รังนก (อาหาร)
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้น ๆ โปรดเพิ่มพารามิเตอร์ reason หรือ talk ลงในแม่แบบนี้เพื่ออธิบายปัญหาของบทความ |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
รังนก ทำมาจากน้ำลายของนกนางแอ่นกินรัง (Aerodramus fuciphagus) ซึ่งเป็นคนละชนิดกับนกนางแอ่นบ้าน (Hirundo rustica) ในด้านเศรษฐกิจ รังนกนางแอ่นกินรังถือเป็นสินค้าที่ราคาแพงมากและหาได้ยาก
ในไทยนั้น มีนกนางแอ่นกินรังสามชนิดด้วยกัน คือ นกนางแอ่นกินรัง นกนางแอ่นกินรังตะโพกขาว และนกนางแอ่นหางสี่เหลี่ยมหรือนกนางแอ่นรังดำ โดยรังของนกนางแอ่นทั้งสามชนิดนั้นสามารถใช้รับประทานได้
เดิมนกนางแอ่นกินรังจัดอยู่ในสกุล Collocalia มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Collocalia fuciphaga แต่ในปัจจุบันจัดอยู่ในสกุล Aerodramus มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Aerodramus fuciphagus รังนกชนิดนี้จะถูกสร้างจากน้ำลาย ซึ่งผลิตมาจากต่อมน้ำลายของพ่อแม่นกก่อนการผสมพันธุ์และใช้เป็นที่วางไข่ อีกทั้งยังใช้เป็นที่อยู่ของลูกนกก่อนที่จะเริ่มหัดบินได้ ส่วนประกอบของรังนก ประมาณ 85–90% เป็นน้ำลาย และ 3–15% เป็นขนอ่อน[ต้องการอ้างอิง]
รังนกมีกี่ชนิด
[แก้]รังนกแบ่งออกเป็น 4 ชนิด[ต้องการอ้างอิง]ดังนี้
1. รังนกแดง ซึ่งสีแดงนั้นเกิดจากปฏิกิริยาเคมีกับสารประกอบประเภททองแดงบนผนังถ้ำ ซึ่งจะทำให้รังนกบนเกาะนั้นเป็นสีแดงทั้งหมด แต่สำหรับคนไทย รังนกแดงนี้ยังไม่เป็นที่นิยมเท่าไหร่นัก
2. รังนกดำ เป็นรังนกที่ไม่บริสุทธิ์มีเศษขนของนกเจือปนอยู่มาก จึงทำให้คุณภาพและราคาต่ำ
3. รังนกบ้าน เป็นรังที่นกนางแอ่นมาสร้างไว้ตามบ้าน มีสีขาวจัด ขนาดเล็กและบาง ราคาจะถูกกว่ารังนกตามธรรมชาติมาก
4. รังนกเกาะ เป็นรังนกที่มีคุณภาพดีที่สุดและได้รับความนิยมมากในประเทศไทย สีของรังนกเกาะจะมีหลากหลายตามสารอาหารและแหล่งที่อยู่ โดยรังนกเกาะที่ดีที่สุดจะมีสีเหลืองทอง ซึ่งจะมีเนื้อรังนกที่สะอาดและหนา และอุดมไปด้วยสารอาหารที่มากกว่ารังนกชนิดอื่นๆ
รังนกคืออะไร
[แก้]คำว่า "รังนก" หมายถึงรังของนกนางแอ่นกินรัง ซึ่งเรียกกันหลายอย่างเช่น นกอีแอ่น นกนางแอ่น นกแอ่นกินรัง เป็นต้น นกนางแอ่นเป็นนกขนาดเล็ก มีขนาดลำตัวยาว 3 นิ้วครึ่งถึง 6 นิ้ว หนักประมาณ 15–18 กรัม นกชนิดนี้เป็นคนละชนิดกับนกนางแอ่นบ้านที่เห็นเกาะอยู่ตามสายไฟ ซึ่งสร้างรังด้วยเศษหญ้าและโคลน นกนางแอ่นกินรังเป็นนกที่ไม่หยุดพักตามต้นไม้ยกเว้นตอนนอนในถ้ำ สามารถบินโดยไม่หยุดพักได้นานถึง 40 ชั่วโมง และบินเร็วมาก ความเร็วเฉลี่ย 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง อาหารของนกคือแมลงที่บินตามผิวน้ำ รังนกนางแอ่นกินรังมีรูปร่างคล้ายชามโคม ปัจจุบันในภาคใต้ เช่น อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช มีการสร้างบ้าน หรืออาคารเพื่อให้นกนางแอ่นกินรังเข้ามาอาศัยและเก็บรังนกขายเป็นอาชีพที่ทำรายได้ดีมาก รังนกจากบ้านหรืออาคารมีลักษณะขาว แต่ขนาดเล็กกว่ารังนกเกาะ และในการซื้อขาย ตลาดนิยมรังนกเกาะมากกว่ารังนกบ้าน จึงขายได้ราคาถูกกว่ารังนกเกาะ
