ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์
ศาสนาพุทธในประเทศฟิลิปปินส์ เป็นศาสนากลุ่มเล็ก ๆ ในประเทศฟิลิปปินส์ ในอดีตเป็นศาสนาที่ส่งอิทธิพลต่อวัฒนธรรมในดินแดนของประเทศฟิลิปปินส์มาช้านาน ก่อนการมาถึงของศาสนาอิสลาม[1] โดยส่งอิทธิพลด้านคำยืมของภาษาต่าง ๆ[2][3] รวมทั้งการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนา[4][5] ซึ่งโดยมากเป็นแบบวัชรยาน[6][7]
ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่เป็นชาวฟิลิปปินส์เชื้อสายญี่ปุ่นและเชื้อสายจีน[8][9][10][11] จากการสำรวจสำมะโนครัวประชากรเมื่อ พ.ศ. 2553 พบว่ามีพุทธศาสนิกชน 46,558 คน[12][13][14] ส่วนหนึ่งก็เพราะบุคคลเชื้อสายจีนส่วนใหญ่ร้อยละ 83 เข้ารีตศาสนาคริสต์เช่นคนส่วนใหญ่ในฟิลิปปินส์[15]
ประวัติ
[แก้]ประเทศฟิลิปปินส์มีการรับศาสนาพุทธเมื่อไรไม่เป็นที่ปรากฏ แต่คาดว่าคงรับอิทธิพลจากอาณาจักรศรีวิชัยบนเกาะสุมาตราและอาณาจักรมัชปาหิตบนเกาะชวา ต่อมาทั้งสองรัฐนั้นได้เปลี่ยนนิกายจากเถรวาทเป็นวัชรยานเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7[16] จากการขุดค้นทางโบราณคดี พบประติมากรรมรูปครุฑ รูปภาพของพระปัทมปาณีหรือพระอวโลกิเตศวร[17] รวมทั้งพบภาพที่เชื่อว่าเป็นพระมัญชุศรีในถ้ำตาบนบนเกาะปาลาวัน[18]
เจ้า หรู่โก้ว (趙汝适) ผู้ควบคุมการพาณิชยนาวีในมณฑลฝูเจี้ยน ได้เขียนหนังสือ "รายชื่อเผ่าอนารยชนต่าง ๆ" (諸番志) ได้บันทึกถึงดินแดนแห่งหนึ่งชื่อหมาอี่ (麻逸) ปัจจุบันคือเกาะมินโดโร ซึ่งเป็นรัฐอิสระก่อนตกเป็นเมืองขึ้นของสเปน โดยมีเนื้อหาว่า "รัฐหมาอี่ อยู่ทางตอนเหนือของเกาะบอร์เนียว มีชนพื้นเมืองอาศัยอยู่ในหมู่บ้านขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่สองฝั่งปากแม่น้ำและปกปิดร่างกายด้วยผ้าเฉพาะบริเวณสะโพก มีพุทธปฏิมาโลหะไม่ทราบที่มากระจัดกระจายอยู่ในป่ารกชัฏ"[19]
ส่วนงานเขียนของโฮเซ รีซัล (Jose Rizal) และเฟอร์ดินานด์ บลูเมนทริตต์ (Ferdinand Blumentritt) ต่างออกมายอมรับแนวคิดที่ว่า "มีความเชื่อมโยงกับศาสนาพุทธ" เช่นบลูเมนทริตต์เสนอว่าหมาอี่คงอยู่ที่ไหนสักแห่งบนเกาะลูซอน และรีซัลอ้างอิงถึง "พระพุทธรูป" ที่เจ้า หรู่โก้วระบุในเอกสาร โดยรีซัลเขียนไว้ว่า "ความอ่อนโยนและใจกว้างของธรรมเนียมตากาล็อกที่ชาวสเปนคนแรกพบนั้น ผิดไปจากคนเผ่าเดียวกันที่อยู่ต่างถิ่นออกไปทั้ง ๆ ที่อยู่บนเกาะลูซอนเหมือนกัน คงเป็นผลจากการนับถือศาสนาพุทธ (เพราะพบพระพุทธรูปทำจากทองแดง)"[20]
ประเทศฟิลิปปินส์ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนศาสนาพุทธอยู่หลายแห่ง มีศาสนสถานทั้งของนิกายมหายาน วัชรยาน และเถรวาท มีองค์กรเผยแผ่ศาสนา และศูนย์วิปัสสนาต่าง ๆ เป็นต้นว่าของกลุ่มสุขาวดี และสมาคมสร้างคุณค่า[21] ทั้งยังมีการก่อตั้งสมาคมมหาโพธิของนิกายเซนเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2541[22]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Malcolm H. Churchill. "INDIAN PENETRATION OF PRE·SPANISH PHILIPPINES : A NEW LOOK AT THE EVIDENCE" (PDF). Asj.upd.edu.ph. สืบค้นเมื่อ 8 January 2019.
