ง หรือ สัมฤทธิ์ จิราธิวัฒน์ บุตรชาย โดยเริ่มแรกเตียงเปิดร้านขายกาแฟ และร้านขายของชำเล็ก ๆ ที่ย่านบางมด ก่อนจะขยายมาเป็นร้านขนาดใหญ่ที่มีชื่อว่า เข่งเซ่งหลี ที่ย่านบางขุนเทียน โดยเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านของใช้ ร้านตัดเสื้อ ร้านตัดผม และที่อยู่อาศัยไว้ในหนึ่งเดียว จากความคิดนี้ทำให้ ฮกเส่ง อยากขยายกิจการของครอบครัวของตัวเองให้กว้างมากขึ้น โดยเริ่มจากการรับหนังสือมาขายต่อ จนกระทั่งสามารถเปิดร้านหนังสือที่ย่านสี่พระยาได้ด้วยเงินทุน 2,000 บาท ก่อนที่จะมาทำห้างสรรพสินค้าครบวงจรเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลในเริ่มแรก นี่เจียงมีความคิดที่จะใช้ชื่อว่า "ตงเอียง" ซึ่งมีความหมายว่า "กลาง" ในภาษาจีน โดยสื่อความหมายว่าสถานที่แห่งนี้จะกลายเป็นศูนย์กลางแห่งสินค้าและบริการ แต่แล้วฮกเส่งผู้เป็นลูกชาย กลับอยากใช้ชื่อว่า "เซ็นทรัล" ที่มีความหมายว่า "ที่เป็นใจกลาง ที่เป็นศูนย์กลาง" มากกว่า ต่อมา ฮกเส่ง ก็สามารถเปิดห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาแรกได้เป็นผลสำเร็จที่วังบูรพา ก่อนจะขยายกิจการของครอบครัวด้วยการพัฒนาเป็นห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าขนาดใหญ่และทันสมัยของประเทศไทย[2]

ในช่วง พ.ศ. 2538 กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงการเติบโตของธุรกิจห้างสรรพสินค้า จึงได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มทุนในห้างสรรพสินค้าโรบินสันของ มานิต อุดมคุณธรรม ที่กำลังประสบปัญหาธุรกิจในขณะนั้น และก้าวขึ้นเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของห้างสรรพสินค้าโรบินสันนับแต่นั้น กลุ่มเซ็นทรัลใช้วิธีการวางตำแหน่งให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลทำการตลาดสินค้าในระดับกลางค่อนบนถึงตลาดสินค้าแบรนด์เนมและลักชัวรี ส่วนห้างสรรพสินค้าโรบินสันวางตำแหน่งทางการตลาดเป็นห้างสรรพสินค้าราคาประหยัดที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงสินค้าได้อย่างทั่วถึง ด้วยการวางตำแหน่งทางการตลาดแบบใหม่ ทำให้ห้างสรรพสินค้าโรบินสันสามารถขยายสาขาได้อย่างรวดเร็วนับตั้งแต่นั้น และทำให้เป็นห้างสรรพสินค้าที่มีจำนวนสาขามากที่สุดในประเทศไทย

ควบกิจการเป็นหนึ่งเดียว

[แก้]

พ.ศ. 2563 ภายหลังจากที่เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น ได้เข้าซื้อกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสันทั้งหมด กลุ่มเซ็นทรัลได้มีการปรับแผนทางการตลาดครั้งใหม่ โดยให้ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลรับโอนกิจการห้างสรรพสินค้าโรบินสันทั้งหมด และทยอยปรับปรุงโรบินสันบางสาขาควบคู่กับการจัดรายการส่งเสริมการขายร่วมกัน เริ่มจากสาขาเมกาซิตี้ บางนาเป็นสาขานำร่องโครงการ

