ข้ามไปเนื้อหา

หญ้ามิสแคนทัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Miscanthus
หญ้ามิสแคนทัสซูซูกิ (Miscanthus sinensis)
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Liliopsida
อันดับ: Poales
วงศ์: Poaceae
วงศ์ย่อย: Panicoideae
สกุล: Miscanthus
Andersson[1]
Species

About 15. See text.

หญ้ามิสแคนทัส (ชื่อสกุลทางวิทยาศาสตร์ Miscanthus) เป็น สกุล (genus) ของหญ้าพืชหลายปี ประมาณ 15 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในถิ่นกึ่งโซนร้อนของแอฟริกาและเอเซียใต้ โดยมีหญ้ามิสแคนทัสชนิดไซเนนซิส หรือ "หญ้าซูซูกิ" (M. sinensis) ชนิดเดียวที่สามารถขึ้นเหนือขึ้นไปได้ในเขตอบอุ่นของเอเชียตะวันออก

ชนิดที่เลือก


การใช้งาน

[แก้]

หญ้ามิสแคนทัสช้าง (M. giganteus)

[แก้]

ดูบทความหลักที่ หญ้ามิสแคนทัสช้าง

เป็นหญ้าพันธุ์ผสมเป็นหมัน (sterile hybrid) ระหว่าง M. sinensis และ M. sacchariflorus หญ้ามิสแคนทัสช้าง (Miscanthus giganteus) หรือ "E-grass" ได้ถูกนำมาทดลองเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพในยุโรปมาตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษ 1980 (ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2525) หญ้าชนิดนี้สามารถขึ้นได้สูงกว่า 3.50 เมตร และมีน้ำหนักแห้งในฤดูเก็บเกี่ยวมากถึง 10 ตัน/เอเคอร์ หรือ 4 ตัน/ไร่ บางครั้งมีการเรียกหญ้าชนิดนี้ว่า "หญ้าช้าง" (Elephant Grass) ซึ่งไปสับสนกับหญ้าแอฟริกา (Pennisetum purpureum) ซึ่งเรียกว่า "หญ้าช้าง" เช่นกัน

ด้วยการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีส่วนประกอบแร่ธาตุที่น้อยและมีชีวมวลที่สูงของหญ้ามิสแคนทัสช้างนี้ทำให้มักกลายเป็นตัวเลือกที่นิยมมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ หลังการเก็บเกี่ยวแล้ว ยังสามารถนำส่วนที่เหลือมาใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับการทำความร้อนและต้มไอน้ำสำหรับเทอไบน์ผลิตไฟฟ้าได้ด้วย ผลการปลดปล่อย CO2 มีค่าเท่ากับปริมาณของ CO2 ที่ต้นหญ้าดูดจากบรรยากาศมาใช้ในช่วงการเจริญเติบโต ดังนั้นจึงนับได้ว่าหญ้ามิสแคนทัสข้างเป็นกลางในกระบวนการแก๊สเรือนกระจกโดยไม่นับการปลดปล่อย CO2 จากเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่อาจเกิดขึ้นในช่วงการปลูก การให้ปุ๋ยหรือการเก็บเกี่ยว รวมทั้งการขนส่งถึงจุดการใช้งาน เมื่อนำมาผสมกับถ่านหินในอัตรา 50%-50% ก็สามารถใช้ได้ในโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีอยู่เดิมได้เลยโดยไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม

หญ้ามิสแคนทัสซูซูกิ (M. sinensis)

[แก้]

หญ้ามิสแคนทัสซูซูกิเป็นพืชทางการค้าสำหรับปลูกเป็นไม้ประดับ มีชื่อเรียกในประเทศญี่ป่นว่า "หญ้าซูซูกิ" (すすき) ซึ่งนิยมปลูกเป็นต้นไม้สัญลักษณ์ในช่วงปลายฤดูร้อน ได้มีการกล่าวถึงไว้ในกวีนิพนธ์เก่าแก่ของญี่ปุ่น (เล่มที่ 8 พ.ศ. 2018) ว่าเป็นพืช 1 ใน 7 ของสมุนไพรฤดูใบไม้ร่วง (akinonanankusa) รวมทั้งการใช้เป็นเดือนที่ 8 ในไพ่ฮานาฟูดะ (hanafuda) ซึ่งเป็นไพ่โบราณของญี่ปุ่น นอกจากนี้หญ้าซูซูกิยังมีคุณสมบัติในการใช้ทำเยื่อสำหรับทำกระดาษได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Miscanthus information from NPGS/GRIN". www.ars-grin.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-23. สืบค้นเมื่อ 2008-04-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]