ข้ามไปเนื้อหา

ยุทธการที่เซกิงาฮาระ

พิกัด: 35°22′14″N 136°27′42″E / 35.3705°N 136.4616°E / 35.3705; 136.4616
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ
ส่วนหนึ่งของ ยุคเซ็งโงกุ

ภาพวาดแสดงยุทธการเซกิงาฮาระแบบยุคเอโดะ
วันที่21 ตุลาคม ค.ศ. 1600
สถานที่
เซกิงาฮาระ แคว้นมิโนะ (ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น)
35°22′14″N 136°27′42″E / 35.3705°N 136.4616°E / 35.3705; 136.4616
ผล

กองทัพตะวันออกชนะ

ดินแดน
เปลี่ยนแปลง
ตระกูลโทกูงาวะได้อำนาจปกครองญี่ปุ่นทั้งหมด
คู่สงคราม
กองทัพตะวันตก: กองกำลังที่จงรักภักดีต่ออิชิดะ มิตสึนาริ หลายตระกูลจากญี่ปุ่นตะวันตก กองทัพตะวันออก: กองกำลังที่จงรักภักดีต่อโทกูงาวะ อิเอยาซุ หลายตระกูลจากญี่ปุ่นตะวันออก
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
อิชิดะ มิตสึนาริ โทษประหารชีวิต
อูกิตะ ฮิเดอิเอะ
โอตานิ โทชิตสึงุ 
ชิมะ ซากง 
โชโซกาเบะ โมริจิกะ
กาโม โยริซาโตะ 
ชิมาซุ โยชิฮิโระ
ชิมาซุ โทโยฮิซะ 
อากาชิ ทาเกโนริ
โคนิชิ ยูกินางะ โทษประหารชีวิต
โทดะ คัตสึชิเงะ 
อันโกกูจิ เอเก โทษประหารชีวิต
โมริ ฮิเดโมโตะ
นัตสึกะ มาซาอิเอะ 
ฮิรัตสึกะ ทาเมฮิโระ 
แปรพักตร์ :
โคบายากาวะ ฮิเดอากิ
คิกกาวะ ฮิโรอิเอะ
วากิซากะ ยาซูฮารุ
คุตสึกิ โมตตสึนะ
อากาซะ นาโอยาซุ
โองาวะ ซูเกตาดะ
โทกูงาวะ อิเอยาซุ
ฟูกูชิมะ มาซาโนริ
โทโด ทากาโตระ
โฮโซกาวะ ทาดาโอกิ
อิเกดะ เทรูมาซะ
โอดะ อูรากูไซ
อิอิ นาโอมาซะ
มัตสึไดระ ทาดาโยชิ
คูโรดะ นางามาซะ
ทาเกนากะ ชิเงกาโดะ
ฮนดะ ทาดากัตสึ
ฟูรูตะ ชิเงกัตสึ
คาโต โยชิอากิ
เทราซาวะ ฮิโรตากะ
อิโกมะ คาซูมาซะ
สึตสึอิ ซาดัตสึงึ
โฮริโอะ ทาดาอูจิ
คานาโมริ นางาจิกะ
อาซาโนะ โยชินางะ
ยามางูจิ คัตสึโตโยะ
เคียวโงกุ ทากาโตโมะ
กำลัง
เดิมมี 120,000 นาย[1]
ตอนรบมี 81,890 นาย[2]
เดิมมี 75,000 นาย[1]
ตอนรบมี 88,888 นาย[2]
ความสูญเสีย
เสียชีวิต 8,000–32,000 นาย[3]
แปรพักตร์ ~23,000 นาย
เสียชีวิต 4,000–10,000 นาย[4]
ยุทธการที่เซกิงาฮาระตั้งอยู่ในจังหวัดกิฟุ
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ
ที่ตั้งในจังหวัดกิฟุ
ยุทธการที่เซกิงาฮาระตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ
ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (ประเทศญี่ปุ่น)

