ข้ามไปเนื้อหา

วัวทรงกลม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัวทรงกลมกระโดดข้ามดวงจันทร์

วัวทรงกลม (อังกฤษ: spherical cow) เป็นการอุปลักษณ์ที่น่าขบขันของแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ซึ่งทำให้ปรากฏการณ์ในโลกแห่งความจริงมีความซับซ้อนน้อยลงมาก[1][2] โดยสื่อถึงนักฟิสิกส์ทฤษฎีซึ่งชอบที่จะทำให้ปัญหาอยู่ในรูปแบบที่ง่ายที่สุดเพื่อทำให้การคำนวณเป็นไปได้ แม้การลดความซับซ้อนนั้นอาจทำให้ต้นแบบสูญเสียความสามารถในการนำไปใช้ในสถานการณ์จริง ความคิดนี้เป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายพอที่จะถูกกล่าวถึงในวจนิพนธ์ทางวิทยาศาสตร์โดยปราศจากคำบรรยายเพิ่มเติม[3]

รายละเอียด

[แก้]
วัวในสมานสัณฐานทรงกลม เชื่อมโยงกับมุขตลกทางคณิตศาสตร์ที่ว่าโทโพโลยีไม่สามารถบอกความแตกต่างระหว่างโดนัทและแก้วกาแฟได้[4]


วลีนี้มาจากมุขตลกที่ล้อเลียนฐานคติแบบง่าย ๆ ซึ่งนักเรียนฟิสิกส์ถูกสอนให้ใช้เวลาเจอกับโจทย์ต่าง ๆ เช่น

ถาม: รู้ไหมนักฟิสิกส์รีดนมวัวอย่างไร ตอบ: ขั้นแรกต้องสมมติว่าวัวนั้นมีทรงกลม...


หรือในรูปแบบที่ละเอียดกว่า[5]

ฟาร์มนมวัวแห่งหนึ่งมีผลผลิตต่ำ เจ้าของฟาร์มจึงเขียนจดหมายไปที่มหาวิทยาลัยประจำท้องถิ่นเพื่อขอความช่วยเหลือจากนักวิชาการ อาจารย์หลากหลายสาขาวิชาถูกนำมารวมกันเพื่อสร้างทีมงาน นำโดยนักฟิสิกส์ทฤษฎี และได้มีการเข้าดูพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 อาทิตย์ จากนั้นนักวิชาการได้กลับไปที่มหาวิทยาลัยพร้อมสมุดที่เต็มไปด้วยข้อมูล โดยหน้าที่ในการเขียนรายงานได้ตกสู่หัวหน้าทีม ไม่นานจากนั้น นักฟิสิกส์ได้กลับไปที่ฟาร์มและบอกกับเจ้าของฟาร์มว่า "ฉันมีวิธีแก้ปัญหาแล้ว ทว่าวิธีนี้จะใช้ได้หากวัวเป็นทรงกลมและอยู่ในสูญญากาศเท่านั้น"

มุขตลกนี้มีหลายรูปแบบ[6] รวมไปถึงม้าทรงกลมในสูญญากาศ จากมุขตลกเกี่ยวกับนักฟิสิกส์ซึ่งบอกว่าเขาสามารถทำนายม้าที่จะชนะการแข่งขันความเร็วหากม้าทุกตัวที่แข่งนั้นมีความยืดหยุ่น มีทรงกลม และวิ่งอยู่ในสูญญากาศ[7][8]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]

บางทีมุขตลกนี้ก็ถูกใช้นอกสังคมนักฟิสิกส์ ในตอนหนึ่งของซิตคอมที่ชื่อว่า เดอะบิกแบงเธียรี มุขนี้ถูกใช้โดยแปลงเป็น "ไก่ทรงกลมในสูญญากาศ"[9]

พิจารณาจากวัวทรงกลม เป็นชื่อของหนังสือในปีพ.ศ. 2531 เกี่ยวกับการการแก้ปัญหาโดยใช้ต้นแบบที่ทำให้ง่ายมาก[10] และ "วัวทรงกลม" ยังถูกเลือกให้เป็นชื่อแฝงสำหรับการแจกจ่ายลินุกซ์ที่ชื่อ เฟอดอรารุ่น 18 อีกด้วย[11]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Shelton, Robin; Cliffe, J. Allie.
  2. ""The Sacred Spherical Cows of Physics"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-06-11. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.
  3. Doyle, John (10 May 2001). "Computational biology: Beyond the spherical cow". Nature. 411 (6834): 151–152. doi:10.1038/35075703. PMID 11346778. สืบค้นเมื่อ 22 February 2014.
  4. Hubbard, John H.; West, Beverly H. (1995). Differential Equations: A Dynamical Systems Approach. Part II: Higher-Dimensional Systems. Texts in Applied Mathematics. Vol. 18. Springer. p. 204. ISBN 978-0-387-94377-0.
  5. Washington Post: "The Coase Theorem"
  6. Kirkman, T. W. (1996). "Spherical Cow: A Simple Model". Statistics to Use. สืบค้นเมื่อ 2007-02-19.
  7. Hefley, Bill; Hefley, William E.; Murphy, Wendy (1 February 2008). Service science, management and engineering: education for the 21st century. Springer. p. 80. ISBN 978-0-387-76577-8. สืบค้นเมื่อ 28 September 2011.
  8. Birattari, Mauro (15 April 2009). Tuning Metaheuristics: A Machine Learning Perspective. Springer. pp. 183–184. ISBN 978-3-642-00482-7. สืบค้นเมื่อ 1 September 2012.
  9. Huva, Amy. "When Nerds go Viral". Vancouver Observer. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-15. สืบค้นเมื่อ 6 May 2014.
  10. ""Consider a Spherical Cow" University Science Books". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-03. สืบค้นเมื่อ 2016-03-10.
  11. "Fedora 18 Is Codenamed The Spherical Cow". phoronix.com. 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-05-11.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]