- ↑ Virgilio S. Almario, UP Diksunaryong Filipino
- ↑ Khatnani, Sunita (11 ตุลาคม 2009). "The Indian in the Filipino". Philippine Daily Inquirer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 มิถุนายน 2015. สืบค้นเมื่อ 12 สิงหาคม 2015.
- ↑ Jesus Peralta, "Prehistoric Gold Ornaments CB Philippines," Arts of Asia, 1981, 4:54-60
- ↑ Art Exhibit: Philippines' 'Gold of Ancestors' in Newsweek.
- ↑ Laszlo Legeza, "Tantric Elements in Pre-Hispanic Gold Art," Arts of Asia, 1988, 4:129-133.
- ↑ Camperspoint: History of Palawan เก็บถาวร 15 มกราคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed 27 August 2008.
- ↑ "Buddhism in Philippines, Guide to Philippines Buddhism, Introduction to Philippines Buddhism, Philippines Buddhism Travel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20.
- ↑ "The World Factbook — Central Intelligence Agency". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-07-19. สืบค้นเมื่อ 2012-01-19.
- ↑ Pew Research Center's Religion & Public Life Project: Philippines เก็บถาวร 2014-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Pew Research Center. 2010.
- ↑ "Philippines – Pew-Templeton Global Religious Futures Project". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2014-06-18.
- ↑ https://psa.gov.ph/sites/default/files/2015%20PSY%20PDF.pdf
- ↑ "Buddhism in Philippines, Guide to Philippines Buddhism, Introduction to Philippines Buddhism, Philippines Buddhism Travel". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-08-20.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-07-08. สืบค้นเมื่อ 2019-09-21.
- ↑ Teresita Ang-See, "Chinese in the Philippines", 1997, Kaisa, p. 57.
- ↑ filipinobuddhism (8 November 2014). "Early Buddhism in the Philippines".
- ↑ https://philippinebuddhism.wordpress.com/2014/11/09/early-buddhism-in-the-philippines/
- ↑ Camperspoint: History of Palawan เก็บถาวร 15 มกราคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Accessed August 27, 2008.
- ↑ Scott, William Henry (1994). Barangay: Sixteenth-century Philippine Culture and Society. UP Hawai'i. p. 68.
- ↑ Rizal, Jose (2000). Political and Historical Writings (Vol. 7). Manila: National Historical Institute.
- ↑ "Directory of Buddhist Organizations and Temples in the Philippines". Sangha Pinoy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2008. สืบค้นเมื่อ 13 May 2008.
- ↑ The Dharma Wheel, 1:1, 1998 Philippines Centennial Issue
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ ศาสนาพุทธในฟิลิปปินส์
- Chinese Temple in Manila
- Chinese Buddhist temples of the Philippines[ลิงก์เสีย]
- Buddhism in Philippines เก็บถาวร 2007-08-20 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน