ภาษาถิ่นโตเกียว
ภาษาถิ่นโตเกียว | |
---|---|
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศญี่ปุ่น |
ภูมิภาค | โตเกียว |
ตระกูลภาษา | ตระกูลภาษาญี่ปุ่น
|
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | – |
ภาษาถิ่นโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京方言; โรมาจิ: Tōkyō hōgen; ทับศัพท์: โทเกียวโฮเง็ง หรือ ญี่ปุ่น: 東京弁; โรมาจิ: Tōkyō-ben; ทับศัพท์: โทเกียวเบ็ง) หมายถึง ภาษาญี่ปุ่นถิ่นที่ประชากรที่อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ใช้สื่อสารกัน และมักใช้กล่าวถึงเฉพาะภาษาถิ่นที่ใช้ในย่านเมืองเก่า แบ่งเป็นภาษาถิ่นย่อยได้ 2 ภาษาถิ่นย่อย ได้แก่ ภาษาถิ่นย่อยที่ใช้ในย่านยามาโนเตะ เรียกว่า ยามาโนเตะโคโตบะ (ญี่ปุ่น: 山の手ことば; โรมาจิ: Yamanote Kotoba) กับภาษาถิ่นย่อยที่ใช้ในย่านชิตามาจิ เรียกว่า ชิตามาจิโคโตบะ (ญี่ปุ่น: 下町ことば; โรมาจิ: Shitamachi Kotoba)[1][2]
เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ ภาษาถิ่นของย่านยามาโนเตะซึ่งเป็นภาษาของคนชั้นกลาง-สูงได้พัฒนามาเป็นภาษามาตรฐาน (ภาษากลาง) จึงมีคนเข้าใจผิดว่าภาษาถิ่นโตเกียวกับภาษากลางเป็นสิ่งเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ภาษาถิ่นของย่านชิตามาจิมีลักษณะการออกเสียงและสำนวนที่ต่างจากภาษาถิ่นของย่านยามาโนเตะหลายประการ
ประวัติ
[แก้]ภาษาถิ่นโตเกียวพัฒนามาจากภาษาเอโดะ (ญี่ปุ่น: 江戸言葉; โรมาจิ: Edo Kotoba; ทับศัพท์: เอโดะโคโตบะ) ถือกำเนิดขึ้นพร้อม ๆ กับการพัฒนาเมืองเอโดะหลังจากที่โทกูงาวะ อิเอยาซุ ย้ายศูนย์กลางการปกครองมาที่เมืองดังกล่าว ภาษาเอโดะเป็นภาษาที่เกิดจากการผสมผสานระหว่างภาษาญี่ปุ่นถิ่นตะวันออกกับภาษาญี่ปุ่นถิ่นตะวันตกเนื่องจากมีผู้คนจากถิ่นต่าง ๆ หลั่งไหลเข้ามายังเอโดะไม่ขาดสาย[3] อย่างไรก็ตาม ภาษาคามิงาตะ (ญี่ปุ่น: 上方言葉; โรมาจิ: Kamigata Kotoba; ทับศัพท์: คามิงาตะโคโตบะ) มีอิทธิพลต่อภาษาเอโดะเป็นอย่างมากเนื่องจากเป็นภาษาถิ่นที่ใช้ในกลุ่มชนชั้นสูงหรือชนชั้นปกครอง และต่อมาก็ขยายมายังกลุ่มชนชั้นกลางในช่วงท้ายของยุคเอโดะ[4] เมื่อเข้าสู่ยุคเมจิ เอโดะได้เปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียว (ญี่ปุ่น: 東京; โรมาจิ: Tōkyō; ทับศัพท์: โทเกียว) ในช่วงนั้นกระแสชาตินิยมสืบเนื่องจากการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตกทำให้ญี่ปุ่นต้องรีบพัฒนาประเทศอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจึงยกภาษาถิ่นโตเกียวย่านยามาโนเตะ (ยามาโนเตะโคโตบะ) ซึ่งเป็นภาษาของคนชั้นกลาง-สูงขึ้นมาเป็นแม่แบบของภาษามาตรฐานและบรรจุลงในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคบังคับทั่วประเทศ[3] โดยที่ไม่ได้นำภาษาถิ่นโตเกียวย่านชิตามาจิ (ชิตามาจิโคโตบะ) ซึ่งเป็นภาษาของชนชั้นแรงงานมาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาภาษามาตรฐาน[4]