[1]
ตัวอย่างแหล่งรังนกในประเทศไทย
1. อุทยานชุมชนเกาะไข่ ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านบ่อเมา ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นเกาะที่เงียบสงบ คงความเป็นธรรมชาติ เป็นแหล่งชมปะการังน้ำตื้นนานาชนิด มีถ้ำชมค้างคาว รังนกนางแอ่นกินรัง และปูไก่ อยู่ห่างจากชายฝั่ง ระยะทาง 4.5 กิโลเมตร
2. เกาะสี่ เกาะห้า เป็นหมู่เกาะหินปูนอยู่ในทะเลสาบสงขลา สภาพภูมิประเทศทั่วไปเป็นเนินเขาเนื้อที่รวมทั้งหมดประมาณ 1,400 ไร่ ปัจจุบันอยู่ในเขตการปกครองของ ตำบลเกาะหมาก อำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง ห่างจากเกาะหมากไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1.6 กิโลเมตร ตามเกาะต่างๆ มีโพรงถ้ำอยู่มากมาย ถ้ำเหล่านี้เป็นที่อยู่อาศัยของนกนางแอ่นกินรัง รังนกถือว่ามีคุณภาพดีที่สุดในประเทศไทย เนื่องจากหมู่เกาะนี้ตั้งอยู่กลางทะเลสาบ ทำให้รังนกสะอาด และมีขนาดใหญ่ เกาะสี่ เกาะห้า จึงเป็นแหล่งที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอีกหนึ่งแห่งของประเทศไทย [2]
สรรพคุณของรังนกแท้
[แก้]ในรังนกนั้นทางแพทย์แผนปัจจุบันมีการวิจัยค้นพบว่าในรังนกมีสารประกอบทางชีวะเคมีที่มีคุณค่าต่อร่างกาย[ต้องการอ้างอิง] เช่น
· EGF (EPIDERMAL GROWTH FACTOR) ช่วยในการซ่อมสร้างและกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์เยื่อบุผิว ช่วยให้ผิวพรรณสดใส ดูอ่อนกว่าวัย
· GLYCOPROTEIN ช่วยกระตุ้นเม็ดเลือดขาวให้ผลิตและสังเคราะห์สารต่อต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส
· NANA (N – Acetylneuraminic acid) ช่วยบำรุงปอดและหลอดลม บำรุงระบบทางเดินหายใจ บรรเทาอาการหวัดและภูมิแพ้
ส่วนประกอบของรังนก
[แก้]จากรายงานการสำรวจโภคกิจเมื่อปี พ.ศ. พ.ศ. 2473-2474 ของ ดร. คาร์ล ซี. ซิมเมอร์แมน ศาลาแยกธาตุ กระทรวงเศรษฐการ ได้รายงานผลการวิเคราะห์ส่วนประกอบของรังนกจากจังหวัดชุมพร พบว่า มีเถ้าปูนอยู่เป็นจำนวนมาก โปรตีน ร้อยละ 49.8 ความชื้นร้อยละ 16.3 และไขมันร้อยละ 0.06 ซึ่งต่อมาในปี พ.ศ. 2479 บริษัทไทยรังนก ถนนราชวงศ์ กรุงเทพฯ ได้ส่งรังนกให้นักเคมีชาวเยอรมันวิเคราะห์ พบว่ารังนกมีโปรตีนเป็นส่วนประกอบหลักร้อยละ 53.69 ความชื้นร้อยละ 10.4 ในปี พ.ศ. 2545 กรมวิทยาศาสตร์บริการได้นำรังนกถ้ำจากบริษัทรังนกแหลมทองสยาม ซึ่งได้รับสัมปทานการเก็บรังนกในจังหวัดภาคใต้มาวิเคราะห์ส่วนประกอบอื่นเพิ่มเติม ผลแสดงไว้ในตารางที่ 1 ดังนี้ [3]
หน่วย | *รังนก รังสีขาว | **รังนก รังสีแดง | ***รังนก รังสีแดง | |
---|---|---|---|---|
ความชื้น | ร้อยละ | 17.8 | 18.2 | 18.1 |
คาร์โบไฮเดรต (โดยการคำนวณ) | ร้อยละ | 22.3 | 22.7 | 21.0 |
โปรตีน | ร้อยละ | 52.8 | 56.9 | 56.6 |
ไขมัน | ร้อยละ | ไม่พบ | ไม่พบ | ไม่พบ |
เถ้า | ร้อยละ | 7.03 | 8.08 | 10.2 |
