สิงห์ศึก สิงห์ไพร
หน้าตา
สิงห์ศึก สิงห์ไพร | |
---|---|
รองประธานวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 43 วัน) ดำรงตำแหน่งร่วมกับ ศุภชัย สมเจริญ | |
ก่อนหน้า | สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย |
ถัดไป | พลเอก เกรียงไกร ศรีรักษ์ |
สมาชิกวุฒิสภา | |
ดำรงตำแหน่ง 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 – 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2567 (5 ปี 60 วัน) | |
สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ | |
ดำรงตำแหน่ง 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 – 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 (4 ปี 294 วัน) | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (ตท.12) โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่น 23 (จปร.23) |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | ไทย |
สังกัด | กองทัพบกไทย |
ประจำการ | พ.ศ. 2519 - พ.ศ. 2555 |
ยศ | พลเอก |
พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร (เกิด 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495) อดีตรองประธานวุฒิสภา คนที่หนึ่ง[1] และอดีตสมาชิกวุฒิสภา อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ[2] อดีตที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก[3] อดีตเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก[4] อดีตผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน[5] ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญยกร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา[6]
ประวัติ
[แก้]พลเอก สิงห์ศึก สิงห์ไพร เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2495 ที่ตำบลจันจว้า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย เป็นบุตรของจ่าสิบเอก ประจัญ และนางบุปผา สิงห์ไพร เป็นนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 12 นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 รุ่นเดียวกับ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สมรส กับ นางศรีสุดา สิงห์ไพร มีบุตร ชื่อ พันตรี ดร. บดินทร์ สิงห์ไพร เป็นอาจารย์โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
การศึกษา
[แก้]- โรงเรียนเชียงรายวิทยาคม
- วิทยาศาสตรบัณฑิต โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
- บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง[1]
การรับราชการ
[แก้]- พ.ศ. 2548 - ผู้บัญชาการศูนย์การกำลังสำรอง
- พ.ศ. 2549 - รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง
- พ.ศ. 2551 - ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการกำลังสำรอง
- พ.ศ. 2552 - ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- พ.ศ. 2552 - เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
- พ.ศ. 2554 - ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[7]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[8]
- พ.ศ. 2521 – เหรียญพิทักษ์เสรีชน ชั้นที่ 2 ประเภทที่ 2 (ส.ช.)[9]
- พ.ศ. 2523 – เหรียญราชการชายแดน (ช.ด.)[10]
- พ.ศ. 2533 – เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ รองประธานวุฒิสภาไทย คนที่ 1
- ↑ สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- ↑ ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก
- ↑ เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก
- ↑ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรักษาดินแดน
- ↑ "พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร"ได้รับเลือกนั่ง ปธ.กมธ.ยกร่างข้อบังคับการประชุมรัฐสภา
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๕, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๓, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน,, เล่ม ๙๖ ตอนที่ ๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๐๕, ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญราชการชายแดน, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๑๒๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๕๗, ๗ สิงหาคม ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๑๐๘ ตอนที่ ๑๑๐ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๘, ๒๒ มิถุนายน ๒๕๓๔