การออกเสียง
[แก้]ลักษณะเด่นด้านการออกเสียงของภาษาถิ่นโตเกียวมีดังนี้
- มักลดความก้อง (devoicing) เสียงสระ /i/ และ /u/ ที่อยู่ระหว่างเสียงพยัญชนะไม่ก้องหรือปรากฏหน้าการหยุด (เช่น การเว้นวรรคระหว่างพูด) เช่น 「ネクタイです。」 /nekutai desu/ มักจะออกเสียงเป็น [nekɯ̥taidesɯ̥] ฟังคล้าย [nektaides]
- 「が」「ぎ」「ぐ」「げ」「ご」 ที่ไม่ได้อยู่ต้นคำออกเสียงเป็น [ŋa] [ŋi] [ŋɯ] [ŋe] [ŋo] ตามลำดับ (ดูหัวข้อ "เสียงขุ่นนาสิก" ประกอบ)
ต่อไปนี้เป็นลักษณะเด่นที่พบมากในภาษาถิ่นโตเกียวย่านชิตามาจิ
- ai (アイ) กับ oi (オイ) ออกเสียงเป็น ee(エー) เช่น
- amai → amee(あまい→あめえ) "หวาน"
- arumai → arumee(あるまい→あるめえ) "ไม่น่าจะมี"
- osoi → osee(遅い→おせえ) "ช้า, สาย"
- ikitai → ikitee(行きたい→行きてえ) "อยากไป"
- พบการใช้เสียงพยัญชนะซ้ำในคำประสมหรือคำที่ประกอบด้วยคำอุปสรรคเน้นย้ำ เช่น
- ออกเสียง ju(じゅ),shu(しゅ)เพี้ยนเป็น ji「じ」,shi「し」 ตามลำดับ เช่น
- junbi じゅんび(準備) "เตรียม" → jinbi じんび
- bijutsu びじゅつ(美術) "ศิลปะ" → bijitsu びじつ
- shinjuku しんじゅく(新宿) "ชินจูกุ" → shinjiku しんじく
- shukō しゅこう(趣向) "ความคิดใหม่ ๆ" → shikō しこう
- ออกเสียง hi(ひ)กับ shi(し) สลับกันไปมา โดยทั่วไปจะออกเสียง hi เป็น shi และพบการออกเสียง shi เป็น hi บ้างเมื่อผู้พูดแก้ไขเกินเหตุ (hypercorrection) เช่น
- shiohigari しおひがり(潮干狩り) "การไปเก็บหอย กุ้ง ปู ขณะน้ำลง" → hioshigari ひおしがり
- hito ひと(人) "คน" → shito しと
- hitsuzen ひつぜん(必然 ) "การกำหนดไว้แล้วตายตัว" → shitsuzen しつぜん
- hiroshima ひろしま(広島) "ฮิโรชิมะ" → shiroshima しろしま
- hitsuyō ひつよう(必要) "จำเป็น" ←→ shitsuyō しつよう(執拗) "ยืนกราน, ดื้อดึง"
- hitsuji ひつじ(羊) "แกะ ←→ shitsuji しつじ(執事) "หัวหน้าคนใช้ในบ้านผู้สูงศักดิ์"
- hiretsu ひれつ(卑劣) "(นิสัย) ต่ำช้า" ←→ shiretsu しれつ(熾烈) "รุนแรง, ดุเดือด"
เสียงสูงต่ำ
[แก้]ภาษาถิ่นโตเกียวย่านยามาโนเตะและย่านชิตามาจิมีคำศัพท์บางคำที่เสียงสูงต่ำต่างกัน ดังที่ยกตัวอย่างต่อไปนี้ (ฝั่งซ้ายคือยามาโนเตะ ฝั่งขวาคือชิตามาจิ)
- 坂[6] サカ\ ⇔ サ\カ "เนิน, ที่ลาด"
- 次[6] ツキ゚\ ⇔ ツ\キ゚ "ถัดไป"
- 鮨[6] スシ\ ⇔ ス\シ "ซูชิ"
- 露[6] ツユ\ ⇔ ツ\ユ "น้ำค้าง"
