ข้ามไปเนื้อหา

มกโพ

พิกัด: 34°45′32″N 126°22′48″E / 34.7589°N 126.38°E / 34.7589; 126.38
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มกโพ

목포시
การถอดเสียงภาษาเกาหลี
 • ฮันกึล목포시
 • ฮันจา木浦市
 • อักษรโรมันปรับปรุงMokpo-si
 • แมกคูน–ไรซ์ชาวเออร์Mokp'o-si
ทิวทิศน์ของมกโพมองจากเขายูดัล
ทิวทิศน์ของมกโพมองจากเขายูดัล
ธงของมกโพ
ธง
ที่ตั้งของมกโพ (สีแดง) ในประเทศเกาหลีใต้
ที่ตั้งของมกโพ (สีแดง) ในประเทศเกาหลีใต้
พิกัด: 34°45′32″N 126°22′48″E / 34.7589°N 126.38°E / 34.7589; 126.38
ประเทศ เกาหลีใต้
จังหวัดช็อลลาใต้
จำนวนเขตการปกครอง22 แขวง (ดง)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีพัก ฮง-รยุล (박홍률)
พื้นที่
 • ทั้งหมด50.08 ตร.กม. (19.34 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (พฤศจิกายน ค.ศ. 2022)
 • ทั้งหมด217,041 คน
 • ความหนาแน่น4,300 คน/ตร.กม. (11,000 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลาUTC+9 (เวลามาตรฐานเกาหลี)
รหัสพื้นที่+82-61

มกโพ (เกาหลี: 목포시; เสียงอ่านภาษาเกาหลี: /mok̚.pʰo/; Mokpo-si) เป็นนครในจังหวัดช็อลลาใต้ ประเทศเกาหลีใต้ ตั้งอยู่บริเวณปลายสุดทางตะวันตกเฉียงใต้ของคาบสมุทรเกาหลี ติดกับภูเขายูดัล [en; ko] มกโพมีบริการรถไฟความเร็วสูงไปยังกรุงโซลหลายเที่ยว และเป็นจุดหมายของเส้นทางเรือข้ามฟากหลายสายที่ให้บริการไปยังเกาะต่าง ๆ ในทะเลเหลือง และอุทยานแห่งชาติทาโดแฮแฮซัง [en; ko]

ในช่วงที่เกาหลีอยู่ภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น (ค.ศ. 1910–1945) มกโพเป็นเมืองท่าเรือที่สำคัญทั้งในด้านการค้าและการขนส่ง เนื่องจากตั้งอยู่บนเส้นทางเดินเรือระหว่างหมู่เกาะญี่ปุ่นกับจีนแผ่นดินใหญ่ เกาะจำนวนมากที่ล้อมรอบมกโพยังทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกัน ทำให้เมืองนี้ได้รับผลกระทบจากคลื่นสูงและคลื่นสึนามิน้อยลง ในช่วงที่ถูกญี่ปุ่นยึดครอง พื้นที่ที่อยู่อาศัยขนาดใหญ่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับอาณานิคมของญี่ปุ่น ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นย่านประวัติศาสตร์ของมกโพ หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง และเกาหลีเป็นอิสรภาพใน ค.ศ. 1945 ทำให้มกโพค่อย ๆ สูญเสียบทบาทลงในฐานะเมืองที่เคยเป็นที่ตั้งขององค์กรภาครัฐและอุตสาหกรรมอาวุธสงคราม นำไปสู่การลดขนาดของเมือง โดยในปัจจุบันมกโพเป็นนครขนาดกลางของภูมิภาคโฮนัม

ศัพท์มูลวิทยา

[แก้]

คำว่า มกโพ (木浦 เมื่อเขียนเป็นฮันจา) แปลว่า "ปากน้ำที่มีต้นไม้จำนวนมาก" คำนี้เริ่มปรากฏใน โครยอซา หรือบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์โครยอ อีกทฤษฎีหนึ่งเสนอว่า "มก" ในชื่อเมืองหมายถึง "คอ" ซึ่งเป็นคำเปรียบเทียบถึงความสำคัญของตำแหน่งที่ตั้งของเมืองที่เป็นทางออกสู่ทะเลเหลือง[1]

ภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Park Young-soo (2005). 우리나라 문화여행 알면 재미있고 모르면 후회하는 [Korean cultural tour: It's fun if you know, regret if you don't] (ภาษาเกาหลี). Geoin Publishing.[ต้องการเลขหน้า]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]