ข้ามไปเนื้อหา

พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด สวาทะสุข)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พระยาวิจารณจักรกิจ)
พระยาวิจารณ์จักรกิจ
(บุญรอด สวาทะสุข)
ผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
10 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2481
ก่อนหน้าตนเอง
(รักษาราชการแทน)
ถัดไปพลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)
รักษาราชการผู้บัญชาการทหารเรือ
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2477 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481
ก่อนหน้าพลเรือเอก หลวงสินธุสงครามชัย (สินธุ์ กมลนาวิน)
ถัดไปตนเอง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด17 มิถุนายน พ.ศ. 2433
เสียชีวิต20 มิถุนายน พ.ศ. 2510 (77 ปี)
คู่สมรสเพียรผจง วิจารณ์จักรกิจ
บุพการี
  • สุก สวาทะสุข (บิดา)
  • แสง สวาทะสุข (มารดา)
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
ยศ พลเรือตรี

พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ (17 มิถุนายน 2433 – 20 มิถุนายน 2510) มีนามเดิมว่า บุญรอด อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล และเป็นต้นสกุล สวาทะสุข

ประวัติ

[แก้]

พระยาวิจารณ์จักรกิจ มีชื่อเดิมว่า บุญรอด (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น บุญชัย)[1] มีพี่น้องรวมทั้งสิ้น 8 คน เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 3 คน คือ พลเรือตรี พระยาวิจารณจักรกิจ (บุญรอด) นางเปี่ยม วีรเดช และนางปุก คงเปรม เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 6 และ คณะรัฐมนตรีคณะที่ 7 ในสมัยของพระยาพหลพลพยุหเสนา และยังดำรงตำแหน่งเป็นผู้รักษาราชการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ และผู้บัญชาการทหารเรือ โดยเมื่อขณะที่ศึกษาอยู่ ณ โรงเรียนนายเรือในช่วงเดือนตุลาคม ร.ศ. 124 (พ.ศ. 2448) กรมทหารเรือได้สั่งให้กรมยุทธศึกษาทหารเรือคัดเลือกนักเรียนนายเรือ 7 นาย เพื่อจะส่งไปศึกษาวิชาการทหารเรือ ณ ประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง นายบุญรอด (ต่อมาเป็นพลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ) เป็น 1 ใน 7 นักเรียนนายเรือที่ได้รับคัดเลือกในสมัยนั้นด้วย พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ เป็นหนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนอาชีพช่างกล หรือสถาบันเทคโนโลยีปทุมวันในปัจจุบัน

ยศและบรรดาศักดิ์

[แก้]

บรรดาศักดิ์

[แก้]
  • หลวงวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด)
  • พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด)

ยศทหารเรือ

[แก้]
  • ว่าที่นายเรือโท
  • นายเรือเอก
  • นายนาวาเอก
  • พลเรือตรี

ตำแหน่งราชการ

[แก้]
  • เจ้ากรมอู่ทหารเรือ
  • ผู้ช่วยผู้บัญชาการ สถานีทหารเรือกรุงเทพฯ (ฝ่ายช่าง)[2]: 269 
  • พ.ศ. 2475 คณะกรรมการกลางกลาโหม ฝ่ายทหารเรือ (กรรมการพิเศษ)
  • พ.ศ. 2476 – 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 รักษาการตำแหน่งผู้บัญชาการทหารเรือ[3]: 31 [4]: 73 
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2477 – 9 สิงหาคม พ.ศ. 2480 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 6[5]
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2480 – 10 ธันวาคม พ.ศ. 2480 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 7[6]
  • 21 ธันวาคม พ.ศ. 2480 – 10 กันยายน พ.ศ. 2481 คณะรัฐมนตรี คณะที่ 8[7]
  • พ.ศ. 2478 คณะกรรมการพิจารณาโครงการบำรุงกองทัพเรือ
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ผู้บัญชาการทหารเรือ[8]: 633 
  • 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2481 ที่ปรึกษาการป้องกันพระราชอาณาจักร[9]
  • 11 กันยายน พ.ศ. 2481 – 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 รักษาการคณะรัฐมนตรี คณะที่ 8
  • พ.ศ. 2483 ที่ปรึกษาผู้บัญชาการเขตภายใน[10]: 2 
  • 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 – 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 สมาชิกวุฒิสภาไทย ชุดที่ 2 พ.ศ. 2489[11]