- 砂[6] スナ ̄ ⇔ スナ\ "ทราย"
- 皺[6] シワ ̄ ⇔ シワ\ "ริ้วรอย"
- 卵[6] タマ\コ゚ ⇔ タマコ゚ ̄ "ไข่"
- 刀[6] カタナ\ ⇔ カタ\ナ "ดาบ"
- 頭[6] アタマ\ ⇔ アタ\マ "หัว"
- 鋏[6] ハサミ\ ⇔ ハサ\ミ "กรรไกร"
- 心[6] ココロ\ ⇔ ココ\ロ "ใจ"
- 国[7] クニ\ ⇔ クニ ̄ "ประเทศ"
- 虹[7] ニジ\ ⇔ ニジ ̄ "รุ้งกินน้ำ"
- 坂東[8] バ\ンドー ⇔ バンドー ̄ "บันโด ชื่อเดิมของคันโต"
- 朝日[9] ア\サヒ ⇔ アサ\ヒ "พระอาทิตย์ยามเช้า"
นอกจากนี้ ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ประชากรในเขตอาดาจิ เขตเอโดงาวะ และเขตคัตสึชิกะ ซึ่งติดกับจังหวัดไซตามะและจังหวัดชิบะใช้เสียงสูงต่ำตามภาษาถิ่นไซตามะ[10]
สำนวน
[แก้]- ภาษาถิ่นคันโตและโทโฮกุเดิมมีรูปประโยคที่ลงท้ายด้วย「べい」/「べえ」/「べ」 แต่ภาษาถิ่นโตเกียวใช้「~う」หรือ「~よう」 เช่น 「行くべい」=「行こう」,「これだべい」=「これだろう」
- ภาษาถิ่นโตเกียวใช้คำช่วย「へ」 (แสดงทิศทาง) เช่นเดียวกับภาษาถิ่นคิงกิ ต่างจากภาษาถิ่นโทโฮกุที่นิยมใช้คำช่วย「さ」
- พบคำศัพท์ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น 「怖い」 "กลัว" 「ふすま」 "ประตูเลื่อนกรอบไม้กรุด้วยกระดาษอย่างหนา" 「うろこ」 "เกล็ด" 「つゆ(梅雨)」 "ช่วงฤดูฝนก่อนเข้าฤดูร้อน" 「塩辛い」 "เค็ม" 「つらら」 "แท่งน้ำแข็งตามชายคาบ้าน เกิดจากน้ำไหลลงมาแล้วแข็งตัว" 「けむり」 "ควัน" 「しあさって」 "วันมะเรื่อง (วันถัดจากวันมะรืน)"[11]
- พบสำนวนภาษาสุภาพ(敬語)ที่รับมาจากภาษาถิ่นคิงกิจำนวนมาก เช่น กริยาถ่อมตัว「おる」, รูปปฏิเสธแบบสุภาพ「~ません」 รวมถึงเสียงสะดวก -u(ウ音便) เช่น 「ごきげんよう」 (มาจาก ごきげんよく), 「お寒うございます」 (มาจาก お寒くございます)
- ประชากรในโตเกียวใช้สำนวนภาษาสุภาพ「~れる」「~られる」ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับถิ่นอื่น ๆ[12]
- แม้ว่าปัจจุบันใช้กริยานุเคราะห์ปฏิเสธ「ない」หรือ「ねえ」 แต่ก่อนหน้านี้ก็เคยใช้「ぬ」หรือ「ん」แบบเดียวกับภาษาถิ่นภาษาญี่ปุ่นตะวันตก และยังคงเหลือให้เห็นในสุภาษิต คำพังเพย จนถึงปัจจุบัน
- 「~てしまう」กลายเป็น「~ちまう」「~ちゃう」 เช่น 「終わってしまう」→「終わっちまう」/「終わっちゃう」
- พบการใช้ภาษาผู้หญิง「わ」「こと」「てよ」 ฯลฯ ตั้งแต่เข้าสู่ยุคเมจิ
สถานการณ์ในปัจจุบัน
[แก้]การปนกันของภาษาถิ่นย่านยามาโนเตะและชิตามาจิ การอพยพของคนถิ่นเดิมเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในคันโตและการทิ้งระเบิดโตเกียว การอพยพเข้ามาของคนต่างถิ่นเนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ล้วนแต่ส่งผลกระทบต่อภาษาถิ่นโตเกียวให้กลายเป็นภาษาใกล้สูญ ปัจจุบัน "ภาษาถิ่นเขตอภิมหานครโตเกียว"(首都圏方言)ซึ่งเป็นภาษาถิ่นที่ผสมผสานระหว่างภาษากลาง (ภาษาถิ่นโตเกียว) กับภาษาถิ่นในภูมิภาคคันโตได้เข้ามามีอิทธิพลในโตเกียวเป็นอย่างมาก เช่น
