สามเหลี่ยมฤดูร้อน
สามเหลี่ยมฤดูร้อน เป็นแนวเส้นสมมุติบนท้องฟ้าซีกโลกเหนือที่ดูคล้ายรูปสามเหลี่ยม เชื่อมต่อระหว่างดาวสามดวงคือ ดาวดวงตานกอินทรี ดาวเดเน็บ และดาวเวกา ซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวนกอินทรี กลุ่มดาวหงส์ และกลุ่มดาวพิณ ตามลำดับ
ประวัติ
[แก้]คำนี้เป็นที่นิยมขึ้นมาโดยเอช. เอ. เรย์ นักเขียนชาวอเมริกัน และแพทริก มัวร์ นักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษในคริสต์ทศวรรษ 1950[1] ชื่อนี้สามารถพบได้ในคู่มือเกี่ยวกับกลุ่มดาวเก่าสุดถึง ค.ศ. 1913[2] ออวัลด์ ทอมัส นักดาราศาสตร์ออสเตรีย เรียกดาวสามดวงนี้ว่า Grosses Dreieck ( สามเหลี่ยมใหญ่) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 และ Sommerliches Dreieck (สามเหลี่ยมฤดูร้อน) ใน ค.ศ. 1934 ก่อนหน้านั้นในปี ค.ศ. 1816 โบเดได้รวบรวมดาวเหล่านี้เอาไว้ในแผนที่ดาวของเขาโดยไม่ได้ระบุชื่อ
ตลอดช่วงเดือนในฤดูร้อนในซีกโลกเหนือ ดาวสามดวงนี้จะอยู่บริเวณเหนือศีรษะพอดีในเวลาใกล้เที่ยงคืน ส่วนในฤดูใบไม้ผลิจะสามารถเห็นได้บ้างในเวลาเช้าตรู่ ในฤดูใบไม้ร่วงจะทันเห็นในตอนเย็นจนกระทั่งถึงเดือนพฤศจิกายน ส่วนทางด้านซีกโลกใต้จะมองเห็นอยู่ค่อนข้างต่ำใกล้ขอบฟ้าทางเหนือในช่วงฤดูหนาว และมักเรียกว่า "สามเหลี่ยมทางเหนือ"
ดาวฤกษ์ในสามเหลี่ยมฤดูร้อน
[แก้]ชื่อ | กลุ่มดาว | โชติมาตรปรากฏ | ความส่องสว่าง (เท่าของดวงอาทิตย์) |
ประเภทสเปกตรัม | ระยะห่าง (ปีแสง) |
รัศมี (R☉) |
---|---|---|---|---|---|---|
ดาวเวกา | กลุ่มดาวพิณ | 0.03 | 52 | A0 V | 25 | 2.36 ถึง 2.82 |
ดาวเดเน็บ | กลุ่มดาวหงส์ | 1.25 | 200,000 | A2 Ia | 3550 | 203 ± 17 |
ดาวอัลแทร์ หรือ ดวงตานกอินทรี | กลุ่มดาวนกอินทรี | 0.77 | 10 | A7 V | 16.6 | 1.63 ถึง 2.03 |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Patrick Moore (20 October 1983). Patrick Moore's History of astronomy. Macdonald. ISBN 978-0-356-08607-1.
- ↑ Alice Mary Matlock Griffiths (1913), The Stars and Their Stories: A Book for Young People.