ข้ามไปเนื้อหา

พระเจ้าไซรัสมหาราช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระเจ้าไซรัสมหาราช
𐎤𐎢𐎽𐎢𐏁
รูปปั้น "Winged Genius" ที่พอซอร์กอด พร้อมพระเกศาถักกับมงกุฎเฮมเฮม ตามธรรมเนียมระบุเป็นพระเจ้าไซรัส[1][a]
ชาห์แห่งชาห์แห่งจักรวรรดิอะคีเมนิด
ครองราชย์550–530 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าสถาปนาจักรวรรดิ
ถัดไปแคมไบซีสที่ 2
กษัตริย์แห่งเปอร์เซีย
ครองราชย์559–530 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าแคมไบซีสที่ 1
ถัดไปแคมไบซีสที่ 2
กษัตริย์แห่งมีดส์
ครองราชย์549–530 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าAstyages
ถัดไปแคมไบซีสที่ 2
กษัตริย์แห่งลิเดีย
ครองราชย์547–530 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้าCroesus
ถัดไปแคมไบซีสที่ 2
กษัตริย์แห่งบาบิโลน
ครองราชย์539–530 ปีก่อน ค.ศ.
ก่อนหน้านาโบนีดุส
ถัดไปแคมไบซีสที่ 2
ประสูติป. 600 ปีก่อน ค.ศ.[4]
อันชาน เปอร์ซิส (ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดฟอร์ส ประเทศอิหร่าน)
สวรรคต4 ธันวาคม 530 ปีก่อน ค.ศ.[5] (70 พรรษา)
พอซอร์กอด เปอร์ซิส
ฝังพระศพพอซอร์กอด
คู่อภิเษกแคสแซนดาเน
พระราชบุตร
ราชวงศ์Teispid
พระราชบิดาแคมไบซีสที่ 1
พระราชมารดามันดาเนแห่งมีดซ์

พระเจ้าไซรัสที่ 2 แห่งเปอร์เซีย (เปอร์เซียเก่า: 𐎤𐎢𐎽𐎢𐏁 Kūruš; ป. 600–530 ปีก่อน ค.ศ.)[b] โดยทั่วไปรู้จักกันในพระนาม พระเจ้าไซรัสมหาราช[6] เป็นผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเปอร์เซียอะคีเมนิด[7] พระองค์นำราชวงศ์อะคีเมนิดขึ้นมามีอำนาจด้วยการเอาชนะจักรวรรดิมีดซ์และรวบรวมรัฐอารยะก่อนหน้าทั้งหมดในตะวันออกใกล้โบราณ[7] ขยายดินแดนขนานใหญ่จนกระทั่งพิชิตเอเชียตะวันตกส่วนใหญ่และเอเชียกลางหลายแห่ง เพื่อสร้างสิ่งที่จะกลายเป็นหน่วยการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษย์สมัยนั้น[7]

หลังพิชิตจักรวรรดิมีดซ์ พระเจ้าไซรัสนำกองทัพจักรวรรดิไปพิชิตจักรวรรดิลิเดียและภายหลังจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ พระองค์ยังนำทัพไปยังเอเชียกลางที่ก่อให้เกิดการทัพที่มีการกล่าวถึงว่า "ให้ทุกประชาชาติอยู่ภายใต้การปกครองโดยไม่มีข้อยกเว้น"[8] พระเจ้าไซรัสถูกกล่าวหาว่าสวรรคตในสงครามกับ Massagetae สมาพันธ์ชนเผ่าอิหร่านตะวันออกร่อนเร่ ริมแม่น้ำซีร์ดาร์ยาในเดือนธันวาคม 530 ปีก่อน ค.ศ.[9][c] อย่างไรก็ตาม เซโนฟอนแห่งเอเธนส์อ้างว่าพระเจ้าไซรัสยังไม่สวรรคตขณะสู้รบ และเสด็จกลับไปยังนครเปอร์เซเปอลิสที่ทำหน้าที่เป็นเมืองหลวงเชิงพิธีของอะคีเมนิด[10] จักรพรรดิแคมไบซีสที่ 2 พระราชโอรส ขึ้นครองราชย์ต่อ และการทัพไปยังแอฟริกาเหนือนำไปสู่การพิชิตอียิปต์, นูเบีย และCyrenaicaเพียงระยะสั้น