- ใช้คำแสดงทัศนภาวะ (modality) 「~じゃん・~じゃんか」 มีความหมายเหมือน「~じゃないか」ในภาษาถิ่นโตเกียว มาจากภาษาถิ่นภูมิภาคชูบุและเข้ามาในโตเกียวผ่านทางโยโกฮามะ[13]
- ใช้「違かった」「違くて」แทนการใช้「違った」「違って」 มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุตอนใต้และคันโตตอนเหนือ[13]
- ใช้「みたく」แทนการใช้「みたいに」เช่น「神様みたく尊敬する」 = 神様みたいに尊敬する」 "นับถือเหมือนเทพเจ้า" มาจากภาษาถิ่นโทโฮกุและคันโตตอนเหนือ[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Nihon kokugo daijiten. Shōgakkan. Kokugo Jiten Henshūbu, 小学館. 国語辞典編集部. (Seisenban, shohan ed.). Tōkyō: Shōgakkan. 2006. ISBN 4-09-521021-4. OCLC 70216445.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 2.0 2.1 2.2 Daijirin. Akira Matsumura, 松村明, Sanseidō. Henshūjo, 三省堂. 編修所. (Daishihan ed.). Tōkyō. 2019. ISBN 978-4-385-13906-7. OCLC 1117711467.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 Hasegawa, Yoko (2015). Japanese : a linguistic introduction. Cambridge, United Kingdom. ISBN 978-1-107-61147-4. OCLC 873763304.
- ↑ 4.0 4.1 Frellesvig, Bjarke (2010). A history of the Japanese language. Cambridge: Cambridge University Press. ISBN 978-0-511-93242-7. OCLC 695989981.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Shin meikai kokugo jiten = Sinmeikai. Tadao Yamada, Yasuo Kuramochi, Zendō Uwano, Masahiro Ijima, Hiroyuki Sasahara, 山田忠雄 (Daihachihan, shiroban ed.). Tōkyō. 2020. ISBN 978-4-385-13078-1. OCLC 1223313848.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์) - ↑ 6.00 6.01 6.02 6.03 6.04 6.05 6.06 6.07 6.08 6.09 6.10 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「移りつく東京アクセント」
- ↑ 7.0 7.1 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「東京語アクセントの再検討」
- ↑ 国立国語研究所『東京方言および各地方言の調査』
- ↑ 江端義夫著「最新ひと目でわかる全国方言一覧辞典」
- ↑ 玉川大学出版部『金田一春彦著作集 第9巻』「埼玉県下に分布する特殊アクセントの考察」
- ↑ 飯豊毅一・日野資純・佐藤亮一編『講座方言学1 ―方言概説―』国書刊行会、1998年、166頁。
- ↑ 文化審議会『敬語の指針(文化審議会答申)』(PDF)文化庁、2007年2月2日。51頁。
- ↑ 13.0 13.1 13.2 Sanseidō kokugo jiten. Hidetoshi Kenbō, Takashi Ichikawa, Yoshifumi Hida, Makoto Yamazaki, Hiroaki Iima, Takehiro Shioda. Tōkyō: Sanseidō. 2022. ISBN 978-4-385-13929-6. OCLC 1289473336.
{{cite book}}
: CS1 maint: others (ลิงก์)