ในส่วนของ บริษัท โรบินสัน จำกัด (มหาชน) หรือในชื่อเดิมคือ บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) นั้น จะเข้าสู่การชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการ ภายหลังจากที่ทำการปรับปรุงสาขาโรบินสันให้กลายเป็นสาขาเซ็นทรัลทั้งหมดแล้ว

สาขา

[แก้]

เซ็นทรัล

[แก้]
เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลสาขาใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท ศาลายา
เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท รามอินทรา
เซ็นทรัล เดอะสโตร์ แอท พระราม 2

เรียงตามวันที่เริ่มเปิดดำเนินการ

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน หมายเหตุ
ชิดลม 23 มกราคม พ.ศ. 2517 กรุงเทพมหานคร สถานที่ของตนเอง เชื่อมต่อกับ เซ็นทรัล เอ็มบาสซี
ลาดพร้าว 30 เมษายน พ.ศ. 2526 เซ็นทรัล ลาดพร้าว
เซ็นทรัลเวิลด์ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2532 เซ็นทรัลเวิลด์ เดิม คือ ห้างสรรพสินค้าเซน (Zen)
สีลมคอมเพล็กซ์ 10 เมษายน พ.ศ. 2534 สีลมคอมเพล็กซ์
รามอินทรา 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 เซ็นทรัล รามอินทรา
บางนา 3 ธันวาคม พ.ศ. 2536 เซ็นทรัล บางนา
รังสิต 17 มีนาคม พ.ศ. 2538 จังหวัดปทุมธานี ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต
ปิ่นเกล้า (ถนนบรมราชชนนี) 31 มีนาคม พ.ศ. 2538 กรุงเทพมหานคร เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า
พระราม 3 10 ตุลาคม พ.ศ. 2540 เซ็นทรัล พระราม 3
พระราม 2 5 ธันวาคม พ.ศ. 2545 เซ็นทรัล พระราม 2
แจ้งวัฒนะ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 จังหวัดนนทบุรี เซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ
ศาลายา (ถนนบรมราชชนนี) 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557 จังหวัดนครปฐม เซ็นทรัล ศาลายา
เวสต์เกต (บางใหญ่) 28 สิงหาคม พ.ศ. 2558 จังหวัดนนทบุรี เซ็นทรัล เวสต์เกต
อีสต์วิลล์ (เลียบด่วนรามอินทรา) 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานคร เซ็นทรัล อีสต์วิลล์
เอาท์เล็ต สุวรรณภูมิ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2562 จังหวัดสมุทรปราการ เซ็นทรัล วิลเลจ ลักซูรี่ เอาท์เล็ต ประกอบด้วยร้านค้าที่เป็นแผนกย่อยจำนวน 2 ร้าน ได้แก่ ลักซ์ แกลอรี และโฮม แอนด์ ลิฟวิ่ง
เมกาบางนา 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2563 เซ็นทรัล เมกาบางนา เดิม คือ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน
แฟชั่นไอส์แลนด์ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 กรุงเทพมหานคร แฟชั่นไอส์แลนด์ เดิม คือ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน
เวสต์วิลล์ (ราชพฤกษ์) 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 จังหวัดนนทบุรี เซ็นทรัล เวสต์วิลล์
นครปฐม 30 มีนาคม พ.ศ. 2567 จังหวัดนครปฐม เซ็นทรัล นครปฐม
บางรัก 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กรุงเทพมหานคร โรงแรมเซ็นเตอร์พอยท์ สีลม เดิม คือ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน
สุขุมวิท พ.ศ. 2569 [3] โรงแรมเดอะเวสทินแกรนด์ สุขุมวิท โครงการปรับปรุง
พระราม 9 พ.ศ.2571 [3] กรุงเทพมหานคร เซ็นทรัล พระราม 9 กำลังปรับปรุง

