ลาลิกา
ก่อตั้ง | 1929 |
---|---|
ประเทศ | สเปน |
สมาพันธ์ | ยูฟ่า |
จำนวนทีม | 20 |
ระดับในพีระมิด | 1 |
ตกชั้นสู่ | เซกุนดาดิบิซิออน |
ถ้วยระดับประเทศ | โกปาเดลเรย์ ซูเปร์โกปาเดเอสปัญญา |
ถ้วยระดับลีก | โกปาเดลาลิกา |
ถ้วยระดับนานาชาติ | ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ยูฟ่ายูโรปาลีก ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก |
ทีมชนะเลิศปัจจุบัน | เรอัลมาดริด (36 สมัย) (2023–24) |
ชนะเลิศมากที่สุด | เรอัลมาดริด (36 สมัย) |
ผู้ลงเล่นมากที่สุด | อันโดนิ ซูบิซาร์เรตา (622 นัด) |
ผู้ทำประตูสูงสุด | ลิโอเนล เมสซิ (474 ประตู) |
หุ้นส่วนโทรทัศน์ | รายชื่อผู้แพร่ภาพออกอากาศ
บีอินสปอตส์, เอไอเอสเพลย์, ทรูวิชั่นส์ |
เว็บไซต์ | laliga.es |
ปัจจุบัน: ลาลิกา ฤดูกาล 2023–24 |
กัมเปโอนาโตนาซิโอนัลเดลิกาเดปริเมราดิบิซิออน (สเปน: Campeonato Nacional de Liga de Primera División) หรือที่เรียกกันนอกประเทศสเปนว่า ลาลิกา (LaLiga) และที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ลาลิกาอีเอสปอร์ตส์ (LaLiga EA SPORTS) ตามชื่อผู้สนับสนุน[1] เป็นการแข่งขันฟุตบอลชายประเภทลีกระดับสูงที่สุดในระบบลีกฟุตบอลสเปน[2] บริหารงานโดยสันนิบาตฟุตบอลอาชีพแห่งชาติ โดยมีทีมแข่งขัน 20 ทีม และจะมีการตกชั้น 3 ทีมหลังจบฤดูกาล และจะถูกแทนที่ด้วยทีมสองอันดับแรกในเซกุนดาดิบิซิออน และทีมชนะรอบเพลย์ออฟเลื่อนชั้น
ลาลิกามีทีมเข้าร่วมแข่งขัน 62 ทีมนับตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง ซึ่งมี 9 ทีมที่ชนะเลิศการแข่งขัน โดยเรอัลมาดริดชนะเลิศมากที่สุดที่ 36 สมัย ตามด้วยบาร์เซโลนา 27 สมัย ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1940 บาเลนเซีย อัตเลติโกมาดริด และบาร์เซโลนาได้กลายเป็นสโมสรที่แข็งแกร่งที่สุดและชนะเลิศหลายครั้ง ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1950 เรอัลมาดริดและบาร์เซโลนาต่างคว้าแชมป์กันทีมละสี่สมัย ในระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และคริสต์ทศวรรษ 1970 เรอัลมาดริดชนะเลิศถึง 14 ครั้ง ขณะที่อัตเลติโกเดมาดริดชนะเลิศ 4 ครั้ง[3] ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1980 และคริสต์ทศวรรษ 1990 เรอัลมาดริดยังคงรักษาการคว้าแชมป์ 11 ครั้งในช่วง 20 ฤดูกาลนี้ แต่สโมสรจากแคว้นประเทศบาสก์ทั้งอัตเลติกและโซซิเอดัดก็ต่างได้แชมป์กันไปทีมละสองสมัย หลังจากคริสต์ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน บาร์เซโลนาได้ครองแชมป์ลาลิกาถึง 16 สมัย[4] ขณะที่เรอัลมาดริดกลับครองแชมป์ได้น้อยกว่าเพียง 9 สมัย ขณะที่อัตเลติโกมาดริดครองแชมป์สามครั้ง บาเลนเซียสองครั้ง และลาโกรุญญาอีกหนึ่งครั้งใน ค.ศ. 2000
ตามค่าสัมประสิทธิ์ของยูฟ่า ลาลิกามีอันดับที่ดีที่สุดถึงเจ็ดปีในระหว่าง ค.ศ. 2013 ถึง 2019 (คำนวณโดยใช้สถิติสะสมจากห้าฤดูกาลก่อนหน้า) สโมสรจากลาลิกาสามารถชนะเลิศยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก 20 สมัย ยูฟ่ายูโรปาลีก 13 สมัย ยูฟ่าซูเปอร์คัพ 15 สมัย และฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก 7 สมัย ซึ่งสูงมากกว่าทุกลีกในโลก นอกจากนี้ยังมีนักเตะที่ลงเล่นในลาลิกาได้รับรางวัลบาลงดอร์ 23 ครั้ง รางวัลผู้เล่นชายยอดเยี่ยมของฟีฟ่า รวมถึงรางวัลนักเตะยอดเยี่ยมแห่งปีของฟีฟ่า 19 สมัย และรางวัลผู้เล่นชายยอดเยี่ยมแห่งปีของยูฟ่า รวมถึงรางวัลผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีของสโมสรยูฟ่ารวมกัน 11 สมัย ซึ่งสูงมากกว่าทุกลีกในโลกเช่นกัน