กาก | ร้อยละ | 0.08 | 0.08 | 0.07 |
โซเดียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 1 572.1 | 1 282.5 | 1 182.9 |
โพแทสเซียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 11.5 | 28.7 | 60.1 |
แคลเซียม | มิลลิกรัม/100กรัม | 814.0 | 1 569.4 | 2 115.2 |
ฟอสฟอรัส | มิลลิกรัม/100กรัม | 9.04 | 8.50 | 13.8 |
เหล็ก | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 11.7 | 36.8 | 56.3 |
ทองแดง | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 3.81 | 3.81 | 5.48 |
สังกะสี | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 1.60 | 2.58 | 2.71 |
ตะกั่ว | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | ไม่พบ | 0.04 | ไม่พบ |
สารหนู | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 0.07 | 0.07 | 0.21 |
แมงกานีส | มิลลิกรัม/กิโลกรัม | 1.47 | 11.6 | 5.51 |
ส่วนประกอบและสารอาหารของรังนก
[แก้]รังนก เป็นอาหารเสริม สุขภาพหรือบำรุงร่างกายชนิดหนึ่งที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชาวจีนและกลุ่มคนที่มีฐานะดี ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นอาหารฟังก์ชัน โดยในอดีตนั้นรังนกนางแอ่นที่ต้มกับน้ำตาลกรวดได้รับการยกย่องว่าเป็นอาหารบำรุงชั้นยอดของฮ่องเต้ ตลอดจนกลุ่มชนชั้นสูงของจีน วัฒนธรรมการรับประทานรังนกในประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ไทย ญี่ปุ่น สิงคโปร์และ ประเทศอื่นๆ พลอยได้รับวัฒนธรรมนี้ถ่ายทอดจากชาวจีนด้วยและยังพบหลักฐานว่าในสมัยราชวงค์หมิงตอนปลายนั้น เมื่อแพทย์เขียนใบสั่งยามักจะมีรังนกเป็นส่วนผสมเสมอ เพราะแพทย์จีนเชื่อว่ารังนกสามารถรักษาโรคทางเดินหายใจ ช่วยบำรุงสุขภาพเด็ก สตรีและคนชรา ช่วยบำรุงผิวพรรณของสตรีให้มีความนุ่มนวลอ่อนเยาว์ ช่วยบำรุงปอดและเลือด และช่วยบำรุงสุขภาพของผู้ป่วยในระยะพักฟื้นรวมทั้งสตรีหลังคลอดบุตร[ต้องการอ้างอิง]
รังนก เป็นผลิตผลที่ได้จากน้ำลายของนกนางแอ่นกินรัง ซึ่งอยู่ในกลุ่มนกนางแอ่นสวิฟต์เลต (swiftlet) ซึ่งเป็นกลุ่มนกนางแอ่นที่ทำรังด้วยน้ำลายซึ่งนำรังมากินได้
โดยในปีหนึ่งๆจะสามารถเก็บรังนกได้เพียง 3 ครั้งเท่านั้น
ครั้งที่ 1 จะอยู่ในช่วงปลายเดือนมกราคมจนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์ รังนกที่เก็บในครั้งแรกนี้จะเป็นรังนกที่มีคุณภาพดีที่สุด มีรูปร่างเป็น Perfect Cup Shape ที่ดีที่สุด เนื้อหนา ชิ้นใหญ่ สะอาด และสารอาหารสูง
ครั้งที่ 2 จะเก็บได้ประมาณกลางเดือนมีนาคม จากนั้นจะปล่อยให้นกทำรังและวางไข่ โดยนกจะวางไข่ในช่วงเดือนเมษายน
ครั้งที่ 3 เดือนกรกฎาคม เมื่อลูกนกโตเต็มที่และพร้อมที่จะออกจากรังไปพร้อมกับพ่อแม่ รังนกที่เหลืออยู่ในถ้ำจึงจะถูกเก็บเป็นครั้งที่สาม และนกเหล่านี้จะบินกลับมาอีกครั้งในเดือนธันวาคมของทุกปี วนเวียนเช่นนี้ตลอดไป ตราบใดที่ยังคงมีระบบนิเวศน์ที่สมบูรณ์เช่นนี้ต่อไปในอนาคต