ภูมิภาค

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง ตั้งอยู่ใน หมายเหตุ
ภูเก็ต ฟลอเรสต้า พ.ศ. 2547 จังหวัดภูเก็ต เซ็นทรัล ภูเก็ต - ฟลอเรสต้า เดิม ตั้งอยู่ในอาคาร เฟสติวัล
เฟสติวัล พัทยา บีช 23 มกราคม พ.ศ. 2552 จังหวัดชลบุรี เซ็นทรัล พัทยา
เฟสติวัล เชียงใหม่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 จังหวัดเชียงใหม่ เซ็นทรัล เชียงใหม่
เฟสติวัล หาดใหญ่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556 จังหวัดสงขลา เซ็นทรัล หาดใหญ่
เฟสติวัล สมุย 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 จังหวัดสุราษฎร์ธานี เซ็นทรัล สมุย
นครราชสีมา 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 จังหวัดนครราชสีมา เซ็นทรัล โคราช
ภูเก็ต ป่าตอง 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 จังหวัดภูเก็ต สถานที่ของตัวเอง
เซ็นทรัล ดีเอฟเอส พัทยา-อู่ตะเภา 10 เมษายน พ.ศ. 2562 จังหวัดระยอง อาคารผู้โดยสาร 2 ท่าอากาศยานอู่ตะเภา
อุดรธานี 2 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จังหวัดอุดรธานี เซ็นทรัล อุดร เดิม คือ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน
ขอนแก่น 4 ธันวาคม พ.ศ. 2564 จังหวัดขอนแก่น เซ็นทรัล ขอนแก่น เดิม คือ ห้างสรรพสินค้า โรบินสัน
นครสวรรค์ 31 มกราคม พ.ศ. 2567 จังหวัดนครสวรรค์ เซ็นทรัล นครสวรรค์
กระบี่ พ.ศ. 2568[ต้องการอ้างอิง] จังหวัดกระบี่ เซ็นทรัล กระบี่ กำลังก่อสร้าง
เชียงใหม่ แอร์พอร์ต พ.ศ. 2568[ต้องการอ้างอิง] จังหวัดเชียงใหม่ เซ็นทรัล เชียงใหม่ แอร์พอร์ต กำลังปรับปรุง

ต่างประเทศ

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ ประเทศที่ตั้ง เปิดร่วมกับ
เซ็นทรัล อินโดนีเซีย พ.ศ. 2557 กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย แกรนด์ อินโดนีเซีย ชอปปิง ทาวน์

โรบินสัน

[แก้]

สาขาที่ปิดกิจการ

[แก้]