สำหรับชาวกรีก พระองค์เป็นที่รู้จักในพระนาม ไซรัสผู้พี่ (กรีก: Κῦρος ὁ Πρεσβύτερος Kŷros ho Presbýteros) พระเจ้าไซรัสมีชื่อเสียงเป็นพิเศษในบรรดานักวิชาการร่วมสมัย เนื่องมาจากนโยบายของพระองค์ในการเคารพขนบธรรมเนียมและศาสนาของผู้คนในดินแดนที่พระองค์พิชิต[11] พระองค์มีอิทธิพลในการพัฒนาระบบการปกครองส่วนกลางที่พอซอร์กอดเพื่อปกครองเซแทร็ปชายแดนของจักรวรรดิที่เป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ปกครองและราษฎร[7][12] หลังการพิชิตบาบิโลนของอะคีเมนิด พระเจ้าไซรัสทรงออกคำสั่งพระราชกฤษฎีกาการฟื้นฟูที่พระองค์ทรงอนุญาตและสนับสนุนให้ชาวยิวกลับไปยังบริเวณที่เคยเป็นอาณาจักรยูดาห์ ทำให้การคุมขังที่บาบิโลนสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการ พระองค์ได้รับการกล่าวถึงในคัมภีร์ฮีบรูและทิ้งมรดกต่อศาสนายูดาห์ เนื่องจากบทบาทของพระองค์ในการอำนวยความสะดวกต่อการกลับไปยังไซออน เหตุการณ์อพยพที่ชาวยิวเดินทางกลับดินแดนอิสราเอลหลังพระเจ้าไซรัสสถาปนา Yehud Medinata และสร้างพระวิหารในกรุงเยรูซาเลมขึ้นมาใหม่ หลังถูกทำลายในช่วงการล้อมเยรูซาเลมของบาบิโลน รายงานจากหนังสืออิสยาห์ บทที่ 45:1[13] ไซรัสได้รับการเจิมจากพระเจ้าของชาวยิวสำหรับภารกิจนี้ในฐานะพระเมสสิยาห์ พระองค์เป็นเพียงบุคคลเดียวที่ไม่ใช่ชาวยิวที่ได้รับการยกย่องในระดับนี้[14]

นอกจากอิทธิพลของพระองค์ต่อธรรมเนียมทั้งโลกตะวันออกและโลกตะวันตกแล้ว ไซรัสยังได้รับการยอมรับจากความสำเร็จในด้านสิทธิมนุษยชน การเมือง และยุทธศาสตร์ทางทหาร ชื่อเสียงของจักรวรรดิอะคีเมนิดในโลกสมัยโบราณขยายออกไปไกลตะวันตกสุดถึงเอเธนส์ที่ชาวกรีกชนชั้นสูงได้นำเอาวัฒนธรรมของชนชั้นปกครองเปอร์เซียมาใช้เป็นของตนเอง[15] ในฐานะผู้ก่อตั้งจักรวรรดิอิหร่านองค์แรก ไซรัสมีบทบาทสำคัญในการกำหนดอัตลักษณ์ประจำชาติอิหร่าน จักรวรรดิอะคีเมนิดขยายแนวคิดศาสนาโซโรอัสเตอร์ไปไกลทางตะวันออกถึงจีน[16][17][18] พระองค์ยังคงเป็นบุคคลประจำลัทธิในอิหร่านสมัยใหม่ โดยสุสานพระเจ้าไซรัสที่พอซอร์กอดเป็นจุดแสดงความเคารพของพลเมืองในประเทศหลายล้านคน[19]

ศัพทมูลวิทยา

[แก้]