ลาลิกาเป็นหนึ่งในลีกที่ได้นับความนิยมสูงที่สุดในโลก มีผู้เข้าชมในสนามโดยเฉลี่ย 26,933 คนในฤดูกาล 2018–19[5] และเป็นลีกกีฬาอาชีพในประเทศที่ได้รับความนิยมสูงเป็นอันดับแปดของโลก และเป็นลำดับที่สามในลีกฟุตบอลอาขีพทั่วโลก ตามหลังบุนเดิสลีกาและพรีเมียร์ลีก และได้รับการขนานนามว่าเป็นหนึ่งในลีก "บิกไฟว์" ของยุโรป เข่นเดียวกับเซเรียอาและลีกเอิง[6][7] ลาลิกาเป็นลีกที่มีรายได้สูงที่สุดเป็นลำดับที่หกของโลก เป็นรองจากเอ็นเอฟแอล, เอ็มแอลบี, เอ็นบีเอ, พรีเมียร์ลีก และเอ็นเอชแอล[8]
สโมสรที่เข้าร่วม (ฤดูกาล 2022–23)
[แก้]สโมสร | เมือง | สนาม | ความจุ (คน) |
---|---|---|---|
อัลเมริอา | อัลเมริอา | พาวเวอร์ฮอร์ส | 15,000[9] |
อัตเลติกเดบิลบาโอ | บิลบาโอ | ซานมาเมส | 53,289[10] |
อัตเลติโกเดมาดริด | มาดริด | ซิบิตัสเมโตรโปลิตาโน | 68,456[11] |
บาร์เซโลนา | บาร์เซโลนา | สปอติฟายกัมนอว์ | 99,354[12] |
กาดิซ | กาดิซ | นูเอโบมิรันดิยา | 20,724[13] |
เซลตาเดบิโก | บิโก | อาบังกา-บาลาอิโดส | 29,000[14] |
เอลเช | เอลเช | มานูเอล มาร์ติเนซ บาเลโร | 33,732[15] |
อัสปัญญ็อล | บาร์เซโลนา | สนามกีฬาแอร์ราเซเดเอ | 40,000[16] |
เฆตาเฟ | เฆตาเฟ | อัลฟอนโซ เปเรซ | 17,393[17] |
ฌิโรนา | ฌิโรนา | มุนติลิบี | 11,810[18] |
มายอร์กา | ปัลมา | บิซิตมายอร์กา | 24,262[19] |
โอซาซูนา | ปัมโปลนา | เอลซาดาร์ | 23,576[20] |
ราโยบาเยกาโน | มาดริด | บาเยกัส | 14,708[21] |
เบติส | เซบิยา | เบนิโต บิยามาริน | 60,721[22] |
เรอัลมาดริด | มาดริด | ซานเตียโก เบร์นาเบว | 81,044[23] |
เรอัลโซซิเอดัด | ซานเซบัสเตียน | เรอาเลอาเรนา | 39,500[24] |
เซบิยา | เซบิยา | รามอน ซันเชซ ปิซฆวน | 43,883[25] |
บาเลนเซีย | บาเลนเซีย | เม็สตัลยา | 55,000[26] |
บายาโดลิด | บายาโดลิด | โฆเซ ซอร์ริยา | 28,012[27] |
บิยาร์เรอัล | บิยาร์เรอัล | นครบาเลนเซีย | 26,354[28] |
ทำเนียบผู้ชนะเลิศ
[แก้]ผู้ชนะเลิศแบ่งตามปี
[แก้]ผู้ชนะเลิศแบ่งตามสโมสร
[แก้]สโมสร | สมัย | ปีที่ชนะเลิศ |
---|---|---|
เรอัลมาดริด | 1931–32, 1932–33, 1953–54, 1954–55, 1956–57, 1957–58, 1960–61, 1961–62, 1962–63, 1963–64, 1964–65, 1966–67, 1967–68, 1968–69, 1971–72, 1974–75, 1975–76, 1977–78, 1978–79, 1979–80, 1985–86, 1986–87, 1987–88, 1988–89, 1989–90, 1994–95, 1996–97, 2000–01, 2002–03, 2006–07, 2007–08, 2011–12, 2016–17, 2019–20, 2021–22, 2023–24 | |
บาร์เซโลนา | 1929, 1944–45, 1947–48, 1948–49, 1951–52, 1952–53, 1958–59, 1959–60, 1973–74, 1984–85, 1990–91, 1991–92, 1992–93, 1993–94, 1997–98, 1998–99, 2004–05, 2005–06, 2008–09, 2009–10, 2010–11, 2012–13, 2014–15, 2015–16, 2017–18, 2018–19, 2022–23 | |
อัตเลติโกเดมาดริด | 1939–40, 1940–41, 1949–50, 1950–51, 1965–66, 1969–70, 1972–73, 1976–77, 1995–96, 2013–14, 2020–21 | |
อัตเลติกเดบิลบาโอ | 1929–30, 1930–31, 1933–34, 1935–36, 1942–43, 1955–56, 1982–83, 1983–84 | |
บาเลนเซีย | 1941–42, 1943–44, 1946–47, 1970–71, 2001–02, 2003–04 | |
เรอัลโซซิเอดัด | 1980–81, 1981–82 | |
เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา | 1999–2000 | |
เซบิยา | 1945–46 | |
เรอัลเบติส | 1934–35 |
สถิติผู้ชนะเลิศ
[แก้]ผู้ชนะเลิศแบ่งตามแคว้น
[แก้]แคว้น | สมัย | ทีมชนะเลิศ |
---|---|---|
มาดริด | เรอัลมาดริด (36), อัตเลติโกเดมาดริด (11) | |
กาตาลุญญา | บาร์เซโลนา (27) | |
บาสก์ | อัตเลติกเดบิลบาโอ (8), เรอัลโซซิเอดัด (2) | |
บาเลนเซีย | บาเลนเซีย (6) | |
อันดาซูซิอา | เซบิยา (1), เรอัลเบติส (1) | |
กาลิเซีย | เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา (1) |
ผู้ชนะเลิศแบ่งตามเมือง
[แก้]เมือง | สมัย | ทีมชนะเลิศ |
---|---|---|
มาดริด | เรอัลมาดริด (36), อัตเลติโกเดมาดริด (11) | |
บาร์เซโลนา | บาร์เซโลนา (27) | |
บิลบาโอ | อัตเลติกเดบิลบาโอ (8) | |
บาเลนเซีย | บาเลนเซีย (6) | |
เซบิยา | เซบิยา (1), เรอัลเบติส (1) | |