เซ็นทรัล

[แก้]
ชื่อสาขา วันที่เริ่มเปิดบริการ วันที่ปิดบริการ จังหวัดที่ตั้ง สถานะในปัจจุบัน
เยาวราช พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2507 กรุงเทพมหานคร ห้างขายทอง ฮั่วเซ่งเฮง สาขาสำเพ็ง ถนนเยาวราช
ราชประสงค์ พ.ศ. 2507 พ.ศ. 2516 ที่ตั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ของหมู่บ้านของศูนย์การค้าราชประสงค์ ต่อมาได้ถูกรื้อทิ้งและก่อสร้างเป็นศูนย์การค้าเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ซึ่งปัจจุบันคือศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์
วงศ์สว่าง เมษายน พ.ศ. 2533 พ.ศ. 2538 ย้ายสาขาเซ็นทรัลไปยังเซ็นทรัล ลาดพร้าว และปรับปรุงเป็นบิ๊กซี สาขาวงศ์สว่าง และมาร์เก็ตเพลส วงศ์สว่าง (เดิมชื่อ วงศ์สว่าง ทาวน์ เซ็นเตอร์)
ลาดหญ้า พ.ศ. 2524 พ.ศ. 2539 ปรับปรุงเป็นห้างสรรพสินค้าโรบินสัน สาขาลาดหญ้า และโครงสร้างปัจจุบันปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าแพลตฟอร์ม วงเวียนใหญ่
เซน แอท ซีคอนสแควร์ พ.ศ. 2536 ราว ๆ พ.ศ. 2543 ที่ตั้งเดิมปรับปรุงจากแผนกสินค้ากีฬา เครื่องเขียน เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านของห้างสรรพสินค้าโรบินสัน ซึ่งอยู่ชั้น 3 ของอาคาร ก่อนทำการยุบรวมแบรนด์เป็น ซูเปอร์สปอร์ต บีทูเอส และเพาเวอร์บายตามลำดับ เพื่อเพิ่มกลุ่มสินค้าเพื่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ และสินค้าสำหรับตกแต่งภายในบ้านโดยเฉพาะ ต่อมาได้ปรับปรุงกลับเป็นแผนกสินค้าภายในบ้านของห้างสรรพสินค้าโรบินสันแทน
หัวหมาก พ.ศ. 2531 พ.ศ. 2543 ปรับปรุงเป็นบิ๊กซี สาขาหัวหมาก และหัวหมาก ทาวน์ เซ็นเตอร์
วังบูรพา พ.ศ. 2499 พ.ศ. 2550 ปรับปรุงเป็นศูนย์การค้าไชน่าเวิลด์ บริหารงานโดย กลุ่มเซ็นทรัล
สีลม พ.ศ. 2511 พ.ศ. 2550 ย้ายสาขาเซ็นทรัลไปยังสีลมคอมเพล็กซ์ ส่วนสาขาเดิมปรับปรุงเป็นท็อปส์ สีลม และอาคารเซ็นทรัล สีลม ทาวเวอร์ ส่วนงานบริหารบริษัทภายในกลุ่มเซ็นทรัลหลังที่ 3
หาดใหญ่ (ตรงข้ามโรงแรม ลี การ์เด้นส์ พลาซ่า) พ.ศ. 2537 24 สิงหาคม พ.ศ. 2563 จังหวัดสงขลา ย้ายสาขาไปยัง เซ็นทรัล หาดใหญ่ (เซ็นทรัลเฟสติวัล หาดใหญ่ เดิม) และปรับปรุงเป็น โก โฮลเซลล์ หาดใหญ่
กาดสวนแก้ว เชียงใหม่ พ.ศ. 2535 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 จังหวัดเชียงใหม่ ย้ายสาขาไปยัง เซ็นทรัล เชียงใหม่ (เซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ เดิม) ส่วนสาขาเดิมเปิดให้บริการต่อภายใต้แบรนด์ เซ็นทรัล เอาท์เล็ต ตั้งแต่ 15 กันยายน พ.ศ. 2563[4] จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ก่อนปิดให้บริการพร้อมกับศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว

โรบินสัน

[แก้]

รางวัล

[แก้]
ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Zocial Awards 2023[5] Best Brand Performance by Meta สาขา Best Campaign Innovation แบรนด์ที่ทำแคมเปญยอดเยี่ยม ชนะ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Herehor2009 (May 28, 2014). "แฟนพันธุ์แท้ 2003 : ห้างสรรพสินค้า". แฟนพันธุ์แท้ 2003.
  2. "ประวัติและความเป็นมาห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล". newswit.com. 28 October 2005. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 12 August 2015.
  3. 3.0 3.1 "ปี 2567 นี้ถือเป็นปีแห่งความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีกครั้งของห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล". facebook.com. สืบค้นเมื่อ 22 January 2024.
  4. Nwdnattawadee, Nwdnattawadee. ""เซ็นทรัล" เปิดตัวโมเดลธุรกิจใหม่ "ห้างเซ็นทรัลเอาต์เล็ต" (CENTRAL OUTLET) ที่ศูนย์การค้ากาดสวนแก้ว เพื่อคนเชียงใหม่ ใจกลางเมือง พร้อมช้อปกับโปรโมชั่นสุดพิเศษ 15 ก.ย. 53 นี้ | CM108 เชียงใหม่108" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
  5. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]