พระนาม Cyrus เป็นรูปแผลงละตินจากพระนามในภาษากรีกว่า Κῦρος (Kỹros) ซึ่งมาจากพระนามภาษาเปอร์เซียโบราณว่า Kūruš[20][21] มีการบันทึกพระนามและความหมายภายในจารึกสมัยโบราณในหลายภาษา โดย Ctesias กับพลูทาร์ก นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ระบุว่า ไซรัสได้รับการตั้งพระนามจากดวงอาทิตย์ (Kuros) แนวคิดที่ตีความเป็นความหมาย "ดั่งสุริยะ" (Khurvash) ด้วยการระบุความสัมพันธ์ของ khor (ดวงอาทิตย์) คำนามภาษาเปอร์เซีย ซึ่งใช้คำอุปสรรค -vash สำหรับความคล้ายกัน[22] Karl Hoffmann เสนอแนะคำแปลจากความหมายในรากศัพท์อินโด-ยูโรเปียนว่า "ขายหน้า" และพระนาม "Cyrus" จึงหมายถึง "ความอับอายของศัตรูในการประลองทางวาจา"[21] ความเป็นไปได้อีกแบบอาจหมายถึง "เจ้าเด็กน้อย" คล้ายกับในภาษาเคิร์ดว่า kur ("ลูกชาย, เด็กน้อย") หรือในภาษาออสซีเชียว่า i-gur-un ("ถือกำเนิด") และ kur (กระทิงหนุ่ม)[23] ในภาษาเปอร์เซียและโดยเฉพาะในประเทศอิหร่าน พระนามของพระเจ้าไซรัสสะกดเป็น คูโรช (کوروش, Kūroš, [kuːˈɾoʃ])[24] ส่วนในคัมภีร์ไบเบิล พระองค์ได้รับการเรียกขานในภาษาฮีบรูเป็น โคเรช (כורש)[25] หลักฐานบางส่วนชี้ให้เห็นว่าพระเจ้าไซรัสคือแคย์ โฆสโรว์ กษัตริย์เปอร์เซียในตำนานจากราชวงศ์แคยอนียอน และตัวละครใน ชอฮ์นอเม มหากาพย์เปอร์เซีย[26]

