ภาษาเวเนโต
ภาษาเวเนโต | |
---|---|
vèneto | |
ป้ายชื่อถนนซึ่งใช้ภาษาเวเนโตในเมืองเวนิส | |
ประเทศที่มีการพูด | อิตาลี, สโลวีเนีย, โครเอเชีย |
ภูมิภาค | อิตาลี • แคว้นเวเนโต[1][2] • แคว้นฟรียูลี-เวเน็ตเซียจูเลีย[1][2] • จังหวัดเตรนตีโน[1][2] สโลวีเนีย • บริเวณคาบสมุทรอิสเตรีย โครเอเชีย • เทศมณฑลอิสเตรีย[3][4] |
จำนวนผู้พูด | 3.9 ล้านคน (2545)[5] |
ตระกูลภาษา | |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | อิตาลี บราซิล (ภาษาถิ่นตาลีอัง)[8] เม็กซิโก (ภาษาเวเนโตถิ่นชิปิโล) |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | vec |
Linguasphere | 51-AAA-n |
ภาษาเวเนโต (อิตาลี: veneto; เวเนโต: vèneto) เป็นภาษากลุ่มโรมานซ์ภาษาหนึ่งที่ใช้พูดกันเป็นภาษาแม่ในหมู่ชาวเวเนโตเกือบสี่ล้านคนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของอิตาลี[9] ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในแคว้นเวเนโตที่ซึ่งประชากรส่วนใหญ่เข้าใจภาษานี้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ทั้งในและรอบ ๆ เมืองเวนิสซึ่งใช้ภาษาถิ่นที่มีเกียรติภูมิของภาษาเวเนโต บางครั้งยังมีการสื่อสารด้วยภาษานี้นอกแคว้นเวเนโต กล่าวคือ ในจังหวัดเตรนตีโน ภูมิภาคฟรียูลี ภูมิภาคเวเน็ตเซียจูเลีย คาบสมุทรอิสเตรีย และบางเมืองของสโลวีเนียและแดลเมเชีย (โครเอเชีย) โดยชาวเวเนโตพื้นเพดั้งเดิมที่ยังมีชีวิตอยู่ และในบราซิล อาร์เจนตินา และเม็กซิโกโดยชาวเวเนโตพลัดถิ่น
แม้ว่าผู้พูดภาษาเวเนโตบางคนและผู้พูดภาษาอื่น ๆ ในอิตาลีมักมองว่าภาษานี้เป็นเพียงภาษาถิ่นภาษาหนึ่งของภาษาอิตาลี แต่ภาษาเวเนโตก็เป็นภาษาต่างหากที่มีวิธภาษาท้องถิ่นหลายวิธภาษา ตำแหน่งที่แน่ชัดของภาษาเวเนโตภายในกลุ่มภาษาโรมานซ์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ อย่างไรก็ตาม ทั้งเอ็ทนอล็อกและกลอตโตล็อกต่างจัดให้ภาษานี้อยู่ในสาขาแกลโล-อิตาลิก[6][7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 Fifth United Nations Conference on the Standardization of Geographical Names: Vol.2. Montreal: United Nations. 1991.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Holmes, Douglas R. (1989). Cultural disenchantments: worker peasantries in northeast Italy. Princeton University Press.
- ↑ Minahan, James (1998). Miniature empires: a historical dictionary of the newly independent states. Westport: Greenwood.
- ↑ Kalsbeek, Janneke (1998). The Čakavian dialect of Orbanići near Žminj in Istria. Studies in Slavic and General Linguistics. Vol. 25. Atlanta.
- ↑ ภาษาเวเนโต ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ 6.0 6.1 "Venetian". Ethnologue.
- ↑ 7.0 7.1 "Venetian". Glottolog.org.
- ↑ Tonial, Honório (26 June 2009). "Subsídios para o reconhecimento do Talian" [Subsidies for the recognition of Talian]. Instituto de Investigação e Desenvolvimento em Política Linguística (IPOL) (ภาษาโปรตุเกส). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 January 2012. สืบค้นเมื่อ 21 August 2011.
- ↑ Ethnologue