ยุทธการที่เซกิงาฮาระ (ชินจิไต: 関ヶ原の戦い; คีวจิไต: 關ヶ原の戰い, ถอดอักษรโรมันแบบเฮปเบิร์น: Sekigahara no Tatakai) เป็นศึกชี้ขาดเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 (ปีเคโชที่ 5, วันที่ 15 เดือน 9) ในบริเวณที่ปัจจุบันคือจังหวัดกิฟุ ประเทศญี่ปุ่น ใน่ชวงสิ้นสุดของยุคเซ็งโงกุ ยุทธการนี้เป็นการสู้รบระหว่างกองกำลังของโทกูงาวะ อิเอยาซุต่อฝ่ายแนวร่วมที่จงรักภักดีต่อตระกูลโทโยโตมิ ภายใต้การนำของอิชิดะ มิตสึนาริ โดยมีบางคนแปรพักตร์ทั้งก่อนและระหว่างสงคราม ทำให้ฝ่ายโทกูงาวะเป็นฝ่ายชนะ ยุทธการที่เซกิงาฮาระเป็นยุทธการที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นยุคศักดินา และมักถือเป็นยุทธการที่สำคัญที่สุด ความพ่ายแพ้ของโทโยโตมินำไปสู่การสถาปนารัฐโชกุนโทกูงาวะ

โทกูงาวะ อิเอยาซุใช้เวลาอีกสามปีในการรวบรวมอำนาจเหนือตระกูลโทโยโตมิและไดเมียวหลายคน แต่ยุทธการที่เซกิงาฮาระถือเป็นจุดเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการของรัฐโชกุนโทกูงาวะที่ปกครองญี่ปุ่น 2 ศตวรรษครั้งจนถึง ค.ศ. 1868[5]

การรบ

[แก้]

เมื่อฮิเดโยชิเสียชีวิตในปี ค.ศ.1598 ตัวอิเอยาสุก็วางแผนที่จะริบอำนาจของตระกูลโทโยโทมิ แต่อิชิดะ มิตสึนาริและบรรดาไดเมียวทางภาคตะวันตกไม่ยินยอม รวมทั้งตัวอุเอสึงิ คาเงะคัตสึกับนาโอเอะ คาเนะสึกุ ก็ไม่เห็นด้วยกับอิเอยาสุ ทางด้านอิชิดะจึงเปิดฉากโจมตีโดยร่วมมือกับชิมาสุเข้าโจมตีปราสาทฟุชิมิ เมื่อปราสาทฟุชิมิถูกตีแตก อิเอยาสุจึงต้องรับศึกสองด้าน คือทัพอิชิดะและทัพอุเอสึงิ ดังนั้นอิเอยาสุตัดสินใจรับศึกกับทัพอิชิดะที่ทุ่งเซกิงาฮาระ และแบ่งอีกทัพหนึ่งไปรับกับทัพอุเอสึงิ

21 ตุลาคม ค.ศ. 1600 ทัพอิชิดะและทัพโทกุงาวะก็เปิดฉากสู้รบกัน โดยในช่วงแรกฝ่ายอิชิดะและพันธมิตรได้เปรียบ แต่มีขุนพลคนหนึ่งชื่อโคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ กลับลังเลไม่ยอมเคลื่อนทัพ ทางฝ่ายอิเอยาสุที่กำลังเสียเปรียบจึงเข้าเจรจาลับกับตัวฮิเดะอากิแต่ฮิเดะอากิก็ลังเล สุดท้ายอิเอยาสุจึงให้ทหารระดมยิงปืนไฟใส่ค่ายโคบายาคาวะ ทำให้โคบายาคาวะ ฮิเดะอากิ, คุสึกิ โมโตสึนะ, วากิซากะ ยาสุฮารุ, อะกาสะ นาโอะยาสุ และโองาวะ สุเกะทาดะ ทรยศอิชิดะ และเข้าโจมตีกองทัพโอตานิทันที จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้โอตานิ โยชิสึกุตัดสินใจทำเซ็ปปุกุ ส่วนชิมะ ซากอน ก็ได้สละชีวิตตนเอง เพื่อให้มิตสึนาริได้หลบหนี และบรรดากองทัพฝ่ายตะวันตกก็ต่างถอยทัพกลับดินแดนของตน