จำนวนรังนกที่เก็บได้ในแต่ละปีจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับจำนวนนกที่อาศัยอยู่ในเกาะแต่ละเกาะ ดังนั้นผู้รับสัมปทานจะพยายามเพิ่มปริมาณนกโดยการดูแลรักษาธรรมชาติ และสภาพแวดล้อมของเกาะที่นกอาศัยอยู่ไม่ให้มีการเสื่อมสลายไป บนเกาะรังนก ต้นไม้ทุกต้นจะถูกอนุรักษ์ดูแลอย่างดี ไม่มีการตัดไม้ทำลายป่า ปลาทะเลต่างๆรอบเกาะก็จะมีชุกชุม เพราะจะไม่มีการระเบิดปลา หรือใช้แหจับปลาในบริเวณรอบๆเกาะ การที่ต้องดูแลสภาพแวดล้อมอย่างเข้มงวดเป็นเพราะเกรงกันว่าถ้าสภาพแวดล้อมเปลี่ยนอาจมีผลกระทบกับจำนวนนกนางแอ่นที่มาอาศัย การวางไข่และการฟักตัวของนกนางแอ่นก็เช่นกัน ผู้รับสัมปทานจะต้องดูแลไม่ให้มีการรบกวนนก เพราะหากมีการรบกวนนกในช่วงนกวางไข่ อาจทำให้นกวางไข่น้อยและมีการฟักตัวของลูกนกน้อยตามไปด้วย ซึ่งนั่นก็หมายถึงปริมาณรังนกที่จะน้อยลงในปีต่อๆไป[ต้องการอ้างอิง]
เนื่องจากรังนกมีผู้สนใจรับประทานกันมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในแถบเอเชีย จึงมีธุรกิจการทำรังนกเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปออกจำหน่าย เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการบริโภค เช่น เครื่องดื่มรังนกแท้ เครื่องดื่มรังนกผสมโสม
ในการผลิตเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูปพร้อมดื่มโดยส่วนใหญ่ มีขั้นตอนคร่าวๆ คือ นำรังนกแห้งมาทำความสะอาด กำจัดขน และสิ่งแปลกปลอมออกให้หมด หลังจากนั้นจึงตุ๋นต้มรังนกกับน้ำ เพื่อให้เนื้อรังนกมีความอ่อนนุ่ม แล้วจึงเติมน้ำตาลกรวด ต่อจากนั้นจึงนำไปแบ่งบรรจุใส่ขวดแล้วนำไปฆ่าเชื้อด้วยระบบสเตอริไรด์เซชั่น[ต้องการอ้างอิง]
กองวิทยาศาสตร์ชีวภาพได้ทำการตรวจวิเคราะห์เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป พบโปรตีน ร้อยละ 0.53-1.45 และเป็นโปรตีน ที่แตกต่างจากโปรตีนในไข่ เมื่อทำการย่อยโปรตีนในเครื่องดื่มรังนกเช่นเดียวกับขบวนการย่อยของร่างกายแล้วตรวจวิเคราะห์ชนิดและปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นในเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป และนำมาเปรียบเทียบกับกรดอะมิโนจำเป็นที่กำหนดการจัดรูปแบบโดยคณะกรรมการร่วม FAO/WHO แสดงค่าตามตารางที่ 2 [4]
ตารางที่ 2 แสดงชนิดและปริมาณกรดอะมิโนจำเป็นในเครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป
FAO/WHO, 1973 | เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป | เครื่องดื่มรังนกสำเร็จรูป | |
---|---|---|---|
กรดอะมิโนจำเป็น | มิลลิกรัม/กรัมโปรตีน | มิลลิกรัม/กรัมโปรตีน | Amino acid score |
ไอโซลิวซีน | 40 | 21.78 | 54 |
ลิวซีน | 70 | 57.86 | 83 |
ไลซีน | 55 | 42.51 | 77 |
เมทธิโอนีน + ซีสตีน (5-containing amino acids) | 35 | 25.61 | 47 |
ฟินิลอะลานิน + ไทโรซีน (Aromatic amino acids) | 60 | 137.02 | 228 |
ทรีโอนีน | 40 | 53.33 | 133 |
ทริปโตเฟน | 10 | 13.55 | 134 |
วาลีน | 50 | 47.62 | 95 |