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการบางส่วนเชื่อว่าทั้ง Cyrus หรือ Cambyses ไม่ใช่พระนามภาษาเปอร์เซีย โดยเสนอว่า Cyrus เป็นพระนามที่มีต้นตอจากเอลาม[27] และพระนามนั้นหมายถึง "ผู้ทรงให้ความเอาใจใส่" ในภาษาเอลามที่สูญหายแล้ว[28] เหตุผลหนึ่งคือ ชื่อในภาษาเอลามอาจลงท้ายด้วย -uš ไม่มีข้อความภาษาเอลามใดที่สะกดชื่อในรูปแบบนี้ เว้นแต่ Kuraš เท่านั้น[23] ขณะเดียวกััน ภาษาเปอร์เซียโบราณไม่อนุญาตให้ชื่อลงท้ายด้วย -aš ดังนั้นจึงมีเหตุผลที่ผู้พูดชาวเปอร์เซียเปลี่ยนรูปเดิมของ Kuraš ไปเป็นรูปที่ตรงตามไวยากรณ์กว่าว่า Kuruš[23] ในขณะที่อาลักษณ์ชาวเอลามจะไม่มีเหตุผลในการเปลี่ยนชื่อต้นฉบับ Kuraš ไปเป็น Kuruš เนื่องจากทั้งสองรูปยอมรับได้[23] ดังนั้น Kuraš น่าจะเป็นรูปเดิม[23] ความเห็นนักวิชาการอีกอันคือ Kuruš เป็นพระนามที่มีต้นตอจากอินโด-อารยัน เพื่ออุทิศแด่ทหารรับจ้าง Kuru และ Kamboja ชาวอินโด-อารยันจากอัฟกานิสถานตะวันออกและอินเดียตะวันตกเฉียงเหนือที่ช่วยในการพิชิตตะวันออกกลาง[29][30] [d]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักประวัติศาสตร์ได้ละทิ้งการระบุบุคคลนี้เข้ากับพระเจ้าไซรัสมหาราช[2][3]
  2. ภาพ: KUURUUSHA
  3. Cyrus's date of death can be deduced from the last two references to his own reign (a tablet from Borsippa dated to 12 August and the final from Babylon 12 September 530 BC) and the first reference to the reign of his son Cambyses (a tablet from Babylon dated to 31 August and or 4 September), but an undocumented tablet from the city of Kish dates the last official reign of Cyrus to 4 December 530 BC; see R.A. Parker and W.H. Dubberstein, Babylonian Chronology 626 B.C. – A.D. 75, 1971.
  4. Kuraš ก็มีการเสนอว่าเป็นชื่อภาษาเอลามก่อนหน้าช่วงชีวิตพระเจ้าไซรัส[23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Curzon 2018, p. 75.
  2. Sekunda 2010, p. 268–271.
  3. Stronach 2010, p. 9.
  4. Ilya Gershevitch, บ.ก. (1985). The Cambridge History of Iran: The Median and Achaemenian periods. Vol. 2. Cambridge University Press. p. 404. ISBN 978-0-521-20091-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 October 2021. สืบค้นเมื่อ 10 November 2020.
  5. 5.0 5.1 Dandamayev 1993, pp. 516–521.
  6. Xenophon, Anabasis I. IX; see also M. A. Dandamaev "Cyrus II", in Encyclopaedia Iranica.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 Schmitt (1983) Achaemenid dynasty (i. The clan and dynasty)
  8. Cambridge Ancient History IV Chapter 3c. p. 170. The quote is from the Greek historian Herodotus.
  9. Beckwith, Christopher. (2009). Empires of the Silk Road: A History of Central Eurasia from the Bronze Age to the Present. Princeton and Oxford: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-13589-2. p. 63.
  10. Bassett, Sherylee R. (1999). "The Death of Cyrus the Younger". The Classical Quarterly. 49 (2): 473–483. doi:10.1093/cq/49.2.473. ISSN 0009-8388. JSTOR 639872. PMID 16437854.
  11. Dandamayev Cyrus (iii. Cyrus the Great) Cyrus's religious policies.
  12. The Cambridge Ancient History Vol. IV p. 42. See also: G. Buchaman Gray and D. Litt, The foundation and extension of the Persian empire, Chapter I in The Cambridge Ancient History Vol. IV, 2nd edition, published by The University Press, 1927. p. 15. Excerpt: The administration of the empire through satrap, and much more belonging to the form or spirit of the government, was the work of Cyrus ...
  13. Jona Lendering (2012). "Messiah – Roots of the concept: From Josiah to Cyrus". livius.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 December 2011. สืบค้นเมื่อ 26 January 2012.
  14. The Biblical Archaeology Society (BAS) (24 August 2015). "Cyrus the Messiah". bib-arch.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 January 2015. สืบค้นเมื่อ 27 July 2015.
  15. Margaret Christina Miller (2004). Athens and Persia in the Fifth Century BC: A Study in Cultural Receptivity. Cambridge University Press. p. 243. ISBN 978-0-521-60758-2. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.
  16. Vesta Sarkhosh Curtis; Sarah Stewart (2005). Birth of the Persian Empire. I.B. Tauris. p. 7. ISBN 978-1-84511-062-8. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 28 September 2020.[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]
  17. Amelie Kuhrt (3 December 2007). The Persian Empire: A Corpus of Sources from the Achaemenid Period. Routledge. p. 47. ISBN 978-1-134-07634-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
  18. Shabnam J. Holliday (2011). Defining Iran: Politics of Resistance. Ashgate Publishing, Ltd. pp. 38–40. ISBN 978-1-4094-0524-5. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 January 2016. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
  19. Llewellyn-Jones 2017, p. 67.
  20. Schmitt, Rüdiger. "Cyrus (name)". Encyclopædia Iranica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 8 February 2016.
  21. 21.0 21.1 Schmitt 2010, p. 515.
  22. ; Plutarch, Artaxerxes 1. 3 classics.mit.edu เก็บถาวร 29 มิถุนายน 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน; Photius, Epitome of Ctesias' Persica 52 livius.org เก็บถาวร 23 พฤศจิกายน 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  23. 23.0 23.1 23.2 23.3 23.4 23.5 Tavernier, Jan (2007). Iranica in the Achaemenid Period (ca. 550-330 B.C.). Leuven: Peeters. pp. 528–9. ISBN 9789042918337. OCLC 167407632.
  24. (Dandamaev 1989, p. 71)
  25. Tait 1846, p. 342-343.
  26. Al-Biruni (1879) [1000]. The Chronology of Ancient Nations. แปลโดย Sachau, C. Edward. p. 152.
  27. D.T.Potts, Birth of the Persian Empire, Vol. I, ed. Curtis & Stewart, I.B.Tauris-British Museum, London, ç2005, p.13-22
  28. Waters 2014, p. 171.
  29. Eric G. L. Pinzelli (2022). Masters of Warfare Fifty Underrated Military Commanders from Classical Antiquity to the Cold War. Pen and Sword Military. p. 3. ISBN 9781399070157.
  30. The Modern Review Volume 89. the University of Michigan. 1951. which should really be "Kurush", an Indo-aryan name (cf. "Kuru" of the Mahabharata legend). Thus Cambyses was really "Kambujiya"

บรรณานุกรม

[แก้]

ข้อมูลสมัยโบราณ

[แก้]

ข้อมูลสมัยใหม่

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]