ผลที่ตามมา

[แก้]

จุดเริ่มต้นของรัฐโชกุนโทกูงาวะ

[แก้]

หลังการประหารชีวิตอิชิดะ มิตสึนาริ โคนิชิ ยูกินางะ และอันโกกูจิ เอเกในที่สาธารณะเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน อิทธิพลและชื่อเสียงของตระกูลโทโยโตมิและฝ่ายที่จงรักภักดีตระกูลนี้ลดลงอย่างมาก[6] โทกูงาวะ อิเอยาซุจัดสรรที่ดินและศักดินาแก่ผู้มีส่วนร่วมใหม่ โดยให้รางวัลผู้ที่ช่วยเหลือเขา และแทนที่ ลงโทษ หรือเนรเทศผู้ที่ต่อสู้กับเขา ด้วยเหตุนี้ ทำให้เขาควบคุมดินแดนโทโยโตมิในอดีตหลายแห่ง[7]

ในเวลานั้น ยุทธการนี้ถือเป็นความขัดแย้งภายในระหว่างรัฐบริวารของโทโยโตมิ อย่างไรก็ตาม ใน ค.ศ. 1603 จักรพรรดิโกะ-โยเซแต่งตั้งอิเอยาซุเป็นโชกุน[8][6] ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ว่างตั้งแต่รัฐโชกุนอาชิกางะล่มสลายเมื่อ 27 ปีก่อน[9] ยุทธการนี้จึงกลายเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญ

สนามรบ

[แก้]
อนุสรณ์สนามรบเซกิงาฮาระในเดือนเมษายน ค.ศ. 2005

บริเวณที่ตั้งของสนามรบได้รับการบรรจุเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์แห่งชาติญีปุ่นใน ค.ศ. 1931 บริเวณนี้ประกอบด้วยที่ตั้งเดิมของโทกูงาวะ อิเอยาซุ (徳川家康最初陣地) ตำแหน่งสุดท้ายของโทกูงาวะ อิเอยาซุ (徳川家康最後陣地) ตำแหน่งของอิชิดะ มิตสึนาริ (石田三成陣地) กระโจมไฟโอกายามะ (岡山烽火場) สุสานโอตานิ โยชิตสึงุ (大谷吉隆墓) คูบิซูกะตะวันออก (東首塚) และคูบิซูกะตะวันตก (西首塚)[10]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Davis 1999, p. 204.
  2. 2.0 2.1 Bryant 1995.
  3. 『関原軍記大成』
  4. 『関原合戦記』
  5. "Battle of Sekigahara | Summary, Facts, & Outcome | Britannica". www.britannica.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-06-22.
  6. 6.0 6.1 Bryant 1995, p. 80.
  7. Bryant 1995, p. 82.
  8. Davis 1999, p. 208.
  9. Davis 1999, p. 205.
  10. "関ヶ原古戦場" [Sekigahara ko-senjō] (ภาษาญี่ปุ่น). Agency for Cultural Affairs.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Bryant, Anthony (1995). Sekigahara 1600: The Final Struggle For Power. Osprey Campaign Series. Vol. 40. Oxford: Osprey Publishing. ISBN 978-1-85532-395-7.
  • Davis, Paul (1999). "Sekigahara, 21 October 1600". 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present. Oxford University Press. ISBN 978-0-19-514366-9.
  • Wilson, William Scott (2004). The Lone Samurai: The Life of Miyamoto Musashi. Tokyo: Kodansha International.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

Paul Davis used the following sources to compile the chapter "Sekigahara, 21 October 1600" in 100 Decisive Battles: From Ancient Times to the Present "Sekigahara, 21 October 1600."

  • De Lange, William. Samurai Battles: The Long Road to Unification Groningen: Toyo Press, 2020
  • Sadler, A.L. The Maker of Modern Japan: The Life of Tokugawa Ieyasu London: George Allen & Unwin, 1937
  • Sansom, George. A History of Japan from 1334–1615 Stanford University Press, 1961
  • Turnbull, Stephen. The Samurai: A Military History New York: Macmillan, 1977

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]