ข้ามไปเนื้อหา

วิทยา แก้วภราดัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยา แก้วภราดัย
วิทยา ใน พ.ศ. 2552
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
ดำรงตำแหน่ง
20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
นายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ก่อนหน้าเฉลิม อยู่บำรุง
ถัดไปจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
แบบบัญชีรายชื่อ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
14 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
(1 ปี 180 วัน)
รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 สิงหาคม พ.ศ. 2565
(2 ปี 99 วัน)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด5 มกราคม พ.ศ. 2498 (69 ปี)
อำเภอปากพนัง
จังหวัดนครศรีธรรมราช
พรรคการเมืองก้าวหน้า (2531–2532)
เอกภาพ (2532–2535)
พลังธรรม (2535–2538)
ประชาธิปัตย์ (2538–2565)
รวมไทยสร้างชาติ (2565–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจิระประไพ แก้วภราดัย

วิทยา แก้วภราดัย (เกิด 5 มกราคม พ.ศ. 2498) กรรมการใน คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรไทย (รัฐบาล แพทองธาร ชินวัตร) กรรมการในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช หลายสมัย อดีตประธานวิปรัฐบาล อดีตสมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ

ประวัติ

[แก้]

วิทยา เกิดวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ชื่อเล่น น้อย

สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขานิติศาสตร์บัณฑิต จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะเรียนปี 4 วิทยาเป็นหนึ่งในนิสิตที่เข้าร่วมการชุมนุมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับบาดเจ็บถูกยิงที่ขาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลนาน 2 เดือน และต้องพักฟื้นที่บ้านอีก 7-8 เดือนจึงสามารถเดินได้เป็นปกติ และกลับเข้าเรียนต่อจนสำเร็จการศึกษาในที่สุด

การทำงาน

[แก้]

วิทยา ประกอบอาชีพเป็นทนายความก่อนเข้าสู่วงการเมือง และเมื่อเข้าสู่วงการเมืองแล้วยังเป็นหนึ่งในทีมกฎหมายของพรรคประชาธิปัตย์ ได้รบเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี 2531, 2535/2, 2538, 2539, 2544, 2548, 2550, 2554

วิทยา ได้รับแต่งตั้งเป็นรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปี พ.ศ. 2537-2538[1] เป็นประธานคณะกรรมาธิการการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน ปี พ.ศ. 2538-2539

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2550 นายวิทยาเป็นหนึ่งในผู้รับผิดชอบงาน "สมัชชาประชาธิปัตย์คืนอีสาน" การจัดงานหาเสียงครั้งใหญ่ในพื้นที่อีสานของพรรคประชาธิป้ตย์

ภายหลังการเลือกตั้ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 และมีการจัดตั้งรัฐบาลสมัคร สุนทรเวช พรรคประชาธิปัตย์ที่เป็นฝ่ายค้านพรรคเดียวได้ประกาศจัดตั้ง รัฐบาลเงา หรือ ครม.เงา ขึ้น ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 และ วิทยา แก้วภราดัย ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรค ให้ทำหน้าที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเงา

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดการประชุมใหญ่วิสามัญประจำปี เพื่อเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ตามข้อบังคับพรรค และ วิทยา แก้วภราดัย ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ รับผิดชอบดูแลพื้นที่ภาคใต้[2]

ในการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 วิทยา แก้วภราดัย ได้รับตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข [3] ซึ่งต่อมาได้ลาออกจากตำแหน่งเพื่อแสดงความรับผิดชอบกรณีการทุจริตในโครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข [4] ไปรับตำแหน่งประธานวิปรัฐบาล

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2554 วิทยาได้ตัดสินใจจะลงสมัคร ส.ส. ระบบแบ่งเขตในพื้นที่เขต 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช และส่งปานระพี บุตรสาวคนที่สอง ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 121[5]

เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[6] กระทั่งวันศุกร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2565 วิทยาได้ให้สัมภาษณ์ว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ผ่านทางเจ้าหน้าที่ของพรรค[7] และต่อมาได้เข้าร่วมงานกับพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.)[8] ทั้งนี้ในปีถัดมา เขาได้ลงสมัคร ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อสังกัด รทสช. ลำดับที่ 7[9] และสนับสนุนให้พูน แก้วภราดัย บุตรชายลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. จังหวัดนครศรีธรรมราช เขตเลือกตั้งที่ 1 ในสังกัดพรรคเดียวกันด้วย[10]

วิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557

[แก้]

ในวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 วิทยาเป็นหนึ่งใน 9 ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ที่ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคและกรรมการบริหารพรรค และเข้าเป็นหนึ่งในแกนนำกปปส. (คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข) โดยมีบทบาทเป็นแกนนำผู้ชุมนุมเมื่อเข้ายึดกระทรวงการคลัง[11] และเป็นแกนนำของเวทีชุมนุมที่แยกศาลาแดงและสวนลุมพินี [12]

ซึ่งในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 จากการชุมนุมในครั้งนั้น ศาลอาญาอนุมัติหมายจับแกนนำ กปปส. รวม 43 คน ผู้ต้องหาคดีกบฏ และความผิดอื่น รวม 8 ข้อหา เพื่อติดตามตัวมาดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย โดยวิทยาเป็นผู้ต้องหาหมายเลขที่ 6[13] [14]

หลังเหตุการณ์นี้ วิทยาได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุเข้าจำพรรษาที่วัดธารน้ำไหล จังหวัดสุราษฎร์ธานี ร่วมกับแกนนำและแนวร่วมคนอื่น ๆ ด้วย [15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 120/2537 เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (นายวิทยา แก้วภราดัย รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี)
  2. "เว็บไซต์ ครม.เงา พรรคประชาธิปัตย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-25. สืบค้นเมื่อ 2021-08-29.
  3. พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
  4. ""วิทยา" ไขก๊อกรับผิดชอบส่อโกง สธ.แล้ว". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-11-01. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
  5. ผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ เก็บถาวร 2011-06-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนสืบค้นวันที่ 9 มิถุนายน 2554
  6. พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. ช็อก!รุ่นใหญ่ลา'ปชป.' 'วิทยา แก้วภราดัย'ไขก๊อก-ทิ้งคำเตือนแรง
  8. มหกรรมการลาออกครั้งใหญ่ ส.ส.รุ่นใหญ่ รุ่นใหม่ ใครย้ายไปพรรคไหนบ้าง
  9. "เลือกตั้ง 2566 : เปิดลำดับบัญชีรายชื่อ 100 คน "พรรครวมไทยสร้างชาติ"". pptvhd36.com.
  10. เอ๋ (2023-03-03). "'ธนกร' นำทัพ รทสช. หาเสียงเมืองคอน เปิดตัวผู้สมัคร 9 เขต".
  11. "แกนนำ 'กปปส.' หารือ แนวทางเคลื่อนม็อบ บ่ายนี้ ลั่น ปักหลัก 'คลัง'". ไทยรัฐ. 6 ธันวาคม 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "วิทยาเผยย้ายเวทีไปศาลาแดงเพื่อความปลอดภัย". ไอเอ็นเอ็นนิวส์. 24 มกราคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "ศาลอาญาอนุมัติหมายจับ 30 แกนนำ กปปส. ที่เหลือยกคำร้อง". Thairath.co.th. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-05-17. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "ศาลอนุมัติออกหมายจับแกนนำ กปปส. 30 ราย-ยกคำร้อง 13". Posttoday.com. 14 พฤษภาคม 2557. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-15. สืบค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2557. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "'อดีต ส.ส.ปชป.-แกนนำ กปปส.' แห่ลาบวช วัดสวนโมกข์". ไทยรัฐ. 28 พฤศจิกายน 2557. สืบค้นเมื่อ 16 เมษายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๒๐ ตอนที่ ๑๙ ข หน้า ๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๖
  17. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๑๑, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๔๘ ข หน้า ๕, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า วิทยา แก้วภราดัย ถัดไป
ร้อยตำรวจเอก เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ครม. 59)
(20 ธันวาคม พ.ศ. 2551 – 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552)
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์