ซานเซบัสเตียน | เรอัลโซซิเอดัด (2) | |
อาโกรุญญา | เดปอร์ติโบเดลาโกรุญญา (1) |
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "EA SPORTS FC will be the title sponsor of all LaLiga competitions". Liga Nacional de Fútbol Profesional. 8 August 2022.
- ↑ "Campeonato Nacional de Liga de Primera División" (ภาษาสเปน). RFEF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-16. สืบค้นเมื่อ 15 November 2018.
- ↑ Lara, Lorenzo; Harrison, Adapted by Simon (22 May 2017). "The Real Madrid domination of the 1960s and 70s". MARCA in English. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
- ↑ "8th Liga in 11 years". www.fcbarcelona.com. สืบค้นเมื่อ 20 October 2019.
- ↑ "Attendances in India, China and the USA catching up with the major European leagues". World Soccer. สืบค้นเมื่อ 25 May 2016.
- ↑ "European football statistics". 2008.
- ↑ "Europe's big five leagues warned about dominance". BBC. 10 September 2019.
- ↑ "Major sports leagues all make a lot of money, here's how they do it:, Major sports leagues all make a lot of money, here's how they do it:".
- ↑ "Estadio de los Juegos del Mediterráneo". UD Almería. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-29. สืบค้นเมื่อ 29 May 2022.
- ↑ "The Stadium". Athletic Bilbao. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-14. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "A spectacular stadium". Wanda Metropolitano. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ "Facilities - Camp Nou". FC Barcelona. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ "Estadio Nuevo Mirandilla" (ภาษาสเปน). Cádiz CF. สืบค้นเมื่อ 19 October 2019.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Facilities". Celta Vigo. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "Estadio Martínez Valero" (ภาษาสเปน). Elche CF. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 December 2015. สืบค้นเมื่อ 30 May 2016.
- ↑ "Facilities - RCDE Stadium". RCD Espanyol. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-18. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "Datos Generales" (ภาษาสเปน). Getafe CF. สืบค้นเมื่อ 16 May 2016.
- ↑ "ENTIDAD | Girona - Web Oficial". ENTIDAD | Girona - Web Oficial (ภาษาสเปน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-04. สืบค้นเมื่อ 2022-06-19.
- ↑ "Son Moix Iberostar Estadi (Son Moix)". StadiumDB. สืบค้นเมื่อ 13 July 2019.
- ↑ "Instalaciones - Estadio El Sadar" (ภาษาสเปน). CA Osasuna. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 July 2019. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "Estadio de Vallecas" (ภาษาสเปน). Rayo Vallecano. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-08. สืบค้นเมื่อ 20 July 2018.
- ↑ "Estadio Benito Villamarín" (ภาษาสเปน). Real Betis. สืบค้นเมื่อ 4 July 2018.
- ↑ "Santiago Bernabéu Stadium". Real Madrid CF. สืบค้นเมื่อ 7 March 2016.
- ↑ "Facilities - Anoeta". Real Sociedad. สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "Sevilla F.C." (ภาษาสเปน). Sevilla FC. สืบค้นเมื่อ 3 March 2021.
- ↑ "Facilities - Mestalla". สืบค้นเมื่อ 1 July 2019.
- ↑ "Un estadio sin foso y con 26.451 localidades". El Día de Valladolid. 14 September 2019.
- ↑ "Estadi Ciutat de Valencia". StadiumDB. 20 July 2018.