จากคุณประโยชน์ของรังนกและความยากลำบากในการเก็บรังนก ทำให้รังนกถือเป็นอาหารบำรุงสุขภาพที่มีราคาสูงมาก ซื้อขายกันประมาณกิโลกรัมละ 50,000 – 100,000 บาท ตามแต่ประเภทของรังนก ด้วยเหตุนี้ จึงมีรังนกปลอมที่เป็นผลิตภัณฑ์จากยางไม้เรียกว่า "กัม" (GUM) ซึ่งเป็นสารที่มีลักษณะหนืดไม่ละลายน้ำ แต่จะดูดน้ำทำให้พองตัวเป็นวุ้น เวลานำมาต้มจะไม่กระจายตัวเหมือนรังนกแท้ แต่จะมีความกระด้างไม่อ่อนนุ่ม เวลาเคี้ยวจะกรุบกรอบเหมือนวุ้น[ต้องการอ้างอิง]
การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของรังนก
[แก้]การศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับประโยชน์ของรังนกมีดังนี้
• ในรังนก มีสารที่มีฤทธิ์คล้ายกับ Epidermal growth factor (EGF) ซึ่งมีคุณสมบัติ กระตุ้นให้เซลเม็ดเลือดขาวชื่อ Leucocyte ที่ซึ่งทำหน้าที่ในการปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ ซึ่งเพาะเลี้ยงในหลอดทดลอง เกิดการแบ่งตัว [5]
ในสารสกัดที่ได้จากรังนกประกอบด้วย Epidermal growth factor (EGF) ซึ่งมีองค์ประกอบเหมือนกับ EGF ที่มีอยู่ในคน ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์ชั้นนอกสุด และเยื่อบุต่างๆ การทดลองนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น โดยได้มีการทำให้สารสกัดให้บริสุทธิ์ เพื่อนำสารสกัดไปพัฒนาใช้ประโยชน์ด้านสุขภาพต่อไป [6]
• จากความเชื่อในประโยชน์ด้านการรักษาโรคต่างๆของรังนก ทำให้มีการศึกษาองค์ประกอบของรังนกและพบว่า ไกลโคโปรตีนในรังนกช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย โดยช่วยเพิ่มการทำงานของเซลเม็ดเลือดขาว ที่ชื่อ Monocyte ซึ่งทำหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากเชื้อโรคต่างๆ [7]
• จากความพยายามในการศึกษากลุ่มคาร์โบไฮเดรต ที่แยกได้จากไกลโคโปรตีนที่พบได้ในรังนก พบว่ามี 2 ชนิดที่เกี่ยวข้องคือ กลูโคซามีน (Glucosamine) และครอนโดซามีน (chondrosamin). [8]
• การศึกษาในระดับโมเลกุลพบว่า ไกลโคโปรตีน ที่ผลิตจากต่อมน้ำลายของนกนางแอ่นกินรัง มีโครงสร้างที่ประกอบไปด้วย ไกลโคโปรตีนที่มีกรด sialic ส่วนประกอบหลัก กรด silica เป็นสารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่เป็น องค์ประกอบของ gaglioside ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบสมอง (Structure of the Monosialyl Oligosaccharides Derived from Salivary Gland Mucin Glycoproteins of the Chinese Swiftlet [9]
• Nakagawa H และคณะนักวิจัยจาก Tulane University Health Sciences Center School of Medicine, New Orleans ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ค้นพบว่าไกลโคโปรตีนในรังนก ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มของ nonsulfated chondroitin glycosaminoglycans(GAGs). [10]
• ศึกษาองค์ประกอบของรังนกพบว่า รังนกประกอบด้วยโปรตีน ประมาณ 61.5 กรัมต่อ 100 กรัม แร่ธาตุหลัก 4 ชนิดที่พบได้ในรังนกคือ แคลเซียม โซเดียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม และมี sialic acid ประมาณ 0.7-1.5% ปริมาณสารอาหารในรังนก จะแตกต่างกันไปตามฤดูเก็บเกี่ยวและสถานที่ทำรัง [11]
