สปิเนล
หน้าตา
สปิเนล | |
---|---|
สปิเนลขนาด 4.13 และ 1.83 กะรัต | |
การจำแนก | |
ประเภท | แร่ อัญมณี |
สูตรเคมี | MgAl2O4 |
คุณสมบัติ | |
สี | แดง, น้ำเงิน, เขียวเข้ม, น้ำตาล, ม่วง และดำ |
รูปแบบผลึก | ออกตระฮีดรอน (หน้าผลึกแปดด้าน) |
โครงสร้างผลึก | ระบบสามแกนราบ เฮกซะโกนาล[1] |
ค่าความแข็ง | 7.5–8.0 |
ความวาว | วาวแบบแก้ว |
ดรรชนีหักเห | 1.719 |
สีผงละเอียด | ขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 3.6–4.1 |
จุดหลอมเหลว | 2030 - 2050 °C |
สภาพละลายได้ | ไม่สามารถ |
คุณสมบัติอื่น | [2][3] |
สปิเนล (Spinel) /ˈspɪnɛl/ เป็นแร่รัตนชาติ ที่ประกอบด้วยโมเลกุลของแม็กเนเซียมและอะลูมิเนียม มีสูตรเคมีว่า MgAl2O4[2] โดยเฉพาะสีแดง จะลักษณะคล้ายทับทิมมาก จนเรียก "ทับทิมสปิเนล" (ruby spinel) ส่วน บาลัส รูบี้ หรือ ทับทิมบาลัส เป็นชื่อเดิมของสปิเนลที่มีสีกุหลาบ สปิเนลมีรูปผลึกชัดแบบออกตระฮีดรอน ระดับความแข็งถึง 8 มีความวาวแบบแก้ว สปิเนลแตกต่างจากแร่แมกเนไทท์ ตรงที่ ไม่มีสมบัติเป็นแม่เหล็ก และมีสีผงละเอียดสีขาว ไม่หลอมละลาย และไม่ละลายในกรด
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "กรมทรัพยากรธรณี". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-31. สืบค้นเมื่อ 2013-06-21.
- ↑ 2.0 2.1 Spinel at Mindat
- ↑ Spinel at webminerals
บรรณานุกรม
[แก้]- Deer, Howie and Zussman (1966). An Introduction to the Rock-Forming Minerals, Longman, pp. 424–433, ISBN 0-582-44210-9.
- Shumann, Walter (2006). Gemstones of the World 3rd edition, Sterling, pp. 116–117.
วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ สปิเนล