พระราชทานนามสกุล

[แก้]

พระยาวิจารณ์จักรกิจ (บุญรอด) ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า สวาทะสุข จากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2457 ตาม ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๒๒[12] เป็นนามสกุลพระราชทานลำดับที่ 1,731 ใน สมุดทะเบียฬนามสกุลพระราชทาน ก่อนได้รับพระราชทานนามสกุลเดิมใช้นามสกุลว่า ทองเอม[ต้องการอ้างอิง]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 1.2 วิจารณ์จักรกิจ (บุญชัย สวาทะสุข), พลเรือตรี พระยา. (2510). อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเรือตรี พระยาวิจารณ์จักรกิจ ท.ช.,ต.ม. (บุญชัย สวาทะสุข). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ. 107 หน้า.
  2. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์. (2547). ปฏิวัติ 2475: 1932 Revolution in Siam. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. 507 หน้า. ISBN 978-974-9-24149-3
  3. ประทีป สายเสน. (2551). กบฏวังหลวงกับสถานะของปรีดี พนมยงค์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ThanBooks. 125 หน้า. ISBN 978-974-7-81493-4
  4. ปรัชญากรณ์ ลครพล. (2564). กองทัพคณะราษฎร ล้อมรั้วประชาธิปไตยในยุคปฏิวัติสยาม. กรุงเทพฯ: มติชน. 280 หน้า. ISBN 978-974-0-21745-9 อ้างใน พระบรมราชโองการประกาศกำหนดหน้าที่เสนาบดีและตั้งคณะกรรมการกลางกลาโหม พ.ศ. ๒๔๗๕. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๔๙. ตอน ๐ ก (๒๐ กรกฎาคม ๒๔๗๕๗). หน้า ๒๑๑.
  5. ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 6. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566.
  6. ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 7. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566.
  7. ลำดับความเป็นมาของคณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 8. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566.
  8. วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2546). ตำนานเสรีไทย. กรุงเทพฯ: แสงดาว. 1,413 หน้า. ISBN 978-974-9-59065-2
  9. ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ. (๒๔๘๑, ๓๑ ตุลาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๕๕. หน้า ๒,๖๔๕.
  10. ที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพ พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก มังกร พรหมโยธี. พระนคร: โรงพิมพ์กรมสรรพสามิต. 174 หน้า. อ้างใน คำสั่ง บก. ทหารสูงสุด ที่ ๑/๘๓ เรื่อง บรรจุนายทหารรัชราชการในกองทัพสนาม ศาลาว่าการกลาโหม พระนคร. ลงวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๓.
  11. รายชื่อสมาชิกวุฒิสภา ชุดที่ ๒ เก็บถาวร 2021-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. สืบค้นเมื่อ 1 ตุลาคม 2566.
  12. ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๒๒. (๒๔๕๗, ๒๒ พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๑. หน้า ๑,๙๔๖.
  13. พระราชทานเครื่องราชอิศริยาภรณ์. (๒๔๖๐, ๑๐ กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม ๓๔. หน้า ๓,๓๑๓.
  14. เรียม เกษสาคร. (2540). "บัญชีรายชื่อคณะกรรมการเรื่องราวร้องทุกข์", ใน การร้องทุกข์ในประเทศไทย. เนื่องในพิธีพระราชทานเพลิงศพ นายเรียม เกษสาคร ม.ป.ช., ม.ว.ม. วันพุธ ที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๐. กรุงเทพฯ: ลาร์จ ฟอร์แมท. 94 หน้า.
  15. สหพานิช. (2479). หลักสว่าง เล่ม 2.

แหล่งข้อมูล

[แก้]