• ไกลโคโปรตีนในรังนก อุดมไปด้วยกรดอะมิโน เซอรีน ทรีโอนีน และโปรลีน [12]
• คณะนักวิจัยจาก ประเทศญี่ปุ่น ได้พิสูจน์ และค้นพบกลไกลเสริมภูมิคุ้มกันของรังนก โดยนักวิจัยได้เตรียมตัวอย่างรังนก โดยเลียนแบบกระบวนการผลิต และการย่อยอาหารของมนุษย์ ก่อนจะนำตัวอย่างที่ได้ไปทดสอบประสิทธิภาพ นักวิจัยพบว่ารังนกมีฤทธิ์ยับยั้งการติดเชื้อไวรัส โดยโปรตีนแบบพิเศษที่มีในรังนกจะไปจับเชื้อไวรัสและยับยั้งการเกิด hemagglutination ที่จำเป็นในการเพิ่มจำนวนเชื้อไวรัส จึงช่วยป้องกันการติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด ทั้งไวรัสที่มีในคน เป็ด และ หมู ท้ายสุดผู้วิจัยได้สรุปผลว่า รังนกเป็นอาหารที่ปลอดภัย และมีประสิทธิผลในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ได้ [13]
• ต่อเนื่องจากการศึกษาที่พบว่า สารสกัดจากรังนกมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งการติดต่อเชื้อไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเป็นผลมาจาก O- or N-glycoconjugates การศึกษานี้พบว่า โครงสร้างที่มีกรด sialic เป็นตัวหลัก เป็นตัวทำให้เกิดผลในการต้านไวรัสดังกล่าวได้ [14]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ http://swiftletsaliva.blogspot.com/2012/09/the-significance-of-swiftlets-nest-color.html
- ↑ Adrain, Y. Edible bird’s nest industry in Malaysia. 2004 [online] [cited 21 July 2004]., available from http://www.tradezone.com/tradesites/birdsnest.html เก็บถาวร 2005-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Davidson, Robert L. Handbook of water-soluble gims and resins. New York : McGraw-Hill, 1980, p 2-13. Thai Swallow bird’s nest Co.Ltd. Certificate of analysis edible bird’s nests. Ref.no 8701/90/36 /92/3 Issued by Schaller, R. dated June 10, 1954. Bangkok : Laboratory and Office, 1954 กระทรวงเศรษฐการ. ศาลาแยกธาตุ. อาหารและชนิดของอาหาร เรียบเรียงโดยนาย คาล ซี ซิมเมอร์แมน รายงานสำรวจโภคกิจตามชนบทประเทศสยาม พ.ศ. 2473-2474 ฉบับที่ 6, เมษายน, 2473 ถึงมีนาคม 2474, พระนคร ซ โรงพิมพ์บางกอกไตม์ จำกัด, 2474, หน้า 19-20 เกาะสี่ เกาะห้า. 2004. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547] เข้าถึงได้จาก http://www.deqp.go.th/data_env/coastline/gulf_thai/putalung/put_tour15.html[ลิงก์เสีย]. ความสัมพันธ์ ไทย-จีน. 2004. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547] เข้าถึงได้จาก http://www.thai-d.com/siam-chaina/neu/th-ch.htm[ลิงก์เสีย] สำนักคณะกรรมการอาหารและยา, พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร ซ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2545. หน้า 1,7,11,355.
- ↑ เอกสารอ้างอิง Adrain, Y. Edible bird’s nest industry in Malaysia. 2004 [online] [cited 21 July 2004]., available from http://www.tradezone.com/tradesites/birdsnest.html เก็บถาวร 2005-08-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Davidson, Robert L. Handbook of water-soluble gims and resins. New York : McGraw-Hill, 1980, p 2-13. Thai Swallow bird’s nest Co.Ltd. Certificate of analysis edible bird’s nests. Ref.no 8701/90/36 /92/3 Issued by Schaller, R. dated June 10, 1954. Bangkok : Laboratory and Office, 1954 กระทรวงเศรษฐการ. ศาลาแยกธาตุ. อาหารและชนิดของอาหาร เรียบเรียงโดยนาย คาล ซี ซิมเมอร์แมน รายงานสำรวจโภคกิจตามชนบทประเทศสยาม พ.ศ. 2473-2474 ฉบับที่ 6, เมษายน, 2473 ถึงมีนาคม 2474, พระนคร ซ โรงพิมพ์บางกอกไตม์ จำกัด, 2474, หน้า 19-20 เกาะสี่ เกาะห้า. 2004. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547] เข้าถึงได้จาก http://www.deqp.go.th/data_env/coastline/gulf_thai/putalung/put_tour15.html[ลิงก์เสีย]. ความสัมพันธ์ ไทย-จีน. 2004. [ออนไลน์] [อ้างถึงวันที่ 14 กรกฎาคม 2547] เข้าถึงได้จาก http://www.thai-d.com/siam-chaina/neu/th-ch.htm[ลิงก์เสีย] สำนักคณะกรรมการอาหารและยา, พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 พร้อมกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงสาธารณสุข. กรุงเทพมหานคร ซ ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด, 2545. หน้า 1,7,11,355.
- ↑ 1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กองควบคุมอาหาร งานควบคุมมาตรฐาน พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522. กรุงเทพฯ ; กระททรวงสาธารณสุข, 2530 หน้า 1
- ↑ (Kong Y.C., Tsao S.W., Song M.E. and Ng M.H. Potentiated of mitogenic response by extracts of the swiftlet's (Apus) nest collected from Huai-Ji, Acta Zoologica Sinica. 1989; 35: 429-35)
- ↑ (Kong Y.C. et al. Evidence that Epidermal Growth Factor is present in swiflet's (Collocalia) nest. Comp. Biochem. Physiol 1987;87B(2):221-226)
- ↑ (Kong Y.C. et al. Potentiation of mitogenic response by extract of the swiftlet's (Collocalia) nest. Biochem Intern 1986;13:521-531)
- ↑ (Chi Che Wang. Amino Sugar of Edible Birds' Nests. The isolation and the nature of the amino sugar of Chinese edible bird's nests. P441-452)
- ↑ (Genus collocalia). The Journol of Biological Chemistry. 1987, Vol.262, No. 14, Issue of May 15, pp. 6650-6657. Lee T.H. and Kamini N. Edible Bird's Nest: A Potential Product Breakthrough. Institute of Bioproduct Development Universiti Teknologi Malaysia.)
- ↑ (Nakagawa H., et al. Occurrence of a nonsulfated chondroitin proteoglycan in the dried saliva of Collocalia swiftest (edible bird's-nest)).
- ↑ (Norhayati MK, et al. Preliminary Study of the Nutritional Content of Malaysian Edible Bird's Nest. 2010; Mal J Nutr 16(3):389-396)
- ↑ (Houdret N., et al. Purification and chemical study of a Collocalia glycoprotine. Biochimie. 1975;57(5):603-8)
- ↑ (Guo CT et al. Edible bird's nest extract inhibits influenza virus infection, Antiviral Res. 2006;70(3):140-6).
- ↑ (Hirokazu Yagi, et al., The expression of sialylated high-antennary N-glycans in edible bird's nest. Carbohydrate Research. 2008; 343:1373-1377).